ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,574 รายการ


ชื่อเรื่อง : ปริวรรตภาษาชื่อบ้านนามเมือง ผู้แต่ง : เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ปีที่พิมพ์ : 2548 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โซตนา พริ้นท์      ปริวรรตภาษาชื่อบ้านนามเมือง เปรียบเสมือนการนำองค์ความรู้ที่ได้ข้อสรุปจากนักวิชาการหลายสาชา มาเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เพื่ออธิบายถึงข้อมูลความเป็นมาและความหมายของการเขียนชื่อเมือง “หริภุญไชย”-“หริภุญชัย” ว่าเหตุใดจึงมีการเขียนเป็นสอบแบบ และแบบใดใช้ในเงื่อนไขใด ด้วยเหตุผลใด ที่จะส่งผลให้ประชาชนหายสงสัยในการเขียนชื่อเมืองของลำพูน นอกจากนี้แล้วยังมีคุณค่าเสมือนสารานุกรม หรืองานวิจัยทางวิชาการ สามารถใช้ค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ในอนาคต


พิพิธภัณฑสถานถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในดินแดนสยามหรือประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งราชฤดี โดยเป็นที่จัดตั้งแสดงสิ่งสะสมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงรวบรวมไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายสิ่งของจัดแสดงมาไว้ยังพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ อันเป็นที่มาของคำว่า "พิพิธภัณฑ์" ในเวลาต่อมา   เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ จากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงในหอมิวเซียม (Museum) ณ หอคองคอเดีย  ซึ่งเป็นอาคารใหม่ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพิธีเปิด หอมิวเซียม หรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ ถือเป็นวันกำเนิดพิพิธภัณฑสถานของชาติแห่งแรกในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นพิพิธภัณฑสถานของหลวงหรือทางราชการที่จัดตามหลักวิชาการสากล และเปิดให้ประชาชนเข้าชมเฉพาะในการเฉลิมพระชนมพรรษาต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี   ปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย “มิวเซียม” จากพระบรมมหาราชวังไปจัดตั้งในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)  โดยใช้พระที่นั่งส่วนหน้าสามองค์เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗  ได้พระราชทานอาคารหมู่พระวิมานทั้งหมดรวมเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร   นับเนื่องจากนั้นเป็นต้นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้รับการจัดตั้ง สืบทอด และพัฒนาเรื่อยมาทุกยุคทุกสมัย สอดคล้องกับความต้องการของสังคม  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสังกัดกรมศิลปากร ยังมีพิพิธภัณฑสถานทั้งที่เป็นของภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์สถานศึกษา พิพิธภัณฑ์ชุมชน พิพิธภัณฑ์วัด พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของคนในชาติ โดยเฉพาะเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ประกาศให้วันที่ ๑๙ กันยายน ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทยเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานขึ้นในประเทศไทย   กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ได้มุ่งเน้นพัฒนาและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สู่การเป็น “พิพิธภัณฑสถานมีชีวิต”มีความทันสมัย และมีกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดแสดงและการให้บริการ อาทิ เทคโนโลยี AR Code , QR Code , Virtual Museum รวมไปถึงระบบจัดเก็บ การสืบค้นข้อมูลโบราณวัตถุ การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านฐานข้อมูลของแต่ละพิพิธภัณฑ์ การนำเข้าส่งออกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุด้วยระบบ National Single Windows ตลอดจนการจัดกิจกรรมรถพิพิธภัณฑ์สัญจรไปยังสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งสถานศึกษาผู้บกพร่องทางสายตาและผู้พิการอื่นๆ ด้วย  


การจัดสร้างหม้อนามนต์ประดับมุกกลุ่มวิชาการด้านช่างศิลปะไทย สานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ๒๕๕๓


สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ร่วมรณรงค์ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่าภายในบริเวณสำนักงาน โดยให้บริการสบู่เหลวล้างมือและหน้ากากอนามัยแก่เจ้าหน้าที่ และผู้มาติดต่อราชการ เพื่อลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อดังกล่าว


ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวังหลัง สมัยรัตนโกสินทร์




พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ได้จัดแสดงศิลปะวัตถุ โบราณวัตถุ แบ่งเป็น 4 ส่วนการจัดแสดง ได้แก่ 1. ห้องจัดแสดง ยุคก่อนประวัติศาสตร์การจัดแสดงในส่วนห้องก่อนประวัติศาสตร์นี้ ได้จัดแสดงโบราณวัตถุที่เป็นเครืองมือเครื่องใช้สำหรับการดำรงชีพในยุคก่อนประวัะติศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 2 ยุคด้วยกัน คือ ยุคหิน และ ยุคโลหะ โดยมีโบราณวัตถุที่จัดแสดงอาทิ ขวานหิน อายุราว 5,000 ปี มีดโลหะในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000 ปี เป็นต้น โดยขุดค้นพบในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง2. ห้องจัดแสดงการรับวัฒนธรรม อารยะธรรม เข้าสู่เมืองนครปฐมโบราณสำหรับการจัดแสดงในส่วนของห้องการรับอารยะธรรมจากภายนอกเข้าสู่เมืองนครปฐมโบราณนี้จัดแสดงถึงที่ตั้งของเมืองนครปฐมโบราณรวมถึงการรับวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อจากชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองนครปฐมโบราณ


เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นประธานเปิดงานโครงการวัฒนธรรมสัญจร สำหรับคณะทูตานุทูต ครั้งที่ 10 ณ พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมีข้าราชการสังกัดกรมศิลปากร นำโดย นางประนอม คลังทอง รองอธิบดีกรมศิลปากร นายสุพจน์ พรหมมาโนจ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียง พร้อมด้วยคณะข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ให้การต้อนรับและเตรียมการตรวจเยี่ยมพื้นที่


เว็ปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยะลา : www.finearts.go.th/yalaarchives     ประวัติการก่อตั้ง   พ.ศ. 2532     ร.ต. อนุกูล  สุภาไชยกิจ  ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้มอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา (นายภิญโญ  เฉลิมนนท์) รับผิดชอบประสานงานเกี่ยวกับการขอใช้ที่ดินราชพัสดุบริเวณหน้าโรงเรียนสตรียะลา มีเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ เพื่อสร้างอาคารสำนักงานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารในบริเวณที่ดินแปลงดังกล่าว   พ.ศ. 2535     กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นว่าส่วนราชการต่าง ๆ มีเอกสารที่ใช้แล้วเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถทำลายเอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นได้ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจวิธีการทำลายตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 จึงได้อนุมัติให้ขยายงานกองจดหมายเหตุ กรมศิลปากรมายังส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งสำนักงานหอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคที่เขตการศึกษาและจังหวัด ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศจัดตั้งหน่วยงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาค จำนวน 12 หน่วยงาน ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2535                         กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอพระราชานุญาตใช้ชื่อ "หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาุ ยะลา" เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พ.ศ. 2535 และได้รับพระราชทานพระราชานุญาต เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และจากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2536                          เมื่อก่อสร้างอาคารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 14,700,000 บาท เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยมีนายประเสริฐโชค  พุงใจ ตำแหน่ง นักจดหมายเหตุ 5 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (โดยในเบื้องต้นได้อาศัยอาคารสำนักงานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมเป็นที่ทำการชั่วคราว)   พ.ศ. 2548     นายประเสริฐโชค  พึงใจ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ได้ย้ายไปปฏิบัติราชการในตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรม 6 ว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ กระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากรได้แต่งตั้งนางสาวกษมาณัชญ์  นิติยารมย์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา อีกหน้าที่หนึ่งตามคำสั่งกรมศิลปากรที่ 577/2558 ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2548   พ.ศ. 2550     กรมศิลปากรได้แต่งตั้ง นายวิโรจน์  ศรีไสย  นักวิชาการวัฒนธรรม 7 ว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา กระทรวงวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ตามคำสั่งกรมศิลปากรที่ 196/2550 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550   พ.ศ. 2555     นายวิโรจน์  ศรีไสย ตำแหน่ง นักจดหมายเหตุชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ขอโอนไปดำรงตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากรให้โอนตัดตำแหน่งได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555                         กรมศิลปากรได้แต่งตั้งนางสาวกษมาณัชญ์  นิติยารมย์ ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา อีกหน้าที่หนึ่ง ตามคำสั่งกรมศิลปากรที่ 1016/2555 ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555                          และต่อมากรมศิลปากรได้มีคำสั่งที่ 87/2556 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ย้ายข้าราชการ นางสาวกษมาณัชญ์  นิติยารมย์ ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่ 525 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา ให้ดำรงตำแหน่ง นักจดหมายเหตุชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่ 1258 หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ/ภารกิจ   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยะลา เป็นที่เก็บรักษา อนุรักษ์ และให้บริการ การศึกษา การค้นคว้าหรือวิจัยเอกสารจดหมายเหตุ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล และมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติจดหมายเหตุ พ.ศ. 2556 ซึ่งได้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ดังนี้        1. เก็บรักษาและอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ        2. ติดตาม รวบรวม หรือรับมอบเอกสารจดหมายเหตุจากหน่วยงานของรัฐ        3. จัดหา ซื้อ หรือรับบริจาคเอกสารที่มีคุณค่าเป็นเอกสารจดหมายเหตุจากเอกชน        4. จัดหมวดหมู่และจัดทำเครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ        5. จดบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชพิธี รัฐพิธี และศาสนพิธี         6. รวบรวมเอกสารเหตุการณ์สำคัญของชาติ        7. จัดทำบันทึกประวัติศาสตร์บอกเล่าโดยพิจารณาให้ครอบคลุมข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน        8. ให้บริการการศึกษา การค้นคว้า หรือการวิจัยเอกสารจดหมายเหตุ        9. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดให้มีสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ นิทรรศการ และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ        10. สนับสนุนด้านวิชาการแก่หอจดหมายเหตุของหน่วยงานของรัฐ หอจดหมายเหตุท้องถิ่น และหอจดหมายเหตุเอกชน        11. ดำเนินการอื่นตามที่อธิบดีมอบหมาย




ภาพบรรยากาศในกิจกรรมของขวัญจากรัฐบาลถึงประชาชน โดยกระทรวงวัฒนธรรม มอบความสุขแบบวิถีไทย ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ - ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม และร่วมสักการะพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ พร้อมรับโปสการ์ด



วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 นางสาวเมษา ครุปิติ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติฯ จันทบุรี และนางสาวสมใจ สาแมว เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เข้าร่วมในพิธีเปิดงานการประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ระดับจังหวัด ประเภททีม 5 คน และประกวดบรรยายธรรม ระดับจังหวัด ประจำปี 2563 ณ วัดไผ่ล้อม พระอารามหลวง ต.จันทนิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยนายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิด จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี