Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พระแท่นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระแท่นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
สมัยธนบุรี ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ได้มาจากเมืองแกลง (อำเภอแกลง) จังหวัดระยอง
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ ห้องกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
พระแท่นไม้จำหลักลายปิดทอง ลักษณะเป็นตั่งไม้ฐานสิงห์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีพนัก ส่วนฐานตั่งทั้งสี่ด้านตกแต่งลักษณะคล้ายขาสิงห์ กล่าวคือ ส่วนแข้งสิงห์จำหลักลายค้างคาว (สัญลักษณ์มงคลจีนแทนคำว่า “ฮก” มีความหมายถึงอายุยืนยาว) กาบเท้าสิงห์จำหลักรูปช่อพรรณพฤกษา ขาตั่งรองรับด้วยรูปจำหลักสิงโตหมอบเชิดหน้าขึ้น (บางตัวแสดงการคาบลูกแก้วอยู่ในปาก) บริเวณกึ่งกลางท้องสิงห์ด้านหน้าตั่งจำหลักรูปมังกรคู่หันหน้าเข้าหากัน คั่นด้วยดาบมีอักษรจีนคำว่า “หวัง” (王) หมายถึงกษัตริย์ ด้านข้างจำหลักลายพรรณพฤกษารูปดอกไม้และส้มมือ* มีสัญลักษณ์มงคลแทรกรวมอยู่ด้วย อาทิ รูปหนังสือ หรือคัมภีร์สองเล่มร้อยด้วยริบบิ้น และ รูปน้ำเต้าประดับด้วยริบบิ้น ถัดขึ้นมาส่วนท้องไม้แบ่งออกเป็นสามช่อง สลักเป็นลายพรรณพฤกษารูปดอกไม้ชนิดต่าง ๆ อาทิ ดอกโบตั๋น ดอกบ๊วย และดอกเบญจมาศ (ดอกไม้ทั้งสามเป็นสัญลักษณ์มงคลในศิลปะจีนมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความมีโชคลาภและความมีอายุยืนยาว) อีกทั้งจำหลักรูปนกแทรกอยู่ตามกิ่งไม้ ด้านข้างพระแท่นบริเวณท้องสิงห์จำหลักลายพรรณพฤกษา มีรูปดอกไม้ต่าง ๆ เช่น ดอกพุดตาน ดอกบัว ถัดขึ้นมาเป็นลายหงส์คู่ท่ามกลางลายพรรณพฤกษา
พระแท่นองค์นี้ตามประวัติกล่าวว่าได้มาจากเมืองแกลง (อำเภอแกลง) จังหวัดระยอง เมื่อคราวเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ มีประวัติว่าตั้งจัดแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระที่นั่งองค์กลางในหมู่พระวิมาน โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงว่าเป็นพระแท่นของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ดังความว่า
“...ตรงช่องผนังสกัดข้างหลัง ข้างเหนือ (คือ) พระแท่นพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้มาจากเมืองแกลง...”
ต่อมาในลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงพระแท่นองค์นี้ว่า
“...ถึงรัชกาลที่ ๗ สมเด็จพระสังฆราชกรมหลวงชินวรฯ เสด็จลงไปทางหัวเมืองชายทะเล ไปพบพระแท่นขุนหลวงตากอยู่ที่วัดในเมืองแกลง อันเป็นวัดถิ่นเดิมของพระสังฆราชชื่น**ตรัสสั่งให้ส่งมายังพิพิธภัณฑสถาน เป็นเตียงจีนมีรูปสิงโตจำหลักปิดทองรองขาเตียงที่ต่อกับพื้นทั้ง ๔ ขา…”
ในหนังสือ “สมุดมัคคเทศนำเที่ยวหอพระสมุดวชิรญาณและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” (พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑) ได้เพิ่มเติมคำบรรยายพระแท่นองค์นี้ว่า “...พระแท่นกระบวรจีนของพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้มาจากเมืองแกลง...”
ทั้งนี้การพบพระแท่นองค์นี้ที่เมืองแกลงนั้น มีข้อสันนิษฐานอยู่สองแนวทาง กล่าวคือ ข้อสันนิษฐานแรก พระโพธิวงษ์ (ชื่น) เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ธนบุรี เดิมเป็นชาวเมืองแกลงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๔*** ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ถูกลดพระยศลงมาดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมธิราชมหามุนี (ว่าที่พนรัตน์)**** และภายหลังในคราวทำสังคายนาพระไตรปิฎก พศ. ๒๓๓๒ มีสมณศักดิ์เป็นพระธรรมไตรโลก สันนิษฐานว่าท่านได้นำพระแท่นองค์นี้กลับไปยังภูมิลำเนาเดิมที่เมืองแกลง
ข้อสันนิษฐานที่สอง คือ พระธรรมเจดีย์ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร (พ.ศ. ๒๔๑๐-๒๔๒๙) เดิมเป็นชาวเมืองแกลง ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมเจดีย์” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เล่ากันอีกทางว่าท่านเป็นผู้ที่ย้ายพระแท่นองค์นี้พร้อมด้วยตู้พระธรรมเขียนภาพลงสีและพระพุทธรูปหวายฉาบปูน ๑ องค์ ไปไว้ที่วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ กรมศิลปากรได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการ ประวัติศาสตร์ชาติไทยภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ได้นำพระแท่นองค์นี้จัดแสดงรวมไว้ด้วยเช่นกัน กระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ย้ายพระแท่นองค์นี้มาจัดแสดงอยู่ที่ห้องกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
*ส้มมือ หมายถึง “ฮก” สัญลักษณ์มงคลสื่อถึงวาสนา หรือยศถาบรรดาศักดิ์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน https://www.facebook.com/media/set/?set=a.429446087107623...
**สมเด็จพระสังฆราชชื่น ทรงเป็นพระสังฆราชองค์ที่ ๓ ในสมัยกรุงธนบุรี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในพระนิพน์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ตำนานคณะสงฆ์
***เรื่องการสถาปนาพระโพธิวงศ์ (ชื่น) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยกรุงธนบุรี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ตอน แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี
****เรื่องการลดพระยศสมเด็จพระสังฆราชชื่น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
อ้างอิง
กรมศิลปากร. สมุดมัคคเทศนำเที่ยวหอพระสมุดวชิรญาณและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. พระนคร: ไทยพิทยา, ๒๔๙๑.
ดำรงราชานุภาพ. สมเด็จฯ กรมพระยา. อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณ แล พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร. พระนครฯ: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๙.
ดำรงราชานุภาพ. สมเด็จฯ กรมพระยา. สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๔. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๔, จาก: https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๔/สิงหาคม/วันที่-๒๔-สิงหาคม-พศ-๒๔๘๔-ดร
วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร. ลำดับเจ้าอาวาส. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔, จาก: https://www.watmoli.org/index.php?url=about&code=admin&cat=A
สิรินทร์ ย้วนใยดี. “พระแท่นประทับ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.” นิตยสารศิลปากร ๖๑, ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑): ๑๑๗-๑๒๗.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน