ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,688 รายการ
วัดบ้านตำแย ตั้งอยู่ บ้านตำแย หมู่ที่ ๑ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดบ้านตำแย ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๘๐ ง วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๐ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๖๙.๒๘ ตารางวา โดยมีสิ่งสำคัญ คือ สิม (อุโบสถ) วัดบ้านตำแย
--- สิม (อุโบสถ) วัดบ้านตำแย ตามประวัติได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๗ โดยมีจารึกปรากฏอยู่ทางเข้าประตูเป็นภาษาไทน้อย ระบุได้ใจความว่า “...ญาครูทา (พระเจ้าอาวาส-ชื่อทา) สมเด็จชาต ภิกษุ สามเณร อุปาสก และอุบาสิกา ได้ร่วมกันสร้างขึ้น...”
--- สิม (อุโบสถ) สร้างหันหน้าทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่บนฐานเอวขันในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๓ ห้อง ด้านหน้าเป็นมุขโถงมีราวระเบียงทึบล้อมรอบ โครงสร้างอาคารใช้เสาและผนังรับน้ำหนัก หน้ามุขโถงมีเสา ๒ ต้น รองรับส่วนหลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าเพียงด้านเดียว ตรงกับประตูทางเข้า ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ ๑ ช่อง ผนังห้องด้านหลังก่อทึบ ประดับตกแต่งหลังคาด้วยชุดไม้แกะสลัก ประกอบด้วย โหง่ (ช่อฟ้า) ใบระกา และ หางหงส์ หน้าบันเป็นลายไม้ตั้ง มีคันทวยไม้แกะสลักที่ผนังด้านข้างคั่นระหว่างห้อง ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว สิม (อุโบสถ) วัดบ้านตำแย ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ และ พ.ศ. ๒๕๖๓
------------------------------------------------
++ อ้างอิง ++
--- พรรณธิพา สุวรรณี. สิมพื้นบ้านภาคอีสานในเขตเมืองอุบลราชธานี. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร บัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖.
--- สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี (เล่ม ๑ : จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓.
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
สุ่ม วรกิจพิศาล. เวชศาสตร์วรรณาตำราแพทย์แบบเก่า เล่ม 4 ตำรายา. พระนคร: พิศาลบรรณนิติ์, 2469.
ว่าด้วยเรื่องตำราแพทย์แบบเก่า ได้รวบรวมคัมภีร์แพทย์และตำรายาต่าง ๆ เช่น คัมภีร์อภัยสันตาว่าด้วยโรคต้อต่าง ๆ ที่ตา คัมภีร์มหาโชตรัตกล่าวถึงโรคโลหิตระดูสตรี ตำรามุขโรคว่าด้วยโรคเกิดแก่ทวาร ตำราอุจจาระ และคัมภีร์ว่าด้วยโรคไกษย 18 ประการ เป็นต้น ทั้งนี้สุ่ม วรกิจพิศาล ได้เรียบเรียงไว้ตามตำราของท่านพระยาประเสริฐสาตรดำรง (หนู) ผู้เป็นบิดา
กรมศิลปากรขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การแถลงข่าวนิทรรศการ "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ลายแทง -- สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยามีแผนที่โครงข่ายถนนไว้ใช้งาน ไม่แปลก หน่วยงานไหนๆ ก็มี แต่ . . . ความน่าสนใจอยู่ที่มีการระบุตำแหน่งฝาย สระ และอ่างเก็บน้ำไว้ทั้งจังหวัด แผนที่โครงข่ายถนนมาตรฐานจังหวัดพะเยาที่นำมาเสนอนี้ ไม่ทราบวัน เดือน ปี จัดทำ มุมขวาด้านล่างในกรอบสี่เหลี่ยมระบุเพียงมาตราส่วนขนาด 1 : 250,000 เส้นทางหลวงแผ่นดิน ทางมาตรฐาน รพช. (สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท) ทางมาตรฐานในโครงการ ขอบเขตประเทศ จังหวัด อำเภอ และที่ตั้ง ส่วนลักษณะแผนที่แสดงถึงภูมิประเทศให้เห็นภูเขา เนินสูง และที่ราบชัดเจน แล้วเจ้าหน้าที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ได้นำมาระบุสัญลักษณ์ของแหล่งน้ำประดิษฐ์หรือแหล่งน้ำก่อสร้าง ทั้งอ่างเก็บน้ำ ฝาย สระมาตรฐาน กล่าวได้ว่า " มันเป็นลายแทง " สำหรับงานภาคการเกษตรกับชลประทานอย่างดี ถ้าสังเกตแผนที่โดยตลอด เราจะเห็นแหล่งน้ำข้างต้นค่อยๆ กระจายตัวจากกว๊านพะเยาออกไป มีความสำคัญและสัมพันธ์กับแม่น้ำอิงเป็นหลัก น่าเสียดายที่แผนที่ไม่ปรากฏวัน เดือน ปี จัดทำ ไม่เช่นนั้นเราจะสืบค้นประวัติการดำเนินงาน การกระจายของแหล่งน้ำ หรือต่อยอดภารกิจอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกันได้ หากสิ่งหนึ่งที่สามารถกล่าว ณ ที่นี้คือ " แผนที่ละเอียดมาก " ผู้จัดทำระบุสัญลักษณ์ฝาย อ่าง สระน้ำ ในช่วงเวลาที่ไม่มีระบบ GPS ที่เพียงแค่คลิกก็ปรากฏ หรือ Map Digital มีเมนูง่ายดาย มันสะท้อนถึงความอุสาหะและรอบรู้ไม่น้อย .ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/14 แผนที่โครงข่ายถนนมาตรฐานจังหวัดพะเยา [ ม.ท. ] #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 61/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 62/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง จำเนียร ทรงฤกษ์
ชื่อเรื่อง ชีวประวัติพุทธสาวก (ประวัติอัจฉริยเถระ)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสมัย
ปีที่พิมพ์ 2525
จำนวนหน้า 108 หน้า
รายละเอียด
ผู้เรียบเรียงตั้งใจค้นคว้ารวบรวมและเรียบเรียงเพื่อให้เป็นชีวประวัติอัจฉริยบุคคลหรือบุคคล
สำคัญของโลกในทางพุทธศาสนาและเพื่อเป็นชีวิตานุสาวรีย์ กับตัวท่านของเนื้อหาประกอบด้วย ชีวประวัติพระมหาเถระจำนวน ๔ รูป ประกอบด้วยพระรัฏฐบาลเถระพระราชเถระพระราทุลเถระพระเรวัตทิรวนัยเถระ พระลกุณฏกภัททัยเถระ พระวักกลิเถระ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 153/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : หนังสือที่ระลึกถึงรอบ 100 ปี แห่งวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และวันเสวยราชย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2511ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 240 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาดังนี้ -พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดร.เอ.บี.กริสโวลด์ แต่ง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล แปล -King Mongkut of Siam -การเปลี่ยนแปลงและประเพณีของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่พัว (พ.ศ.2411-2453) จากบทพระนิพนธ์ภาษาอังกฤษ ของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ลงพิมพ์ในหนังสือ The New Asia
ชื่อเรื่อง จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ วัดไร่ขิง
ผู้แต่ง -
ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่น
ISBN/ISSN -
หมวดหมู่ ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ
เลขหมู่ 294.31875 จ434
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ ศิริวัฒนา
ปีที่พิมพ์ 2538
ลักษณะวัสดุ 84 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.
หัวเรื่อง วัดไร่ขิง
จิตรกรรมฝาผนังไทย
ภาษา ไทย
บทคัดย่อ/บันทึก
เรื่องราวของจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดไร่ขิง การเขียนเรื่องราวประวัติบางส่วน หลักวิปัสสนา ลวดลายที่ควรบันทึกไว้ประวัติย่อ เช่นคำว่า “สามพราน”