ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,776 รายการ
วันปากปี--- วันลำดับที่ ๔ ในเทศกาลสงกรานต์คือวันปากปี ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่ ในวันนี้ชาวบ้านจะพากันไปดำหัววัด คือไปทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน—-ชาวบ้านนิยมทำแกงบะหนุน หรือแกงขนุน กินกันในครอบครัว หรือทำปริมาณที่เยอะเพื่อแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน ญาติมิตร หรือถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งมีความเชื่อว่า คำว่า ขนุน พ้องเสียงกับ อุดหนุน หนุนหนำ หนุดส่ง หนุนหลัง กินแกงขนุนแล้วจะเกื้อหนุนให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปตลอดทั้งปี ซึ่งในเดือนเมษายน-พฤษภาคม เป็นช่วงที่ผลผลิตหรือขนุนกำลังออกผลพอดี ---ในแง่ของพิธีกรรมพื้นบ้านนั้น ในวันนี้จะมีพิธีทั้งที่วัดและที่บริเวณใจบ้าน เรียกว่าเป็นการส่งเคราะห์บ้านหรือเป็นวันสระพระเคราะห์ มีการปูชาเข้าลดเคราะห์ ปูชาเข้ายกเคราะห์ ปูชาเคราะห์ปีใหม่ ปูชาสระพระเคราะห์ เป็นต้นที่วัดเชื่อว่าผู้ที่บูชาดังว่าในวันปากปี จะได้รับความคุ้มครองไปตลอดปี---ในตอนสายของวันนี้ชาวบ้านจะไปชุมนุมกันที่ใจบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน เพื่อจัดทำพิธีแปลงบ้านและส่งเคราะห์บ้าน เริ่มต้นด้วยการขึ้นท้าวทั้สี่คือบูชาท้าวจตุโลกบาลเสียก่อนแล้วจึงนิมนต์พระจำนวน ๕, ๗ หรือ ๙ รูปมาเจริญพระพุทธมนต์ โดยที่เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วก็ให้พระสงฆ์นั่งพักเสียก่อน แต่ชาวบ้านจะหามแห่เครื่องพิธีในการส่งเคราะห์ไปทางทิศตะวันออกของใจบ้านเป็นอันดับแรก ซึ่งอาจารย์ก็จะทำพิธีส่งในทิศนั้น แล้วจึงแห่แตะเครื่องบูชาในพิธีอันที่สองอันที่สาม ฯลฯ เวียนไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศใต้ตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำดับจนครบทั้งแปดทิศ แล้วจึงจะนำแตะเครื่องบูชาอันที่เก้าไปกล่าวคำโอกาสเวนทานในท่ามกลางบริเวณพิธีอีกเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้เมื่ออาจารย์กล่าวส่งในแต่ละทิศจบแล้วก็จะมีการจุดประทัดยิงปืนโห่ร้องเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร เมื่อเสร็จการส่งแล้วจึงให้หามเอาแตะเครื่องบูชาไปส่งตามทิศให้พ้นจากเขตของหมู่บ้านในแต่ละทิศ ในการส่งนี้อาจารย์อาจใช้คำโอกาสส่งนพเคราะห์ทั้งเก้า ก็ได้ บางแห่งอาจใช้วิธีกล่าวคำโอกาสรวมในครั้งเดียว โดยยกร่างร้านให้สูงประมาณ ๗๐-๔๐ เซนติเมตร แล้วยกแตะเครื่องบูชาทั้งเก้าแตะวางเรียงเป็นแถวแล้วกล่าวคำโอกาส เมื่อเสร็จแล้วก็จะจุดประทัดยิงปืนโห่ร้องกัน แล้วจึงหามเครื่องบูชานั้นไปส่งตามทิศให้พ้นจากเขตของหมู่บ้าน ถัดจากนั้นจึงเริ่มพิธีไหว้พระรับศีลพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้วอาจารย์โอกาสเวนทานถวายเครื่องไทยทาน พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่ประชาชนแล้วจึงเป็นอันเสร็จพิธี ตกดอนค่ำก็ให้แต่ละบ้านปูชาเทียนคือการนำเทียนซึ่งมีไส้ทำด้วยกระดาษสาที่เขียนเลขยันต์มาจุดบูชาพระพุทธรูปอีกด้วย---วันในลำดับที่ ๕ ของเทศกาลนี้คือ วันปากเดือน ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ ในวันนี้นิยมมีการส่งเคราะห์ต่างๆ ตามแบบที่นิยมนับถือกันมาแต่โบราณ การส่งเคราะห์ที่ว่านี้มีหลายอย่าง เช่น ส่งชน ส่งแถน ส่งเคราะห์นรา เป็นต้นส่วนการดำหัวนั้นก็จะดำเนินต่อไปจนครบตามต้องการที่มา อุดม รุ่งเรืองศรี. เรียบเรียงจาก ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย ของ มณีพยอมยงค์ และข้อมูลของ บำรุง บารมี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
เรื่อง วันพืชมงคล
พระราชพิธีเดือนหก พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล การพระราชพิธีดังกล่าวเป็น ๒ ชื่อ แต่เป็นพิธีเดียวกัน คือในวันแรกเป็นวันพระราชพิธีพืชมงคล ทำขวัญพืชพรรณต่างๆ มีข้าวเปลือก เป็นต้น จรดพระนังคัลเป็นพิธีเวลาเช้าคือลงมือไถ ถ้าจะแบ่งเป็นคนละพิธีก็ได้ ด้วยพิธีพืชมงคลไม่ได้ทำแต่ในเวลาค่ำวันสวดมนต์ รุ่งขึ้นเช้าก็ยังมีการเลี้ยงพระต่อไปอีก การจรดพระนังคัลก็ไม่ได้ทำแต่วันซึ่งลงมือแรกนา กล่าวคือ พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ ทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร พระราชพิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร พิธีทั้งสองนั้นก็นับว่าทำพร้อมกันในคืนวันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล
ฤกษ์การพระราชพิธีนี้ ต้องหาฤกษ์วิเศษกว่าฤกษ์อื่นๆ คือ
(๑) ฤกษ์นั้นอย่าให้ต้องวันผีเพลียอย่างหนึ่ง ดิถีซึ่งนับผีเพลียนั้นข้างขึ้นคือ ๑ ๕ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๕ ข้างแรม ๑ ๕ ๖ ๗ ๘ ๑๓ ๑๔ เป็นใช้ไม่ได้
(๒) ให้ได้ศุภดิถีอย่างหนึ่ง คือ ดิถีตาว่างซึ่งไม่เป็นผีเพลียนั่นเอง
(๓) ให้บุรณฤกษ์อย่างหนึ่ง คือ ๒ ๔ ๕ ๖ ๘ ๑๑ ๑๔ ๑๗ ๒๒ ๒๔ ๒๖ ๒๗
(๔) ให้ได้วันสมภเคราะห์อย่างหนึ่ง คือ วันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์
การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ สำหรับในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ ไม่มีเวลาเว้นว่าง ด้วยการซึ่งเป็นผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์พระนครทั้งปวง
ที่มา: จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๐๗.
ฐานพระพุทธรูป
เลขทะเบียน ๗๔ / ๒๕๔๑
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒
วัสดุ (ชนิด) สำริดลงรักปิดทอง
ขนาด ฐานกว้าง ๑๒ เซนติเมตร สูง ๑๓ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา ได้จากแก่งสร้อย บริเวณแม่น้ำปิง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ฐานพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทอง ลักษณะฐานรูปช้างแปดตัวเทินชั้นฐานกลมมีขยัก ด้านบนทำเป็นแผ่นกลมแบนขนาดใหญ่ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป
กรมศิลปากรส่งนักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบปืนใหญ่ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช พบจารึกอักษรยาวี ระบุปีที่สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ ได้มอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ร่วมกันตรวจสอบสภาพความชำรุดของปืนใหญ่ทั้ง ๙ กระบอก ที่วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รื้อย้ายจากบริเวณโดยรอบวิหารพระกัจจายนะ (วิหารพระแอด) มาเก็บรักษาไว้ภายในพิพิธภัณฑ์วัด ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าปืนใหญ่ที่เก็บรักษาไว้ที่วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารนี้ บางกระบอกมีลักษณะพิเศษ เช่น มีจารึกอักษรยาวี ระบุปีที่สร้างซึ่งตรงกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือปืนใหญ่ของฮอลันดาที่มีตราสัญลักษณ์ VOC Rรวมทั้งยังได้ตรวจสอบสภาพความชำรุดของพระพุทธรูปโบราณ ภายในวิหารทับเกษตร และวิหารโพธิ์ลังกาเพื่อเตรียมการอนุรักษ์ตามหลักวิชาการ ซึ่งจะเป็นการปกป้องคุ้มครองโบราณวัตถุดังกล่าวให้ยั่งยืนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า ปืนใหญ่เหล่านี้ รวมทั้งโบราณวัตถุ และโบราณสถาน ภายในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ล้วนเป็นหลักฐานแสดงถึงประวัติศาสตร์ และความเจริญรุ่งเรืองของเมืองนครศรีธรรมราชที่มีมาแต่ครั้งอดีต
ชื่อผู้แต่ง พระยาบริรักษเวชชการ
ชื่อเรื่อง ความรู้บางเรื่องเกี่ยวกับโหราศาสตร์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2511
จำนวนหน้า 132 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาบริรักษ์เวชชการ
รายละเอียด
หนังสือที่ระลึกงานศพพระยาบริรักษเวชชการ เนื้อหาเป็ฯเรื่องเกี่ยวกับโหราศาสตร์ เนื้อหาประกอบด้วย หลักฐานและประโยชน์ของการศึกษาโหราศาสตร์ ปัญหาเรื่องอธิกวาร การพยากรณ์โดยใช้ดวงจร เรื่องวันเดือนปีและปฏิทิน การใช้ทางจรในการพญากรณ์ แบบหาลักณา และหลักการวางอธิกมาส และอธิกวาร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๗ เชิญพบกับ "คันฉ่องสำริด"
โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "คันฉ่องสำริด" มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐.๗ เซนติเมตร วัสดุเป็นสำริด อายุสมัยอยุธยา พบในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี มอบในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี มีลักษณะเป็นแผ่นรูปกลมแบน ด้านที่ใช้สำหรับส่องหน้ามีขอบมน ผิวแบนเรียบ ด้านหลังยกขอบเป็นสันขึ้นมา ใกล้ขอบตกแต่งลายขีดวงกลมซ้อนกัน ๒ เส้น
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "คันฉ่องสำริด" ได้ในเดือนมกราคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
Username : หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักPassword : หมายเลข 4 ตัวสุดท้ายของหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
เเนะนำฐานข้อมูล Hibrary ฐานข้อมูลนิตยสารและหนังพิมพ์ออนไลน์ โดย นายภิญณกาญจ์ ปินตามา นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาเขียนสีรูปสัตว์แบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 19.6 เซนติเมตร ปากกว้าง 16.5 เซนติเมตร อายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผาก้นกลม มีเชิง เขียนสีแดงเป็นลายรูปสัตว์ คล้ายสัตว์เลื้อยคลานสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/07/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang
ชื่อเรื่อง คอคิด ขอเขียนผู้แต่ง ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ รวมเรื่องทั่วไปเลขหมู่ 089.95911 ว525คจสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ศรีหงส์ปีที่พิมพ์ 2507ลักษณะวัสดุ 112 หน้า หัวเรื่อง รวมเรื่อง ความรู้ทั่วไปภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเรื่อง “ข้อคิดขอเขียน” เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดซอกแซก คือได้พบได้เห็นได้อ่านอะไรต่ออะไรมาชวนให้คิดก็เก็บมาเขียนเล่นเรื่อยเจื้อยไป ต้องการให้อ่านเล่นสนุกๆ
หินจำหลักรูปช้างแก้ว
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖)
- หิน
พบที่วัดพระงาม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม แผ่นหินจำหลักลายนูนต่ำในกรอบสี่เหลี่ยมเป็นรูปช้างหมอบหันหน้าไปทางขวาของภาพ โดยที่มุมทั้ง ๔ มีรูปสิ่งของมงคล ได้แก่ หม้อปูรณฆฏะ สังข์ จักร และดาว ๕ แฉก โดยแผ่นหินจำหลักรูปช้าง อาจเป้นภาพช้างแก้วหนึ่งในแก้ว ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้แก่ช้างแก้ว จักรแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40165
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2567 ร่วมกับ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี โดยมีร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ร่วมมอบของรางวัลให้กับน้องๆที่มาเข้าร่วมงาน ขอขอบคุณอาหารและเครื่องดื่มภายในงานจากผู้ใหญาใจดีทุกท่าน วงดนตรี : โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี นักร้อง+พิธีกร : วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี เครื่องเสียง : โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก สุพรรณบุรี ขอขอบคุณทุนจากผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน ของเล่นทุกชิ้นที่ได้มอบให้กับน้องๆทุกคน ขอขอบพระคุณค่ะ