ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เข้าร่วมกิจกรรมในงาน ๑๐๘ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร (๒๗ มีนาคม ๒๕๖๒) และเปิดนิทรรศการ “หนึ่งจังหวัด...หนึ่งสุดยอดมรดกศิลปวัฒนธรรม” พร้อมทั้งการออกร้าน Creative Fine Arts ของหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร โดยมีอดีตผู้บริหาร ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนร่วมงานจำนวนมาก ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ มีนาคม ๒๕๖๒ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




  บทความ จาก พิพิธภัณฑสาร ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 (มกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2557)


          แหล่งเตาเผาบ้านบางปูน เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือแม่น้ำท่าจีน พบร่องรอยเตาเผาและชิ้นส่วนภาชนะกระจายเป็นทางยาวประมาณ ๗ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตตำบลรั้วใหญ่ ตำบลพิหารแดง ตำบลโพธิ์พระยา และตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีไปทางทิศเหนือราว ๗.๕ กิโลเมตร           เตาเผาบ้านบางปูนมีลักษณะเป็นเตาแบบระบายความร้อนแนวนอนหรือแนวระนาบ (crossdraft kilns)หลังคาเตาโค้งรีคล้ายประทุนเรือหรือหลังเต่า ใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างหลังคาแล้วพอกด้วยดินเหนียวจนทั่ว อาจมีการสุมไฟเพื่อไล่ความชื้นและทำให้โครงสร้างเตาที่ประกอบด้วยดินผสมวัสดุอื่น ๆ อยู่ตัว แต่โครงสร้างที่มีเพียงดินยึดกันเช่นนี้ ทำให้ส่วนหลังคาเตายุบตัวลงก่อนเสมอ           ส่วนประกอบของเตาแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ๑. ห้องบรรจุเชื้อเพลิง (fire box)อยู่ต่ำกว่าส่วนอื่น พื้นห้องลาดเอียงราว ๑๐-๑๕ องศา มีช่องใส่ฟืนด้านหน้าเป็นรูปโค้ง และเป็นช่องสำหรับนำภาชนะเข้าไปในเตา ๒. ห้องวางภาชนะ (firing chamber) พื้นห้องยกสูงขึ้นจากห้องบรรจุเชื้อเพลิงราว ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่มากกว่าส่วนอื่น เพราะต้องนำภาชนะเข้ามาจัดวางเพื่อเผา ผนังหนาประมาณ ๑๐-๒๐ เซนติเมตร มักแตกร้าวเพราะการหดตัวของดิน ๓. ปล่องไฟ (Chimney) เป็นปล่องระบายความร้อนและควันไฟ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม แตกต่างจากปล่องไฟของแหล่งเตาอื่นที่มีลักษณะเป็นวงกลม           เครื่องปั้นดินเผาที่ได้จากแหล่งเตาบ้านบางปูน เป็นภาชนะทรงชาม อ่าง ไหก้นกลม และไหเท้าช้างมีการขึ้นรูปด้วยวิธีขดดินเป็นเส้นและใช้แป้นหมุน เมื่อนำไปเผาด้วยอุณหภูมิความร้อนที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้ได้ภาชนะทั้งประเภทเนื้อดิน (earthenware) และเนื้อแกร่ง (stoneware) ซึ่งมีความคงทนแตกต่างกัน           การตกแต่งภาชนะมีทั้งการเคลือบน้ำดิน เขียนสี ขุดเป็นลายรูปเมล็ดข้าว ลายซี่หวี ลายขูดขีดโครงร่างรูปสัตว์ และลายกดประทับในกรอบสี่เหลี่ยม ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน           ลวดลายกดประทับที่พบ ได้แก่ ๑. ลายหงส์ ๒. ลายกลีบบัว คล้ายลายเฟื่องอุบะหรือลายกรุยเชิง ๓. ลายเทพนม เป็นภาพบุคคลสวมเครื่องประดับ พนมมือไว้ที่อก ขาทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะคล้ายท่าเหาะ ๔. ลายในกรอบรูปกลีบบัว เป็นบุคคลสวมเครื่องประดับนั่งชันเข่า มือซ้ายวางบนเข่า ส่วนมือขวายกเสมอศีรษะ ๕. ลายบุคคลคล้องช้าง เป็นบุคคลสวมเครื่องประดับ ถือคันจาม (ไม้ยาวติดเชือกบาศ ใช้ถือเวลาคล้องช้าง) ด้านหน้าบุคคลมีช้างสวมเครื่องประดับ แสดงให้เห็นว่าการคล้องช้างเป็นประเพณีของชนชั้นสูงที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ๖. ลายพระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นภาพบุคคลสวมเครื่องประดับถือคันไถเทียมวัว ๑ คู่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่มีการทำนา ปลูกข้าวเป็นหลัก จึงได้เกิดพระราชพิธีตามความเชื่อ เพื่อบูชาเทวดาและทำขวัญพืชพันธุ์ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ๗. ลายนักรบบนหลังม้า ๘. ลายบุคคลกำลังขึ้นม้า ๙. ลายนักรบถืออาวุธและโล่ ๑๐. ลายนักรบบนหลังช้าง           ลักษณะการทำลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมเป็นสิ่งที่พบเห็นได้จากหลักฐานในวัฒนธรรมทวารวดี เช่น ภาพปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ อาจแสดงให้เห็นความสัมพันธ์บางประการที่สืบเนื่องต่อมาในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ส่วนรายละเอียดของลวดลายนั้นมีความคล้ายคลึงกับลายบนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และเครื่องถ้วยเขมร ที่พบในประเทศกัมพูชา เช่น ลายคลื่น ลายเม็ดพริก ลายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ รวมไปถึงลายรูปบุคคลที่มีการสวมเครื่องประดับและแต่งกายคล้ายภาพสลักที่ปรากฏบนปราสาทบายน ในประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ยังพบว่าลวดลายกลีบบัวคล้ายกับลายกรุยเชิงประดับปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดไก่เตี้ย จังหวัดสุพรรณบุรี ในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ส่วนลายกระหนกที่ใช้ประกอบรูปบุคคลในกรอบสี่เหลี่ยม คล้ายกับลายกระหนกที่ใช้ตกแต่งบนแผ่นทองกรอบสี่เหลี่ยมฉลุรูปม้า ซึ่งได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเช่นกัน           การศึกษาภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ้านบางปูน ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของเมืองต่าง ๆ ผ่านการรับส่งอิทธิพลซึ่งกันและกัน ดังลวดลายที่ปรากฏบนภาชนะ และยังสะท้อนให้เห็นเรื่องราวของผู้คนในอดีต ทั้งด้านวิถีชีวิต ด้านความเชื่อ ด้านประเพณี ด้านการรบ รวมไปถึงความรู้ด้านเทคนิคเทคโนโลยีในการผลิตภาชนะของแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน เอกสารอ้างอิง จารึก วิไลแก้ว, ๒๕๓๑.แหล่งเตาเผาบ้านบางปูน. กรุงเทพฯ : โครงการโบราณคดีประเทศไทยกองโบราณคดี กรมศิลปากร. เกศรินทร์ แซ่เบ๊, ๒๕๔๙. วิเคราะห์งานศึกษาเครื่องถ้วยแหล่งเต่าสุพรรณบุรีที่บ้านบางปูน อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ. นิภา สังคนาคินทร์, เรียบเรียง, ๒๕๕๘.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท พรทรัพย์การพิมพ์ จำกัด. ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา   ๑.      ชื่อโครงการ  การจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง อาณาจักรแห่งอดีตอันลางเลือนสมัยแรกเริ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮินดู : พุทธประติมากรรมศริสต์ศตวรรษที่ ๕-๘  ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ๒.      วัตถุประสงค์ เพื่อทำหน้าที่เปิดหีบห่อโบราณวัตถุจากประเทศไทย และตรวจสอบสภาพเพื่อติดตั้งนิทรรศการดังกล่าว ๓.      กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ ๕ – ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗   ๔.     สถานที่ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา   ๕.      หน่วยงานผู้จัด  พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ๖.      หน่วยงานสนับสนุน  พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ๗.     กิจกรรม ๑.      เดินทางไปพร้อมกับโบราณวัตถุ ด้วยสายการบิน Cargolux ๒.      ควบคุมดูแลการขนส่งโบราณวัตถุ ทุกกระบวนการ ๓.      เปิดหีบห่อที่บรรจุโบราณวัตถุจากประเทศไทย และตรวจสภาพ ๔.      ให้คำปรึกษาแนะนำ ในการติดตั้งโบราณวัตถุ ๘.      คณะผู้แทนไทย  นางสาวสิรินทร์  ย้วนใยดี ๙.      สรุปสาระของกิจกรรม ๑.      การเดินทางร่วมกับโบราณวัตถุ -          เดินทางไปรับมอบโบราณวัตถุพร้อมกับรถบรรทุกขนส่ง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อนำไปผ่านด่านกรมศุลกากร และจัดวางบนพาเลท (Pallet) สำหรับรอขนย้ายขึ้นเครื่องบิน ๒.      ออกเดินทางโดยเครื่องบินของสายการบิน Cargolux โดยแวะพักที่ฮ่องกงเป็นเวลา ๑ คืน โดยในระหว่างที่มีการเปลี่ยนเครื่องนั้นได้ร่วมตรวจสอบขั้นตอนการขนย้าย และการจัดวางโบราณวัตถุว่าอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีร่องรอยการแกะ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง อีกทั้งยังอยู่ภายใต้การดูแลโดยกล้องทีวีวงจรปิดตลอด ๒๔ ชั่วโมง ๓.      เมื่อถึงยังจุดหมาย คือ สนามบินขนส่งสินค้า JFK ณ กรุงนิวยอร์ก ได้ร่วมสังเกตการณ์กระบวนการเคลื่อนย้าย และเดินทางร่วมไปกับรถขนส่งโบราณวัตถุเพื่อนำโบราณวัตถุไปเก็บ ณ ห้องคลังเก็บโบราณวัตถุ ภายในพิพิธภัณฑ์อย่างปลอดภัย ๔.      ปฏิบัติหน้าที่ในการเปิดหีบห่อ ตรวจสภาพโบราณวัตถุ และร่วมให้คำแนะนำในการติดตั้งโบราณวัตถุ   ๑๐.ข้อเสนอแนะจากการเดินทาง             การเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้พบว่า การที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิตัน ณ กรุงนิวยอร์ก ประสบความสำเร็จสูง โดยมียอดผู้เข้าชมต่อปีมากกว่า ๔.๕ ล้านคนนั้น เนื่องจากมีปัจจัย สนับสนุนหลากหลายด้าน ทั้งในเรื่องของพื้นที่ซึ่งมีความกว้างใหญ่  ตลอดจนการให้บริการ และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่ผู้เข้าชม ดังนั้นหากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในประเทศไทย ต้องการที่จะได้รับการตอบสนองจากผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก อาจจะต้องกลับมาคิดทบทวนถึงส่วนประกอบอันดีซึ่งพิพิธภัณฑ์ชั้นดีควรจะมีที่นอกเหนือไปจากโบราณวัตถุ อาทิ จัดอุณหภูมิให้เหมาะสม จัดการบริการที่ดี  มีการให้ความรู้ที่หลากหลาย เป็นต้น  


เนื่องในวาระดิถีเวียนบรรจบครบ 50 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้จัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระปิยะมหาราชาธิราชเจ้า" แห่งสยามประเทศนี้ขึ้น


สาระสังเขป  :  ประวัติศาสตร์ความเป็นมา และความสำคัญของกรุงสุโขทัย จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น จากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1 จากหนังสือขอมดำดิน จากหนังสือเรื่องพระร่วง เป็นต้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ประวัติศาสตร์ของชาติไทย ในสมัยที่เคยมีความเจริญรุ่งเรื่อง ผู้แต่ง  :  ป.พิบูลสงคราม, จอมพลโรงพิมพ์  :  ไทยบริการปีที่พิมพ์  :  2498ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.32บ.1914จบเลขหมู่  :  959.302              ป373ปว


          วันจันทร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจเยี่ยมอาคารเก็บโบราณวัตถุ (หลังเก่า) พร้อมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจรับการจ้างงานโครงการงานตกแต่งภายในและระบบอาคารคลังกลางเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ (ประจำงวดที่ ๔) ตามสัญญาจ้างทั้งสิ้น ๑๘ งวด ในการนี้ นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องร่วมการประชุม ณ อาคารคลังเก็บโบราณวัตถุ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี


เลขทะเบียน : นพ.บ.13/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีป้ายชื่อไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 9 (100-104) ผูก 3หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.43/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 25 (244-253) ผูก 9หัวเรื่อง :  อรรถกถาบาลี --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


  ชื่อผู้แต่ง        สมเด็จพระวันรัตน(วัดพระเชตุพน)         ชื่อเรื่อง         จุลยุทธการวงศ์ ผูก ๒ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา         ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ 3     สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ       สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์มิตรสยาม      ปีที่พิมพ์        2526 จำนวนหน้า    44     หน้า    หมายเหตุ      อนุสรณบรรณงานออกเมรุสมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม จนฺทสิริมหาเถร)                    จุลยุทธการวงศ์ ผูก ๒ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายในหน้าคำนำการพิมพ์ครั้งแรกว่า เป็นหนังสือพงศาวดารไทย สมเด็จพระวันรัตองค์หนึ่งแต่งไว้เป็นบาลี สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสใช้เป็นแนวทางในการนิพนธ์พระราชพงศาวดาร ๒ เล่ม คือ มหายุทธการวงศ์และจุลยุทธการวงศ์แต่เล่มเดิมยังค้นคว้าไม่พบต่อมา พ.ศ.๒๔๖๐ ได้รับแจ้งจากพระธรรมเจดีย์(เข้ม)ว่าที่วัดพระเชตุพนมีหนังสือที่ท่านรวบรวมไว้หลายเล่ม เมื่อพระยาปริยัติธรรมธาดา(แพ ตาละลักษณ์) ตรวจดูพบหนังสือมหายุทธการวงศ์ มี ๔ ผูก หนังสือจุลยุทธการวงศ์ ๑ ผูกไม่ครบบริบูรณ์ หนังสือมหายุทธการวงศ์ว่าด้วยพงศาวดารเรื่องราชาธิราช จำนวน ๑๐ ผูก จบ ส่วนเรื่องจุลยุทธการวงศ์ เป็นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรื่อง สกุลวงศ์ พระเจ้าอู่ทองเป็นต้นมา


ชื่อผู้แต่ง           ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชื่อเรื่อง            นิทานโบราณคดีครั้งที่พิมพ์        ๖ พ.ศ. ๒๕๓๓ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์        หจก.เกษมการพิมพ์ ปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๓๓              จำนวนหน้า          ๓๕๖  หน้า คำค้น               นิทานโบราณคดีหมายเหตุ  -                  หนังสือ นิทานโบราณคดี นี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแต่ในสมัยที่ล่วงมาแล้ว และองค์ผู้ทรงพระนิพนธ์ก็ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ชาวไทยพากันยกย่องสรรเสริญ ด้วยได้ทรงมอบมรดกวิทยา การไว้แก่อนุชนรุ่นหลังนี้เป็นจำนวนมาก มรดกเหล่านี้เป็นเครื่องยังความเจริญแก่จิตใจและสติปัญญาของผู้ใฝ่ใจในการศึกษา    หาความรู้ทั่วหน้า ไม่เฉพาะแต่ด้านโบราณคดีเท่านั้น หากแต่กว้างขวางไปถึงวิชาประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม การศึกษา ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับเมืองไทย


  ชื่อผู้แต่ง          -                                     ชื่อเรื่อง           ที่ระลึกพิธีเปิดพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว               ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์จันวาณิชย์                  ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๘            จำนวนหน้า      ๖๔ หน้า หมายเหตุ         -                       เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เช่น ตำนานกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท    พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  พระราชประวัติสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ฉบับพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และตำนานพระพุทธสิหิงค์ฉบับหลวงวิจิตรวาทการ


ศิริพร โกสุม.ข ไข่ ของเรา.Gourmet&Cuisine.(6):66;มกราคม2549.                 ไข่เป็ดให้โปรตีน 13.2 กรัม ไขมัน 14.2 กรัม แคลเซียม 64 มิลลิกรัม เหล็ก 3.6 กรัม วิตามินเอ 1.541 ไอยู              ไข่มดให้โปรตีน 17.4 กรัม ไขมัน 3.8 กรัม แคลเซียม 73 มิลลิกรัม เหล็ก 20 กรัม               ส่วนไข่นกกระทาให้โปรตีน 13.1 กรัม ไขมัน 11.1 กรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม เหล็ก 3.7 มิลลิกรัม วิตามินเอ 325 ไอยู นอกจากนี้ไข่ ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์อีกมากมาย


Messenger