ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,775 รายการ
วัตถุ กลองมโหระทึก
ทะเบียน ๒๗/๒๘๘/๒๕๓๒
อายุสมัย ๒๐๐ปีก่อนพุทธกาล -พุทธศตวรรษที่ ๕ (๒,๑๐๐-๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว)
วัสดุ สำริด
ประวัติ ไม่ปรากฎประวัติเดิม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาจากคลังพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ สถานที่เก็บรักษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“กลองมโหระทึก”
กลองมโหระทึกประกอบด้วยหน้ากลองและลำตัว หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์ และลายเรขาคณิต เป็นต้น ลักษณะของลำตัวกลองมีส่วนบนที่บานออก ส่วนกลางตัดตรง ส่วนฐานโค้งและผายออก และมีหูกลองติดอยู่ จากรูปแบบของลำตัวกลองมโหระทึกจัดให้อยู่ในรูปแบบ เฮเกอร์ ๑ กำหนดอายุ ๒๐๐ปีก่อนพุทธกาล -พุทธศตวรรษที่ ๕ (๒,๑๐๐-๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว)
ได้มีการค้นพบกลองโหระทึก ซึ่งหมายถึงกลองที่ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราวก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒ – พุทธศตวรรษที่ ๗ (๑,๙๐๐ - ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว) และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนามนั้นเอง
จากการค้นพบกลองมโหระทึกเป็นจำนวนมากในเวียดนาม จึงทำให้มีนักวิชาการชาวฝรั่งเศสชื่อ ฟรานส์ เฮเกอร์ได้ทำการศึกษารูปแบบของกลองมโหระทึกและได้แบ่งกลองออกเป็น ๔ แบบ คือ เฮเกอร์แบบที่ ๑ ๒ ๓ และ ๔ ซึ่งกลองแต่ละรูปแบบมีอายุสมัย ดังนี้ เฮเกอร์แบบที่ ๑ กำหนดอายุสมัยราว ๒๐๐ปีก่อนพุทธกาล -พุทธศตวรรษที่ ๕ (๒,๑๐๐-๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว) เฮเกอร์แบบที่ ๒ กำหนดอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑ - ๖ (๒,๑๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว) เฮเกอร์แบบที่ ๓ กำหนดอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑ – ๑๐ (๑,๖๐๐–๒๕๐๐ ปีมาแล้ว) และเฮเกอร์แบบที่ ๔ กำหนดอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๑๐ (๑,๖๐๐–๒,๑๐๐ ปีมาแล้ว)ในประเทศไทยได้พบกลองมโหระทึกแบบเฮเกอร์ ๑ มากที่สุด และยังพบแบบเฮเกอร์ ๓ อีกด้วย
ในประเทศไทยได้พบหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลองมโหระทึกในปรากฎในสมัยสุโขทัย คือ ไตรภูมิพระร่วง ความว่า “บ้างขับสรรพสำเนียงเสียงหมู่นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ พื้นฆ้องกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาลมหรทึกกึกก้องทำนุกดี”ในสมัยอยุธยาในกฏมณเฑียรบาล ความว่า“...งานสมโภชนสมุหะประธานฑูลเผบใบศรี ญานประกาศถวายศโลก อิศรรักษา ถวายพระศรีเกศฆ้องไชย ขุนดนตรีตีหรทึก...” และในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ว่ามีการใช้กลองมโหระทึกในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ อาทิ “พระพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”และ“งานพระราชพิธีสวดพระอภิธรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”ซึ่งกลองที่ใช้มีลักษณะคล้ายกลองแบบเฮเกอร์ ๓
ลำตัวกลองมโหระทึกซึ่งจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นกลองที่ไม่ปรากฏที่มาอย่างชัดเจนแต่ก็เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ทำให้ทราบถึงรูปแบบของกลองมโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสำคัญที่พบในประเทศไทยมาตั้งแต่อดีตและยังมีการงานใช้อยู่ในปัจจุบันปรากฏในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ
เอกสารอ้างอิง
- กรมศิลปากร.ศัพทานุกรมโบราณคดี.กรุงเทพ : บริษัท รุ่งศิล์ปการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๐.
- เขมชาติ เทพไชย.“กลองมโหระทึก : ที่พบในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑. กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๔๒.
-เมธินี จิระวัฒนา.กลองมโหระทึกในประเทศไทย.กรุงเทพ : บริษัท อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป จำกัด , ๒๕๕๐.
ในวันจันทร์ที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จทรงเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระรูปเหมือนพระสุพรรณกัลยา
ณ โรงเททองศิลปากร พุทธมณฑลสาย ๕ เวลาฤกษ์ ๑๗.๓๙ ถึง ๑๘.๓๐ น.
นางกันยา แต้เจริญวิริยะกุล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เข้าร่วมประชุมสภากาแฟ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด รวมถึงได้มีการจัดแสดงนิทรรศการมรดกทางวัฒนธรรมอีสานตอนล่าง และกิจกรรมการจารอักษรโบราณ ในวันศุกร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ ปราสาทหินพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผลการตรวจสอบโบราณสถานปราสาทลำสำลาย๑.โบราณสถานปราสาทลำสำลาย เป็นโบราณสถานที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน ที่ตั้ง บ้านยางกระทุง ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา (พิกัด UTM 067227 47 P 806750.60 ม. ตะวันออก 1622733.92 ม. เหนือ มาตราส่วน 1/50,000 บ้านสุขัง 5๓๓๘ II L 7018 1-RTSD) ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างเก็บน้ำลำสำลาย ด้านทิศเหนือ ติดกับบ้านยางกระทุ่ง ตำบลตะขบ ห่างจากเขาพลับพลาชัยประมาณ ๓ กิโลเมตรด้านทิศใต้ ติดกับบ้านตะขบ ตำบลตะขบ ห่างจากคลองหนองยางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตรด้านทิศตะวันออกติดกับบ้านเขาพญาปราบ ตำบลตะขบ ห่างจากเขาพญาปราบประมาณ ๒ กิโลเมตรด้านทิศตะวันตก ติดกับบ้านยางกระทุ่ง ตำบลตะขบ ห่างจากอ่างเก็บน้ำด้านทิศตะวันตกประมาณ ๑.๓ กิโลเมตร ๒.สภาพปัจจุบัน เหลือเพียงเนินดิน กว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๒๐ เมตร สูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ ๑ เมตร มีหญ้าปกคลุมพื้นที่ ด้านทิศตะวันออกของเนินมีแนวต้นไมยราบยักษ์ปกคลุมอยู่ ด้านทิศใต้และด้านทิศตะวันของของเนิน พบแนวศิลาแลงแถวเดียวก่อเป็นแนวยาวประมาณด้านละ ๔ เมตร กว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร บนเนินพบกลุ่มศิลาแลงประมาณ ๑๐ ก้อน ขนาด กว้างประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๘๐ – ๑๐๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร จากการเดินสำรวจพบโบราณวัตถุ ประเภทเศษกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาเนื้อดิน กระจายโดยรอบเนินดิน ไม่พบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ และโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ ๓.ข้อสันนิษฐานเบื้องต้น เป็นโบราณสถานประเภทปราสาทหิน ก่อด้วยศิลาแลง มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาน่าจะเป็นโครงสร้างไม้เนื่องจากพบกระเบื้องมุงหลังคา กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ (ไม่มีหลักฐานบ่งชี้อายุที่แน่ชัด)
วัดเชตุพน ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางทิศใต้ ห่างจากประตูนะโมไปตามถนนประมาณ 1.7 กิโลเมตร ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นกลุ่มโบราณสถานที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ โบราณสถานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดซึ่งมีคูน้ำ 2 ชั้นล้อมรอบ มีเพียงโบสถ์ที่ตั้งอยู่แยกออกมาทางทิศใต้นอกคูน้ำประมาณ 100 เมตร รายละเอียดของสิ่งก่อสร้างในวัดมีดังต่อไปนี้ 1. มณฑปพระสี่อิริยาบถ เป็นโบราณสถานหลักของวัด มณฑปเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทางด้านทิศตะวันตกเป็นพระพุทธรูปประทับยืน ทางด้านทิศเหนือเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง และทางด้านทิศใต้เป็นพระพุทธรูปประทับนอน (ไสยาสน์) พระพุทธรูปสี่อิริยาบถนี้ ก่อด้วยอิฐ มีสภาพชำรุดพระเศียรหักหาย ขนาดของมณฑปกว้างประมาณ 11 เมตร 2. มณฑปเล็กก่อด้วยอิฐ ขนาดฐานด้านละ 7 เมตร ตั้งอยู่ด้านหลังหรือทางตะวันตกของมณฑปพระสี่อิริยาบถ ภายในเจดีย์มีร่องรอยพระพุทธรูปปูนปั้น หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก และพบว่ามีการเขียนภาพลายเส้นพันธุ์พฤกษาเขียนด้วยสีดำเห็นได้ชัดเจนบริเวณด้านตะวันตกของเจดีย์ 3. ฐานวิหาร 6 ห้อง ก่อด้วยอิฐและเสาศิลาแลงกลม ขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 25 เมตร อยู่ทางด้านตะวันออกของมณฑปพระสี่อิริยาบถ 4. ฐานเจดีย์รายจำนวน 13 องค์ อยู่รายรอบวิหารและมณฑป 5. กำแพงรอบมณฑปพระสี่อิริยาบถ ทำด้วยหินชนวนล้อมรอบมณฑปพระสี่อิริยาบถและมณฑปเล็ก รวมทั้งเจดีย์บางส่วนไว้ภายในทั้ง 4 ด้าน ทางด้านทิศเหนือทิศใต้และทิศตะวันตกมีช่องประตูทางเข้า ทำด้วยหินชนวนแท่งใหญ่ หนา เจาะเป็นเดือยสลักไว้เพื่อเข้าไม้ 6. สระน้ำ 2 สระ อยู่ภายในเขตกำแพงวัด สระแห่งแรกกว้างประมาณ 30 เมตร ยาว 180 เมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด สระแห่งที่สองอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด มีขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 120 เมตร 7. กำแพงวัดก่อด้วยอิฐ ล้อมรอบอาณาเขตวัดไว้ทั้งสี่ด้าน แต่กำแพงนี้ก็ยังอยู่ด้านในของคูน้ำชั้นนอกอีกทีหนึ่ง ขนาดของกำแพงมีความยาวแต่ละด้านมีดังนี้คือ 180 เมตร ยาว 200 เมตร 8. คูน้ำที่ล้อมรอบมี ๒ ชั้น คูชั้นในสุดล้อมรอบเฉพาะกลุ่มโบราณสถานส่วนใหญ่ไว้ มีลักษณะเป็นเขตพุทธาวาส ขนาดคูชั้นในกว้าง ๑๐ เมตร ล้อมรอบพื้นที่กว้าง ๓๕ เมตร ยาว ๗๐ เมตร ส่วนคูชั้นนอกมีขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ล้อมรอบพื้นที่บริเวณวัดภายในกำแพงอิฐไว้ทั้งหมด 9. ฐานโบสถ์ก่ออิฐขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 15.5 เมตร มีเสมาหินปักเป็นคู่อยู่รอบ 8 ทิศ โดยฐานโบสถ์นี้อยู่ห่างออกมานอกเขตคูน้ำล้อมรอบวัดทางทิศใต้ประมาณ 10 เมตร วัดเชตุพนไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ปรากฏหลักฐานจาก จารึกวัดสรศักดิ์ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ว่า เมื่อพระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ มีศักดิ์เป็นน้าของพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัยพระองค์หนึ่ง มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสรศักดิ์ได้ร่วมชุมนุมกับพระวัดเชตุพน พิจารณาการสร้างเจดีย์ช้างรอบและศาสนสถานอื่น ๆ ที่วัดสรศักดิ์ จากข้อความที่ระบุชื่อวัดเชตุพนในศิลาจารึกหลักนี้ ประกอบกับรูปแบบทางศิลปกรรมของที่นี่แสดงให้เห็นว่า วัดเชตุพนคงเป็นวัดที่มีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองในช่วงสุโขทัยตอนปลาย นอกจากนี้ยังได้พบจารึกที่วัดเชตุพน กล่าวถึงเจ้าธรรมรังษีซึ่งบวชได้ 22 พรรษามีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปขึ้นใน พ.ศ. 2057 ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
๑. ชื่อโครงการ
พิธีมหากุศลการพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตอุโบสถ วัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
* งานThai Festival Chicago ๒๐๑๔
* โครงการคาราวานวัฒนธรรมไทยในมิดเวสต์
* งาน International Club of DC
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานการทูตทางวัฒนธรรมและการทูตสาธารณะเพื่อให้ประชาชน รัฐบาลและประชาคมนานาชาติรู้จัก และมีทัศนคติในทางบวกต่อประเทศไทยและประชาชนไทย ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว
๒.๒ เป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีในมิติทางวัฒนธรรมกับประเทศเป้าหมายเพื่อขยายสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ต่อไป
๒.๓ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ
๒.๔ เพื่อนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรมในรูปแบบศิลปะการแสดง ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง และตระหนักในอัตลักษณ์ คุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมที่เป็นองค์ประกอบในสังคมไทยทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ อันจะเป็นปัจจัยในการสร้างความสมานฉันท์ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และเกื้อหนุนความมั่นคงของชาติ ตลอดจนส่งเสริมการแสดงออกทางวัฒนธรรม
๒.๕ เพื่อสนับสนุนศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
๒.๖ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลอง
สิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เมื่อวันที่๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
๒.๗ เพื่อร่วมแสดงเฉลิมฉลองพิธีสมโภชวัดนวมินทราชูทิศ
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗
๔. สถานที่
๑. เมือง เรย์นแฮม เคมบริดจ์ นครบอสตัน
๒. นครชิคาโก เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี เมืองเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน
๓. กรุงวอชิงตันดี.ซี.
๕. หน่วยงานผู้จัด
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม
๖. หน่วยงานสนับสนุน
๑. สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
๒. สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
๓. สถานกงสุลไทย ประจำนครชิคาโก
๗. กิจกรรม
กำหนดการคณะนาฏศิลป์และดนตรีไทย กระทรวงวัฒนธรรม
ณ นครบอสตัน นครชิคาโก และกรุงวอชิงตันดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
ระหว่างวันที่ ๑๑– ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗
วันพุธที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๒. ๓๐ น. - Check-in ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
๐๑.๓๕ น. - ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเที่ยวบิน EK ๓๘๕
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗
๐๔.๔๐ น. - เดินทางถึงสนามบินนานาชาติดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ตามเวลา
ท้องถิ่น)
๐๘.๕๐ น. - ออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติดูไบ โดยเที่ยวบิน EK ๒๓๗
๑๔.๔๕ น. - เดินทางถึงสนามบินโลแกน นครบอสตัน (ตามเวลาท้องถิ่น)
- Check-in ณ โรงแรม นครบอสตัน
วันศุกร์ที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - ซ้อมการแสดง
ช่วงบ่าย - ฝึกซ้อมการแสดงนาฏศิลป์ร่วมกับนักเรียนนาฏศิลป์ไทยในบอสตัน
วันเสาร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - ซ้อมการแสดง
๑๑.๐๐ น. - บรรเลงดนตรีไทย
๑๕.๐๐ น. - บรรเลงดนตรีไทย
๑๗.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งานฉลองสมโภช ณ วัดนวมินทรราชู-
ทิศ
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - ซ้อมการแสดง
๑๑.๐๐ น. - บรรเลงดนตรีไทย
๑๕.๐๐ น. - บรรเลงดนตรีไทย
๑๗.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งานฉลองสมโภช ณ วัดนวมินทรราชู-
ทิศ
วันจันทร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - ทัศนศึกษา
วันอังคารที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - เดินทางจากนครบอสตันไปยังนครชิคาโก
ช่วงบ่าย - ซ้อมการแสดง
วันพุธที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๑.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งาน Thai Festival ณ
Federal Plaza
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๑.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งาน Thai Festival ณ Federal Plaza
วันศุกร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๑.๐๐ -๑๘.๐๐ - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งาน Thai Festival ณ Federal Plaza
วันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า/ช่วงบ่าย - ทัศนศึกษา
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - ออกเดินทางจากโรงแรมไปยัง มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี
๑๖.๐๐ -๑๘.๐๐ - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งาน Enchanting Thailand ณ
หอประชุมมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี
วันจันทร์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า/ช่วงบ่าย - ทัศนศึกษา
วันอังคารที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - ออกเดินทางจากโรงแรมไปยัง Olbrich Botanic Gaden รัฐวิสคอนซิน
๑๗.๓๐ -๑๙.๐๐น. - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งาน Enchanting Thailand ณ
Olbrich Botanic Gaden รัฐวิสคอนซิน
วันพุธที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๑.๐๐ -๑๒.๓๐น. - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งาน Enchanting Thailand ณ
Chicago Botanic Garden
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - เดินทางจากนครนครชิคาโกไปยักรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ช่วงบ่าย - ทัศนศึกษา
วันศุกร์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - ซ้อมการแสดง
ช่วงค่ำ - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย งาน International Club of DC
วันเสาร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๗
ช่วงเช้า - ซ้อมการแสดง
ช่วงค่ำ - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ น. - Check-out
๑๐.๕๕ น. - ออกเดินทางจากสนามบินวอชิงตัน ดันเลส โดยเที่ยวบิน EK ๒๓๒
วันจันทร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗
๐๘.๐๐ น. - เดินทางถึงสนามบินนานาชาติดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ตามเวลา
ท้องถิ่น)
๐๙.๔๐ น. - ออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติดูไบ โดยเที่ยวบิน EK ๓๗๒
๑๙.๑๕ น. - เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานคร
๘. คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยข้าราชการ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จำนวน ๒๑ คน คือ
คณะนักแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑. นางสาววันทนีย์ ม่วงบุญ นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ (หัวหน้าคณะฯ)
๒. นางสาววนิตา กรินชัย นาฏศิลปิน (เลขาคณะฯ)
๓. นางสาวสุชาดา ศรีสุระ นาฏศิลปิน
๔. นายฉันทวัฒน์ ชูแหวน นาฏศิลปิน
๕. นายกิตติ จาตุประยูร นาฏศิลปิน
๖. นายวัลลภ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน
๗. ว่าที่ ร.ต.ดำริ กิตติพงษ์ นาฏศิลปิน
๘. ว่าที่ ร.ต.เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ นาฏศิลปิน
๙. นายเกริกชัย ใหญ่ยิ่ง นาฏศิลปิน
๑๐. นายสุทธิ สุทธิรักษ์ นาฏศิลปิน
๑๑. นายสราวุธ อารมณ์ชื่น นาฏศิลปิน
๑๒. นางสาวจุฑามาศ สกุลณี นาฏศิลปิน
๑๓. นางสาวสุพัตรา แสงคำพันธุ์ นาฏศิลปิน
๑๔. นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม นาฏศิลปิน
๑๕. นางสาวภาสินี ปั้นศิริ นาฏศิลปิน
๑๖. นายสุรสิทธิ์ เขาสถิต ดุริยางคศิลปิน
๑๗. นางนงลักษณ์ แก้วนุช ดุริยางคศิลปิน
๑๘. นายปิยะ แสวงทรัพย์ ดุริยางคศิลปิน
๑๙. นายพรศักดิ์ คำส้อม ดุริยางคศิลปิน
๒๐. นายประดิษฐ์ หนูจ้อย ดุริยางคศิลปิน
๒๑. นายวรวิทย์ ข้าวสามรวง ดุริยางคศิลปิน
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
กระทรวงวัฒนธรรมร่วมมือกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก และเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี(ในการจัดงานเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในสหรัฐอเมริกาโดยเข้าร่วมงาน พิธีมหากุศลการพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตอุโบสถ วัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติหระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี งาน Thai Festival Chicago ๒๐๑๔ โครงการคาราวานวัฒนธรรมไทยในมิดเวสต์ งาน International Club of DC ระหว่างวันที่ ๑๑– ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในต่างประเทศผ่านการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยได้จัดชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทยดังนี้
ชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทย
· โขน ตอน ยกรบ และหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา
· การต่อสู้ป้องกันตัว (พลองไม้สั้น กระบี่กระบอง และฟันดาบ)
· การแสดง ๔ ภาค - ใต้ มโนราห์บูชายันต์ ตารียอเกส ทักษิณสโมสร ระบำชนไก่ ตารีกีปัส
- เหนือ ฟ้อนขันดอก ฟ้อนผาง ฟ้อนที ฟ้อนแพน
- กลาง เถิดเทิงกลองยาว ระบำฉิ่ง ระบำวิชนี
- อิสาน ฟ้อนภูไท กั๊บแก๊บ กะโป๋ แหย่ไข่มดแดง
· finale
จากการร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมไทย ผ่าน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก และเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ในการจัดงานเผยแพร่วัฒนธรรม มีรายละเอียดการจัดงาน ดังนี้
๑.การเข้าร่วมงาน พิธีมหากุศลการพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตอุโบสถวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติหระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
โดยกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับวัดนวมินทรราชูทิศ จัดงานในระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ มิถุนายน
๒๕๕๗ได้จัดการแสดงเป็นเวลา ๓๐ นาที รูปแบบงานแสดงภายในวัด มีผู้เข้าร่วมงาน ประมาณ ๒,๐๐๐ คน สร้างความประทับใจและความสนุกสนานให้แก่ผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
๒. การเข้าร่วมงาน Thai Festival Chicago ๒๐๑๔
งาน Thai Festival Chicago ๒๐๑๔ โดยสถานกงสุลใหญ่ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ณ ลาน Federal Plaza ใจกลางนครชิคาโก รูปแบบงานเป็นการออกร้านเพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทย ศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย อาหาร สินค้าไทย และการท่องเที่ยวไทย
ในพิธีเปิดงาน มีผู้แทนชุมชนไทยในมลรัฐอิลลินนอยส์เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง โดยนาย Rahm Emanuel นายกรัฐมนตรีนครชิคาโกได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมและกล่าวสุนทรพจน์แสดงความชื่นชนไทยในการการจัดงานครั้งนี้ ในการนี้คณะนาฏศิลป์ไทยและดนตรีไทย สำนักการสังคีต กระทรวงวัฒนธรรมได้เข้าร่วมในขบวนแห่กลองยาวและมีการแสดงนาฏศิลป์ไทยและดนตรีบนเวทีหลายชุดเป็นเวลา ๓ วัน โดยมีผู้เข้าร่วมงานตลอด๓วันไม่ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐คน ครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนท้องถิ่น สิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ สร้างความประทับใจและความสนุกสนานให้แก่ผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
๓. งาน Enchanting Thailand
สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้จัดงาน Enchanting Thailand ณ Anheuser-Busch Auditorium,John Cook School of Business มหาลัยเซนต์หลุยส์ เมื่อค่ำวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ โดยร่วมมือกับสมาคมไทยของเมืองเซนต์หลุยส์ นำคณะนาฏศิลป์ไทยและดนตรีจัดการแสดงเป็นเวลา ๒ ชั่วโมง ๓๐ นาที โดยมีชาวอเมริกันในเมืองเซนต์หลุยส์และรัฐมิสซูรีมาร่วมงานประมาณ ๔๐๐ คน ทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมทั้ง ส.ส. ปรำจำรัฐมิสซูรีอีกหลายคน
๔. การเข้าร่วมงาน ๒๐๑๔ Summer Concert in the Garden Series
การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ณ ศาลาไทย สวนพฤษศาสตร์ Oibrich เมืองเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน สถานกงสุลใหญ่ได้นำคณะนาฏศิลป์และดนตรีไทยเข้าร่วมแสดงในงาน ๒๐๑๔ Summer Concert in the Garden Series เมื่อเย็นวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ จัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทยเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ๓๐นาที บริเวณศาลาไทย ในงานมีชาวไทยและชาวอเมริกันในเมืองเมดิสันและรัฐวิสคอนซินมาร่วมงานประมาณ ๕๐๐ คน รวมทั้ง Ms. Roberta Sladky ผอ. สวนพฤษศาสตร์ Oibrich ผอ. ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณาจารย์มหาวิทยาลัย และนักเรียนไทยและชาวต่างชาติที่สนใจอีกจำนวนมาก
การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ณ สวนพฤษศาสตร์ของนครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ในช่วงสายของวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ จัดการแสดงเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที โดยมีเข้าร่วมงานประมาณกว่า ๒๐๐ คน
๕. การเข้าร่วมงาน International Club of DC
การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ณ สถานทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้จัดการแสดงเป็นเวลา ๔๕ นาที มีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประมาณ ๕๐๐ คน
การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ณ วัดธรรมประธีป ในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้จักการแสดงเป็นเวลา ๒ ชั่วโมง มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ ๒,๐๐๐ คน สร้างความประทับใจและความสนุกสนานให้แก่ผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑. ควรมีการจัดงานในลักษณะนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรมของไทยและงานด้านความสัมพันธ์และการท่องเที่ยวระหว่างกัน ตลอดจนการขยายความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมของไทย ระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนของประเทศเป้าหมาย
๒.การจัดงานครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของกระทรวงวัฒนธรรมเช่น กลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีตกับ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมหรืกับเครือข่าย ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งของฝ่ายไทยและประเทศเป้าหมาย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันจะส่งผลประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเมืองต่อไป
๓. ส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่และเป็นที่แพร่หลายท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมโลก
๔.การดำเนินงานการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศควรคำนึงถึงการจัดทำงบประมาณในด้านการขนส่งสัมภาระทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือในด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกต่อการขนย้ายและการจัดเก็บ
(นาง วนิตา กรินชัย)
นาฏศิลปินอาวุโส
เลขาคณะฯ
ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
เรื่อง เมืองพาราณสี นี้เป็นเรื่องสั้นๆตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณ ตอนที่ 77 เป็นถ้อยคำของพราหมณ์ชื่อ อะจุตะนันนำ ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องเมืองพาราณสี
ชื่อเรื่อง : การขุดค้นศึกษา และบูรณะกำแพงเมืองเชียงใหม่
ผู้แต่ง : ทรรศนะ โดยอาสา
ปีที่พิมพ์ : 2540
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
กำแพงเมืองเชียงใหม่ เป็นเสมือนสัญญาทางประวัติศาสตร์อันหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องเมืองของเหล่าบรรพบุรุษ ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเมือง การปกครอง สภาพสังคม วัฒนธรรม และเทคนิคทางสถาปัตยกรรม ตลอดจนภูมิปัญญาอันล้ำค่าที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ ด้วยระยะเวลาที่สลับทับซ้อน สั่งสมกันมาอย่างยาวนาน แต่ด้วยปัจจุบันกำแพงเมืองเชียงใหม่ ยังคงเหลือร่องรอยให้เห็นเป็นบางส่วน ทำให้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเทศบาลนครเชียงใหม่ ต่างเล็งเห็นว่า การทำบูรณะกำแพงเมืองเชียงใหม่ในครั้งนี้จะยังประโยชน์ด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดี และเพื่อเป็นแบบอย่างของงานด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน อีกทั้งยังคาดว่าน่าจะเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เลขทะเบียน : นพ.บ.13/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีป้ายชื่อไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 9 (100-104) ผูก 1หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.43/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 25 (244-253) ผูก 8หัวเรื่อง : อรรถกถาบาลี --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)
ชื่อเรื่อง โคลงนิราศนรินทร์ ฉบับกรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 8
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพ ฯ
สำนักพิมพ์ M.C. Book
ปีที่พิมพ์ 2536
จำนวนหน้า 64 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่กอบกุล สกิตยุทธการ
โคลงนิราศนรินทร์ฉบับกรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ เป็นผลงานของนายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) กวีเอกในสมัย ร.2 และเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบวชราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหานุรักษ์ แต่งเรื่องนี้ ในขณะเดินทางตามเสด็จ สมเด็จพระบวรราชเจ้า ฯ ไปรบพม่าซึ่งยกมาตีถลางและเมืองชุมพร ในปี พ.ศ. 2352 ฉบับนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 8 โดยใช้ต้นฉบับที่กรมศิลปากรตรวจชำระในการพิมพ์ครั้งที่ 4
ชื่อผู้แต่ง ศิลปากร,กรมชื่อเรื่อง จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ ครั้งที่พิมพ์ -สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ จำนวนหน้า ๒๓๖ หน้าคำค้น จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้หมายเหตุ พิมพ์ในการพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์)
จดหมายเหตุเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระบรมโอรสฯ ทรงเขียนเป็นทำนองราชบริพารคนหนึ่งเขียนขึ้นโดยลงชื่อว่า “นายแก้ว” อันเป็นนามปากกาที่ทรงใช้ในเวลาต่อมาแม้เมื่อได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้วก็ดูเหมือนจะยั้งมีอยู่บ้าง ที่ทรงกล่าวถึงทูลกระหม่อมอันหมายถึงพระองค์ท่านเองก็เพื่อจะส่งเสริมรูปเรื่องให้เป็นไปในทำนองว่าเป็นของบุคลสมมุที่ชื่อว่านายแก้ว ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่อ้างถึงในหนังสือนี้ถ้าเป็นจำพวกราชบริพารมักใช้ชื่อแฝง ผู้รับเสด็จมักใช้ชื่อจริงทั่วไป