ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,783 รายการ
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘ รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เนื่องด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานหลวงขึ้นที่หอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม) หรือที่เรียกว่า “มิวเซียม” เพื่อจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุต่างๆ ให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๑๗
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทยมาเป็นระยะเวลานาน เพื่อเป็นเฉลิมฉลองครบรอบวันพิพิธภัณฑ์ไทย อันเป็นสถาบันการเรียนรู้ในการศึกษาด้านต่างๆ และเป็นแหล่งต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สิ่งของอันล้ำค่า และเทคโนโลยี ที่สั่งสมเรื่องราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ตกทอดมาสู่คนยุคปัจจุบันได้รับชมกันอย่างเพลิดเพลินควบคู่ไปกับการเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด
สำหรับปีนี้ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จะร่วมกันจัดกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๒๕๖๕ (Thai Museum Day 2022) ภายใต้หัวข้อ “The Power of Thai Museums” โดยมีรูปแบบกิจกรรมมากมายที่พร้อมบริการให้กับทุกคนในช่วงเดือนกันยายนนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ และบรรยากาศของงานวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๒๕๖๕ ได้ทางช่องทางเพจเฟสบุ๊ก Thai Museum Day 2022
โปรดกดไลค์กดแชร์เพจ Thai Museum Day 2022 เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ตลอดระยะเวลาของกิจกรรมไว้ด้วยนะ จะได้ไม่พลาดกิจกรรมดีๆ จากชาวพิพิธภัณฑ์ไทย
พระพิมพ์รูปพระโพธิ์สัตว์ (นางตารา)
สมัยพุกาม พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙
กองตำรวจรักษาของโบราณประเทศพม่า ส่งมาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ดินเผากลมรูปพระโพธิสัตว์ทรงยืนตริภังค์* แสดงวรทมุทรา (ปางประทานพร) พระเกศารวบขึ้นเป็นพระเมาลี รอบพระเศียรแสดงศิรประภา หรือรัศมี (สื่อถึงเป็นผู้มีพระธรรมเป็นแสงสว่าง) พระพรหาขวาแนบพระวรกาย ยกพระกรหันฝ่าพระหัตถ์ขวาออก พระหัตถ์ซ้ายทรงก้านดอกบัวอุตปละ (utpala) หรือ บัวสาย พระวรกายท่อนล่างแสดงการทรงพระภูษายาวจรดข้อพระบาท ด้านข้างของพระโพธิ์สัตว์มีจารึกอักษรเทวนาครี และสถูป
พระพิมพ์ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในรายการพระพิมพ์ที่กองแผนกตรวจรักษาของโบราณประเทศพม่าส่งมาแลกเปลี่ยนกับราชบัณฑิตยสภาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยส่งพระพิมพ์มาแลกเปลี่ยนทั้งหมด ๑๖ รายการ (ประกอบด้วยพระพิมพ์ที่พบจากเมือง PAGAN จำนวน ๔ รายการ และพระพิมพ์ที่พบจากเมือง HMAWZA จำนวน ๑๒ รายการ) ทั้งนี้ราชบัณฑิตยสภาได้ส่งพระพิมพ์ไปยังประเทศพม่า จำนวน ๒๗ รายการ
สำหรับพระพิมพ์ชิ้นนี้ Charles Duroiselle ระบุว่าเป็นพระพิมพ์ที่ขุดค้นพบในบริเวณเมือง HMAWZA (ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีอาณาจักรศรีเกษตร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยตีความว่าเป็นรูปพระโพธิ์สัตว์ตาราซึ่งสอดคล้องกับแสดงการถือดอกบัวอุตปละ และจารึกที่ปรากฏคือจารึกคาถา “เยธฺมา เหตุปฺปภวา” และกำหนดอายุไว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ จากรูปแบบของพระพิมพ์ชิ้นนี้แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียเหนือ (แบบปาละ) ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสมัยพุกาม (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙) เช่น การยืนตริภังค์ การแสดงพระกรสองข้างตรงข้ามกัน เป็นต้น
พระโพธิ์สัตว์ตาราเป็นพระโพธิ์สัตว์เพศหญิง เป็นเทพีองค์สำคัญในพุทธศาสนามหายาน กล่าวคือ เป็นเทพีแห่งความกรุณา และเป็นผู้ปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่มนุษย์ โดยพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นศักติของพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ภาคปรากฏของพระนางตารานั้น มีหลายวรรณะและหลายลักษณะ (บางตำรากล่าวว่ามีทั้งหมด ๒๑ วรรณะ) แต่ที่รู้จักอย่างแพร่หลายนั้นได้แก่ ตาราวรรณขาว (สิตตารา) และตาราวรรณเขียว (ศยามตารา)
*ตริภังค์ หมายถึง ท่ายืนเอียงกายสามส่วน อันได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเอียงจากเท้าถึงสะโพก ส่วนที่สองเอียงจากสะโพกถึงไหล่ ส่วนที่สามเอียงจากไหล่ถึงศีรษะส่วนใหญ่พบในศิลปะอินเดีย (อ้างอิงจาก กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐ หน้า ๒๐๐)
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของรูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๕.
ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมามหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ ๒.๑.๑/๑๘๐. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร. เรื่อง แลกเปลี่ยนพระพิมพ์ดินเผาระหว่างกองตำรวจรักษาของโบราณประเทศพม่ากับราชบัณฑิตยสภา (๒๒ เมษายน ๒๔๗๔-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๕).
H. Hargreaves, editor. Annual Report of the Archaeological Survey of India for the year 1927-1928. Calcutta: Government of India Central Publication Branch, 1931.
พระโพธิสัตว์อุษณีษวิชัย
ศิลปะทิเบต พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐
ของหลวงพระราชทานยืม เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๔๗๐
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อุษณีษวิชัย (Usnīsa vijaya) พระโพธิสัตว์เพศหญิง ส่วนพระเศียรทรงอุณหิศ (กระบังหน้า) ประดับตาบสามเหลี่ยม มีสามพระพักตร์ แต่ละพระพักตร์มีสามพระเนตร พระกรรณทรงกุณฑลเป็นห่วงกลม ทรงพระภูษาพาดคลุมพระพาหาทั้งสองข้าง และทรงเครื่องประดับ อาทิ กรองศอ สร้อยสังวาล พระโพธิ์สัตว์มีแปดพระกร สองพระกรด้านหน้าสุดแสดงธรรมจักรมุทรา ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานปัทม์
พระโพธิสัตว์อุษณีษวิชัย หรือในทิเบตเรียกนามพระโพธิสัตว์องค์นี้ว่า “นัมจัลมา” (Namgyelma) เป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์เพศหญิงตามความเชื่อของพุทธศาสนา นิกายตันตระ ซึ่งพระองค์เป็นเทพแห่งความอายุยืนนาน ทรงมีพระกายสีขาว พระเศียรมีสามพระพักตร์ พระพักตร์ขวาผิวสีน้ำเงิน พระพักตร์กลางผิวสีขาว และพระพักตร์ซ้ายผิวสีเหลือง ทรงมีแปดพระกร สองพระกรด้านหน้าแสดงปางธรรมจักรมุทรา ส่วนพระกรอื่นทรงวัตถุต่างกันออกไป ได้แก่ ลูกศร คันธนู รูปพระพุทธรูป วิศววัชระ และแจกันที่บรรุจน้ำทิพย์เพื่อความเป็นอมตะ
ส่วนในประเทศไทย แม้จะนับถือพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลัก แต่มีบทสวดที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนามหายาน และน่าจะสัมพันธ์กับพระโพธิสัตว์อุษณีษวิชัย ด้วยเช่นกันเนื่องจากมีความหมายเกี่ยวข้องกับ “การมีอายุยืนนาน” กล่าวคือ “อุณหิสวิชัยสูตร” เป็นคาถาภาษาบาลี โดยเชื่อว่าน่าจะคลี่คลายมาจาก “อุษณีษวิชยธารณี” ในภาษาสันสฤต สำหรับอุณหิสวิชัยสูตรมีเนื้อความกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงกล่าวคาถาอุณหิสวิชัยแก่สุปดิศเทพ ซึ่งเป็นเทวดาองค์หนึ่งที่กำลังจะสิ้นผลบุญและต้องไปเกิดยังนรกภูมิ ใจความของคาถานี้คือ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ด้วยอานุภาพแห่งศีลและพระธรรมอันสุจริต และการเจริญพระคาถาอุณหิสวิชัย จะทำให้มีอายุยืนยาว เมื่อสุปดิศเทพได้ฟังคาถานี้ ได้ทำตามเนื้อความพระคาถา จึงมีอายุยืนยาวถึง ๒ พุทธันดร*
ทั้งนี้อุณหิสวิชัยสูตร เป็นมนต์คาถาที่เก่าแก่บทหนึ่งในสังคมไทย ในคำนำการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์โท พระยาอรรคนิธิ์นิยม (สมุย อาภรณ์ศิริ) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า ได้ต้นฉบับมนต์เหล่านี้เป็นฝีมือเขียนขึ้นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา มีทั้งหมด ๕ บท ได้แก่ มหาทิพมนต์ ชัยมงคล มหาชัย อุณหิสวิชัย และมหาสวํ (มหาสาวัง) การสวดมนต์เหล่านี้มีตัวอย่างคือ ในงานวันฉลองวันประสูติ เจ้านายจะตั้งเตียงในท้องพระโรง มีนักสวด ๔ คนสวดคาถามหาชัย และอุณหิสวิชัยตามทำนองโบราณ นอกจากนี้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงประทานความเห็นเกี่ยวกับอุณหิสวิชัยสูตรไว้ในลายพระหัตถ์ทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๘๒ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ได้อ่านตรวจหนังสือมหาทิพมนต์โดยถี่ถ้วนตลอดแล้ว ในหนังสือนั้นมีมนต์ ๕ บท คือ ๑ มหาทิพมนต์ ๒ ชัยมงคล ๓ มหาชัย ๔ อุณหิสวิชัย ๕ มหาสาวัง สี่บทอันออกชื่อก่อนนั้นแต่งเป็นฉันท์ แต่บทที่สุดนั้นแต่งเป็นปาฐ มีคำแปลเป็นภาษาไทย แต่บทต้นบทเดียวแต่งเป็นกลอนสวด ใน ๕ บทนั้น เห็นอุณหิสวิชัยดีกว่าเพื่อน เป็นของผู้รู้แต่ง แต่งเป็นเรื่องเป็นราว ทั้งเอาอะไรมาประกอบก็ดีด้วย...”
*คำว่า “พุทธันดร” หมายถึง ช่วงเวลาที่โลกว่างพระพุทธศาสนา คือ ช่วงเวลาที่ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสูญสิ้นไป และพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ยังไม่อุบัติ
(อ้างอิงจาก ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. หน้า ๘๕๙ )
อ้างอิง
กรมศิลปากร. มหาทิพมนต์ : ความสืบเนื่องของบทพระพุทธมนต์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๒.
ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมามหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓.
เสถียร โพธินันทะ. กระแสพุทธธรรมมหายาน. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
องค์การค้าของคุรุสภา. สาสน์สมเด็จเล่ม ๖ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระนคร: คุรุสภา, ๒๕๐๕.
Trilok Chandra & Rohit Kumar. Gods, Goddesses & Religious symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism. Lashkar: M.Devi, 2014.
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๓๐ น. นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการแสดงรายการ “เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ณ สังคีตศาลา เวทีกลางแจ้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ “เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” นี้ เป็นการแสดงประจำปีของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยมีการจัดรายการแสดงและการบรรเลงหลากหลายรูปแบบทั้งการแสดงโขน ละคร วิพิธทัศนา การบรรเลงดนตรีไทยและการบรรเลงดนตรีสากล อาทิ การบรรเลงดนตรีสากล “ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ เถลิงศกใหม่ต้อนรับวันเด็ก” การแสดงละคร เรื่องสาวิตรี ชุด “อมตะเสน่หา” การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “ทศกัณฐ์พรหมพงศ์ลงกา” การแสดงละครเสภา เรื่องกากี ตอนเสน่ห์เล่ห์คนธรรพ์ กำหนดจัดแสดงทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐ น. ถึง ๑๙.๓๐ น. ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ (งดการแสดงในวันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม และวันอาทิตย์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) ค่าเข้าชมคนละ ๒๐ บาท โดยกรมศิลปากรจะนำเงินรายได้ดังกล่าวส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน
ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้จัดรายการพิเศษ “นาฏกรรมสุขศรี สุนทรีย์ปีใหม่” มอบเป็นของขวัญกับประชาชน เนื่องในวารดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖ โดยงดเก็บค่าเข้าชมการแสดงในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ รายการแสดงประกอบด้วย การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ และการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “สุครีพสุริโยโอรส”
ขอเชิญชวนผู้สนใจชมการแสดงรายการ “เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐ น. ถึง ๑๙.๓๐ น. ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th และเฟสบุ๊ก เพจ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ในสมัยก่อนมีสิ่งประดิษฐ์หนึ่งที่ให้ความบันเทิงและเป็นที่นิยมของผู้คนในช่วงคริสตวรรษที่ 19 คือ “กล้อง 3 มิติ” (Stereoscope) หรือมีอีกชื่อคือ กล้องถ้ำมอง .กล้อง 3 มิติแรกถูกคิดค้นและประดิษฐ์โดย ‘Sir Charles Wheatstone’ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี 1832 เป็นกล้องแบบกระจกสะท้อน โดยใช้กระจก 2 บาน วางทำมุม 45 องศา เพื่อให้สายตาคนดูมองเห็นภาพสะท้อนในแต่ละด้าน และได้ถูกปรับปรุงโดย ‘David Brewster’ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี 1849 ให้เป็นแบบกล้อง 2 เลนส์ที่ใช้ส่องและมองเห็นภาพ โดยเขาเรียกว่า “lenticular stereo scope” จนกลายเป็นกล้อง 3 มิติแรกที่สามารถพกพาได้ ต่อมา ‘Oliver Wendell Holmes’ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันได้พัฒนารูปแบบกล้องให้เพรียวบาง สามารถพกพาถือด้วยมือได้ง่ายขึ้น แถมราคาประหยัด จนกลายเป็นความบันเทิงชิ้นโปรดประจำบ้านและห้องเรียนในยุคนั้น.การใช้งานกล้อง 3 มิติ เราจะใช้แผ่นภาพคู่ 2 มิติ (ภาพหนึ่งสำหรับดวงตาข้างซ้าย และอีกภาพสำหรับดวงตาข้างขวา) ซึ่งเป็นภาพถ่ายจากสถานที่หรือสิ่งเดียวกัน แต่ถูกถ่ายโดยองศาที่ต่างกันเล็กน้อย เมื่อนำมาวางด้านหน้าเลนส์ มองผ่านกล้อง 3 มิติ และเลื่อนปรับระดับระยะห่างให้โฟกัสอย่างเหมาะสมแล้ว สมองจะรวมภาพคู่ 2 มิตินั้นให้เป็นภาพเดียวจนเกิดมิติความลึกเป็นภาพ 3 มิติขึ้นมา .กล้อง 3 มิติและแผ่นภาพคู่ ที่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นของยี่ห้อ Underwood & Underwood ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแผ่นภาพ 3 มิติที่ได้รับความนิยม ก่อตั้งบริษัทในปี 1882 โดยสองพี่น้องชาวอเมริกัน ชื่อ Elmer และ Bert Elias Underwood และได้เติบโตขยับขยายสาขาไปในหลายเมือง ทั้งใน อเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร กล้องยี่ห้อนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานของกล้อง 3 มิติ โดยเป็นกล้องแบบ Holmes (Holmes type stereoscope) ที่ใช้มือถือได้ แต่พวกเขาได้เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงดีไซน์ให้ดูทันสมัย โดยทำเป็นดีไซน์อลูมิเนียม ความโดดเด่นนี้ส่งผลให้โรงงานผลิตอื่น ๆ เริ่มทำตามแบบในไม่ช้า.ลักษณะกล้อง 3 มิติที่จัดแสดงนี้ มีลักษณะดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของยี่ห้อ Underwood & Underwood คือเป็นแบบกล้อง 2 เลนส์ที่ทำที่ครอบลูกตาห่อหุ้มด้วยอลูมิเนียม ประดับลวดลายใบไม้อย่างฝรั่ง พร้อมสลักชื่อยี่ห้อการค้า “Sun Sculpture U&U Trademark” ด้านหน้าเลนส์กล้อง ทำเป็นไม้ยื่นยาวออกไป เพื่อใช้เลื่อนขึ้น-ลงปรับระดับโฟกัสในการมอง พร้อมกับแท่นวางแผ่นภาพคู่ มีด้ามไม้จับ 1 ด้ามไว้สำหรับถือ ข้างใต้กล้องใกล้ด้ามจับมีข้อความสลักไว้ว่า “Man'f'd by Underwood & Underwood New York Patented June 11.1901 Foreign Patents Applied For” ส่วนแผ่นภาพคู่ 2 มิติ โดยส่วนใหญ่จะเป็นภาพถ่ายสถานที่และผู้คน บรรจุอยู่ในกล่องกระดาษที่สันกล่องทำคล้ายปกหนังสือ ระบุชื่อสถานที่ของภาพถ่ายและยี่ห้อไว้.โดยกล้อง 3 มิติพร้อมแผ่นภาพตัวนี้ มี 'ความสำคัญ' คือ เป็นของที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงซื้อมาจากพ่อค้าชาวยุโรป และพระราชทานแก่เจ้าดารารัศมี พระราชชายา เมื่อครั้งกราบบังคมลากลับไปเยี่ยมเมืองเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2451 เนื่องจากทรงเกรงว่าระหว่างทาง หากพระราชชายาอ่านหนังสือจนตาลาย เผื่อจะใช้กล้อง 3 มิติส่องดูเล่นไปได้ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้ได้ที่ https://www.facebook.com/chiangmai.../posts/2626660764234660).>> หากผู้อ่านทุกท่านสนใจ สามารถเข้ามาย้อนเวลา ร่วมสัมผัสประสบการณ์ความบันเทิงของผู้คนในอดีต ส่องผ่านกล้อง 3 มิติได้ที่อาคารจัดแสดงชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ >> พร้อมสามารถเข้าชม นิทรรศการพิเศษ “คน (เริง) เมือง ย้อนมองเมืองเชียงใหม่ยุคโมเดิร์นไนซ์ ผ่านสถานที่ ผู้คน และวัตถุเริงรมย์” ที่จัดแสดงอยู่บริเวณใกล้กันได้เช่นกันค่ะ >> เปิดทำการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09:00 – 16:00 น. (หมายเหตุ: ขณะนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ งดเว้นค่าเข้าชม เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงห้องจัดแสดงนิทรรศการบางส่วน ทำให้ไม่สามารถจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญบางชิ้นได้ ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)---------------------------------------------------------------------แหล่งอ้างอิง- John Plunkett. (2008). “Selling stereoscopy, 1890–1915: Penny arcades, automatic machines and American salesmen”, Early Popular Visual Culture Vol. 6, No. 3, November 2008, p.239–242.- Kansas Historical Society. “Stereoscopic photographs and marketing of photographs”. [Online]. เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2565, จาก: https://www.kshs.org/kansa.../elmer-and-bert-underwood/12227- The Guardian. “Stereographic New York: animated 3D images from the 1850s to the 1930s”. [Online]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565, จาก : https://www.theguardian.com/.../stereographic-new-york...- Museum of Teaching and Learning. “Stereoscope”. [Online]. เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2565, จาก: https://www.motal.org/stereoscope.html- Britannica. “Development of stereoscopic photography”. [Online]. เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2565, จาก: https://www.britannica.com/.../Development-of...- Cove. “Wheatstone invents mirror stereoscope”. [Online]. เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2565, จาก: https://editions.covecollective.org/.../wheatstone...ที่มารูปภาพ- Wheatstone Stereoscope ที่มา : https://commons.wikimedia.org/.../File:Charles_Wheatstone...- Brewster Stereoscope ที่มา : https://commons.wikimedia.org/.../File:PSM_V21_D055_The...- Holmes Stereoscope ที่มา : https://www.flickr.com/photos/zcopley/91299034
ในโอกาสที่ “นาค” ได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์เอกลักษณ์ประจำชาติ ประเภทสัตว์ในตำนาน กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ จัดทำภาพต้นแบบของนาค ๔ ตระกูล วิรูปักษ์ เอราปถ ฉัพพยาปุตตะ กัณหาโคตมะ พิมพ์เป็นโปสเตอร์ สี่สีสวยงาม ด้วยกระดาษอย่างดี เหมาะสำหรับมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พิมพ์จำนวนจำกัด ๑,๐๐๐ ภาพ ทุกภาพมีหมายเลขกำกับ และผ่านการทำพิธีเพิ่มความเป็นสิริมงคล ณ พระอุโบสถวัดนาคปรก กรุงเทพฯ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และ“วังนาคินทร์” คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี จำหน่ายราคาภาพละ ๖๙๙ บาท เงินรายได้ไม่หักค่าใช้จ่ายสมทบเงินกองทุนโบราณคดี เพื่อบูรณะโบราณสถานและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผู้ที่สนใจสามารถซื้อโปสเตอร์ได้ที่กลุ่มคลังและพัสดุ (ฝ่ายพัสดุ) กรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) ชั้น ๓ โทรศัพท์ ๐-๒๑๒๖-๖๕๕๙ , ๐-๒๑๖๔-๒๕๐๑-๒ ต่อ ๓๐๒๓ (ในวันและเวลาราชการ)
ปทฺวาทสปริตฺต (ทฺวาทสปริตฺต-ตติยภาณวาร-ภาณปลาย) ชบ.บ 124/1ฆ
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 162/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
พระพิมพ์พระสาวกมีจารึก “สาริปุตฺโต” จากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง
พระพิมพ์พระสาวกมีจารึก “สาริปุตฺโต” พบร่วมกับพระพิมพ์พระสาวกมีจารึกองค์อื่น ๆ รวม ๗ องค์ จากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพิมพ์พระสาวก กว้าง ๖.๓ เซนติเมตร สูง ๑๐.๒ เซนติเมตร เศียรเรียบไม่มีอุษณีษะและเม็ดพระศกเหมือนพระพุทธรูป จึงสันนิษฐานว่าเป็นรูปพระสาวก มีพักตร์กลม ขนงต่อกันเป็นปีกกา เนตรเหลือบต่ำ นาสิกใหญ่ โอษฐ์แบะ ครองจีวรเรียบห่มเฉียงเปิดอังสาขวา หัตถ์ทั้งสองประสานกันในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้ากระดานเรียบ มีแผ่นหลังรูปสามเหลี่ยมปลายมน ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ มีจารึกตัวอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี จำนวน ๑ บรรทัด กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือประมาณ ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว ความว่า “สาริปุตฺโต” หมายถึง พระสารีบุตร
พระสารีบุตร เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะผู้เป็นเลิศทางปัญญามากกว่าพระภิกษุทั้งปวง มีความรู้ความสามารถแตกฉานในการสอนพระอภิธรรมและได้รับการยกย่องว่าเป็นพระธรรมเสนาบดี พระสารีบุตรมีนามเดิมว่าอุปติสสะ อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาหลังจากได้ฟังพระอัสสชิหนึ่งในปัญจวัคคีย์ตรัสคาถาเย ธมฺมา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาที่สรุปใจความสำคัญของอริยสัจสี่ อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ได้อย่างครบถ้วน โดยได้ชักชวนสหายสนิทนามโกลิตะอุปสมบทด้วย โกลิตะหลังจากอุปสมบทแล้วมีนามว่าพระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้าและเป็นเอตทัคคะในด้านมีฤทธิ์
อนึ่ง พระสารีบุตร ยังเป็นหนึ่งใน “พระอสีติมหาสาวก” ซึ่งหมายถึงพระสาวกสำคัญจำนวน ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ภาษาบาลีของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เช่นเดียวกันกับพระพิมพ์พระสาวกมีจารึกองค์อื่นที่พบร่วมกัน ได้แก่ พระมหากัสสปะ หรือ พระมหากัจจายนะ พระโสณโกฬิวิสะ พระกังขาเรวตะ และพระปุณณะสุนาปรันตะ การพบพระพิมพ์พระสาวกมีจารึกเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงคติการนับถือพระอสีติมหาสาวกในสมัยทวารวดี ซึ่งในปัจจุบันมีหลักฐานว่าพบเพียงที่เมืองอู่ทองเท่านั้น จึงอาจเป็นคติที่เกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
จิรัสสา คชาชีวะ. “คำ “เมตเตยยะ” ที่เก่าที่สุดที่ได้พบจากหลักฐานประเภทจารึกในประเทศไทย”. ดำรงวิชาการ ๒, ๓ (มกราคม - มิถุนายน ๒๕๔๖) : ๒๙ - ๓๘.
ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ. “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะ พบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี.” ใน เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง ความก้าวหน้าใน การศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี. โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี, ๒๔ – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 17/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
แนะนำ E-book หนังสือหายาก เรื่อง
1. ฝันจริงของข้าพเจ้า
ศราภัยพิพัฒ, นาวาเอก พระยา(เลื่อน ศราภัยวานิช). ฝันจริงของข้าพเจ้า. พระนคร: โรงพิมพ์อุดม, 2491.
2. ชีวิตรักของจอมพลป.
จรูญ กุวานนท์. ชีวิตรักของจอมพลป. พระนคร: ร.พ.ประเสริฐอักษร, 2502.
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง คิดถึงแม่
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ บริษัท ประชาชน จำกัด
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๓
จำนวนหน้า ๑๘๔ หน้า
คิดถึงแม่ กล่าวถึงประวัติ คุณความดี ของ นางนารี วิสุทธกุล ประวัติความเป็นมาของชนชาติมอญ กล่าวถึง ธรรมบท เป็นพระพุทธพจน์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุคคลต่างๆ ธรรมบท ประกอบไปด้วย ยมกวรรค อปมาทวรรค จิตตวรรค บุปผาวรรค(หมวดดอกไม้) พาลวรรค(หมวดพาล) เป็นต้น ในเล่มยังประกอบไปด้วย ธรรมะบางบทของท่านมหาบัว แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี อีกด้วย
ชื่อผู้แต่ง อุทัย วงศ์ทองสวัสดิ์
ชื่อเรื่อง โหงวเฮ้ง
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท
สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๔
จำนวนหน้า ๑๑๗ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนาย อุทัย วงศ์ทางสวัสดิ์
รายละเอียด
ตำราดูโหงวเฮ้งของนายอุทัย วงศ์ทางสวัสดิ์ ประกอบด้วยเรื่อง รูปลักษณะ ๑๒ ประเภท แยกส่วน ๓ ประเภท บนใบหน้า กายวิภาค ๔๒ ตำแหน่ง หู คิ้ว ตา จมูก โหนกแก้ม เส้นใต้โหนกแก้ม เส้นวาสนา ปากพันเรียง-คำพูด เส้นผม อวัยวะส่วนประกอบ มือและลายมือ ตำแหน่งสภาพชีวิต และแผนที่อายุจร
เลขทะเบียน : นพ.บ.435/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 156 (131-140) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระธรรมเทสนา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม