ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.72/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : นิปฺณปทสงฺคห (นิปุณณปทสังคหะ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          ตราดินเผารูปสัญลักษณ์ทางศาสนาประกอบอักษรโบราณ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           ตราดินเผารูปกลม มีเส้นคั่นตามแนวนอนตรงกลาง แบ่งพื้นที่เป็นสองส่วน ส่วนบนเป็นรูปโคหมอบ มีรูปจันทร์เสี้ยวและตรีศูล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะอยู่ด้านบน โคอาจหมายถึงโคนนทิ พาหนะของพระศิวะ ด้านข้างรูปโคเป็นรูปครุฑ พาหนะของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ลักษณะเช่นนี้ คล้ายตราประทับโบราณของอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ ส่วนล่างของตราดินเผา เป็นจารึกจำนวน ๑ บรรทัด นักวิชาการบางท่านเสนอว่า เป็นตัวอักษรพราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๑ (ประมาณ ๑,๕๐๐ - ๑,๖๐๐ ปีมาแล้ว) ความว่า “ศิวํ พฺริหสฺปติ” แปลว่า “พระศิวะผู้ยิ่งใหญ่”          ทั้งนี้มีนักวิชาการบางท่าน เสนอว่า ตัวอักษรที่ปรากฏบนตราดินเผา เป็นตัวอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ความว่า “ศิวรฺพรหม หฤตา” แปลว่า “พระศิวะ พระพรหมและพระวิษณุ” ด้านข้างของตราดินเผา ถูกประทับด้วยตรารูปสี่เหลี่ยมเป็นตัวอักษร ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ (ประมาณ ๑,๓๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) แต่ยังไม่สามารถอ่านและตีความได้ ตราดินเผารูปแบบเดียวกันนี้ ยังพบที่เมืองโบราณอู่ทอง อีก ๑ ชิ้น แต่มีสภาพชำรุด และยังพบที่เมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนหนึ่ง โดยด้านข้างหรือส่วนที่เป็นความหนาของตราดินเผาแต่ละชิ้นมีการจารึกข้อความที่แตกต่างกันออกไป จากลักษณะของการแบ่งรายละเอียดของตราออกเป็นสองส่วน มีสัญลักษณ์ของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ที่ส่วนบน และมีจารึกอักษรโบราณที่ด้านล่าง อาจเทียบได้กับตราดินเผาและเหรียญเงินในศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะและหลังคุปตะ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว)           จากรูปแบบศิลปกรรมและจารึก ทำให้สันนิษฐานได้ว่าตราดินเผาชิ้นนี้อาจเป็นตราดินเผารุ่นแรกที่พ่อค้าหรือนักบวชชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ลัทธิไศวนิกายนำติดตัวเข้ามาในสมัยทวารวดี เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร อาจเกี่ยวข้องกับด้านการค้า การศาสนา หรือเป็นเครื่องราง ต่อมาคนพื้นเมืองสมัยทวารวดี จึงได้นำแนวคิดการทำตราประทับมาผลิตขึ้นใช้เอง ปรากฏเป็นรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษร สมัย, ๒๕๔๒. อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ. การศึกษาความหมายและรูปแบบตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสต รมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.


เลขทะเบียน : นพ.บ.134/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.4 x 47.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 80 (318-321) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ปัญญาบารมี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ชื่อเรื่อง               กุศโลบาย ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์        กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์คุรุสภา ปีที่พิมพ์                 2504 จำนวนหน้า           182 หน้า หมายเหตุ                                บทละครพูดเรื่องกุศโลบายพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนังสือภาษาไทยที่ดีที่องค์การค้าคุรุสภาขออนุญาตกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ขณะนั้น จัดพิมพ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยา ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๐๔ เป็นต้นมา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.8/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)




องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง สาระจากเอกสารโบราณ ตอน ความเชื่อเกี่ยวกับการบันทึกอักษร



สวัสดีค่ะ พบกันอีกเช่นเคยกับ #องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ "งาช้างดำ" ซึ่งเป็นโบราณวัตถุคู่บ้านคู่เมืองน่าน และเป็นโบราณวัตถุชิ้นเด่นที่สำคัญซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน กล่าวได้ว่าหากใครได้มาเยือนเมืองน่านแล้วไม่ได้แวะมาเยี่ยมชมงาช้างดำถือว่ามาไม่ถึงเมืองน่านนะคะ ดังจะเห็นความสำคัญที่ปรากฏในคำขวัญจังหวัดน่านที่ว่า "แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง" --- งาช้างดำ เดิมเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่รักษาสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งยังคงอยู่คู่กับหอคำ หรืออาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน มาจนถึงปัจจุบัน --- ลักษณะเป็นงาปลี (งาที่มีความยาวไม่มากนัก แต่มีวงรอบขนาดใหญ่) สีน้ำตาลเข้ม มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ถอดความเป็นภาษาไทยว่า "กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน" ขนาดของงาช้างดำยาว ๙๗ เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนที่กว้างที่สุดได้ ๔๗ เซนติเมตร มีโพรงตอนโคนลึก ๑๔ เซนติเมตร มีน้ำหนัก ๑๘ กิโลกรัม  --- จากการศึกษาทางวิชาการพบว่า เป็นงาช้างตันที่ถูกถอดมาจากตัวช้าง โดยช้างเจ้าของงาน่าจะมีอายุ ๖๐ ปี สันนิษฐานว่าเป็นงาช้างข้างซ้าย เพราะมีรอยเสียดสีกับงวงชัดเจน --- อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่างาช้างดำกิ่งนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร แต่มีตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับงาช้างดำ ดังนี้ --- ตำนานที่ ๑ กล่าวว่าพญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองเมืองพุทธศักราช ๑๘๙๖ - ๑๙๐๖) ได้ทำพิธีสาปแช่งให้งาช้างดำกิ่งนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว ต้องไว้ที่หอคำหรือวังเจ้าผู้ครองนครน่านเท่านั้น เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย ในพุทธศักราช ๒๔๗๔ เจ้านายบุตรหลานจึงได้มอบงาช้างดำให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน --- ตำนานที่ ๒ กล่าวว่าในสมัยเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๕๗ (ครองเมือง พ.ศ.๒๓๕๓ - ๒๓๖๘) มีพรานคนเมืองน่านเข้าป่าล่าสัตว์ไปถึงเขตแดนระหว่างไทยกับเชียงตุง ได้พบซากช้างตัวดำสนิทตายอยู่ในห้วย พอดีกับพรานชาวเชียงตุงมาพบด้วย พรานทั้งสองจึงแบ่งงาช้างดำกันคนละกิ่ง ต่างคนต่างก็นำมาถวายเจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองเชียงตุงได้ส่งสารมาทูลเจ้าสุมนเทวราชว่า ตราบใดที้งาช้างดำคู่นี้ไม่สูญหาย เมืองน่านกับเมืองเชียงตุงจะเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป --- ตำนานที่ ๓ กล่าวว่ากองทัพเมืองน่านยกทัพไปล้อมเมืองเชียงตุงหลายเดือน  ทำให้ชาวเมืองเชียงตุงเดือดร้อน โหรเมืองเชียงตุงทูลเจ้าเมืองว่าเป็นเพราะมีงาช้างดำอยู่ด้วยกัน ทางที่ดีควรแยกกันอยู่ จึงได้นำงาช้างดำกิ่งหนึ่งมอบให้กองทัพเมืองน่าน แล้วกระทำสัตย์สาบานเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป --- ส่วนฐานที่เป็นครุฑแบกรับงาช้างอยู่นั้น ทำจากไม้สักทั้งท่อน สร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๖๙ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นมีข่าวว่าเจ้าเมืองทางเหนือบางเมืองแข็งข้อก่อกบฏ เจ้าเมืองน่านจึงให้ทำครุฑขึ้นมาแบกงาช้างดำ วัตถุคู่บ้านคู่เมือง เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า นครน่านยังจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไม่เสื่อมคลาย เอกสารอ้างอิง - กรมศิลปากร. เมืองน่าน โบราณคดีประวัติศาสตร์ และศิลปะ, ๒๕๓๗. - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่าน เล่มที่ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๔๗.


รวมถ้อยคำเหนียตจ่ายซากาตฟิฏรฺและดุอา จัดทำโดย นางสาวฤทัยรัตน์ เส้งสุวรรณ์ เอกปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักศึกษาฝึกงาน


          การทอผ้านับเป็นภูมิปัญญาของชาวสยามมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะเมืองจันทบุรีมีการทอผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองกันแพร่หลาย ดังพระราชหัตถเลขาพระพุทธเจ้าหลวงคราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออกเมื่อ พ.ศ.2419 ว่า...เมื่อวานนี้เราซื้อผ้าได้ที่บางกระจะ...ซึ่งผ้าที่พระองค์ทรงซื้อจากราษฎร ได้พระราชทานให้ผู้ติดตามและทหารตามเสด็จฯนั้นเป็นผ้าตาสมุกไหม ผ้าตาสมุกด้ายแกมไหม และผ้าพื้นเมือง นอกจากนี้ยังได้มีพระราชนิพนธ์ชื่นชมผ้าไหมเมืองจันทบุรีว่า"ดูงามดีนัก"           การทอผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองของชาวจันท์ มีเทคนิคการย้อมผ้าด้วยการผสมสีจากเปลือกไม้หรือแก่นพรรณไม้ หรือวัสดุพื้นบ้านธรรมชาติ ทำให้สีคงทนอยู่ได้เป็นร้อยปี จากชื่อเสียงที่โด่งดังในการทอผ้าของคนไทย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา จึงมีดำริที่จะบันทึกไว้เป็นตำรา จึงได้มีท้องตรามายังมณฑลต่างๆรวมทั้งมณฑลจันทบุรีให้รายงานสีสำหรับการย้อมด้ายและไหม           จากเอกสารจดหมายเหตุได้ระบุไว้ว่าชนิดของสีธรรมชาติที่ใช้ย้อมด้ายและไหมของมณฑลจันทบุรี มีความหลากหลายกว่ามณฑลอื่นๆ ได้แก่สีเหลือง ทำด้วยเปลือกมะพูด สีน้ำตาล ทำด้วยแก่นแกแล สีเขียว ทำด้วยเปลือกมะพูดกับผงคราม สีหมากรุก ทำด้วยเมล็ดลูกคำ สีแดง ทำด้วยครั่งไทยและใบโรงทอง สีช็อกแกแร้ต ทำด้วย เปลือกโปรง สีดำ ทำด้วยลูกมะเกลือ สีน้ำเงินคราม ทำด้วยใบคราม สีม่วง ทำด้วยครั่งไทยกับใบคราม (ภาษาที่ใช้ตามต้นฉบับ :ผู้เขียน)           ซึ่งสีธรรมชาติเหล่านี้เป็นพันธุ์ไม้ที่ส่วนใหญ่หาได้เฉพาะถิ่นในเมืองจันทบุรีเอง ส่วนจังหวัดตราดและจังหวัดระยองมีรายงานมาว่า จังหวัดระยองมีการย้อมผ้าด้วยมะเกลือเพียงเล็กน้อย ส่วนจังหวัดตราดไม่มีการย้อมผ้าเองเลย ///ผู้เขียนเห็นว่าเทคนิคการย้อมผ้าโบราณด้วยสีธรรมชาติน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจจะฟื้นฟูการทอผ้าพื้นเมือง และการย้อมผ้าด้วยภูมิปัญญาของบรรพชน ย่อมมีโอกาสในการสร้างมูลค่าและคุณค่าในวงการทอผ้าต่อไป--------------------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ --------------------------------------------------------------------อ้างอิง เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์.(13)มท2.5/29เรื่อง ให้สอบสวนการย้อมผ้าสมัยโบราณราชบัณฑิตยสภา.[14 ต.ค.-10 ธ.ค.2473].


          ตำบลบางกะจะ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มีสถานที่สำคัญ คือค่ายเนินวง วัดพลับบางกะจะ ศาลหลักเมือง และวัดโยธานิมิต เป็นที่ตั้งของ "สำนักงานโบราณคดีใต้น้ำ" และ "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี" ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ท5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม           ปัจจุบันบ้านบางกะจะ ต.บางกะจะ อ.เมือง เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ของจังหวัดจันทบุรี ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวขึ้น และเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ที่เรียบกันว่า “บางกะจะ” นั้น มีใครทราบบ้างไหมว่าชื่อนี้มีที่มาอย่างไร           นายธารินทร์ ศรีจันทร์ ชาวบ้านตำบลบางกะจะได้ให้ข้อมูลว่า เดิมที่บ้านบางกะจะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 7-8 กิโลเมตร การคมนาคมไปมาไม่สะดวก ต้องเดินทางด้วยเท้า หมู่บ้านนี้มีป่าไม้หนาแน่นและติดคลอง จึงมีสัตว์จำพวกนกและกาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพวกกา ดังนั้นในตอนเช้าของทุกวันจะได้ยินเสียงพวกนก กา ส่งเสียงร้องกันดังลั่นอยู่บนต้นไม้ นั้นถ้าใครมาเที่ยวหรือผ่านมาในหมู่บ้านนี้ในตอนเย็นๆ ก็จะได้ยินเสียงร้องของสัตว์พวกนี้ดังสนั่นป่า คนทั่วๆไปจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านบางกาจับ” ต่อมากาลเวลาผ่านไปจึงเปลี่ยนไปเป็น “บ้านบางกะจะ” จนถึงปัจจุบันนี้           แต่ที่เรียกกันว่า “บางกะจะ” นั้นหมายถึงหมู่ที่ 1 ของตำบลนี้ ส่วนหมู่บ้านอื่นๆก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น บ้านตะบกเตี้ย บ้านท่าแฉลบ บ้านเก่า บ้านหัวหิน บ้านป่าใต้ บ้านเกาะลอย เป็นต้น แต่ชื่อดังกล่าวก็อยู่ในตำบลบางกะจะทั้งสิ้น           ปัจจุบันหมู่บ้านบางกะจะได้เจริญขึ้นมาก มีตลาดภายในหมู่บ้าน มีการจัดตั้งเป็น “สุขาภิบาล” และยกฐานะเป็น ”เทศบาลตำบลบางกะจะ” การคมนาคมติดต่อสะดวก เป็นทางผ่านของตัวเมืองจันทบุรี และอำเภอท่าใหม่ มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ค่ายเนินวง วัดโยธานิมิต และวัดพลับ เป็นอีกสถานที่อีกแห่งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใช้ทำพิธีก่อนเข้าตีเมืองจันทบุรี และบ้านบางกะจะยังเป็นเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ของจังหวัดจันทบุรีด้วย-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี-----------------------------------------------------------อ้างอิง : นิภา เจียมโฆษิต. ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. 2538. ขอขอบคุณภาพประกอบ จากเว็บไซด์ เภพาเที่ยว เรื่อง “หนึ่งวัน@จันทบุรี ตอน บางกะจะ” https://www.phephatiew.com/travel



องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง พัฒนาการทางวัฒนธรรมเมืองโบราณศรีฐาน จากหลักฐานการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี โดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น


Messenger