รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา
๑. ชื่อโครงการ : การสัมมนาในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
๒. วัตถุประสงค์ :
๒.๑ เพื่อเป็นเวทีสำหรับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติในการหารือและทบทวนโอกาส รวมถึงความท้าทายของการท่องเที่ยวอย่างยื่นในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ
๒.๒ เพื่อนำเสนอกรณีศึกษาและ ประสบการณ์ของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียที่ประสบผลสำเร็จในนโยบาย แนวทางสำหรับการบริหารจัดการอย่างยั่งยื่น การอนุรักษ์และยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
๓. กำหนดเวลา : ระหว่างวันที่ ๑ – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
๔. สถานที่ : เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา
๕. หน่วยงานผู้จัด : องค์การการท่องเที่ยวโลก (The United Nations World Tourism Organization:UNWTO) ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
๖. หน่วยงานสนับสนุน : กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
๗. กิจกรรม : การแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการมรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม และการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางธรรมชาติ
๘. คณะผู้แทนไทย :
๘.๑ นางชุติมา จันทร์เทศ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
๙. สรุปสาระของกิจกรรม :
การสัมมนาในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม :
๑๐.๑ การสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแต่ละแหล่งของกลุ่มประเทศสมาชิกต่างๆ ก่อให้เกิดแนวคิดในการบริหารจัดการและการดำเนินงานอนุรักษ์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ดูแลรับผิดชอบ เช่น การบริหารจัดการและการควบคุมดูแลเมืองโบราณหลวงพระบาง ซึ่งสามารถพิจารณานำมาปรับประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของไทยได้
๑๐.๒ การเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้การบริหารจัดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพโดยการมีมาตรการควบคุมพื้นที่เขตโบราณสถาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนการควบคุมรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของอาคารสิ่งก่อสร้าง ทั้งนี้ เพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม รวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการตักบาตรข้าวเหนียวของชาวเมืองหลวงพระบาง และการแต่งกายที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ และสืบทอดมาจนทุกวันนี้
๑๐.๓ การนำเสนอข้อมูลการบริหารจัดการของกลุ่มประเทศสมาชิกต่างๆ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และองค์ความรู้ในการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ และสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในบางส่วน
๑๐.๔ จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนา ในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทำให้ได้ทราบแนวทางต่างๆ ในการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของไทย เช่น การบริหารจัดการน้ำ เพื่อการควบคุมระดับน้ำบริเวณบาราย ที่อยู่โดยรอบปราสาทนครวัด เป็นต้น
นางชุติมา จันทร์เทศ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(จำนวนผู้เข้าชม 355 ครั้ง)