ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

         โกลนพระพุทธรูปยืน          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖)          - หิน          - ขนาด กว้าง ๕๑.๕ ซม. สูง ๒๑๖ ซม.          พบในจังหวัดนครปฐม โกลนพระพุทธรูปประทับยืนด้วยอาการสมภังค์ (ยืนตรง) จากลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างแบนและเป็นเหลี่ยมมากแสดงให้เห้นลักษณะของอิทธิพลศิลปะขอม   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40155   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


เส้นทางสายบุญ เลาะริมโขงหนองคายไหว้สิม วิหาร และวัดเก่า      อายุกว่าร้อยปี      ศิลปะพื้นถิ่น      อยู่ติดริมน้ำโขง⋯⋯✧⋯⋯✧⋯✦⋯✧⋯⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถานโทร. :  043-242129Line : finearts8kkE-mail : fad9kk@hotmail.comTiktok : สำนักศิลปากรขอนแก่นพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี#หนองคาย #โบราณสถาน #สิม #วิหาร #วัดเก่า #ริมโขง #ศรีเชียงใหม่ #สายบุญ #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #กรมศิลปากร #ความรู้


ผู้แต่ง : สุรศักดิ์ ศรีสำอางปีที่พิมพ์ : 2553 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977)      ล้านนา-สุโขทัย จารึก : สารัตถะทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เป็นการรวมบทวิเคราะห์ทางวิชาการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ อันเกี่ยวข้องกับงานด้านจารึกภาษาโบราณ จำนวน 5 เรื่อง คือ จารึกบนฐานพระพุทธรูป “แม่ศรีมหาตา” สะท้อนผ่านความสัมพันธ์ระหว่างล้านนา สุโขทัย และอโยธยา ต่อมาเป็น จารึกบนฐานพระพุทธรูป “พระญาศรียศราช” เป็นเรื่องราวที่มาของ ขุนพล พระญาเชลียงและศึกเมืองน่าน เมื่อพ.ศ. 1987 ต่อมาเป็นหลักฐานใหม่ทางประวัติศาสตร์ นั่นคือ จารึกบนฐานพระพุทธรูป “พระมหาเถรนาคเสน” อีกหนึ่งจารึกคือ จารึก “พระมหาเถระ มหาสามี” ราชครูกษัตริย์ “ยวน” และสุดท้ายเป็นกลุ่มจารึก “เจ้าสี่หมื่นพะเยา” ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการชำระประวัติศาสตร์เพื่อนำไปใช้ต่อยอดได้อีกหลากหลายผลงาน


ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากร ชื่อเรื่อง เล่มที่ ตอนที่ หน้า วันที่ประกาศ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (เจดีย์วัดป่าบึงเขาหลวง บ้านกลางใหญ่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี, หอไตรหนองขุหลุ บ้านขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี) 118 พิเศษ ๒๙ ง 1 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (อาคารสถานทูตรัสเซีย (เดิม) เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 2 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดเทิง (ร้าง) บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง, อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองเลย อำเภอเมืองเลย, อาคารสุขศาลาจังหวัดเลยและอาคารพาณิชย์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย) 118 พิเศษ ๒๙ ง 3 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดภคินีนาถ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 4 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ตึกแถวบางส่วนริมถนนอัษฎางค์, ริมถนนพระพิทักษ์, ริมถนนบ้านหม้อ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 5 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (กระทรวงศึกษาธิการ (วังจันทรเกษม) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 6 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดไก่เขี่ย อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, วัดท่ามักกะสัง (วัดขุนตารด) อำเภอศรีสำโรง, วัดทุ่งเนินพยอม (วัดป่าแฝก) อำเภอกงไกรลาศ, วัดไทรงาม (วัดนากลาง) อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย) 118 พิเศษ ๒๙ ง 7 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ตึกแถวริมถนนหน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 8 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (กู่บ้านเมย, รอยพระพุทธบาทหินลาด บ้านหนองตับเต่า, วัดบึงแก้ว บ้านชนบท, วัดมัชฌิมวิทยาราม (วัดบ้านลาน), วัดสว่างสุทธาราม บ้านหนองกุง จังหวัดขอนแก่น, กู่น้อย บ้านหมี่ จังหวัดมหาสารคาม, วัดบ้านโคก 118 พิเศษ ๒๙ ง 9 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (พระตำหนักเขาคอกคชคีรี บ้านท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี) 118 พิเศษ ๒๙ ง 11 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ป้อมพระสุเมรุ มุมถนนพระอาทิตย์เชื่อมต่อถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 12 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดไตรภูมิ ตำบลในเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์) 118 พิเศษ ๒๙ ง 13 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดเขานางทอง (ถ้ำนางทอง) อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 14 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดโมลีโลกยาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 15 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๒๙ ง 16 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (กู่บ้านเขวา (คูมหาธาตุ เมืองย่างทิศนาค หรือ กู่) จังหวัดมหาสารคาม) 118 พิเศษ ๒๙ ง 17 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตท้องที่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๗ แห่ง) 118 พิเศษ ๓๓ ง 1 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตท้องที่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา และ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๗ แห่ง) 118 พิเศษ ๓๓ ง 3 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตท้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๒ แห่ง) 118 พิเศษ ๓๓ ง 5 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตท้องที่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา และ จังหวัดระนอง จำนวน ๔ แห่ง) 118 พิเศษ ๓๓ ง 6 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (อาคารโรงพิมพ์คุรุสภา (โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช) กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๓๓ ง 7 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตท้องที่ จังหวัดชัยนาท จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง และ จังหวัดอุทัยธานี จำนวน ๘ แห่ง) 118 พิเศษ ๓๓ ง 8 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดพระธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี) 118 พิเศษ ๓๓ ง 10 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ปราสาทเฉนียง จังหวัดสุรินทร์) 118 พิเศษ ๓๓ ง 11 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (เขาพระนารายณ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี) 118 พิเศษ ๓๓ ง 12 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (อาคารศาลจังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต) 118 พิเศษ ๓๓ ง 13 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วังสีทา จังหวัดสระบุรี) 118 พิเศษ ๓๓ ง 14 ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในท้องที่จังหวัดสงขลา จำนวน ๒ แห่ง คือ วัดโพธิ์ และวัดพังกก) 118 พิเศษ ๘๗ ง 1 ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในท้องที่จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน ๘ แห่ง ได้แก่ วัดเทพอาวาส วัดศรีสุริยวงศาราม โบราณสถานหมายเลข ๑ เมืองคูบัว โบราณสถานหมายเลข ๘ เมืองคูบัว โบราณสถานหมายเลข ๓๑ เมืองคูบัว โบราณส 118 พิเศษ ๘๗ ง 2 ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตกรุงเทพมหานคร ศาลากลางจังหวัดมีนบุรี) 118 พิเศษ ๘๗ ง 4 ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อสถานประกอบการค้าที่ได้รับอนุญาตให้ทำการค้าโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ ประจำปี ๒๕๔๔ (ในท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดเชียงใหม่) 118 พิเศษ ๘๗ ง 5 ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตกรุงเทพมหานคร ตำหนักพรรณราย ตึกแถวบริเวณท่าเตียน โรงงานสุราบางยี่ขัน สถานีรถไฟธนบุรี วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดบพิตรพิมุข) 118 พิเศษ ๑๑๓ ง 1 ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตกรุงเทพมหานคร วังบางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทย)) 118 พิเศษ ๑๑๓ ง 3 ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดยอดทอง ในจังหวัดพิษณุโลก) 118 พิเศษ ๑๒๔ ง 1 ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดนางพญา (เดิมชื่อ วัดนางพระยา) ในจังหวัดพิษณุโลก) 118 พิเศษ ๑๒๔ ง 2 ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดใหม่อภัยาราม ในจังหวัดพิษณุโลก) 118 พิเศษ ๑๒๔ ง 3 ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดหนองเกตุใหญ่ วัดหนองปรือ ในจังหวัดชลบุรี, วัดสว่างอารมณ์ วัดนครเนื่องเขต (วัดต้นตาล) ในจังหวัดฉะเชิงเทรา, วัดนาตาขวัญ วัดบ้านค่าย วัดอุดมธัญญาวาส วัดเขากระโดน ในจังหวัดระยอง และวัดทองย้อย ใ 118 พิเศษ ๑๒๔ ง 4 ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ศาลากลางจังหวัดชลบุรีหลังเก่า (สำนักงานสมาญศึกษาจังหวัดชลบุรี) ในจังหวัดชลบุรี และ เจดีย์กลางน้ำ และวัดตะพงใน ในจังหวัดระยอง) 118 พิเศษ ๑๒๔ ง 6 ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ศิลาจารึกปากลำโดมน้อย อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี วัดบูรพาราม ดอนขุมเงิน โรงเรียนบ้านสะพือใต้ ในจังหวัดอุบลราชธานี และ วัดจักรวาฬภูมิพินิจ วัดขอนแก่นเหนือ ในจังหวัดร้อยเอ็ด) 118 พิเศษ ๑๒๔ ง 7 ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (กู่โพนวิจ ในจังหวัดร้อยเอ็ด) 118 พิเศษ ๑๒๔ ง 9 ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ข่วงสิงห์ (ร้าง) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 1 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 2 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเพิ่มเติม (วัดพระเจ้าองค์ดำ (ร้าง) อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 3 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเพิ่มเติม (วัดธาตุน้อย (ร้าง) อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 4 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดเทพนิมิตร อำเภอปะนาเระ และมัสยิดรายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 5 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ภาพเขียนสีเขายะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 6 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดผาลาด จังหวัดเชียงใหม่, วัดกู่ขาว (ร้าง) วัดกู่เฮือง (ร้าง) เจดีย์ธาตุกุด วัดร้างดอนป่าตัน วัดกู่ป่าลาน จังหวัดลำพูน และวัดพระธาตุลานเตี้ย วัดบุนนาค (หนองบัว) ร้าง จังหวัดพะเยา) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 7 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดกุมกาม (ร้าง) วัดช้างค้ำ (กานโถม) วัดหัวหนอง (ร้าง) วัดป่าเขตต์ (ร้าง) วัดนางเหลียว (ร้าง) ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 9 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดชายนา วัดท่าพญา วัดพัทธสีมา จังหวัดนครศรีธรรมราช, วัดเขาพระอานนท์ วัดพัฒนาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ วัดสวี จังหวัดชุมพร) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 10 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (กู่โนนแท่น จังหวัดขอนแก่น, วัดโพธิ์ชัย จังหวัดมหาสารคาม) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 12 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดสระทอง (อุโบสถ) สิมวัดไชยศรี (อุโบสถ) สิมวัดสระบัวแก้ว (อุโบสถ) สิมวัดสนวนวารีพัฒนาราม (อุโบสถ) จังหวัดขอนแก่น และวัดศรีคูณเมือง สิมไม้วัดเจริญทรงธรรม (อุโบสถ) จังหวัดหนองบัวลำภู) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 13 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดอู่ตะเภา จังหวัดสุพรรณบุรี) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 15 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 16 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ตึกแถวริมถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 17 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (เจดีย์สามสบ วัดหินแหลม จังหวัดกาญจนบุรี, ศาลาตึก โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม, วัดสักน้อย (ร้าง) จังหวัดนนทบุรี, วัดสองพี่น้อง จังหวัดปทุมธานี และวัดบ้านทึง จังหวัด สุพรรณบุรี) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 18 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (โรงเรียนเปาโรหิตย์ สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี หอการค้าไทย-จีน (เดิม) ห้องสมุดเนียลสัน เฮล์ กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 20 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ศาลเจ้ากวางตุ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร) 118 พิเศษ ๑๒๗ ง 21 ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔



ราชบัลลังก์ ย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนที่มีวาสนาอาจไขว่คว้าได้ถึง แม้จะต้องเข่นฆ่ากันระหว่างพี่กับน้อง พ่อกับลูก ก็เคยมีมาแล้วในอดีต แต่ก็มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งของกรุงศรีอยุธยา แม้จะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้องตามราชประเพณี แต่เมื่อทรงทราบว่า มีคนอื่นอยากได้จนตัวสั่น ก็ยอมสละให้แต่โดยดีขณะที่ครองราชบัลลังก์มาได้เพียง ๑๐ วัน ด้วยมีพระราชประสงค์จะหาความสงบสุขทางใจมากกว่าพระราชอำนาจบนราชบัลลังก์ อนุสรณ์สถานปลีกวิเวกของพระองค์ ก็ยังคงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ มีชื่อว่า “พระตำหนักคำหยาด” ที่ใกล้วัดคำหยาด ในอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ส่วนพระมหากษัตริย์ที่สละราชบัลลังก์มาปลีกวิเวกอยู่ที่นี่ ก็คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๔ หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในพระนาม “พระเจ้าอุทุมพร” กษัตริย์พระองค์ที่ ๓๒ รองสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรเป็นราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนที่พระราชชนนีทรงครรภ์นั้น พระราชบิดาทรงพระสุบินว่ามีผู้ถวายดอกมะเดื่อให้ จึงพระราชทานพระนามว่า เจ้าฟ้าอุทุมพรราชกุมาร แต่เรียกกันทั่วไปว่า “เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” เมื่อตำแหน่งรัชทายาทว่างลง เนื่องจาก “เจ้าฟ้ากุ้ง” หรือ “เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ราชโอรสองค์โตต้องพระราชอาญาถึงสิ้นพระชนม์ ขุนนางข้าราชการทูลขอให้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิตขึ้นเป็นรัชทายาทแทน แต่เจ้าฟ้าอุทุมพรกลับขอให้สถาปนาพระเชษฐา กรมหลวงอนุรักษ์มนตรี หรือ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ ขึ้นเป็นรัชทายาท แต่พระราชบิดาไม่ทรงยินยอม รับสั่งว่า “กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นโฉดเขลา หาสติปัญญาและความเพียรมิได้ ถ้าจะให้ดำรงฐานาศักดิ์มหาอุปราชสำเร็จราชการกึ่งหนึ่งนั้น บ้านเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติเสียหาย เห็นแต่กรมขุนพรพินิตกอปรด้วยสติปัญญาเฉลียวฉลาดหลักแหลม สมควรจะดำรงเศวตฉัตรครองสมบัติรักษาแผ่นดินสืบไปได้ เหมือนดังคำปรึกษาด้วยท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวง” จึงมีพระราชโองการให้เจ้าฟ้าเอกทัศน์ออกผนวช และสถาปนาเจ้าฟ้าอุทุมพรขึ้นเป็นมหาอุปราช ในปี พ.ศ.๒๓๐๑ พระเจ้าอยู่หัวประชวรหนัก รับสั่งให้พระราชโอรสที่มีบทบาทสำคัญเข้าเฝ้า ตรัสมอบสมบัติให้เจ้าฟ้าอุทุมพร และให้คนอื่นๆถวายสัตย์ยอมเป็นข้าทูลละออง เจ้าฟ้าเอกทัศน์ทราบข่าวก็รีบลาผนวชกลับมาอยู่วัง รอขึ้นครองราชย์แทน ด้วยถือว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสที่อาวุโสที่สุด เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคต ขุนนางข้าราชการก็อัญเชิญเจ้าฟ้าอุทุมพรขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติตามพระบรมราชโองการ แต่เจ้าฟ้าเอกทัศน์กลับเสด็จขึ้นประทับบนพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของกษัตริย์ เจ้าฟ้าอุทุมพรเห็นว่าพระเชษฐาอยากครองราชย์เต็มที่ เลยสละราชสมบัติให้หลังจากครองราชย์ได้เพียง ๑๐ วัน แล้วเสด็จออกผนวชที่วัดประดู่ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือ พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ แต่รู้จักกันทั่วไปในนาม พระเจ้าเอกทัศน์ หรือ “ขุนหลวงขี้เรื้อน” กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาที่เสียเมืองแก่พม่าอย่างยับเยิน เจ้าฟ้าเอกทัศน์บริหารราชการแผ่นดินตามที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศคาดไว้ไม่มีผิด ข้าราชการสอพลอได้ดิบได้ดี ขุนนางกลุ่มหนึ่งจึงไปเข้าเฝ้าเจ้าฟ้าอุทุมพรขอให้สึกออกมากอบกู้บ้านเมืองก่อนที่จะล่มสลาย เจ้าฟ้าพระภิกษุรับสั่งว่า “รูปเป็นสมณะ จะคิดอ่านการแผ่นดินนั้นไม่ควร ท่านทั้งปวงเห็นควรประการใดก็ตามแต่จะคิดกัน” ผู้เข้าเฝ้าตีความเอาเองว่าทรงเอาด้วย จึงไปเริ่มดำเนินการ แต่เจ้าฟ้าอุทุมพรกลับเกรงว่าเมื่อทำการสำเร็จแล้วผู้ก่อการอาจจับทั้งพระเชษฐาและพระองค์สำเร็จโทษ ขึ้นครองราชย์เสียเอง จึงนำความไปทูลเจ้าฟ้าเอกทัศน์ ผู้ก่อการทั้งหมดเลยถูกจับ แต่โทษประหารนั้นเจ้าฟ้าอุทุมพรทูลขอไว้ เลยต้องโทษเพียงจองจำ ในปี พ.ศ.๒๓๐๒ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีไทย ตีหัวเมืองได้ตลอดจนมาถึงกรุงศรีอยุธยา ขุนนางข้าราชการเห็นว่าพระเจ้าเอกทัศน์รักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้แน่ จึงทูลขอให้เจ้าฟ้าอุทุมพรลาผนวชมาช่วยรักษาพระนคร พระเจ้าเอกทัศน์ก็ยอม เพราะจนปัญญาไม่รู้ว่าจะสั่งสู้พม่าได้อย่างไร เจ้าฟ้าอุทุมพรจึงลาผนวชมาบัญชาการรบ พอดีพระเจ้าอลองพญาถูกปืนใหญ่ของตัวเองระเบิด ประชวรหนักจนต้องเลิกทัพกลับไป และสิ้นพระชนม์เมื่อออกไปพ้นด่านเมืองตาก เมื่อเสร็จศึกพม่า พระเจ้าเอกทัศน์ก็แสดงความไม่ต้องการพระอนุชาอีก ค่ำวันหนึ่งเจ้าฟ้าอุทุมพรเข้าเฝ้าถวายข้อราชการตามปกติ พระเจ้าเอกทัศน์รับสั่งให้เข้าเฝ้าถึงในพระที่ แต่ทรงถอดดาบพาดไว้บนพระเพลา เจ้าฟ้าอุทุมพรก็รู้ความหมายว่าพระเชษฐาไม่ไว้วางพระทัย จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งไปทรงผนวชที่วัดโพธิ์ทองคำหยาด และไปประทับที่พระตำหนักคำหยาด ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศผู้เป็นพระราชบิดาสร้างไว้เป็นที่ประทับแรมเมื่อเสด็จประพาสเมืองอ่างทอง ราษฎรจึงพากันขนานพระนามพระองค์ว่า “ขุนหลวงหาวัด” ในปี พ.ศ.๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา ส่งเนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก พระเจ้าเอกทัศน์รับสั่งให้นิมนต์พระราชาคณะเข้ามาอยู่เสียในกำแพงพระนครเพื่อความปลอดภัย พระภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรก็เสด็จมาด้วย ขุนนางข้าราชการจึงทูลขอให้ลาผนวชมาช่วยป้องกันพระนคร แต่เจ้าฟ้าอุทุมพรเข็ดเสียแล้ว แม้ราษฎรจะเขียนหนังสือใส่บาตรจนเต็มตอนออกบิณฑบาตรก็ไม่ยอม จนปี พ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาก็แตกเสียเมืองแก่พม่า พระเจ้าเอกทัศน์หนีไปได้ แต่ก็ต้องสิ้นพระชนม์เพราะอดพระกระยาหารขณะไปหลบซ่อนพม่า เนเมียวสีหบดีได้กวาดต้อนชาวกรุงศรีอยุธยารวมทั้งพระภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรไปพม่า พระเจ้ามังระให้คนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปลำดับเรื่องราวในพงศาวดารไทยจดบันทึกไว้ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๙๒ อังกฤษยึดพม่าได้ พบหนังสือเล่มนี้อยู่ในหอหลวงพระราชวังมัณฑเล มีชื่อว่า “คำให้การของขุนหลวงหาวัด” จึงนำไปไว้ในหอสมุดเมืองร่างกุ้ง ต่อมาหอวชิรญาณได้ขอคัดลอกมาแปลเป็นภาษาไทย แต่เห็นว่าเป็นคำให้การของคนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปหลายคน ไม่ใช่เจ้าฟ้าอุทุมพรเพียงพระองค์เดียว จึงเรียกชื่อเสียใหม่ว่า “คำให้การของชาวกรุงเก่า” พระเจ้าอุทุมพร กษัตริย์พระองค์ที่ ๓๒ ของกรุงศรีอยุธยา ไม่มีโอกาสได้กลับมาแผ่นดินบ้านเกิด คงสวรรคตที่ประเทศพม่า ปัจจุบัน “พระตำหนักคำหยาด” ซึ่งถูกทอดทิ้งให้รกร้างมาเป็นเวลานานเหลือแต่เพียงผนังอิฐ ๔ ด้าน ประตูและหน้าต่างมีลักษณะโค้งยอดแหลม เหมือนสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เป็นอนุสรณ์ให้นึกถึง “ขุนหลวงหาวัด” ซึ่งน้อยนักที่จะมีผู้ไม่ปรารถนาในพระราชบัลลังก์เช่นพระองค์






วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๒ นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เข้าร่วมพิธีพลีกรรมตักน้ำในการงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ปราสาทสระกำแพงน้อย โบราณสถานปราสาทสระกำแพงน้อย ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ





กรมส่งสริมวัฒนธรรม กรทรวงวัฒนธรรม.  มรดกภูมิปัญญาและสิ่งทออีสาน.  กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2562.  287 หน้า.                   ภาพประกอบ.            หนังสือรวบรวมความรู้ภูมิปัญญาสิ่งทอในภาคอีสาน เริ่มตั้งแต่ สิ่งทอยุคก่อนประวัติศาสตร์ การวิวัฒนาการ ภูมิปัญญาการผลิตเส้นใยไหมและเส้นใยฝ้าย ภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติ ภูมิปัญญาเครื่องทอผ้าและอุปกรณ์ทอผ้า เทคนิคสิ่งทอ วิธีการนุ่งห่ม    ตลอดจนมรดกลวดลายผ้า มรดกสิ่งทอในพระพุทธศาสนา เช่น ธุง ผ้าห่อคัมภีร์ เป็นต้น         อ                                                                                                                            677.09593                                                                                                                  ส144ป                                                                                                                      ฉ. 1- ฉ. 2           ห้องค้นคว้า                                                                                                                    ประจำเดือน พ.ค. 63    


Messenger