ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,776 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำภูมิภาคตะวันออกของไทย ได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปรับปรุงภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ตามแผนพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของกรมศิลปากร ขณะนี้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการใหม่ นำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคตะวันออก ที่สมบูรณ์ที่สุด มีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญจัดแสดงกว่า ๒๐๐ ชิ้น แบ่งส่วนจัดแสดงเป็น ๕ ห้อง ได้แก่ ๑. ห้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในภาคตะวันออกด้วยสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของชุมชนผ่านการชมวีดิทัศน์ร่องรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำบางปะกงและภูมิภาคตะวันออก ๒. ห้องชุมชนโบราณในภาคตะวันออกจัดแสดงเนื้อหาชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในภูมิภาคตะวันออกที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชนโคกพนมดีราว ๓,๕๐๐ – ๔,๐๐๐ ปี มาแล้ว และชุมชนหนองโนราว ๒,๗๐๐ – ๔,๕๐๐ปีมาแล้ว ผ่านหลุมศพจำลองเจ้าแม่โคกพนมดีและโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีโคกพนมดีและหนองโน จ.ชลบุรี ๓. ห้องพัฒนาการของชุมชนและเมืองโบราณในภาคตะวันออก จัดแสดงพัฒนาการของชุมชนและเมืองโบราณในภาคตะวันออก เริ่มต้นจากความสัมพันธ์กับดินแดนโพ้นทะเล เข้าสู่ช่วงรับวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรโบราณในภาคตะวันออก โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่พบในภาคตะวันออก ได้แก่ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยสีชมพู ทับหลังจากปราสาทสด๊กก๊อกธมรวมถึงจารึกที่พบจากปราสาททั้ง ๒ แห่ง ๔. ห้องวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำบางปะกงจัดแสดงเรื่องราวของชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี ผ่านผนังสื่อมัลติมีเดียโปรเจกเตอร์ทัช ที่สัมผัสเพื่อรับชมเนื้อหา ๕. ห้องเมืองศรีมโหสถ นครรัฐแรกเริ่มแห่งลุ่มน้ำบางปะกงซึ่งกำเนิดขึ้นร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนันตอนปลาย และพัฒนาเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ ก่อนที่วัฒนธรรมเขมรจะเข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ มีการแสดงพระคเณศพระวิษณุจตุรภุช พระพุทธรูปปางสมาธิ รวมถึงเครื่องสำริดประกอบพิธีกรรมที่มีจารึกภาษาเขมรกล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ขอเชิญชวนผู้สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์อารยธรรมในภูมิภาคตะวันออกของไทย ชมโฉมใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เปิดทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๗๒๑ ๑๕๘๖
ขันถมเงินลายสัตว์หิมพานต์
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔
ขุดได้ที่ลัดคลองสุภา อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ขันถมเงินทรงมะนาวตัด ปากกว้างก้นแคบ ขึ้นรูปด้วยโลหะเงินตกแต่งลวดลายโดยการถมดำ ปากขันถมลายบัวคว่ำ ตัวขันถมลายสัตว์หิมพานต์ ๔ ชนิด ได้แก่ กินรี อัปสรสีหะ คชสีห์ และราชสีห์ ล้อมรอบด้วยกระหนกเปลวในช่องสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบหก พื้นตัวขันถมลายดอกลอย ก้นขันด้านนอกตกแต่งลายราชสีห์ในช่องกลม
ขันถมเงินใบนี้เป็นตัวอย่างงานเครื่องเงินถมดำในศิลปะอยุธยา จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบโบราณวัตถุศิลปะอยุธยาทำด้วยวัสดุเงินหลายประเภท เช่น พระพุทธรูป ภาชนะ จารึกลานเงิน เป็นต้น ประกอบกับหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร อาทิ กฎมณเทียรบาล มีข้อความกล่าวถึงการพระราชทานเครื่องเงินเป็นรางวัลแก่เจ้าพนักงานที่ทำความดีความชอบ เช่น หากเจ้าพนักงานพบช้างสำคัญหรือช้างเผือกที่เหมาะจะเป็นช้างต้นและนำความกราบบังคมทูล จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ขันเงินและเสื้อผ้า ดังความว่า
“...ข้าหลวงกลับมากราบทูลเปนมั่นแม่น พระราชทานขันเงิน เสื้อผ้า...” อีกทั้งในเอกสารคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวถึงการพระราชทานเครื่องเงินเป็นเครื่องยศประจำตำแหน่งขุนนาง และเอกสารว่าด้วยแผนที่กรุงศรีอยุธยา* ระบุว่ามี “ย่านขันเงิน” เป็นตลาดขายขัน จอก ผอบ ตลับเงินเลวและแบบถมดำ ในเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา
นอกจากนี้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ กล่าวถึงรูปแบบลวดลายของเครื่องถมเงินไว้ความว่า
“...เครื่องถมนั้นชอบกล เป็นของที่มีทำนานมาแล้ว ของเก่าเรียกกันว่า “ถมดำ” เพราะลายห่างเห็นพื้นดำมาก เกล้ากระหม่อมได้สังเกตเห็นของเก่าทีเดียว เป็นพื้นดำลายเงินถัดมามีตะทองสลับกับเงิน ถัดมาอีกเป็นลายตะทองล้วน ต่อนั้นมาก็เปลี่ยนเป็นทำพื้นแคบเข้า ลายถี่แน่นเข้า ตกมาถึงถมบางขุนพรหมมีพื้นน้อยเต็มที มีลายเป็นทองอร่ามไปทั้งนั้น เข้าใจว่าเป็นด้วยคนสมัยหลังต้องการให้มีทองมาก ถือกันว่าเป็นของดี...”
*สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผู้แต่งทันเห็นสภาพบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาก่อนการเสียกรุง และต่อมาพระยาโบราณราชธานินทร์ได้สอบชำระเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ในเกาะกรุงศรีอยุธยา เรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙
อ้างอิง
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. โลหศิลป์ ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๐.
องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง หินช้างสี โดยนางสาวกุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น #หินช้างสีไม่ได้มีแค่จุดชมวิว#ขอนแก่น #เที่ยวขอนแก่น #รีวิวขอนแก่น
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 25/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 55.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
องค์ความรู้เรื่อง แหล่งโบราณคดีถ้ำผาเขียว อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โดย นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่****ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูลแหล่งโบราณคดีจากอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย จังหวัดแพร่ แล้ว****
ปทฺวาทสปริตฺต (ทฺวาทสปริตฺต-ตติยภาณวาร-ภาณปลาย) ชบ.บ 124/1ฅ
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 162/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
พระแท่นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
สมัยธนบุรี ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ได้มาจากเมืองแกลง (อำเภอแกลง) จังหวัดระยอง
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ ห้องกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
พระแท่นไม้จำหลักลายปิดทอง ลักษณะเป็นตั่งไม้ฐานสิงห์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีพนัก ส่วนฐานตั่งทั้งสี่ด้านตกแต่งลักษณะคล้ายขาสิงห์ กล่าวคือ ส่วนแข้งสิงห์จำหลักลายค้างคาว (สัญลักษณ์มงคลจีนแทนคำว่า “ฮก” มีความหมายถึงอายุยืนยาว) กาบเท้าสิงห์จำหลักรูปช่อพรรณพฤกษา ขาตั่งรองรับด้วยรูปจำหลักสิงโตหมอบเชิดหน้าขึ้น (บางตัวแสดงการคาบลูกแก้วอยู่ในปาก) บริเวณกึ่งกลางท้องสิงห์ด้านหน้าตั่งจำหลักรูปมังกรคู่หันหน้าเข้าหากัน คั่นด้วยดาบมีอักษรจีนคำว่า “หวัง” (王) หมายถึงกษัตริย์ ด้านข้างจำหลักลายพรรณพฤกษารูปดอกไม้และส้มมือ* มีสัญลักษณ์มงคลแทรกรวมอยู่ด้วย อาทิ รูปหนังสือ หรือคัมภีร์สองเล่มร้อยด้วยริบบิ้น และ รูปน้ำเต้าประดับด้วยริบบิ้น ถัดขึ้นมาส่วนท้องไม้แบ่งออกเป็นสามช่อง สลักเป็นลายพรรณพฤกษารูปดอกไม้ชนิดต่าง ๆ อาทิ ดอกโบตั๋น ดอกบ๊วย และดอกเบญจมาศ (ดอกไม้ทั้งสามเป็นสัญลักษณ์มงคลในศิลปะจีนมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความมีโชคลาภและความมีอายุยืนยาว) อีกทั้งจำหลักรูปนกแทรกอยู่ตามกิ่งไม้ ด้านข้างพระแท่นบริเวณท้องสิงห์จำหลักลายพรรณพฤกษา มีรูปดอกไม้ต่าง ๆ เช่น ดอกพุดตาน ดอกบัว ถัดขึ้นมาเป็นลายหงส์คู่ท่ามกลางลายพรรณพฤกษา
พระแท่นองค์นี้ตามประวัติกล่าวว่าได้มาจากเมืองแกลง (อำเภอแกลง) จังหวัดระยอง เมื่อคราวเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ มีประวัติว่าตั้งจัดแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระที่นั่งองค์กลางในหมู่พระวิมาน โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงว่าเป็นพระแท่นของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ดังความว่า
“...ตรงช่องผนังสกัดข้างหลัง ข้างเหนือ (คือ) พระแท่นพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้มาจากเมืองแกลง...”
ต่อมาในลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงพระแท่นองค์นี้ว่า
“...ถึงรัชกาลที่ ๗ สมเด็จพระสังฆราชกรมหลวงชินวรฯ เสด็จลงไปทางหัวเมืองชายทะเล ไปพบพระแท่นขุนหลวงตากอยู่ที่วัดในเมืองแกลง อันเป็นวัดถิ่นเดิมของพระสังฆราชชื่น**ตรัสสั่งให้ส่งมายังพิพิธภัณฑสถาน เป็นเตียงจีนมีรูปสิงโตจำหลักปิดทองรองขาเตียงที่ต่อกับพื้นทั้ง ๔ ขา…”
ในหนังสือ “สมุดมัคคเทศนำเที่ยวหอพระสมุดวชิรญาณและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” (พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑) ได้เพิ่มเติมคำบรรยายพระแท่นองค์นี้ว่า “...พระแท่นกระบวรจีนของพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้มาจากเมืองแกลง...”
ทั้งนี้การพบพระแท่นองค์นี้ที่เมืองแกลงนั้น มีข้อสันนิษฐานอยู่สองแนวทาง กล่าวคือ ข้อสันนิษฐานแรก พระโพธิวงษ์ (ชื่น) เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ธนบุรี เดิมเป็นชาวเมืองแกลงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๔*** ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ถูกลดพระยศลงมาดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมธิราชมหามุนี (ว่าที่พนรัตน์)**** และภายหลังในคราวทำสังคายนาพระไตรปิฎก พศ. ๒๓๓๒ มีสมณศักดิ์เป็นพระธรรมไตรโลก สันนิษฐานว่าท่านได้นำพระแท่นองค์นี้กลับไปยังภูมิลำเนาเดิมที่เมืองแกลง
ข้อสันนิษฐานที่สอง คือ พระธรรมเจดีย์ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร (พ.ศ. ๒๔๑๐-๒๔๒๙) เดิมเป็นชาวเมืองแกลง ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมเจดีย์” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เล่ากันอีกทางว่าท่านเป็นผู้ที่ย้ายพระแท่นองค์นี้พร้อมด้วยตู้พระธรรมเขียนภาพลงสีและพระพุทธรูปหวายฉาบปูน ๑ องค์ ไปไว้ที่วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ กรมศิลปากรได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการ ประวัติศาสตร์ชาติไทยภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ได้นำพระแท่นองค์นี้จัดแสดงรวมไว้ด้วยเช่นกัน กระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ย้ายพระแท่นองค์นี้มาจัดแสดงอยู่ที่ห้องกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
*ส้มมือ หมายถึง “ฮก” สัญลักษณ์มงคลสื่อถึงวาสนา หรือยศถาบรรดาศักดิ์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน https://www.facebook.com/media/set/?set=a.429446087107623...
**สมเด็จพระสังฆราชชื่น ทรงเป็นพระสังฆราชองค์ที่ ๓ ในสมัยกรุงธนบุรี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในพระนิพน์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ตำนานคณะสงฆ์
***เรื่องการสถาปนาพระโพธิวงศ์ (ชื่น) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยกรุงธนบุรี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ตอน แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี
****เรื่องการลดพระยศสมเด็จพระสังฆราชชื่น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
อ้างอิง
กรมศิลปากร. สมุดมัคคเทศนำเที่ยวหอพระสมุดวชิรญาณและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. พระนคร: ไทยพิทยา, ๒๔๙๑.
ดำรงราชานุภาพ. สมเด็จฯ กรมพระยา. อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณ แล พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร. พระนครฯ: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๙.
ดำรงราชานุภาพ. สมเด็จฯ กรมพระยา. สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๔. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๔, จาก: https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๔/สิงหาคม/วันที่-๒๔-สิงหาคม-พศ-๒๔๘๔-ดร
วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร. ลำดับเจ้าอาวาส. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔, จาก: https://www.watmoli.org/index.php?url=about&code=admin&cat=A
สิรินทร์ ย้วนใยดี. “พระแท่นประทับ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.” นิตยสารศิลปากร ๖๑, ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑): ๑๑๗-๑๒๗.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 16/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
แนะนำ E-book หนังสือหายาก เรื่อง
1.ฆ่าบุคคลสำคัญ
คทาดำ. ฆ่าบุคคลสำคัญ. พระนคร: โรงพิมพ์โอเดียนการพิมพ์, 2503.
2. อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์
โบราณราชธานินทร์, พระยา. อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2469.
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางวงเดือน แสวงศักดิ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๑๒๕ หน้า
ประวัตินางวงเดือน แสวงศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2461 ตรงกับวันจันทร์ปีมะเมีย นางลำภู ถนนจักรพงษ์ เป็นบุตรของนายสุขและนางสนธิ์ ประชุมผล มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน ในชั้นต้นได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเนยนุกล หน้าวัดชนะสงคราม ต่อมาได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนราชชินีบน บางกระบือ ได้สมรมกับ ร.ต. ชลิต แสวงศักดิ์ ร.น. มีบุตร 2 คน
ชื่อผู้แต่ง พระยาสุนทรภาพกิจวารักษ์ ( ทองจันทรางศุ)
ชื่อเรื่อง รวมข้อเขียนของพระยาสุนทรภาพ กิจจารักษ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๕
จำนวนหน้า ๙๕ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงแม้นสุนทรเทพกิจจารักษ์
รายละเอียด
หนังสือที่ระลึกงานศพ คุณหญิงแม้น สุนทรเทพกิจจารักษ์ (แม่น จันทรรางศุ) โดยจัดพิมพ์ผลงานการนิพนธ์ของพระยาสุนทรเทพกิจจาลักษณ์ (ทอง จันทรางศุ ) 3เรื่องประกอบด้วย 1.หนังสือเรื่องรายงานนายทอง 2.หนังสือเรื่องระยะทางไปมณฑลภาคพายัพ พ.ศ.2465 และ 3.หนังสือเรื่องความเห็นจันทราภา (บางบทความ )
เลขทะเบียน : นพ.บ.434/1ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 5 x 60 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 156 (131-140) ผูก 1ข (2566)หัวเรื่อง : ลำวิสุทธิยา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.582/ข/3 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 188 (365-371) ผูก ข3 (2566)หัวเรื่อง : ทศชาติ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม