ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
เครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรมตอน สัตตภัณฑ์ สัตตภัณฑ์ คือ พุทธศิลป์ของชาวล้านนา มีจุดกำเนิดจากวัฒนธรรมและความเชื่อที่ผสมผสานกัน ซึ่งบรรจุความเชื่อและความศรัทธาลงบนเชิงเทียนที่ใช้ประกอบพิธีกรรม สัตตภัณฑ์ เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี จำนวน ๒ คำ คือคำว่า สตฺต แปลว่า เจ็ดหรือจำนวนเจ็ด และ ภณฺฑ แปลว่า เครื่องใช้ สิ่งของ สัตตภัณฑ์จึงมีความหมายว่า สิ่งของเครื่องใช้เจ็ดประการ หรือสิ่งของเครื่องใช้จำนวนเจ็ดอย่าง การสร้างสัตตภัณฑ์มีที่มาจากความเชื่อ ๒ แนวคิด แนวคิดแรกเชื่อว่าเป็นการจำลองเชิงเทียนตามหลักศาสนา คือ หลัก โพชฌงค์ ๗ และแนวคิดที่สอง คือ การจำลองจากสัตตบริภัณฑ์คีรีเจ็ดชั้น ซึ่งเป็นภูเขาตามตำนานพุทธศาสนา เชื่อว่าตั้งอยู่กลางป่าหิมพานต์และล้อมเขาพระสุเมรุไว้ ในส่วนของลวดลาย มักเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ พระไตรปิฎก หรือสัตว์ที่มีความมงคลและเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา เช่น รูปพญานาค ครุฑ เหรา รุกขเทวดาและนางฟ้า พืชพรรณต่าง ๆ เป็นต้น สัตตภัณฑ์ มีรูปลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ รูปแบบที่นิยมและพบเห็นทั่วไป คือ สัตตภัณฑ์รูปสามเหลี่ยม สัตตภัณฑ์รูปวงโค้งหรือครึ่งวงกลม และแบบขั้นบันได ซึ่งรายละเอียดของสัตตภัณฑ์แต่ละรูปแบบ จำแนกเป็นดังนี้ ๑. สัตตภัณฑ์รูปสามเหลี่ยม เป็นสัตตภัณฑ์ที่มีลักษณะค่อนข้างใหญ่ มีเชิงเทียนปักเป็นชั้นลดหลั่นลงมา มักทำลวดลายพฤกษาพรรณไม้ กรอบด้านนอกเป็นลายตัวนาคทอดยาวลงมา ตกแต่งด้วยการเขียนสีประดับกระจก สัตตภัณฑ์รูปแบบนี้ถือเป็นเอกลักษณ์งานช่างของชาวเชียงใหม่ ๒. สัตตภัณฑ์รูปโค้งหรือรูปครึ่งวงกลม ลักษณะคล้ายสัตตภัณฑ์รูปสามเหลี่ยม แต่ส่วนยอดจะมนเป็นวงโค้งคล้ายตัวเตียงดูเป็นวงกลม มียอดเสา ๗ ยอด กรอบด้านข้างไม่นิยมลวดลายนาค แต่จะตกแต่งนาคไว้ภายในเป็นลายคดเคี้ยวหรือเครือเถาพรรณพฤกษา ราหูอมจันทร์ เป็นต้น สัตตภัณฑ์รูปแบบนี้พบมากในจังหวัดลำพูนและลำปาง เช่น สัตตภัณฑ์ในวัดช่างฆ้อง จังหวัดลำพูน ๓. สัตตภัณฑ์รูปขั้นบันได หรือเรียกว่า สัตตภัณฑ์ขั้นบันไดแก้ว ขนาดกว้างประมาณหนึ่งเมตร มักไม่มีการแกะสลักมากนัก แต่ตกแต่งด้วยการปิดทองหรือทาสีโดยใช้กระดาษฉลุ และพบยอดเสาประดับได้ตั้งแต่ ห้ายอด เจ็ดยอด หรือถึงเก้ายอด พบว่าเป็นฝีมือช่างชาวแพร่และชาวน่านซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทลื้อ นอกจากนั้นพบว่าสัตตภัณฑ์ มีรูปแบบอื่น ๆ อีก เช่น สัตตภัณฑ์แบบห้าเหลี่ยม ตัวโครงสร้างเป็นแผงห้าเหลี่ยมปิดทับแล้วมียอดเสาจำนวนเจ็ดยอดด้านบน และสัตตภัณฑ์แบบเสา ที่มีลักษณะเป็นเชิงเทียนเป็นเสาทั้งสิ้นเจ็ดเสาลดหลั่นความสูงลงมาผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.อ้างอิง :๑. ประทีป และ ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. ๒๕๖๒. “สัตตภัณฑ์ : พุทธศิลป์ถิ่นล้านนา.” วารสารพื้นถิ่นโขง ชี มูล ๖ (๑): ๖๕-๑๑๖.๒. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. ๒๕๖๐. “สัตตภัณฑ์และตุงกระด้าง เครื่องประกอบพิธีทางศาสนาของล้านนา” เชียงใหม่นิวส์ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/571500/ , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.๓. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(๒๕๖๔). "ล้านนาคำเมือง ชมรมฮักตั๋วเมือง : "สัตตภัณฑ์". มติชนออนไลน์ (Online). https://www.matichonweekly.com/column/article_397994 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.
วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๗.๓๐ น. กระทรวงวัฒนธรรมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๑๐) เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ หัวหน้าส่วนราชการและนายพนมบุตร จันทรโชติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร ร่วมในกิจกรรมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล โดยรับบิณฑบาตร ณ บริเวณด้านหน้าอาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ ในการนี้ นายนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง กระทรวงวัฒนธรรม บูรณาการจัดกิจกรรมร่วมกับทุกภาคส่วน และเข้าร่วมพิธีดังกล่าว ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19)
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมรับชมการถ่ายทอดสดการแถลงข่าวโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย "กิจกรรมกรมศิลป์ร่วมมือ คณะสงฆ์ร่วมใจ อนุรักษ์ สืบสาน อ่านแปล ใบลาน" โดย อธิบดีกรมศิลปากร (นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ) ในวันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ วัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชั่น กรุงเทพมหานคร ติดตามชมได้ทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย จัดโดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อดำเนินการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน และจัดเก็บเอกสารโบราณต่างๆ ในวัดให้เป็นระบบ สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาพิพิธภัณฑ์ของวัด อันจะบูรณาการประโยชน์อย่างรอบด้าน เช่น แหล่งเรียนรู้อักษร ภาษา วัฒนธรรม สังคม และยังเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเครื่อข่ายภาคีกรมศิลปากรกับองค์กรสงฆ์อย่างเหนียวแน่นยิ่งขึ้นไป
กลองมโหระทึกยางแดง
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระราชทานให้พิพิธภัณฑสถาน
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กลองมโหระทึกยางแดง ลักษณะเป็นกลองหน้าเดียว หน้ากลองมีลายดาวแฉกอยู่กึ่งกลาง ล้อมรอบด้วยเส้นวงกลมซ้อนกันเป็นชั้นๆ คั่นด้วยลายดอกไม้สลับลายนก ขอบกลองประดับกบสามตัวซ้อนกันทั้ง ๔ ด้าน ด้านข้างกลองมีหูหิ้วสองข้าง ตัวกลองด้านบนคอดลงและด้านล่างผายออกเล็กน้อย ประดับแถบลายดอกไม้และลายสี่เหลี่ยม
กลองมโหระทึกเป็นเครื่องดนตรีในพิธีกรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยพบกลองมโหระทึกจากแหล่งโบราณคดีในหลายพื้นที่ เช่น อุตรดิตถ์ มุกดาหาร อุบลราชานี ราชบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นต้น สันนิษฐานว่าในอดีตกลองมโหระทึกเป็นเครื่องประโคมในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ และความตาย รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการแสดงสถานะของความเป็นผู้นำชุมชนในแต่ละท้องที่ นอกจากนี้ยังเป็นภาพสะท้อนของการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนต่าง ๆ เนื่องจากกลองมโหระทึกเป็นโบราณวัตถุที่พบอย่างแพร่หลายทั่วพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะแหล่งชุมชนที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้า
ส่วนเหตุที่เรียกกลองมโหระทึกยางแดงนั้น เนื่องจากเป็นรูปแบบกลองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งในอดีตคนไทยเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ยางแดง” กล่าวคือ ผู้นำชุมชนจะเป็นผู้ครอบครองกลองมโหระทึก และใช้ตีในพิธีกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ความนิยมในการครอบครองกลองมโหระทึกนี้มีปรากฏในบันทึกการสำรวจประเทศไทยของพระวิภาคภูวดล หรือ เจมส์ ฟิตซรอย แมคคาธี (Jame Fitzroy McCathy) เจ้ากรมแผนที่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...เราพบชาวขมุกลุ่มหนึ่งขนกลองโลหะที่งดงามมาด้วยหลายใบ รอบขอบกลองด้านหน้าประดับด้วยรูปกบ จากลักษณะดังกล่าว พวกเราจึงเรียกว่า “กลองกบ” กลองนี้ทำขึ้นในถิ่นของชาวกะเหรี่ยงแดง ชาวสยามใช้ตีเฉพาะในงานพระราชพิธีเท่านั้น และเรียกว่า กลองมโหระทึก ชาวขมุพยายามทำงานอย่างลำบากตรากตรำด้วยความปรารถนาจะได้กลองเช่นนี้กลับไปถิ่นฐานของพวกเขาที่เมืองหลวงพระบาง...”
ทั้งนี้กะเหรี่ยงแดงหรือยางแดง เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยงในงานศึกษาเรื่อง “ว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย” ของ เอ คารร์ และอี.ไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden) พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๔๙๓ กล่าวถึง ยางแดงหรือกะเหรี่ยงแดงไว้ว่า เป็นกลุ่มชนที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ชายสวมเสื้อและกางเกงขาสั้นสีแดง นิยมสักรูปพระอาทิตย์ที่หลัง ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีแดง นิยมใช้ห่วงไม้ทาสีดำรัดขาใต้หัวเข่า ส่วนศีรษะโพกผ้า
ราชสำนักในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้กลองมโหระทึกประโคมในพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น สมัยรัชกาลที่ ๕ คราวพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันคล้ายประสูติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้มีการอัญเชิญพระบรมอัฐิ พระบรมทนต์ และพระพุทธรูปประจำวันพระชนมพรรษา ไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีกลองชนะ แตร สังข์ มโหระทึกประโคมตลอดพิธี และปัจจุบันยังคงใช้กลองมโหระทึกประกอบพิธีสำคัญ อาทิ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นอกจากนี้กลองมโหระทึกยังปรากฏใน “ไตรภูมิพระร่วง” กล่าวถึงบุคคลที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนอุตรกุรุทวีป ว่าเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ ผู้คนไม่แก่เฒ่า ต่างเที่ยวเล่นกันไปอย่างสนุกสนานมีการร้องรำทำเพลง ดังความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...พื้นฆ้องกลองแตรสังข์กังสดาล หรทึกกึกก้อง ทำนุกพิธี*มีดอกไม้อันตระการต่าง ๆ สิ่ง...”
*ทำนุกพิธี หมายถึง ประกอบพิธี
อ้างอิง
จิรวัฒน์ วรชัย บรรณาธิการ. ชนชาติไทย ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม และชาติพันธุ์วิทยา. นนทบุรี: ศรีปัญญา, ๒๕๖๒.
ธนิต อยู่โพธิ์. หนังสือเครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๓๐ (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ ๘๐ ปี ของ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๔๙๙- ๒๕๑๑ วันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๐).
แมคคาร์ธี, เจมส์. บันทึกการเดินทางสำรวจประเทศสยามโดย เจมส์ แมคคาร์ธี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๒.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. ร้องรำทำเพลง: ดนตรีและนาฎศิลป์ชาวสยาม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: งานดี, ๒๕๕๑.
วัดพระฝาง : มหาธาตุแห่งเมืองสวางคบุรี"วัดพระฝาง" เป็นวัดสำคัญของเมืองสวางคบุรีที่เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า โดยถือเป็นพระธาตุกลางเมืองฝางหรือเมืองสวางคบุรีซึ่งสร้างตามคติโบราณที่นิยมสร้างพระธาตุเป็นศูนย์กลางของเมือง ทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่เคารพศรัทธามาตั้งแต่อดีตกาล ทั้งจากผู้คนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ผู้คนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงชาวมอญจากพม่าและชาวลาวจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าบริเวณวัดพระฝางมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัย โดยปรากฏชื่อในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายในฐานะที่เป็นพระธาตุสำคัญประจำเมืองฝาง เช่น ในศิลาจารึกหลักที่ ๒ จารึกวัดศรีชุมที่กล่าวว่าพระมหาเถรศรีศรัทธาได้เดินทางมากราบไหว้พระธาตุเมืองฝางก่อนจะเดินทางต่อไปอ่าวเมาะตะมะเพื่อลงเรือไปยังลังกาความศรัทธาในพระธาตุวัดพระฝางยังคงได้รับการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ดังพบว่าพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ได้เสด็จฯ มาสักการะพระธาตุที่วัดพระฝางแห่งนี้โดยถือเป็นวัดสำคัญเช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก อาทิ พ.ศ. ๒๒๘๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จฯ มาสมโภชพระธาตุ พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดฯ ให้จัดการสมโภชพระธาตุแห่งนี้อีกครั้งภายหลังจากการปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางซึ่งใช้วัดพระฝางเป็นศูนย์กลางในการซ่องสุมกำลังพลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ และพระราชศรัทธานี้ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) โปรดฯ ให้มีการบูรณะพระธาตุนี้ใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ การเสด็จฯ มาสักการะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งในการนี้โปรดฯ ให้อัญเชิญ "พระฝาง" พระประธานในอุโบสถไปประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร จวบจนปัจจุบันกล่าวได้ว่าวัดพระฝางเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองและเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของเมืองสวางคบุรีโดยได้รับการบูรณะมาโดยตลอดจึงยังสามารถตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลา เป็นที่นับถือของผู้คนทั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์และในประเทศไทยตราบจนทุกวันนี้ที่มาภาพ : - https://www.hoteluttaradit.com/.../wat-phra-fang...- ที่มา : https://www.silpa-mag.com/culture/article_8965
กรมศิลปากร. การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ภูเก็ต. กรมศิลปากร : กรุงเทพฯ, 2537.
เนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดภูเก็ต การศึกษารูปแบบและวิวัฒนาการบ้านเรือน กลุ่มอาคารในภูเก็ต ตลอดจนเศรษฐกิจภูเก็ต และทัศนคติของชาวภูเก็ตในการอนุรักษ์ย่านประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ หีบพระธรรมลายรดน้ำ รูปแบบ : ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 24วัสดุ : ไม้ ลงรักปิดทอง ประดับกระจกประวัติ : พุทธสถานเชียงใหม่มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดแสดงลักษณะเป็นหีบพระธรรมทรงลุ้ง คือ หีบทรงสูงที่มีส่วนบนกว้าง ส่วนล่างสอบลง และมีฝาปิดครอบด้านบน ตกแต่งด้วยการลงรักปิดทอง แสดงภาพทศชาติชาดกและพุทธประวัติ ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วอกไก่ประดับกระจก มีห่วงวงกลม 4 วงรองรับเพื่อใช้สำหรับสอดไม้คานหามได้ ---------------------------------------------------ภาพเขียนลงรักปิดทองของหีบพระธรรมใบนี้ มีรูปแบบผสมอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ ล้านนา และจีน โดยเห็นได้จากเครื่องทรงของตัวละครหลัก และสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี เป็นแบบอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ ในขณะที่เครื่องแต่งกายและทรงผมของเหล่านางกำนัลเป็นแบบศิลปะล้านนา ส่วนฉากประกอบธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ ลวดลายที่ขอบและบนฝาหีบพระธรรม เช่น รูปมังกร ก้อนเมฆ มีอิทธิพลของศิลปะจีนผสมอยู่.ช่างได้เขียนภาพเล่าเรื่อง “ทศชาติชาดก และ พุทธประวัติ” โดยเลือกทศชาติชาดกมา 3 ชาติ คือ ชาติที่ 8 นารทชาดก, ชาติที่ 9 วิทูรชาดก และชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก ส่วนพุทธประวัติ คือ ตอนออกมหาภิเนษกรมณ์.- ด้านที่ 1 “นารทชาดก”เป็นชาติที่ 8 เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นท้าวมหาพรหม ชื่อว่า นารทะ ในครั้งนั้นพระเจ้าอังคติราชมีความเห็นผิดว่า นรก สวรรค์ ไม่มีจริง นารทะพรหมจึงได้เสด็จลงมาแสดงโทษแห่งความเห็นผิดให้พระเจ้าอังคติราชสดับฟัง ทำให้พระองค์คลายจากมิจฉาทิฐิละความเห็นผิด กลับมาปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ฉากที่เลือกมาเขียน เป็นฉากตอนที่นารทะพรหมหาบสาแหรกทองคำ เหาะลงมายังปราสาทของพระเจ้าอังคติราช โดยมีพระธิดาเข้าเฝ้าอยู่ เพื่อแสดงโทษแห่งความเห็นผิดให้พระเจ้าอังคติราชฟัง.- ด้านที่ 2 “วิทูรชาดก” เป็นชาติที่ 9 เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นอำมาตย์ ชื่อว่า วิทูระ เป็นผู้สอนอรรถและธรรมแด่พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ แห่งกรุงอินทปัตถ์ เมื่อปุณณกยักษ์มาท้าพนันเล่นสกากับพระเจ้าธนัญชัย โดยมีวิทูรบัณฑิตเป็นเดิมพัน เพื่อหวังเอาหัวใจไปให้นางวิมาลาซึ่งเป็นมเหสีของพญานาค พระเจ้าธนัญชัยทรงแพ้ แม้วิทูรบัณฑิตจะรู้ดีว่า หากตอบว่าตนไม่ใช่ทาสของพระราชาก็จะพ้นจากสถานการณ์นี้ แต่ก็ยังคงตอบตามความเป็นจริงไป เพราะยึดมั่นในสัจจะฉากที่เลือกมาเขียน เป็นฉากตอนที่ปุณณกยักษ์ปรารถนาจะได้หัวใจวิทูรบัณฑิตไปให้นางวิมาลามเหสี จึงควบม้าไปในทางที่มีต้นไม้และภูเขา โดยให้วิทูรบัณฑิตจับที่หางม้าไว้ หวังเหวี่ยงให้ร่างวิทูรบัณฑิตกระแทกต้นไม้และภูเขาตายไปโดยชอบธรรม แต่ทั้งต้นไม้และภูเขากลับแหวกทางออกให้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ.- ด้านที่ 3 “เวสสันดรชาดก”เป็นชาติที่ 10 เพื่อบำเพ็ญทานบารมี ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะทรงอุบัติเป็นพระโคตมพุทธเจ้า โดยชาตินี้เสวยชาติเป็น พระเวสสันดร พระองค์ทรงตั้งปณิธานในการบริจาคทาน แม้จะมีใครขอสิ่งที่รัก สิ่งที่หวงแหนก็ทรงบริจาคเป็นทานได้ฉากที่เลือกมาเขียน เป็นฉากในตอนของกัณฑ์ที่ 2 คือ กัณฑ์หิมพานต์ เป็นตอนที่พระเวสสันดรทรงมอบช้างปัจจัยนาเคนทร์ ช้างเผือกมงคลที่ไปที่ไหนฝนก็ตกที่นั่นให้แก่เหล่าพราหมณ์ทั้ง 8 (ในภาพวาดเพียง 7 คน) จากเมืองกลิงคราษฎร์ที่กำลังประสบปัญหาฝนแล้ง โดยพระหัตถ์หนึ่งกำลังหลั่งน้ำสิโณทก ไปที่มือของพราหมณ์ อีกพระหัตถ์จับงวงช้างไว้.- ด้านที่ 4 “ออกมหาภิเนษกรมณ์”เป็นตอนในพุทธประวัติ หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ที่เทวดาแสร้งนิมิตไว้ แล้วทรงสังเวช แสวงหาอุบายแก้ทุกข์ จึงตัดสินใจออกผนวชฉากที่เลือกมาเขียน เป็นฉากในตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จไปยังปราสาท เพื่อทอดพระเนตรพระนางพิมพา (พระมเหสี) และพระราหุล (พระโอรส) ที่เพิ่งประสูติ ซึ่งทั้งสองกำลังบรรทมอยู่ และมีเหล่านางกำนัลกำลังหลับใหล ที่ด้านนอกปราสาทมีนายฉันทะที่เตรียมม้ากัณฐกะรออยู่ เพื่อเสด็จออกจากพระนครเพื่อออกผนวช ---------------------------------------------------อ้างอิง- ทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ฉบับญาณวชิระ. สมุทรปราการ : เมืองโบราณ, 2565.- วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พุทธประวัติ เล่ม 1. พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2455.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 33/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
วันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๔๕ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์ ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมเขตภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงาน พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม องค์กรเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม ร่วมการอบรมในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ มกราคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรกำหนดจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์ ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมเขตภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ มกราคม ๒๕๖๖ ณ จังหวัดเชียงใหม่
กรมศิลปากรมีแนวนโยบายส่งเสริมให้ประชาชน องค์กรภาครัฐและเอกชน เข้ามาเป็นเครือข่ายและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ จึงจัดให้มีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมเขตภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในมรดกทางศิลปวัฒนธรรม คุณลักษณะ คุณค่าและความสำคัญ ของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีต่อชาติและท้องถิ่น เสริมสร้างความเข้าใจและตระหนักในบทบาทหน้าที่เครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายในการดูแล คุ้มครอง ป้องกัน และรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมระหว่างกรมศิลปากร อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) พระสังฆาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายอื่นในเขตพื้นที่ เช่น สภาวัฒนธรรมจังหวัด หน่วยงานราชการในจังหวัด อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมภายใต้หน้าที่และความรับผิดชอบของกรมศิลปากร โดยมีเครือข่ายอนุรักษ์ ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมเขตภาคเหนือตอนบนในพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน เข้ารับการอบรมรวม ๒๐๐ คน ประกอบด้วย อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) พระสังฆาธิการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดและอำเภอ และวัฒนธรรมจังหวัด
การจัดอบรมในครั้งนี้ นอกจากจะมีการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ยังมีการศึกษาดูงานโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ วัดศรีสุพรรณ วัดหัวฝาย และโบราณสถานเวียงกุมกาม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายอนุรักษ์ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม และให้การดำเนินงานดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
ปทฺวาทสปริตฺต (ทฺวาทสปริตฺต-ตติยภาณวาร-ภาณปลาย) ชบ.บ 124/1ง
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 162/6เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ประติมากรรมปูนปั้นรูปศีรษะบุรุษ สมัยทวารวดี
ประติมากรรมปูนปั้นรูปศีรษะบุรุษ ได้จากวัดช่องลม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงรูปศีรษะบุรุษ กว้าง ๑๑.๕ เซนติเมตร สูง ๑๓ เซนติเมตร ใบหน้ากว้างค่อนข้างเหลี่ยม คิ้วเป็นสันนูนต่อกันเป็นปีกกา ตาเรียวเหลือบต่ำ จมูกโด่งและใหญ่ ริมฝีปากหนามีเส้นขอบที่ขีดเป็นร่อง อมยิ้มเล็กน้อย ผมเรียบเฉพาะบริเวณด้านข้างตกแต่งด้วยเส้นตรงขีดเป็นร่องในแนวตั้ง ด้านหลังประติมากรรมแบนเรียบ
ลักษณะใบหน้าของประติมากรรมที่มีคิ้วต่อกันเป็นปีกกา จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา เป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นเป็นเอกลักษณ์ของใบหน้าประติมากรรมบุคคลในสมัยทวารวดีที่มีการพัฒนาจากศิลปะอินเดียที่เป็นต้นแบบแล้ว จึงกำหนดอายุประติมากรรมชิ้นนี้ในสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว
เนื่องจากประติมากรรมมีแผ่นหลังที่แบนเรียบ จึงสันนิษฐานว่าประติมากรรมนี้เคยประดับบนผนังของสถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดี ซึ่งมักก่อด้วยอิฐ และนิยมประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมดินเผาหรือปูนปั้น พบหลักฐานประติมากรรมสำหรับประดับสถาปัตยกรรมจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี เช่น ประติมากรรมปูนปั้นเล่าเรื่องชาดก พบที่เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ประติมากรรมปูนปั้นรูปนักดนตรี และประติมากรรมดินเผารูปชาวต่างชาติ พบที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี ประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระประดับฐานเจดีย์เขาคลังใน จังหวัดศรีเทพ และประติมากรรมดินเผารูปพระภิกษุสามองค์อุ้มบาตร พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
แม้ประติมากรรมชิ้นนี้จะอยู่ในสภาพชำรุดมีเพียงศีรษะ แต่ก็เป็นประติมากรรมปูนปั้นที่ผลิตขึ้นด้วยความประณีต แสดงถึงเทคนิคการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมของช่างพื้นเมืองสมัยทวารวดี และยังอาจเป็นหลักฐานที่แสดงถึงเค้าโครงหน้าตาของผู้คนในสมัยทวารวดีด้วย
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๒.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 17/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง ปรีดา ศรีชลาชัย
ชื่อเรื่อง ประวัติพระแก้วมรกต ฉบับตรวจสอบ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ บริษัทประยูรวงศ์ จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2525
จำนวนหน้า 78 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
รายละเอียด หนังสือประวัติพระแก้วมรกต ฉบับตรวจสอบเล่มนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๗๕ เนื้อหาประกอบด้วย บทที่ ๑ ตำนานพระแก้วมรกต บทที่๒ ว่าด้วย ข้อสังเกตบางประการ บทที่ ๓ ว่าด้วยอาณาจักรไทนสมัยโบราณ บทที่ ๔ ว่าด้วยมหาอาณาจักรไทยศรีธรรมราชฯ และบทที่ ๕ สรุปเรื่องพระแก้วมรกต