ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,775 รายการ
ชื่อผู้แต่ง ปรีดา ศรีชลาลัย
ชื่อเรื่อง จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๓๓๕ หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางประจักษ์ ศุภอรรถ
จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา เล่มนี้ รวบรวมจากสมุดไทยดำและกระดาเพลา ส่วนใหญ่เป็นใบบอกและจดหมายเหตุเกี่ยวกับเมืองนครราชสีมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงประวัติเจ้าพระยานครราชสีมา ประวัติย่อของเท้าสุรนารีและรวมเรื่องต่างๆ เช่น กตัญญูกตเวทีกถา ศาสนพิธี โรคหัวใจวาย วิธีบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ ฯลฯ
พายุฤดูร้อน
พรรณวลัย พันสด.พายุฤดูร้อน.จันท์ยิ้ม.(3):3;กุมภาพันธ์-มีนาคม 2561
พอเข้าสู่หน้าร้อนอากาศก็ร้อนระอุสมชื่อเสียจริง ร้อนอย่างชนิดที่เรียกว่า แสบผิว แต่ถึง กระนั้นฤดูร้อนนี้ก็ยังเป็นที่รอคอยของทั้งคอผลไม้ และชาวสวน โดยเฉพาะจังหวัดวันทบุรีบ้าน เราที่ได้ชื่อว่า เมืองแห่งผลไม้ ในช่วงนี้ของทุก ๆ ปี คนที่รอทานผลไม้ประจําฤดูร้อนอย่าง ทุเรียน มังคุด เงาะ ก็จะได้ลิ้มรสความอร่อยสมใจ ด้านชาวสวนก็ทั้งชื่นใจหายเหนื่อย เพราะมีรายได้จาก การขายผลผลิตที่เฝ้าประคบประหงมกันมา แต่ในขณะเดียวกันพายุประจําฤดูอย่าง “พายุฤดูร้อน ก็ไม่เคยปรานีใคร ยังคงแวะเวียนมาในช่วงนี้เช่นเดียวกัน
ชาวสวน ในฐานะเจ้าของผลผลิตที่อาจได้รับผลกระทบ มีหน้า ที่ต้องเตรียมพร้อม และรับมือ กับ ภัยธรรมชาติ เพื่อป้องกันความเสีย หายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทั้งตนเอง และผลผลิต รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ก็ต้องเตรียมรับมือต่อภัยจากพายุฤดูร้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังเช่น ข่าวคราวที่มีออกมาให้ได้ยินกันเมื่อ เร็ว ๆ นี้ เรื่องพายุฤดูร้อนพัดถล่ม ชาวสวนจันท์ ทําให้ผลผลิตที่มีมูลค่าอย่างทุเรียนเสียหาย รวม ๆ แล้ว ราคาหลายล้านบาท รวมถึงมีประกาศเตือนออกมาจากกรม อุตุนิยมวิทยาเป็นระยะ ๆ ด้วย เรามาทําความรู้จักพายุชนิดนี้เพื่อเตรียม รับมือกันไว้เถิด
นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาประธานตรวจการจ้าง พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ปรางค์ครบุรีตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมาวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
“(ถ้าแม้น) ให้ดวงสมรหนุนกรขวา วิทยาเสื่อมไปไม่ให้ผล” ข้อความนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือสมุดไทยขาวเรื่อง นางปราสาททอง อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหมึก โดยเรื่องราวของวรรณกรรมกล่าวถึง นางอุบลผู้เป็นแม่เลี้ยงได้ยุยงให้นางปราสาททองขอบรรทมหนุน พระกรข้างขวาของพระศิลป์สุริยวงศ์ ด้วยความรู้ไม่เท่าทันผู้เป็นแม่เลี้ยงที่ต้องการกำจัดพระศิลป์สุริยวงศ์ นางจึงอ้อนวอนขอบรรทมหนุนพระกรข้างขวา แม้พระศิลป์สุริยวงศ์จะกล่าวชี้แจงว่าหากกระทำเช่นนั้น อาคมที่พระองค์มีก็จะเสื่อม แต่นางปราสาททองกลับไม่ยอมเชื่อ คิดแต่เพียงว่าพระศิลป์สุริยวงศ์ไม่ได้รักนาง พระศิลป์สุริยวงศ์จึงจำใจยอมให้นางบรรทมหนุนพระกรขวาของพระองค์ จากนั้นคาถาอาคมของพระองค์ที่มีจึงเสื่อมไป เรื่องราวในวรรณกรรมอาจมีความแปลก ดูเกินจริง และชวนให้สงสัย เพราะหลายคนส่วนใหญ่ย่อมเคยได้ยินข้อห้ามที่คนมีคาถาอาคมถือกันหลายข้อ เช่น ห้ามกินมะเฟือง ห้ามลอดราวตากผ้า ห้ามลอดบันได ห้ามกินฟักเขียว ห้ามกินของเหลือ ห้ามกินผักปลัง ห้ามกินข้าวหรือกินน้ำในงานศพ ห้ามลอดใต้ถุนบ้าน เหล่านี้เป็นต้น แต่ถ้าหากพิจารณาอย่างถ่องแท้ และพยายามเชื่อมโยงให้เข้ากับความเชื่อที่ยึดถือกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จะพบว่า ข้อความที่ปรากฏในวรรณกรรมนั้น มีความหมายในแนวทางเดียวกันและเข้ากับตำราที่ว่า “หญิงซ้าย ชายขวา” ได้อย่างลงตัว และถ้าหากเราย้อนกลับไปอ่านวรรณกรรมที่มีเรื่องราวของวิถีชาวบ้านและความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์แทรกอยู่ ก็จะช่วยให้คลายความสงสัยได้มากขึ้น คำกลอนสวัสดิรักษา ของสุนทรภู่ เป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อ “หญิงซ้าย ชายขวา” ความว่า “อย่านอนซ้ายสตรีมักมีภัย” เหตุผลของคนในสมัยก่อนคือ ผู้ที่นอนอยู่ทางขวาคือผู้ที่อยู่ใกล้ประตูห้องมากที่สุด ดังนั้นหากอันตรายใดๆ เกิดขึ้น ฝ่ายชายก็จะสามารถปกป้องคุ้มครองฝ่ายหญิงได้ทันท่วงที ในเสภาเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน เป็นวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อ “หญิงซ้าย ชายขวา” เช่นกัน ปรากฏในตอนที่ขุนแผนตัดพ้อนางวันทอง ความว่า ๏ เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ เด็ดใบบอนช้อนน้ำที่ไร่ฝ้าย พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน “ความจริงแล้ว ความเชื่อที่เราถือนั้น เป็นสิ่งที่ดีเสมอ มีเหตุผลเสมอที่ถือ” เพราะความเชื่อใดๆ ล้วนมีคำอธิบายและเหตุผลทั้งสิ้น เพียงแต่คนสมัยก่อนมักสอนไว้ให้เป็นปริศนา เมื่อคนรุ่นหลังต้องมาตีความก็เลยกลายเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ ดังนั้น หากมองความเชื่อนี้ในแง่ของเหตุผล คำกล่าวที่ว่า ถ้าแม้นให้ดวงสมรหนุนกรขวา วิทยาเสื่อมไปไม่ให้ผล นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ และวิถีชีวิตแล้ว ยังเป็นการกล่าวสั่งสอนให้พึงระวัง เพราะคนส่วนใหญ่ถนัดใช้แขนข้างขวา ดังนั้นแขนขวาจึงเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทำงานหรือทำประโยชน์ต่างๆ หากให้ภรรยาหนุนแขนข้างขวา อาจจะส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้า หรือเป็นเหน็บชา และใช้การได้ไม่เต็มที่นัก .............................................................. ข้อมูล/ภาพ : นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เอกสารอ้างอิง :“นางปราสาททอง.” หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นหมึก. ม.ป.ป. เลขที่ ๕๖. หมวดวรรณคดี. กรมศิลปากร. รวมนิทาน บทเห่กล่อม และสุภาษิตของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙. เสฐียรโกเศศ. ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงาน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: ศยาม, ๒๕๓๙. เสภาเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑๘. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๔๔.
ไกรฤกษ์ นานา.“ช้างบรรณาการ” จากรัชกาลที่ 4 จบชีวิตที่ร้านขายเนื้อกรุงปารีส จริงหรือ ?.ศิลปวัฒนธรรม.(37):11;กันยายน 2559.
ภายในสวนสัตว์ สัตว์ชนิดหายากและเคยมีคุณค่าที่หลงเหลือ เช่น เสือ สิงโต อูฐ ยีราฟ แรด ฯลฯ ค่อย ๆ หายไปทีละตัวสองตัว ในที่สุดเหลือเพียงช้างสองเชือกที่เดินทางไกลมาจากสยาม และเคยเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพอันดีจากกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชีย
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 17
ฉบับที่ 681
วันที่ 1-15 กรกฎาคม 2535
ชื่อเรื่อง เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ. 197/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 56.9 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี