ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,783 รายการ
ชื่อเรื่อง ประเพณีทำศพ ผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประเพณีเกี่ยวกับการตายเลขหมู่ 393.2 ศ528ปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร ปีที่พิมพ์ 2503ลักษณะวัสดุ 50 หน้า หัวเรื่อง พิธีศพ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประเพณีทำศพอธิบายการประกอบพิธี ดังนี้ การบอกหนทาง การอาบน้ำศพ การแต่งตัว การมัดศพ โลงและการเบิกโลง เครื่องประกอบโลง การตั้งศพ การนำศพออกจากบ้าน การเผาศพ ข้างขึ้นเผาคี่ข้างแรมเผาคู่ เดินสามหาบ แปรรูป และเก็บอัฐิ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทสนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ. 125/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
“เหมืองแร่ลาบู หรือ “เหมืองฟักทอง” ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๘ บ้านลาบู ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ในอดีตเหมืองแร่ดีบุกแห่งนี้นับเป็นเหมืองแร่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในยุคเริ่มแรกเหมืองแห่งนี้อยู่ในความครอบครองของเจ้าเมืองยะลาคือหลวงสวัสดิภักดี(ยิ้มซ้าย) ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปเป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง และได้โอนกรรมสิทธิ์ของเหมืองเหล่านี้ไว้เป็นผลประโยชน์ของเจ้าเมืองสงขลาตลอดมา ทั้งนี้แรงงานเหมืองในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นชาวจีน และบรรทุกแร่ออกจากเหมืองด้วยช้าง ในยุคต่อมาราวนายทุนชาวออสเตรเลียมารับช่วงของการทำสัมปทานเหมืองแร่แทนจนถึง พ.ศ.๒๕๓๕ มีการใช้วิธีการระเบิดและเจาะถ้ำและใช้รถรางสองหัวในการบรรทุกนำดินออกมาจากถ้ำและจะขุดแร่ตามเส้นทางแร่ในถ้ำ และลำเลียงแร่ไปขายโดยการบรรทุกด้วยรถจี๊ป กล่าวกันว่าการระเบิดถ้ำในสมัยนั้นทำให้นายโรเบิร์ต แฮรี่ หนึ่งในทีมขุดเจาะเสียชีวิตในถ้ำด้วยการระเบิด ในปัจจุบันถ้ำแห่งนี้ยังปรากฏอยู่และมีชื่อว่า “อุโมงค์แร่ประวัติศาสตร์” ปัจจุบันพื้นที่เหมืองลาบูได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยมีจุดท่องเที่ยวสำคัญคือ อุโมงค์แร่ประวัติศาสตร์ จุดชมตราประจำจังหวัดยะลา เรือนรับรอง ๑๐๐ ปีบ้านเลขที่ ๑๐๐ เหมืองลาบู น้ำตกนกน้อยเหมืองลาบู จุดชมป่าดงเสม็ดแดง และจุดชมทะเลหมอก -------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา-------------------------------------------------
เลขทะเบียน : นพ.บ.72/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : นิปฺณปทสงฺคห (นิปุณณปทสังคหะ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.133/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4 x 51.8 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 79 (315-317) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : เตปทุุมกุมาร--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง บุญนาค พยัคฒเดช
ชื่อเรื่อง ประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี ) สมุหนายก
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพ ฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก
ปีที่พิมพ์ 2518
จำนวนหน้า 254 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานกฐินพระราชทานณวัดจักรวรรดิราชาวาส ๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ เจ้าพระยาบดินทร เดชา (สิงห์ สิงหเสนี ) เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล้กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร (ร2) และต่อมาใน (ร3 )มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชสุภาวดีและได้รับ โปรดเกล้าฯให้เป็นแม่ทัพแห่งกองทัพไทย ได้สร้างเกียรติประวัติเป็นที่เกรงขามของทัพต่างๆของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว ญวน และเขมร เป็นตัวอย่างของทหารไทยในความกล้าหาญ เด็ด เดี่ยวและรักชาติ ได้รับการเลี่อนยศเป็นพระยาบดินทรเดชาเป็นตำแหน่งสุดท้าย
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.8/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มีประวัติโดยคร่าวกล่าวว่าศิลาจารึกหลักนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เมื่อครั้งทรงผนวช มีรับสั่งให้นำลงมาจากเมืองสุโขทัย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๖ เก็บรักษาไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ กระทั่งวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ นายเชื้อ สาริมาน อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ให้นำมาจัดแสดงในห้องสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ส่วนความเป็นที่สุดของจารึกหลักนี้ มีจุดเริ่มต้นอยู่ในจดหมายเวร ฉบับลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๗๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระวินิจฉัยต่อพระดำริในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ว่าด้วยเรื่องวรรณยุกต์ โดยทรงได้เทียบเคียงกับสำเนียงแต่ละภูมิภาค กระทั่งทรงพบหลักฐานชิ้นสำคัญ มีเนื้อหาระบุไว้ความว่า “...ครั้นเช้าวันนี้หม่อมฉันไปพิพิธภัณฑสถาน เรื่องปรารภที่ทูลมาติดใจไป จึงแวะไปดูหลักศิลาจารึกของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช เห็นใช้หมายกากะบาด ไม่มีโท แต่มีเอก ก็นึกว่าจะมีวิธีอ่านและออกสำเนียงเปนอย่างอื่น ไม่เหมือนเช่นเราชาวกรุงเทพฯใช้กัน จึ่งทูลมาเพื่อทรงวินิจฉัย”
ต่อมา สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงพิจารณาตรวจสอบเรื่องไม้เครื่องหมายเสียงและสำเนียงภาษาแล้ว จึงได้ถวายรายงานตอบกลับในจดหมายเวร ฉบับลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๕ ความว่า “...ไม้เอกโทนั้น ได้พบในหนังสืออันแก่ที่สุดก็ที่จารึกหลักศิลาของขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัย ... ไม้เอกแปลว่าไม้อันเดียวขีดเดียว ไม้โทแปลว่าไม้สองอันขีดก่ายกันเป็นกากบาท ต่อมาภายหลังเขียนอย่างง่ายๆ ไม่ยกเหล็กจาร ทุกวันนี้จึ่งกลายรูปเป็นไม้สองอันต่อกันเป็นมุมฉาก ... เมื่อจารึกหนังสือไทยลงหลักศิลานั้นมีไม้เอกโทแล้ว หลักศิลานั้นเป็นหนังสือไทยที่จารึกในแผ่นดินขุนรามคำแหง และมีความปรากฏว่าขุนรามคำแหงเป็นผู้คิดหนังสือไทย ก็ต้องถือว่าไม้เอกโทมีมาพร้อมแต่แรกคิดหนังสือไทยในครั้งขุนรามกำแหงนั้น..." ดังนั้น จากพระวินิจฉัยข้างต้น จึงสรุปได้ว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถือเป็น “หนังสืออันแก่ที่สุด” ที่กล่าวถึงวรรณยุกต์เอกโท ทั้งยังถือว่าเป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทยที่เก่าที่สุดด้วย
(เผยแพร่ข้อมูลโดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / เทคนิคภาพโดย นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / ภาพประกอบจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
เรื่อง "อาณาจักรหลักคำ กฎหมายเมืองน่าน"
เป็น ๑ ใน "๑๓ โบราณวัตถุต้องห้ามพลาด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน" ซึ่งเป็นบทความที่ได้เคยนำเสนอไปแล้วในครั้งก่อนหน้า
--- อาณาจักรหลักคำ หรือกฎหมายเมืองน่าน สร้างขึ้นและใช้ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ - ๒๔๕๑ ลักษณะเป็นพับสา มีไม้ประกับสองด้าน จำนวน ๑ เล่ม ๖๑ หน้า ขนาด กว้าง ๑๑.๘ เซนติเมตร ยาว ๓๖.๕ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร ต้นฉบับเป็นอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยยวน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้รับมอบจาก นางสุภาพ สองเมืองแก่น เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๐
--- อาณาจักรหลักคำหรือกฎหมายเมืองน่าน นอกจากจะมีความสำคัญในเมืองน่านเมื่อครั้งอดีต ในปัจจุบันยังนับเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่มีคุณค่าความสำคัญจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "เอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก" ของประเทศไทย ส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙
--- คำว่า "อาณาจักรหลักคำ" มีความหมายว่า "อาณาจักร" ในที่นี้หมายถึง "กฎหมาย" ดังปรากฎข้อความตอนหนึ่งในอาณาจักรหลักคำว่า "จึ่งได้หาเอาเจ้านายพี่น้องขัตติยราชวงสา ลูกหลานและท้าวพญาเสนาอามาตย์ ขึ้นเปิกสาพร้อมกันยังหน้าโรงไชย เจ้าพระยาหอหน้าเปิกสากันพิจารณา ด้วยจักตั้งพระราชอาณาจักรนั้นตกลงแล้ว” และในอีกนัยหนึ่ง กล่าวว่า อาณา เป็นคำบาลีตรงกับ อาชญา ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า อำนาจการปกครอง จักร แปลว่า ล้อ แว่นแคว้น รวมความแล้วจึงหมายถึง อำนาจปกครองของบ้านเมือง ส่วนคำว่า “หลักคำ” หมายถึง หลักอันมีค่าประดุจทองคำ คำว่า อาณาจักรหลักคำ จึงอาจหมายถึง “กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองอันมีคุณค่าประดุจดั่งทองคำ”
--- อาณาจักรหลักคำ เขียนขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๒ (ครองเมือง พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๓๔) กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะในเมืองน่าน และเมืองต่างๆที่ขึ้นกับเมืองน่าน เหตุที่ต้องมีการออกกฎหมายได้มีการกล่าวไว้ในตอนต้นของกฎหมายอาณาจักรหลักคำว่า บ้านเมืองในขณะนั้นเกิดความวุ่นวาย มีการลักขโมย การเล่นการพนัน ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนในเมือง เพื่อให้บ้านเมืองเป็นไปด้วยความสงบสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงได้กำหนดกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา โดยอาณาจักรหลักคำเป็นกฎหมายใช้เรื่อยมาในเมืองน่านและเมืองต่างๆที่ขึ้นกับเมืองน่านมาจนถึงพุทธศักราช ๒๔๕๑ ในสมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓ (ครองเมือง พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๖๑) ได้ยกเลิกการใช้อาณาจักรหลักคำ และเปลี่ยนมาใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ของกรุงรัตนโกสินทร์แทน เนื่องด้วยในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีนโยบายในการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง จึงทรงปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพและส่งข้าหลวงจากส่วนกลางมาเป็นส่วนหนึ่งของเค้าสนามหลวงประจำอยู่ที่เมืองน่าน
--- อาณาจักรหลักคำ มีลักษณะเป็นกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งออกโดยเจ้าเมืองน่าน เจ้านายบุตรหลาน ขุนนาง และพ่อเมืองต่างๆร่วมกันออกตัวบทกฎหมายเพื่อใช้ภายในบ้านเมืองของตน โดยในการใช้กฎหมายนอกจากใช้ในเขตเวียงน่านโดยมีเค้าสนามหลวงดำเนินการแล้ว ยังมีการกระจายอำนาจให้กับหัวเมืองต่างๆที่ขึ้นอยู่กับเมืองน่านให้มีอำนาจตัดสินคดีความ แต่หากคดีนั้นพิจารณาในหัวเมืองน้อยแล้วยังไม่ยอมความ สามารถที่จะฟ้องร้องต่อเค้าสนามในเวียงเพื่อพิจารณาคดีใหม่ได้
--- ในส่วนของเนื้อหากฎหมายในอาณาจักรหลักคำ อาจแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ กฎหมายในช่วงตอนต้นที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๙๕ และกฎหมายในช่วงตอนหลังที่ออกใน พ.ศ. ๒๔๑๘
๑. กฎหมายที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๙๕ มีสาระสำคัญอยู่หลายมาตรา แต่ละมาตราจะมีรายละเอียดตัวบทกฎหมายและบทลงโทษผู้กระทำความผิดแตกต่างกันไป การทำความผิดในกรณีเดียวกันอาจรับโทษหนักเบาไม่เท่ากัน เนื่องจากมีการกำหนดระดับชนชั้นของผู้ที่กระทำความผิด คือ เจ้านาย ขุนนาง หรือไพร่ ชนชั้นสูงจะเสียค่าปรับมากกว่าสามัญชน กฎหมายที่สำคัญที่ลงโทษหนัก คือ การลักควาย ซึ่งในสมัยนั้นอาจมีการลักขโมยควายไปฆ่ากินอยู่บ่อยครั้ง จึงระบุโทษว่า ผู้ลักควายไปฆ่ากินจะมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต เนื้อหาของกฎหมายในช่วงนี้มีเพียงตัวบทกฎหมายซึ่งมีการกำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน แต่ไม่มีตัวอย่างคดีความที่เกิดขึ้นจริงให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายปรากฏอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเนื้อความในกฎหมายก็ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการเมืองการปกครอง สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเมืองน่านในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่ในช่วงตอนต้นนี้มักจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองน่านในด้านต่างๆ ได้แก่ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การเก็บของป่า การแลกเปลี่ยนสินค้า การประมง การแบ่งชนชั้น ตลอดจนความเชื่อค่านิยมและประเพณี ดังเนื้อความที่ปรากฏในอาณาจักรหลักคำ เช่น การทำเครื่องมือจับปลาในแม่น้ำจะต้องเว้นช่องไว้ให้เรือผ่านได้สะดวก, การห้ามฟันไร่บริเวณต้นน้ำและริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและนำน้ำเข้าสู่ไร่นา หากฝ่าฝืนมีโทษ เฆี่ยนหลัง ๓๐ แส้ และปรับเงิน ๓๓๐ น้ำผ่า นอกจากนั้นยังมีกฎหมายห้ามฆ่าค้างคาวในถ้ำ ห้ามเบื่อปลาในน้ำ และห้ามตัดต้นไม้บางชนิด , กฎหมายห้ามปลอมแปลงเงินตรา โดยมีโทษต้องเข้าคุก ปรับไหมและเฆี่ยนตี ความว่า “...คันว่าบุคคลผู้ใดเบ้าเงินแปลกปลอมและจ่ายเงินแปลกปลอมเงินดำคำเส้านั้น คันรู้จับตัวไว้จักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตร ไว้แล้ว...จักไหม ๓๓๐ น้ำผ่า เฆี่ยน ๓๐ แส้...” เป็นต้น
๒. กฎหมายในช่วงตอนหลัง มีลักษณะแตกต่างจากช่วงตอนแรก ประกอบด้วย กฎหมายที่ออกเพิ่มเติมขึ้นใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๑๘, พ.ศ. ๒๔๒๓ และบันทึกการตัดสินคดี พ.ศ. ๒๔๑๙ และบันทึกกฎหมายเก่าที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๘๗ นอกจากนี้ยังมีบันทึกเหตุการณ์ที่จดแทรกเข้ามา ได้แก่ บันทึกเหตุการณ์เจ้าเมืองล้าส่งบรรณาการมาให้เจ้าเมืองน่าน (พ.ศ. ๒๔๒๑) และจดบันทึกนาสักดิ์เจ้านาย ขุนนางและไพร่ แสดงให้เห็นว่าในช่วงตอนหลังการบันทึกในอาณาจักรหลักคำนอกจากกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว ยังมีการจดแทรกเพิ่มเติมเรื่องอื่นไว้ด้วยโดยไม่ได้ลำดับศักราชและเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่ออกในช่วง พ.ศ. ๒๔๑๘ ก็มีความสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องออกกฎหมายใหม่เพิ่มเติมให้ทันกับสถานการณ์บ้านเมือง คือ เรื่องห้ามสูบฝิ่น ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ๓ ปี และกฎหมายห้ามจับควายละเลิง (ควายป่า, ควายไม่มีเจ้าของ) ที่มาของกฎหมายห้ามสูบฝิ่น แสดงให้เห็นถึงคนจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขายในเมืองน่านมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว สิ่งที่คนจีนนำเข้ามาคือการสูบฝิ่น สืบเนื่องมาจากมีเจ้านายบุตรหลานเมืองน่านผู้หนึ่งติดฝิ่น สร้างปัญหาให้กับบิดา จึงได้มีการเสนอเรื่องนี้พิจารณาในระดับชั้นเจ้า ในที่สุดเจ้าเมืองน่านจึงพิจารณาโทษเจ้านายบุตรหลาน และต่อมาก็ออกกฎหมายประกาศใช้ทั่วไป และมีหนังสือบันทึกกฎหมายใหม่ส่งไปยังหัวเมืองต่างๆในการปกครองของเมืองน่านได้รับรู้ด้วย
--- ปัจจุบัน อาณาจักรหลักคำ ซึ่งถูกจัดเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้มีโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดทำโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ได้บันทึกภาพอาณาจักรหลักคําไว้ในรูปไมโครฟิล์ม เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และต่อมาจึงได้มีการปริวรรตโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล ซึ่งผู้ที่สนใจศึกษาเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดในอาณาจักรหลักคำ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมตามเอกสารอ้างอิงได้ค่ะ
เอกสารอ้างอิง
- กรมศิลปากร. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ, ๒๕๓๗.
- ชฎาพร จีนชาวนา. การวิเคราะห์สังคมเมืองน่านจากกฎหมายอาณาจักรหลักคำ (พ.ศ. ๒๓๙๕ – ๒๔๕๑). ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๔๙.
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่านเล่มที่ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๔๗.
- สรัสวดี อ๋องสกุล. หลักฐานประวัติศาสตร์ล้านนาจากเอกสารคัมภีร์ใบลานและพับหนังสา. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๔.
ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง แต่ทุกท่านยังคงสามารถติดตามรับชมสาระความรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และแหล่งเรียนรู้ต่างๆจากทั่วทุกภูมิภาคของกรมศิลปากร ซึ่งได้นำเสนอองค์ความรู้ให้ทุกท่านได้รับชม ตลอดจนสามารถติดตามข่าวสารด้านการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากร โดยสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทาง PAGE FACEBOOK: กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร >> https://www.facebook.com/prfinearts/
ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของค่ำคืนทั้ง 10 ของเดือนรอมาฏอน ความพิเศษในค่ำคืน (ลัยละตุลก็อดรฺ)
เรามาทำความรู้จัก ที่มาและความสำคัญของเดือนรอมาฏอน
จัดทำโดย
นางสาวฤทัยรัตน์ เส้งสุวรรณ์
เอกปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นักศึกษาฝึกงาน
องค์ความรู้ทางวิชาการ
เรื่อง ๑๔ เมืองโบราณ ในจังหวัดขอนแก่น
หลักฐานจากภาพถ่ายทางอากาศ
โดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์
นักโบราณคดีชำนาญการ
สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น