ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,783 รายการ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เจ้านายพระองค์สำคัญในพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงเป็นที่รู้จักของอนุชนรุ่นหลัง ด้วยพระเกียรติคุณมากมาย ในทางศิลปะ ทั้งสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ดนตรี ตลอดจนประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ปรากฏผลงานมากมายเป็นที่ประจักษ์จนถึงปัจจุบันนี้ อย่างเช่น พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดราชาธิวาสวิหาร พระอุโบสถ และภาพจิตรกรรมภายในพระวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ฯลฯ ผลงานต่างๆ ที่ทรงสร้างสรรค์มากมายหลายด้าน ทำให้บรรดาศิษย์ และอนุชนรุ่นหลังขนานนามยกย่องว่า เป็น “สมเด็จครู” นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม
ผลงานที่ยังคงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานในความสามารถทางศิลปะของพระองค์อย่างหนึ่ง คือ ตาลปัตร และพัดรอง ซึ่งทำขึ้นในโอกาสต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพิธีสงฆ์ โดยมีความนิยมมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ออกแบบพัดรองที่ระลึก สำหรับงานพระราชพิธีต่างๆ หลายโอกาส ด้วยความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ และสื่อความถึงวาระโอกาสนั้นๆ การออกแบบพัดรองถวายพระสงฆ์ จึงได้ขยายออกไปสู่บรรดาพระราชวงศานุวงศ์ และบุคคลสำคัญอื่นๆ ด้วย
ผลงานพัดรองที่ระลึกของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นอกจากเป็นของที่ทำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และ ยังทรงรับออกแบบให้กับเจ้านายพระองค์ต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ กระทั่งมาจนถึงรัชกาลที่ ๘
ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ฯ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร ในรัชกาลที่ ๘ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ ขณะพระชนม์ได้ ๕๔ พรรษา โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง พระศพไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ก่อนจะมีงานพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพ ในพุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งในงานพระเมรุครั้งนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงออกแบบ พัดรองสังเค็ด สำหรับงานพระเมรุคราวนั้นอีกครั้ง แม้จะทรงมีพระชนมายุมากถึง ๗๐ กว่าพรรษาแล้ว ก็ยังทรงพระอุตสาหะร่างแบบพัดรองขึ้น ก่อนจะให้ผู้รับผิดชอบนำไปเพิ่มเติมรายละเอียดแก้ไขต่อไป ซึ่งน่าสนใจว่า พัดรองคราวนั้น ได้ทรงออกแบบมาให้เกี่ยวข้องกับเมืองเพชรบุรีด้วย
รูปพัดรองดังกล่าว มีลักษณะ เป็นพัดผ้าแพรสีเขียวอ่อน อันเป็นสีวันประสูติ คือวันพุธ ขอบสีเขียวตองอ่อน ส่วนของนมพัดส่วนบน เขียนเป็นรูปพระเจดีย์ทรงลังกาสีขาวอยู่ตรงกลาง ตั้งอยู่บนเนินเขาสีเขียวตองอ่อน ซึ่งมีใบตาลเป็นแฉกประดับอยู่ ถัดลงมาใต้เนินเป็นอักษรโลหะ ที่ออกแบบเพื่อให้เป็นรูป ว.อ. อันย่อมาจากพระนาม “วไลยอลงกรณ์” ประดับอยู่ โดยมีตัวเลขไทย ๒๔๒๗ และ ๒๔๘๑ อยู่ถัดมาทางซ้ายและขวาของอักษรย่อนั้น อันหมายถึงปีประสูติ และสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวไลยองกรณ์ฯ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร
พระเจดีย์ทรงระฆังสีขาว ซึ่งเป็นภาพหลักในพัดรองดังกล่าว มีรูปลักษณะเดียวกันกับ พระธาตุจอมเพชร ปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนยอดเขามหาสวรรค์ ในเวลาเดียวกันกับที่โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราชวังขึ้น บนเขาลูกเดียวกันนี้ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๒ ที่มาของพระเจดีย์องค์นี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ (ขำ บุนนาค) ความตอนหนึ่งระบุว่า “.... เขาอีกยอด ๑ โปรดให้ก่อหุ้มพระเจดีย์เก่าขึ้นอีกองค์ ๑ ฐาน ๑๐ วา สูง ๑ เส้นให้ชื่อพระธาตุจอมเพ็ชร์....” ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ทรงระฆัง เป็นเจดีย์ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจ กล่าวคือ เป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บานประทักษิณ ๒ ชั้น และภายในองค์เจดีย์ เป็นโถง ที่มีเสาก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่รองรับน้ำหนักองค์เจดีย์ส่วนยอดไว้
พระธาตุจอมเพชร นับว่าเป็นลักษณะที่นิยมสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า เจดีย์ในลักษณะดังกล่าว เป็นเจดีย์ที่มีการถ่ายทอดรูปแบบมาแต่ครั้งโบราณ ดังปรากฏกระแสพระราชดำริว่าด้วยการสร้างพระเจดีย์ทรงระฆังที่ทรงถือว่าเจดีย์ทรงดังกล่าวเป็นทรงที่ถูกต้องและเป็นรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาสืบต่อมาจากลังกา ซึ่งแสดงให้เห็นความเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่ครั้งพุทธศาสนาตั้งอยู่ในอินเดีย ก่อนจะเข้ามาสู่ลังกาและสยามประเทศ
พระธาตุจอมเพชร เป็นพระเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่ ที่สามารถมองเห็นได้แต่ไกล และด้วยนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานว่า “จอมเพชร” อันจะมาจากพระราชประสงค์ ที่จะให้เป็นปูชนียสถานอันยิ่งใหญ่ของเมืองเพชรบุรีนั้น คล้องกันกับพระนามกรมของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ฯ ซึ่งทรงกรมที่ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร นั่นเอง จึงทำให้สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเลือกมาเป็นภาพประกอบพัดรองในงานพระศพเจ้าฟ้าพระองค์นั้น
พัดรองงานพระเมรุ สมเด็จฯเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ฯ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า นั้นยังเป็นพัดรอง ๑ ใน ๓ เล่มสุดท้าย ที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ โดยนอกจากพัดรองดังกล่าว ยังมีพัดรองงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน และงานศพหม่อมเชื้อ วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
ดังได้กล่าวข้างต้นว่า ขณะที่ทรงออกแบบพัดรองนั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีพระชนมายุถึง ๗๗ พรรษาแล้ว หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
“...ในชั้นหลังนี้ไม่สามารถจะทรงเขียนอย่างวิจิตรได้ดังแต่ก่อน ด้วยพระเนตรไม่ดีเสียแล้ว จึงต้องทรงเขียนลัดให้เป็นแบบง่ายๆ เสียเป็นพื้น ...ขณะนั้น มีพระชันษาได้ ๗๗ ปีแล้ว เมื่อทรงเขียนสองเล่มแรก ก็ไม่สู้เดือดร้อน ด้วยเป็นลายง่ายๆ และไม่ใช่สำคัญ แต่พัดเล่มสุดท้ายนั้นเป็นพัดสำหรับใช้ในงานใหญ่ จึงอยากจะทรงเขียนถวายสนองพระเดชพระคุณให้ดีที่สุด ดังเช่นที่ได้เคยเขียนทูลเกล้าฯ ถวายแล้วมาแต่ก่อน แต่ก็ไม่สามารถเขียนได้ดังพระทัยปรารถนา ด้วยเวลาที่ทรงเขียนนั้น ทอดพระเนตรเส้นไม่เห็นเลย ต้องใช้แว่นขยายส่องขีดทีละเส้นด้วยความลำบาก เมื่อทรงเขียนเสร็จแล้วก็ไม่ดีสมพระทัย รู้สึกพระองค์ว่าเสื่อมความสามารถเสียแล้ว ตั้งแต่นั้นมาจึงไม่ทรงรับเขียนประทานผู้ใดอีก คงแต่ประทานแนวความคิดแก่ผู้ที่ทูลปรึกษาเท่านั้น...”
อ้างอิง
ศิลปากร, กรม. ตาลปัตร ฝีพระหัตถ์สมเดจฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติ
วงศ์. ๒๕๕๓, กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊ค.
สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “สมเด็จครู”
นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม. ๒๕๔๙,กรุงเทพฯ : มติชน.
วรรณกรรมและประวัติศาสตร์, สำนัก. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. ๒๕๕๔,
กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร .
ศิลปากร, กรม. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ของ
เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ ฯ (ขำ บุนนาค). ๒๕๖๑, กรุงเทพฯ :
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. วัด – วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ. ๒๕๖๐,
กรุงเทพฯ : มติชน.
วสันต์ ญาติพัฒ
ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี : เรียบเรียง
-ขอบคุณภาพประกอบจาก
๑.รูปพัดวไลย จากเพจ "สมเด็จครู" https://www.facebook.com/HRHPrinceNaris
๒.รูปพระธาตุจอมเพชร ของพิพิธภัณพสถานแห่งชาติ พระนครคีรี
ชื่อเรื่อง ธรรมวิสุทธิยา (หนังสือธัมวิสุทธิยา)
สพ.บ. 243/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 18 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ปายาสิุตฺต (ปายาสิสูตร)
สพ.บ. 374/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 68 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.156/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 72 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : สุโพธลงฺการ(ศัพท์สุโพธลังการ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.37/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)
ชบ.บ.75/1-1ท
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
โอวาทปาฏิโมกฺข (โอวาทปาฏิโมกฺข)
ชบ.บ.99/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.313/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 5 x 56.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 128 (317-320) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี - กถาวตฺถุ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : ละครพูด เรื่อง กลแตก หมายน้ำบ่อหน้าชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบามสมเด็จพระ, 2423-2468 ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : คุรุสภาพระสุเมรุจำนวนหน้า : 324 หน้าสาระสังเขป : บทละครพูดเรื่องกลแตกนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า “ศรีอยุธยา” เป็นละครพูด 4 องค์จบ ทรงพระราชดำริเนื้อเรื่อง ตลอดจนแบบฉากในการแสดง และทรงแสดงบทของพระเทพราชเสวีด้วยพระองค์เอง
รายการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ผลการศึกษาแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดีในบริเวณอ่าวปัตตานี
ตอน ศาลเจ้าปุงเถ่ากง ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากชาวล้านนาแล้ว ยังมีเชื้อชาติอื่นเข้ามาอาศัยและมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ชาวเชื้อสายจีน โดยตั้งแต่ช่วงที่มีการค้าแบบม้าต่างวัวต่าง และพัฒนามาจนถึงการค้าแบบการล่องเรือ เริ่มมีผู้ค้าขายที่มีเชื้อสายจีนล่องเรือมาอาศัยและทำการค้าบริเวณย่านวัดเกตที่เป็นท่าเรือเก่า บริเวณตลาดต้นลำไย แถวถนนช้างม่อย ทำให้เกิดความคึกคักในย่านนี้มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อมีผู้คนชาวจีนอาศัยมากขึ้น จึงทำให้เกิดการสร้างศาลเจ้าแห่งแรกของเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวจีน คือ ศาลเจ้าปุงเถ่ากงหรือปุนเถ่ากง ชื่อนี้เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว มีความหมายว่า “ชุมชนดั้งเดิม” ตั้งอยู่บริเวณติดริมน้ำปิง ซึ่งเป็นย่านการค้าทางเรือ โดยเชื่อว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่า ๑๔๐ ปี เนื่องจากพบตัวเลข ๒๔๑๖ บริเวณไม้อกไก่ของหลังคา ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในอดีตบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวัดเณรจิ๋ว มีเจดีย์รูปร่างคล้ายกับเจดีย์วัดเกต บรรจุอัฐิพระพุทธเจ้าไว้ ต่อมาทางการได้รื้อซากปรักหักพังของเจดีย์ออกไป ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าพระธาตุเจดีย์ที่ถูกรื้อนั้นมีความเชื่อมโยงกับวัดเกต ซึ่งเป็นชุมชนชาวจีนเหมือนกัน สถาปัตยกรรมของศาลเจ้าปุงเถ่ากง เป็นแบบศิลปะจีนโบราณ ด้านในของศาลนอกจากเทพเจ้าปุนเถ่ากง-ม่า (เจ้าปู่ เจ้าย่า) ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ได้แก่ ทีตี่แป่ป้อ (เทพยดาฟ้าดิน) กวนอิมเนี่ยเนี้ย (เจ้าแม่กวนอิม) ไช้ซิ้งเหล่าเอี้ย (เทพเจ้าโชคลาภ) ฮั้วท้อเซียนซือ (เทพเจ้าโอสถ) เฮี้ยงเทียนเซียงตี่ หรือตั้วเล่าเอี้ย (เจ้าพ่อเสือ) เล้งซิ้ง (เจ้ามังกร) โฮ้วเอี้ย (เจ้าพยัคฆ์) ตี่จู้ (เจ้าที่) หมึงซิ้ง (เจ้ารักษาประตู) จึงมีการทำพิธีทางศาสนาเบิกเนตร (ไคกวง) และอัญเชิญเจ้าสู่ที่ประทับ (เซ่งเต่ย) เทพเจ้ากวนอู ฮกลกซิ่ว แปดเซียนสิบแปดอรหันต์ ฯลฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งตรงกับงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และวาระสมโภช ๗๐๐ ปี นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ได้มีการบูรณะศาลเจ้าโดยคณะกรรมการและสมาชิกได้พิจารณาก่อสร้างอาคารหลังใหม่เพื่อทดแทนหลังเก่า เป็นทรงอาคารรูปแบบปัจจุบัน ภายในตกแต่งอย่างสวยงาม แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๑เรียบเรียงโดย นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.อ้างอิง :๑. อรรคพล สาตุ้ม. ๒๕๖๓. ความสัมพันธ์ “ชาวจีน” กับผู้ปกครองเชียงใหม่ผ่านความเชื่อและพิธีกรรมในศาลเจ้าจีน. ศิลปวัฒนธรรม(Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_35144 . สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๕.๒. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๒. เสริมสิริมงคลสักการะ ๓ ศาลเจ้าจีนในเชียงใหม่. เชียงใหม่นิวส์ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/906850/ . สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๕.
วันอังคารที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ พร้อมมอบโล่นายกรัฐมนตรีแก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย เยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พุทธศักราช ๒๕๖๕ และมอบรางวัลเพชรในเพลง ประจำปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ มอบรางวัลประกวดคำขวัญวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มอบรางวัลประกวดเพลงแรป “รักนะจ๊ะ ภาษาไทย” และประกวดการอ่านทำนองเสนาะ โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนสถานทูตประเทศต่าง ๆ นักเรียน นักศึกษา ศิลปินนักร้อง และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ