ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,778 รายการ
ตรวจรับงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ปราสาททนงตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ (งวดที่๑)วันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ชื่อเรื่อง : เรื่องเมืองไตรตรึงส์ อู่ทอง และอโยธยา และเมืองอู่ทอง
ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์ และมานิต วัลลิโภดม
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี
สำนักพิมพ์ : อมรการพิมพ์
ชื่อผู้แต่ง ตาชารด์,กวีย์กัปสันต์ ท. โกมลบุตร, ผู้แปล
ชื่อเรื่อง จดหมายเหตุการณ์เดินทาง ครั้งที่ ๒ ของบาทหลวงตาชารด์ ค.ศ.๑๖๘๗-๑๖๘๘
พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสาลาดพร้าว
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๗ จำนวนหน้า ๒๙๖ หน้า
หมายเหตุ บาทหลวงกวีย์ ตาชารด์เป็นคณะทูตจากฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสมัยอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและได้รับความไว้วาง พระทัยจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในขณะที่เดินทางมาจากประเทศไทยได้บันทึกเรื่องราวต่างในประเทศไทยและนำไปตีพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสจดหมายเหตุการณ์เดินทางครั้งที่ ๒ ก็เป็นบันทึกฉบับที่ ๒
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ ทุกวินาทีของพระองค์ทรงคุณค่ายิ่งนัก
ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย.สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ ทุกวินาทีของพระองค์ทรงคุณค่ายิ่งนัก .ศิลปวัฒนธรรม.(37):11;กันยายน 2559.
“—เวลาเป็นของมีค่า เมื่อมันล่วงไปแล้ว มันจะไม่กลับมาอีก ถ้าเรามีโอกาสจะใช้มันให้เป็นประโยชน์ แล้วไม่ใช้มันก็เป็นที่น่าเสียดาย—”
เป็นพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ซึ่งมักจะทรงกล่าวพระราชทานแก่ลูกศิษย์หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเร่งให้ทุกคนใช้เวลาทุกนาทีให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติและประเทศชาติ
พระราชดำรัสนี้เมื่อเวลาผ่านไปและหวนกลับมาคิดถึงก็จะรู้สึกสะเทือนในหัวใจของทุกคน เพราะดูราวกับว่าจะทรงรู้พระองค์ว่าทรงมีเวลาไม่มากนักสำหรับที่จะทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง ความเร่งรีบในทุกพระภาระที่ทรงปฏิบัติเพื่อความรุ่งเรืองมั่นคงของกิจการแพทย์ น่าจะเป็นพยานยืนยันถึงความมุ่งหวังผลสำเร็จในเวลาที่ยังทรงดำรงพระชนมชีพในโลกมนุษย์ เพราะ “—เมื่อมันล่วงไปแล้ว มันจะไม่กลับมาอีก—”
องค์ความรู้ เรื่อง หนังตะลุง ศิลปะบนแผ่นหนัง จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 17
ฉบับที่ 680
วันที่ 16-30 มิถุนายน 2535
การศึกษาวิเคราะห์ คติความเชื่อเรื่องผีสางเทวดาในชุมชนภาคใต้ เป็นเอกสารประกอบการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ของอาจารย์กลิ่น คงเหมือนเพชร โดยเป็นการเผยแพร่คติความเชื่อบางประการ เน้นเฉพาะท้องถิ่นในภาคใต้
ชื่อเรื่อง ประเพณีทำศพ ผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประเพณีเกี่ยวกับการตายเลขหมู่ 393.2 ศ528ปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร ปีที่พิมพ์ 2503ลักษณะวัสดุ 50 หน้า หัวเรื่อง พิธีศพ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประเพณีทำศพอธิบายการประกอบพิธี ดังนี้ การบอกหนทาง การอาบน้ำศพ การแต่งตัว การมัดศพ โลงและการเบิกโลง เครื่องประกอบโลง การตั้งศพ การนำศพออกจากบ้าน การเผาศพ ข้างขึ้นเผาคี่ข้างแรมเผาคู่ เดินสามหาบ แปรรูป และเก็บอัฐิ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทสนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ. 125/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
“เหมืองแร่ลาบู หรือ “เหมืองฟักทอง” ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๘ บ้านลาบู ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ในอดีตเหมืองแร่ดีบุกแห่งนี้นับเป็นเหมืองแร่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในยุคเริ่มแรกเหมืองแห่งนี้อยู่ในความครอบครองของเจ้าเมืองยะลาคือหลวงสวัสดิภักดี(ยิ้มซ้าย) ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปเป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง และได้โอนกรรมสิทธิ์ของเหมืองเหล่านี้ไว้เป็นผลประโยชน์ของเจ้าเมืองสงขลาตลอดมา ทั้งนี้แรงงานเหมืองในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นชาวจีน และบรรทุกแร่ออกจากเหมืองด้วยช้าง ในยุคต่อมาราวนายทุนชาวออสเตรเลียมารับช่วงของการทำสัมปทานเหมืองแร่แทนจนถึง พ.ศ.๒๕๓๕ มีการใช้วิธีการระเบิดและเจาะถ้ำและใช้รถรางสองหัวในการบรรทุกนำดินออกมาจากถ้ำและจะขุดแร่ตามเส้นทางแร่ในถ้ำ และลำเลียงแร่ไปขายโดยการบรรทุกด้วยรถจี๊ป กล่าวกันว่าการระเบิดถ้ำในสมัยนั้นทำให้นายโรเบิร์ต แฮรี่ หนึ่งในทีมขุดเจาะเสียชีวิตในถ้ำด้วยการระเบิด ในปัจจุบันถ้ำแห่งนี้ยังปรากฏอยู่และมีชื่อว่า “อุโมงค์แร่ประวัติศาสตร์” ปัจจุบันพื้นที่เหมืองลาบูได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยมีจุดท่องเที่ยวสำคัญคือ อุโมงค์แร่ประวัติศาสตร์ จุดชมตราประจำจังหวัดยะลา เรือนรับรอง ๑๐๐ ปีบ้านเลขที่ ๑๐๐ เหมืองลาบู น้ำตกนกน้อยเหมืองลาบู จุดชมป่าดงเสม็ดแดง และจุดชมทะเลหมอก -------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา-------------------------------------------------