ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,778 รายการ
รายงานบัญชีงบทดลองและเอกสารประกอบงบทดลอง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เดือนมีนาคม ๒๕๖๒)
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
เสถียร ลายลักษณ์ และคนอื่นๆ. ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม ๔๗ กฎหมาย พ.ศ. ๒๔๗๗. พระนคร : โรงพิมพ์เดลิเมล์, ๒๔๗๘.
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
๑. ชื่อโครงการ
กรมศิลปากรให้ยืมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ไปจัดนิทรรศการเรื่อง “อาณาจักรแห่งอดีตอันลางเลือนสมัยแรกเริ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : ฮินดู-พุทธ ประติมากรรม คริสต์ศตวรรษที่ ๕-๘” (Lost Kingdoms : Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia, 5th to 8th Century) ณ พิพิธภัณฑสถานศิลปะเมโทรโปลิตัน (The Metropolitan Museum of Art) กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๑๔ เมษายน - ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการอย่างเป็นทางการในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๗
๒.๒ หารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรกับกองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund)
๒.๓ ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑสถานและสถานที่สำคัญในกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
๓. กำหนดเวลา
ตั้งแต่วันที่ ๖ ถึง ๑๑ เมษายน ๒๕๕๗ รวม ๕ วัน
๔. สถานที่
พิพิธภัณฑสถานศิลปะเมโทรโปลิตัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐๐ ถนนสายที่ ๕ ย่านที่ ๘๒ กรุงนิวยอร์ก รหัสไปรษณีย์ NY๑๐๐๒๘ ห้องจัดแสดงนิทรรศการชื่อ “The Tisch Galleries” ชั้น ๒ ของอาคารพิพิธภัณฑสถาน
๕. หน่วยงานผู้จัด
พิพิธภัณฑสถานศิลปะเมโทรโปลิตัน กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ร่วมกับหน่วยงานจากประเทศต่างๆรวม ๘ ประเทศ ดังนี้
๕.๑ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย
๕.๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา กรุงพนมเปญ
๕.๓ กรมโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถาน ประเทศเมียนมาร์
๕.๔ พิพิธภัณฑสถาน ๕ แห่ง ในประเทศเวียตนาม
๕.๕ กรมโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถาน ประเทศมาเลเซีย
๕.๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกีเมต์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
๕.๗ พิพิธภัณฑสถานวิกตอเรียและอัลเบิร์ต กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
๕.๘ พิพิธภัณฑสถานอีก ๖ แห่งในสหรัฐอเมริกา
๖. หน่วยงานสนับสนุน
การดำเนินการจัดนิทรรศการ การจัดทำและจัดพิมพ์หนังสือนำชมประกอบนิทรรศการ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนมูลนิธิและองค์กรภาคเอกชนรวม ๑๐ ราย ดังนี้
๖.๑ The Placido Arango Fund
๖.๒ The Fred Eychaner Fund
๖.๓ The Doris Duke Fund
๖.๔ The Andrew W.Mellon Foundation
๖.๕ The Henry Luce Foundation
๖.๖ The William Randolph Hearst Foundation
๖.๗ The E.Rhodes and Leona B. Carpenter Foundation
๖.๘ Jim Thompsan America,Inc.
๖.๙ Bangkok Broadcasting & T.V. Co.,Ltd.
๖.๑๐ The National Endowment for the Arts.
๗. กิจกรรม
วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๗
- อธิบดีกรมศิลปากรและคณะเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารสายการบินแห่งชาติเกาหลี เที่ยวบิน KE660 จากราชอาณาจักรไทยไปยังท่าอากาศยานอินชอน กรุงโซล ประเทศเกาหลี เพื่อต่อเที่ยวบิน KE85 เดินทางไปยังกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- เข้าที่พักโรงแรมลูเซิร์น (The Lucerne Hotel) กรุงนิวยอร์ก
วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๗
- อธิบดีกรมศิลปากรและคณะเข้าชมพิพิธภัณฑสถานศิลปะเมโทรโปลิตัน ชาวอเมริกันนิยมเรียกโดยย่อว่า “The Met” ตัวอาคารเป็นโบราณสถานก่ออิฐถือปูนสองชั้นขนาดใหญ่มีเนื้อที่มากกว่าสองล้านตารางฟุต ยาวเกือบหนึ่งส่วนสี่ไมล์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เปิดบริการเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๕ จัดแสดงศิลปกรรมชิ้นเยี่ยมๆหลากยุคสมัยจากหลายประเทศเกือบทั่วโลกจากอดีตจนถึงศิลปะสมัยใหม่ จำนวนกว่าสองล้านชิ้น โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๑๙ หมวดหมู่ ไม่สามารถชมทั้งหมดได้ภายในหนึ่งวัน เปิดให้บริการทุกวัน วันอาทิตย์ถึงวันพฤหัสบดี เวลา ๑๐.๐๐ น.- ๑๗.๓๐ น. วันศุกร์และเสาร์เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๒๑.๐๐ น. หยุดเพียงปีละ ๓ วัน คือ วันที่ ๒๕ ธันวาคม , ๑ มกราคม และวันจันทร์แรกของเดือนพฤษภาคม
- ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเรื่อง Lost Kingdoms : Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia, 5th to 8th Century ณ ห้อง Patrons Lounge ชั้นบนของอาคารพิพิธภัณฑสถาน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๘.๓๐ น. โดยมีนาย Thomas P. Campbell ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานศิลปะเมโทรโปลิตันกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติพร้อมขอบคุณหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศ ผู้ให้ยืมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ผู้สนับสนุนงบประมาณ คณะทำงานและผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน Dr.John Guy ภัณฑารักษ์หัวหน้าคณะดำเนินงานและควบคุมนิทรรศการ กล่าวถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของนิทรรศการครั้งนี้ แล้วเยี่ยมชมนิทรรศการและร่วมงานเลี้ยงรับรอง ณ ห้อง The Carroll and Milton Petrie European Sculpture Court ชั้นล่างของอาคารพิพิธภัณฑสถาน
วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗
- ช่วงเช้า Dr.John Guy ภัณฑารักษ์หัวหน้าคณะดำเนินงานและควบคุมนิทรรศการ บรรยายนำชมนิทรรศการ“Lost Kingdoms : Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia, 5th to 8th Century” ซึ่งจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานชั้นบนชื่อห้อง “ The Tisch Galleries” บอกเล่าเรื่องราวทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรมของบ้านเมืองต่างๆ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงต้นประวัติศาสตร์ราวกว่า ๑,๐๐๐ ปีมาแล้วผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดูและพุทธจากพยูทางภาคกลางของ เมียนมาร์ ฟูนันทางตอนใต้ของเวียตนาม เจนละในกัมพูชา จัมปาทางภาคกลางของเวียตนาม ทวารวดีในประเทศไทย เคดาร์ในมาเลเซียและศรีวิชัยในสุมาตรารวมจำนวน ๑๖๐ ชิ้น แล้วร่วมงานเลี้ยงรับรองอาหารกลางวัน
- ช่วงบ่าย เข้าชมนิทรรศการถาวรภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานศิลปะเมโทรโปลิตัน (ต่อ)
วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๗
- ช่วงเช้า เข้าเยี่ยมและรับฟังการบรรยายสรุปความเป็นมาและผลการดำเนินการของกองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund) ซึ่งตั้งอยู่ภายในตึกแอมไพร์เสตท (Empire State Building) กองทุนฯนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ดูแลปกป้องแหล่งโบราณคดี เมืองเก่าและโบราณสถานที่เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย เช่น อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ในปี ๒๕๕๗ มีโบราณสถาน ๖๗ แหล่งใน ๔๑ประเทศที่กองทุนฯให้การสนับสนุนด้านศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และอนุรักษ์อยู่จากนั้นหารือร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือและแนวทางดำเนินงานของกองทุนโบราณสถานโลกในประเทศไทยในปีต่อๆไป
- ช่วงบ่าย ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์และสถานที่สำคัญ ได้แก่
๑. เข้าชมพิพิธภัณฑ์รำลึกเหตุการณ์วันที่ ๑๑ กันยายน (The National September 11 Memorial and Museum เรียกย่อว่า 9/11 Memorial) ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางการค้าโลก จัดแสดงเรื่องราวเหตุการณ์ บุคคลและวัตถุสิ่งของที่เกิดขึ้นในวันที่ตึกแฝดเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์ ๒ หลัง ถูกวินาศกรรมทลายลงในวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๔ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำของมนุษยชาติ
๒. ชมอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ (Statute of Liberty) ซึ่งชาวฝรั่งเศสมอบเป็นของขวัญให้ชาวอเมริกันในวันฉลองวันชาติครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๙ ต่อมาองค์การ UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มากที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา
๓. ชมเส้นทางเดินรถไฟยกระดับสายเก่ายกเลิกการใช้งานแล้วมาพัฒนาปรับเป็นสวนสาธารณะที่เรียกว่า “High Line” ความยาวกว่าสองกิโลเมตร เส้นทางรถไฟสายไฮไลน์สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ ไม่ได้ใช้งานตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๓ ต่อมาชุมชนและคณะเทศมนตรีนิวยอร์กร่วมกันพัฒนาปรับเป็นสวนสาธารณะเปิดบริการเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒
วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๗
ออกเดินทางจากท่าอากาศยานจอห์น เอฟ เคเนดี้ กรุงนิวยอร์กโดยสายการบินแห่งชาติเกาหลีเที่ยวบิน KE82 มายังท่าอากาศยานอินชอน กรุงโซล เพื่อต่อเที่ยวบิน KE659 เดินทางกลับประเทศไทย
วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๗
อธิบดีกรมศิลปากรและคณะถึงราชอาณาจักรไทยโดยสวัสดิภาพ
๘. คณะผู้แทนไทย
๘.๑ นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร
๘.๒ นายอนันต์ ชูโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร
๘.๓ นางสุนิสา จิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๘.๔ นางสาวพัชรินทร์ ศุขประมูล ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
๘.๕ นาวสาวหัทยา สิริพัฒนากุล ภูมิสถาปนิกชำนาญการ
๘.๖ นางสาวสิริอร อ่อนทรัพย์ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
๙.๑ การเข้าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเรื่อง “Lost Kingdoms : Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia, 5th to 8th Century” อย่างเป็นทางการ ณ พิพิธภัณฑสถานศิลปะเมโทรโปลิตัน เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๗
๙.๒ การเข้าเยี่ยมรับฟังการบรรยายสรุปและหารือเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองดูแลโบราณสถานของไทย ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมกับคณะเจ้าหน้าที่กองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund)
๙.๓ การศึกษาดูงานพิพิธภัณฑสถาน ได้แก่ The Metropolitan Museum of Art และ The National September 11 Memorial and Museum
๙.๔ การเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ได้แก่ อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ และเส้นทางรถไฟเก่าปรับเป็นสวนสาธารณะชื่อ “ไฮไลน์”
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑๐.๑ พิธีเปิดงานนิทรรศการพิเศษหรือชั่วคราวของฝ่ายสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เรียบง่าย มีเพียงการกล่าวสุนทรพจน์ของผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานซึ่งเป็นประธานพิธีเปิดและนักวิชาการ (ภัณฑารักษ์) ผู้เป็นหัวหน้าดำเนินงานและควบคุมการจัดนิทรรศการครั้งนี้ เท่านั้น ห้องประกอบพิธีเปิดงานเป็นเพียงห้องรับรอง(Lounge) ขนาดเล็กจุผู้ร่วมงานประมาณไม่เกิน ๕๐ คน ส่วนห้องจัดเลี้ยงรับรองเป็นห้องนิทรรศการถาวร จัดแสดงประติมากรรมโบราณขนาดใหญ่ของยุโรป
๑๐.๒ การจัดนิทรรศการพิเศษเรื่อง “อาณาจักรแห่งอดีตอันลางเลือนสมัยแรกเริ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : ฮินดู-พุทธประติมากรรม คริสต์ศตวรรษที่ ๕-๘” มีข้อสังเกตน่าสนใจ เช่น
- เนื้อหาสาระของนิทรรศการเน้นเหตุแห่งการรังสรรค์งานศิลปะประเภทประติมากรรมเนื่องในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น ๗ หัวข้อ เรื่องที่เขียนด้วยข้อความสั้นกะทัดรัดแต่ได้ใจความกว้างขวางครอบคลุมสาระที่นำเสนอ ได้แก่
๑. Exotic Imports แสดงวัตถุสิ่งของจากอินเดียและตะวันตกที่เข้ามาสู่ภูมิภาคนี้ เป็นตัวจุดประกาย ให้ช่างพื้นเมืองพัฒนาฝีมือ
๒. Nature Cults แสดงให้เห็นว่าศาสนาจากอินเดียเริ่มฝังราก โดยผสมผสานกับความเชื่อพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีอยู่
๓. Arrival of Buddhism แสดงหลักฐานการแผ่ขยายของพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ราวคริสตวรรษที่ ๕-๖ โดยเฉพาะการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งพบในดินแดนพม่า ไทย กัมพูชาและเวียตนาม
๔. Vishnu and Kingship แสดงให้เห็นว่าชนชั้นผู้ปกครองภูมิภาคนี้ศรัทธาในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะไวษณพนิกาย หลักฐานคือเทวรูปพระวิษณุขนาดใหญ่
๕. Shiva’s World ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๗ ศาสนาฮินดูไศวนิกายรุ่งเรืองมาก ที่น่าสนใจคือเทวรูปฝีมือช่างเขมรที่มีลักษณะเฉพาะตนต่างจากอินเดีย
๖. State Art แสดงพุทธประติมากรรมศิลาที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของบรรดารัฐหรือเมืองทวารวดี ทางภาคกลางของไทยโดยเฉพาะพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ ธรรมจักร ภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ
๗. Savior Cults ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๘ ศาสนาพุทธฝ่ายมหายานเป็นที่ศรัทธามากของบ้านเมืองแถบนี้ มีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์ที่ได้รับต้นแบบมาจากอินเดียอย่างแพร่หลาย พร้อมกับการขยายตัวทางการค้าทั้งภายในดินแดนและโพ้นทะเลไกล
- ส่วนจัดแสดงทั้ง ๗ หัวข้อเรื่อง แต่ละส่วนจะมีคำบรรยายรวมแบบสรุปเพียงแผ่นเดียว พื้นสีดำตัวอักษรสีขาว ขนาดตัวอักษรไม่ใหญ่มาก
- การจัดวางโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เน้นความสง่างามด้วยแสงและเงา ป้ายคำอธิบายวัตถุตัวอักษรขนาดเล็ก ไม่รบกวนการชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
- มีภาพโปสการ์ดรูปโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่จัดแสดง หนังสือประกอบนิทรรศการตลอดจนศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของชาติต่างๆที่ให้ยืมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ มาวางจำหน่ายบริเวณท้ายส่วนจัดแสดง
- สองข้างของผนังบริเวณทางเข้าส่วนจัดแสดง แสดงรายนามของผู้ให้การสนับสนุนการจัดนิทรรศการครั้งนี้
- นิทรรศการครั้งนี้จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ รวมจำนวน ๑๖๐ รายการ จากนานาชาติ ๘ ประเทศทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ขอยืมจากไทยมากที่สุดถึง ๔๑ รายการ ผู้จัดให้ความสำคัญกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุศิลปะทวารวดีมาก โดยใช้ธรรมจักรศิลาเป็นจุดเด่น (Hihglight) นำเข้าสู่นิทรรศการด้วยการตั้งแสดงเป็นชิ้นแรกพร้อมกับชื่อนิทรรศการ หนังสือประกอบนิทรรศการใช้พระพักตร์พระพุทธรูปศิลาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นหน้าปก และปกหลังเป็นภาพปูนปั้นพระพักตร์พระโพธิสัตว์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ นอกจากนี้ภาพพระพักตร์พระพุทธรูปศิลายังใช้เป็นภาพประกอบบัตรเชิญ โปสเตอร์งาน และแผ่นปลิวกิจกรรมด้วย
๑๐.๓ พิพิธภัณฑสถานศิลปะเมโทรโปลิตัน เป็นพิพิธภัณฑสถาน ๑ ใน ๕ แห่งที่มีผู้เข้าชมจากทั่วโลก มากที่สุด นับเป็นอันดับสองรองจากพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ประเทศฝรั่งเศส เพราะมีความโดดเด่นทั้งด้านตัวอาคาร โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยม เกือบของทั่วโลก การจัดกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะที่ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติ เช่น นิทรรศการพิเศษครั้งนี้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกประเภทตามมาตรฐานพิพิธภัณฑสถานสากลสำหรับผู้เข้าชมและผู้ให้บริการ และเปิดให้บริการทุกวัน หยุดเพียงปีละ ๓ วัน
นางสาวพัชรินทร์ ศุขประมูล
ผู้สรุปการเดินทางไปราชการ
หนังสือเมืองราชบุรีประกอบด้วยเรื่องต่อไปนี้1. ว่าด้วยกรุงทวารวดี2. จารึกถ้ำฤๅษี เขางู เมืองราชบุรี3. การขุดค้นทางโบราณคดี ที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี ของศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี4. จังหวัดราชบุรี ของ ตรี อมาตยกุล
สาระสังเขป : ประวัติของหลวงสิริอัคนีตั้งแต่ปฐมวัย การศึกษาในกรุงเทพฯ การสอบชิงทุนรถไฟไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา การรับราชการในกรมรถไฟหลวง ด้านการสมาคม ด้านครอบครัว ท้ายเล่มจะเป็นคำอาลัยจากมิตร และคำอาลัยจากลูกผู้แต่ง : -โรงพิมพ์ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ปีที่พิมพ์ : 2505 ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.32บ2199จบเลขหมู่ : 923.2593 ส721สส
เลขทะเบียน : นพ.บ.13/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีป้ายชื่อไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 9 (100-104) ผูก 2หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้ เรื่อง สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี ตอนที่ ๓ โบราณสถานทางพุทธศาสนาที่เมืองโบราณอู่ทอง : เจดีย์หมายเลข ๑จัดทำโดย พิพิธภัณสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ชื่อผู้แต่ง กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์
ชื่อเรื่อง สมบัติวรรณคดี (บทอ่านทำนองเสนาะปีที่ ๗)
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ เจริญวิทย์การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2525
จำนวนหน้า 107 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายบุญทัน สิงหศักดิ์
สมบัติวรรณคดี(บทอ่านทำนองเสนาะปีที่ ๗ ของกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร) เป็นบทอ่านทำนองเสนาะที่รวบรวมคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองจากวรรณคดี กวีนิพนธ์ไทย หลายเรื่องซึ่งกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ได้คัดเลือกตัดตอนมาจากวรรณคดีกวีนิพนธ์ไทยเรื่องเด่นๆ ที่มีคุณค่าและอรรถรส นำมาเป็นบทประกวดอ่านทำนองเสนาะปีที่ ๗
ชื่อผู้แต่ง กองวรรณคดี,กรมศิลปากรชื่อเรื่อง ที่มาของคำว่าจักรีครั้งที่พิมพ์ -สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ ศรีไทย กทม.
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ จำนวนหน้า ๑๑๐ หน้า
คำค้น จักรี
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพนางมณี พุกกะพันธุ์ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม
หนังสือเรื่องที่มาของคำว่าจักรี พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสังเขปของพระมหากษัตริย์ในราชวงจักรีนี้ เจ้าหน้าที่ในกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ได้จดทำเป็นเอกสารประกอบนิทรรศการเทิดพระเกียรติเนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรี ๖ เมษายน ๒๕๒๓ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า
อดุลย์ รัตนมั่นเกษร.เป็ดย่าง จากปังกิ่งถึงกรุงเทพฯ.ครัวkrua.(15):180;มิถุนายน2552.
จากอดีตถึงปัจจุบัน สําหรับชาวจีนแล้ว เป็ดเป็นอาหารชั้นเลิศรายการหนึ่งตั้งแต่ โต๊ะจีนหลวงอย่าง “หมัน ฮัน ฉวน สี” (man han quan xi) ในราชสํานักซิง ไปจนถึงโต๊ะจีน พื้นบ้านอย่างโต๊ะจีนแต้จิ๋ว มีเป็ดย่างปักกิ่ง อันลือเลื่องเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า เฉียนหลง ก็ย่อมมีเป็ดตุ้นมะนาวดองที่ชาว แต้จิ๋วชื่นชอบ เมื่อเป็ดย่างปักกิ่งมีชื่อเสียง ดังคับกรุงปักกิ่งและขจรขจายไปทั่วโลก เป็ดตุ้นมะนาวดองก็ลือเลื่องในถิ่นชุมชนชาว แต้จิ๋วและขจรขจายข้ามน้ําข้ามทะเลในหมู่ ชาวจีนโพ้นทะเลเช่นกัน การอวดตัวได้ตั้งแต่ ระดับชาววังจนถึงชาวบ้านเช่นนี้แหละ ทําให้ เป็ดเป็นรายการอาหารที่ถือเป็น "ผู้ดีมีสกุล" บนโต๊ะจีนเลยที่เดียว
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ