ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ



วันที่ 26 มกราคม 2561 นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่ 7 เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เข้าร่วมรับโล่ประกาศเกียรติคุณ และกล่าวแสดงความยินดี ในพิธีเนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาสขอบพระคุณพระเจ้าครบรอบ 130 ปี โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เปิดใช้อาคาร "แบคแทลล์" และระลึกถึงบรรพชนในอดีตที่ทำพันธกิจรับใช้ในดรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ณ อาคารแบคแทลล์ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จังหวัดเชียงราย




ชื่อวัตถุ::สว่านมือ เลขทะเบียน::43/0303/2558 ลักษณะ::ประกอบด้วยแกนเหล็กปลายสว่านกับด้ามไม้เจาะช่องตรงกลางสำหรับเสียบแกนเหล็ก ที่ปลายด้ามทั้งสองข้างเจาะช่องร้อยด้วยเชือก(เชือกขาดชำรุด)กลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   วัตถุ::สิ่วตอกลาย เลขทะเบียน::43/0304/2558 ลักษณะ::ทำด้วยเหล็กทรงเหลี่ยม ตรงกลางบิดเป็นเกลียว ปลายสิ่วแบบคมมีด เส้นตรงกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)     ชื่อวัตถุ::สิ่วตอกลายเลขทะเบียน::43/0305/2558 ลักษณะ::ทำด้วยเหล็กทรงเหลี่ยม ตรงกลางบิดเป็นเกลียว ปลายสิ่วแบบคมมีด เส้นตรงกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::43/0306/2558เลขทะเบียน::สิ่วตอกลาย ลักษณะ::ทำด้วยเหล็กทรงเหลี่ยม ตรงกลางบิดเป็นเกลียว ปลายสิ่วแบบคมมีด เส้นตรงขนาดเล็กกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ไหปลาร้าเลขทะเบียน::43/0314/2558 ลักษณะ::ไหสีน้ำตาลอมเขียวทรงกลม ปากกลม คอสั้น ก้นสอบตัด ส่วนไหล่ทำลายขูดขีดเป็นเส้นตรงรอบ (เคลือบใส)กลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ไหปลาร้าเลขทะเบียน::43/0315/2558 ลักษณะ::ไหสีน้ำตาลอมเขียวทรงกลม ปากกลม คอสั้น ก้นสอบตัด ส่วนไหล่ทำลายขูดขีดเป็นเส้นตรงรอบ (เคลือบใส)กลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยพร้อมฝาเลขทะเบียน::43/0328/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากกลม ก้นตัด พร้อมฝา เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายอักษรมงคลกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.เมือง จ.ชลบุรี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยพร้อมฝาเลขทะเบียน::43/0329/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากกลม ก้นตัด พร้อมฝา เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายอักษรมงคลกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.เมือง จ.ชลบุรี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยพร้อมฝาเลขทะเบียน::43/0330/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากกลม ก้นตัด พร้อมฝา เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายทิวทัศน์กลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.เมือง จ.ชลบุรี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยพร้อมฝาเลขทะเบียน::43/0331/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากกลม ก้นตัด พร้อมฝา เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายทิวทัศน์กลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.เมือง จ.ชลบุรีแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถ้วยเลขทะเบียน::43/0332/2558 ลักษณะ::ถ้วยทรงกลม ปากผายออกเล็กน้อย ก้นมีเชิงเตี้ย เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ลายดอกสี่กลีบในช่องกระจกกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::พลั่วสาดข้าวเลขทะเบียน::43/0001/2547 ลักษณะ::คล้ายพาย มีด้ามจับทรงกระบอก ส่วนปลายมีลักษณะเป็นร่อง ใช้ตักข้าวเปลือกกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล:: อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานีแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::คราดเลขทะเบียน::43/0002/2547 ลักษณะ::สำหรับแยกฟางข้าวออกจากเปลือก ด้ามยาวเป็นทรงกระบอก ปลายมีฟันทำจากเหล็กแหลมกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::โกรกพร้อมแอกเลขทะเบียน::43/0003/2547 ลักษณะ::ทอนไม้ขนาดสั้น คล้ายตัว S สำหรับใส่คอควายไถนากลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::สัตถาเลขทะเบียน::43/0004/2547 ลักษณะ::สำหรับลากข้าวเปลือกให้เป็นกองมีลักษณะคล้ายไม้กระดานมีด้ามจับทรงกระบอกยาวกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)


      นางอัญชิสา เสือเพชร หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี มอบหมายให้ นางสาววิรากร รสเกษร เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร วิธีปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการประชุมเชิงปฏิบัติ การเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร   ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาตม 2561



          โรคระบาดเป็นปัญหาที่คุกคามมนุษยชาติ รวมทั้งสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองสยามในแต่ละยุคสมัยจึงต้องมีวิธีจัดการกับปัญหาโรคระบาดโดยแตกต่างกันไปตามบริบทของสังคม ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีโรคระบาดที่สำคัญ ๓ โรค คือ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ และกาฬโรค ซึ่งแต่ละโรคมีลักษณะและช่วงเวลาการระบาดที่แตกต่างกัน อันสัมพันธ์กับการระบาดในต่างประเทศ เนื่องจากการติดต่อค้าขายทำให้โรคระบาดแพร่ไปได้อย่างกว้างขวาง           อหิวาตกโรค (Cholera) ในอดีตเรียกว่า “โรคป่วงใหญ่” หรือ “โรคลงราก” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง จนผู้ป่วยขาดน้ำและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว สามารถติดต่อผ่านแหล่งน้ำและอาหาร จึงแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง           ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของอหิวาตกโรคเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ซึ่งตรงกับการระบาดทั่วโลก (Pandemic) ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๖๗) โดยมีจุดเริ่มต้นจากอินเดีย แล้วระบาดมาถึงสยามผ่านปีนัง จากนั้นจึงเข้ามาถึงสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร การระบาดมีความรุนแรงมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศ เพื่อปัดเป่าโรคร้าย แต่ปรากฏว่าโรคระบาดยิ่งร้ายแรงหนักขึ้น ผู้ที่เข้าร่วมพิธีเสียชีวิตจำนวนมาก ต่อมาจึงไม่ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศอีกต่อไปเมื่อเกิดโรคระบาด           หลังจากนั้นได้เกิดอหิวาตกโรคระบาดในสยามอีกหลายครั้ง ซึ่งมักจะตรงกับการระบาดครั้งใหญ่ในต่างประเทศเช่นเดิม ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเกิดการระบาดใน พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวถึง ๔๘ แห่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า โรงพยาบาลเอกเทศ เพื่อรักษาผู้ป่วยอหิวาตกโรค จนพัฒนาไปสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลถาวร คือโรงศิริราชพยาบาลในเวลาต่อมา           ถึงแม้อหิวาตกโรคจะเป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ความรู้ทางการแพทย์ตะวันตกทำให้ทราบว่าสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยอหิวาตกโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการให้น้ำเกลือเพื่อรักษาอาการขาดน้ำ และแทบไม่ต้องใช้ยาใดๆ เลย ดังนั้นเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดจึงมักใช้วิธีรักษาพยาบาล ด้วยการจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวตามเขตที่มีการระบาด เพื่อรักษาผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด จนถึงราวทศวรรษ ๒๔๘๐ จึงเริ่มมีการฉีดวัคซีนและฆ่าเชื้อในแหล่งน้ำเพื่อป้องกันโรคด้วย ทำให้การระบาดในสมัยหลังๆ มีอัตราการตายที่ต่ำ และมีระยะเวลาการระบาดสั้นลง .................................................................. ภาพ : เมื่ออหิวาตกโรคระบาดในสมัยรัชกาลที่ ๒ - ๓ ศพผู้ป่วยอหิวาตกโรคมักถูกนำไปไว้ที่ลานวัดต่างๆ เช่น วััดสระเกศ เป็นอาหารของอีแร้ง จนเกิดเป็นคำว่า "แร้งวัดสระเกศ" ภาพ : สถานพยาบาลชั่วคราวที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งขึ้นที่ถนนเจริญกรุงเพื่อรักษาผู้ป่วยอหิวาตกโรค ภาพ : โรงพยาบาลเอกเทศที่ตั้งขึ้นเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดใน พ.ศ. ๒๔๒๔ เรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์ที่มาของข้อมูลhttps://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2894563780592205&id=346438995404709


ห้องที่ 14 : ศาลากลางแจ้ง จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุตามสาระสำคัญ คือ หน้าบันจำหลักลวดลายต่าง ๆ และชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมที่วัดต่าง ๆ ได้มอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา


รายงานการเดินทางไปราชการ การประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย และการประชุมคณะกรรมการ Asia Dance Committee ณ สาธารณรัฐเกาหลี   ๑. ชื่อโครงการ ๒๐๑๓ Asia Dance Committee  ณ สาธารณรัฐเกาหลี ๒. วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการให้ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมกับนานาประเทศในฐานะประเทศสมาชิก Asia Dance Committee  โดยส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกร่วมทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศสมาชิก ผ่านศิลปะการแสดง เพื่อให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนเพื่อค้นหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของเอเชีย รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และอารยะธรรม ๓.  กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๓–๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ๔.  สถานที่   กรุงโซลประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ๕.  หน่วยงานผู้จัด กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ๖. หน่วยงานสนับสนุน ๑. สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๒. กรมศิลปากร ๓. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๗. กิจกรรม      ๑. การประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย ระหว่างวันที่ ๓ – ๖ พฤศจิกายน  ๒๕๕๖     ๒. การประชุมคณะกรรมการ Asia Dance Committee วันที่ ๗ พฤศจิกายน  ๒๕๕๖        ๘. คณะผู้แทนไทย  ๑. นางพัชรา บัวทอง                      นาฏศิลปินอาวุโส              ๒. นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา        นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ     ๓. นายยุทธนา  อัมระรงค์               อาจารย์พิเศษ  คณะศิลปนาฏดุริยางค์ ๙. สรุปสาระสำคัญของกิจกรรม การประชุม ๒๐๑๓ Asia Dance Committee  เป็นกิจกรรมเตรียมการเพื่อเรียมการแสดงใน พิธีเปิดศูนย์วัฒนธรรมเอเชีย (Asian Cultural Complex) ณ เมือง Gwangjuสาธารณรัฐเกาหลี ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย เพื่อสร้างสรรค์ชุดการแสดงในพิธีเปิด และการประชุมคณะกรรมการ Asia Dance Committee จากผู้แทนรัฐบาลประเทศต่างๆ เพื่อวางแผนความร่วมมือด้านศิลปะการแสดงในอนาคตเมื่อมีการเปิดใช้งาน Asian Cultural Complex ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม     ๑. เนื่องจากข้อกำหนดคณะกรรมการ Asia Dance Committee กำหนดให้ผู้แทนแต่ละประเทศที่เป็นกรรมการมีอายุ ๒ ปีซึ่งได้ครบกำหนดแล้ว กระทรวงวัฒนธรรมจำเป็นต้องเสนอรายชื่อไปยังเลขานุการกรรมการอีกครั้งหนึ่ง     ๒. ผู้เข้าร่วมประชุมหากไม่ได้เป็นผู้มีรายชื่อเป็นคณะกรรมการ ไม่สามารถลงนามในมติที่ประชุม และรับรองรายงานการประชุมได้     ๓. ลักษณะลีลาท่าทางของการแสดงที่ทำการประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย ควรแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ท่าทางการแสดงของแต่ละชาติได้อย่างชัดเจนมากขึ้นในการประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชียครั้งต่อไปปี ๒๐๑๔     นางพัชรา  บัวทอง  ผู้สรุปผลการเดินทางไปราการ                                            ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖                             


  ***บรรณานุกรม***  กรมศิลปากร เรื่องมหาดเล็ก พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่  4  พฤศจิกายน 2517 กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์พระจันทร์ 2517


วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นปูชนียสถานสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในพระราชอาณาจักรไทยโดยเฉพาะภาคใต้ คือเป็นปูชนียสถานสำคัญ 1 ใน 3 ของภาคนี้


แหลมไฟไหม้ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านอ่าวน้ำ ต.แหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ในเขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี           กรมศิลปากรได้มีการสำรวจพบเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๓๑ เป็นแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่บนเกาะหรือเขาใสโต๊ะดำ ส่วนหนึ่งของแหลมที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของแหลมสัก ล้อมรอบด้วยป่าชายเลน คลอง ทะเล และเกาะ สภาพพื้นที่เป็นเพิงผาโค้งเว้าเข้าไปลักษณะรอยบาก (Notch) ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของคลื่นในช่วงระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว เพิงผามีความยาวประมาณ ๕ เมตร และมีระดับสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓ เมตร           มนุษย์ในอดีตจึงสามารถใช้เพิงผาแห่งนี้และใกล้เคียงเป็นแหล่งพักพิงชั่วคราวหรือประกอบกิจกรรม หรือใช้พื้นที่เป็นแหล่งหลบลมมรสุมกระแสคลื่นลมระหว่างการเดินทางได้ และอาจมีการขีดเขียนวาดภาพบนผนังเพิงผาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ หรือเป็นภาพเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มคน           กลุ่มภาพเขียนสีปรากฏชัดเจนบริเวณผนังของเพิงผา เป็นภาพเขียนด้วยสีแดงกลุ่มใหญ่เกือบเต็มพื้นที่ โดยส่วนใหญ่ใช้เทคนิคการเขียนแบบระบายทึบ บางภาพเขียนเป็นโครงร่างภายนอกและตกแต่งรายละเอียดลวดลายภายใน ลักษณะคล้ายบุคคล สัตว์ ลายเรขาคณิต และลวดลายคล้ายธรรมชาติ           จากข้อมูลการสำรวจ สามารถจำแนกกลุ่มของภาพตามรูปร่างที่ปรากฏ ดังนี้           ๑. ภาพบุคคล ใช้เทคนิคระบายทึบและเขียนเฉพาะโครงร่าง ภาพที่มีความโดดเด่นที่สุดคือภาพระบายสีแดงทึบทั้งภาพ คล้ายบุคคล ๒ คน ยืนอยู่ชิดติดกัน ลักษณะคล้ายคนแฝด หรือคนหนึ่งอาจเป็นคนพิการหรือร่างกายผิดปกติและอีกคนกำลังพยุงอยู่ ขนาดของภาพสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร และยังมีภาพโครงร่างบุคคล ส่วนศีรษะกลมรี ลำตัวด้านบนกว้างสอบลงด้านปลาย มีแขน ๒ แขน ไม่มีนิ้วมือ ส่วนภาพอื่นๆ เป็นภาพคล้ายบุคคลแสดงกิริยาต่างๆ กระจัดกระจายทั่วไป และปรากฏอยู่รวมเป็นกลุ่มกับภาพสัตว์และภาพเรขาคณิต           ๒. ภาพสัตว์ เขียนลายเส้นโครงร่างภายนอกและเขียนตกแต่งภายในด้วยลายเส้นและจุดสีแดง ปรากฏภาพสัตว์คล้ายปลา ที่มีส่วนตา ปาก ไม่มีครีบหาง ๑ ภาพ ขนาดภาพสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร และยังมีภาพลายเส้นโครงร่างคล้ายปลาแต่สีซีดจางไม่ชัดเจนอยู่เหนือภาพคล้ายบุคคล ภาพสัตว์อื่นๆ เป็นภาพคล้ายนก เขียนลายเส้นเป็นโครงร่างและเขียนตกแต่งภายในด้วยสีแดง ลักษณะลำตัวเป็นรูปวงกลมซ้อนกันหลายวง มีส่วนศีรษะ ลำตัว หาง และขา นอกจากนี้ยังมีภาพสัตว์คล้ายแมงกะพรุน ๒ ภาพ อยู่ใกล้กัน เป็นลายเส้นโครงร่างสีแดง ส่วนหางคล้ายโบว์และมีหางยาวต่อลงมา           ๓. ภาพคล้ายพระจันทร์เสี้ยว เขียนสีแดงแบบระบายทึบ มีส่วนโค้งเว้าเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ขนาดของภาพสูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ปรากฏอยู่ใกล้กับภาพเรขาคณิตรูปกากบาทและภาพปลา           ๔. ภาพเรขาคณิต ปรากฏภาพรูปกากบาทติดกัน ๓ ภาพ เขียนเป็นลายเส้นสีแดง อยู่ใกล้กับภาพพระจันทร์เสี้ยว และยังมีภาพวงกลมสีแดงคล้ายหัวหอมผ่าซีกหรือดอกบัว ส่วนปลายสอบแหลม นอกจากนี้ยังมีภาพที่เป็นลายจุดคล้ายใช้ปลายนิ้วมือกดประทับลงไปเป็นจุดๆด้วยสีแดง แสดงโครงร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ และยังมีภาพที่เกิดจากการเขียนเส้นต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่นมและสามเหลี่ยมจนมีลักษณะคล้ายเรือที่มีภาพบุคคลหรือสัตว์อยู่ด้านบนอีกด้วย           หลักฐานภาพเขียนสีที่ปรากฏที่แหลมไฟไหม้นี้ อาจแสดงถึงความสัมพันธ์กับภาพที่แหล่งภาพเขียนสีอื่นๆ ในเขตอ่าวพังงาและอ่าวลึก เรื่องราวของภาพแสดงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ เพราะปรากฏภาพที่ชัดเจนของสัตว์น้ำ เช่น ภาพปลา ภาพแมงกะพรุน และยังมีภาพนก ซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไป ผู้คนหรือกลุ่มคนที่ทำการเขียนภาพเหล่านี้ น่าจะเป็นพวกที่ดำรงชีพด้วยการหาและใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหลัก โดยอาจออกหาอาหารหรือเร่ร่อนไปในทะเล เมื่อพบเพิงผาจึงอาจใช้เป็นที่หลบพักอาศัยชั่วคราว และขีดเขียนภาพเหล่านี้ไว้ และกลุ่มคนนี้น่าจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่มคนบนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งอาจมีการนำของที่หามาได้มาแลกเปลี่ยนกัน จนอาจมีการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานและการกระจายตัวของกลุ่มคนในพื้นที่บริเวณนี้           อายุสมัยของภาพเขียนสี กำหนดได้โดยการเปรียบเทียบกับอายุสมัยของการเกิดรอยบากซึ่งเกิดจากการกระทำของคลื่นในช่วงระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ดังนั้นอายุของภาพเขียนสี จึงควรมีอายุไม่เก่าไปกว่าอายุสมัยของการเกิดรอยบาก อีกทั้งสามารถเปรียบเทียบกับแหล่งภาพเขียนสีที่พบบริเวณใกล้เคียง และร่องรอยหลักฐานจากแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในพื้นที่อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ จึงสามารถที่จะอนุมานได้ว่าภาพเขียนสีแหลมไฟไหม้และแหล่งอื่นๆในพื้นที่บริเวณนี้ น่าจะมีอายุสมัยอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่มาของข้อมูล : นายธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    ชาดก                                    นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี



Messenger