ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

ธรรมชาติไดประสานประสาทแห่งความรู้สึกให้เราไว้ 5 อย่าง ประสาทแห่งความรูสึกที่เกี่ยวกับการฟังนั้นเรียกว่า "โสตประสาท" คือ "หู" ดนตรีนอกจากจะเป็นศิลปแล้ว ยังเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ด้วย



เลขทะเบียน : นพ.บ.13/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า  ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีป้ายชื่อไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 9 (100-104) ผูก 4หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.43/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 25 (244-253) ผูก 10หัวเรื่อง :  อรรถกถาบาลี --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง             สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ            ชื่อเรื่อง         ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น      ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ 7     สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ       สำนักพิมพ์     บริษัท บพิช จำกัด      ปีที่พิมพ์        2511  จำนวน           97      หน้า    หมายเหตุ      พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายสง่า วรรณดิษฐ์                    ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะถ้วยปั้น พระราชนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ เพื่อแจกในงานพระศพพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระองค์เป็นบุคคลสำคัญในการสะสมเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นในสมัย ร.๔ และร.๕ โดยทรงอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือหลายเรื่องเช่นเรื่องสิริมงคลของจีน พระราชนิพนธ์ของ ร.๕ เป็นหลักนอกจากนั้นเป็นตำราเครื่องถ้วยจีนโดยนายดุลแลนด์ หนังสือเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น พิมพ์ไว้ในหนังสือวชิรญาณอีก ๔ เรื่อง และเรื่องราวที่เขียนแบบเบ็ดเตล็ดทั่วไปอีก ในการพิมพ์ครั้งนี้เลือกเฉพาะตอนต้น จบเพียงเรื่องถ้วยชา


ชื่อผู้แต่ง           ณรงค์วิชิต(จอน บุนนาค),พระ ชื่อเรื่อง            ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๐  ครั้งที่พิมพ์        ๖ พ.ศ. ๒๕๑๙ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์        โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๑๙              จำนวนหน้า         ๙๐ หน้า คำค้น               ประชุมพงศาวดาร หมายเหตุ  -                   หนังสือ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๐ เรื่อง จดหมายเหตุราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีระกา พุทธศักราช ๒๔๐๔ พระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) ผู้เป็นตรีทูตได้บันทึกไว้เป็นรายวัน  เริ่มตั้งแต่ราชทูตเดินทางออกจากกรุงเทพ จนเดินทางกลับ กระบวนที่แต่งจดหมายเหตุเรื่องนี้ตั้งใจจะแต่งให้เป็นคู่กับจดหมายเหตุของหม่อมราโชทัย  ซึ่งแต่งครั้งราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ แต่สำนวนเรียงความหย่อนกว่า เพราะพระณรงค์วิชิตมิไดเป็นกวีเหมือนเช่นหม่อมราโชทัย อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศแต่อดีตกาลเป็นอย่างดี



รุจิรา สัมมะสุต.อาหารเสริมสุขภาพ ดีจริงหรือ?.Gourmet&Cuisine.(6):66;มกราคม2549 อาหารเสริมสุขภาพ (Healthy Food)             ในปัจจุบันอาหารเสริมให้ความหมาย มากกว่าที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะผู้คนเริ่ม สนใจสุขภาพและสรรหาอาหารที่มีคุณสมบัติ พิเศษเพื่อช่วยให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง“อาหารเสริมสุขภาพ หรือ Healthy Food จึงเริ่มเข้ามามีบทบาท และทำให้เกิดความ เข้าใจสับสนในกลุ่มประชาชนผู้บริโภค เพราะ มีการอ้างถึงคุณสมบัติพิเศษในด้านการเสริม สร้างสุขภาพ ป้องกันหรือรักษาโรคได้มากกว่า อาหารที่กินปกติในชีวิตประจำวัน บางคนจึง พยายามสรรหาและซื้อมากินแม้จะมีราคาแพง             อาหารเสริมสุขภาพในท้องตลาดขณะนี้มี หลายชนิด หลายลักษณะ เช่น วิตามิน เกลือแร่ สารอาหารอื่นๆ มีทั้งที่เป็นเม็ด เป็นผง และ เป็นเครื่องดื่ม ส่วนหนึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่งอาจจะผลิตภายในประเทศ มีการขาย ทั้งในท้องตลาดและขายตรงให้แก่สมาชิกโดย ผ่านตัวแทน กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับคำแนะนำ หรือได้รับเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับอาหารเสริม สุขภาพจากตัวแทนจำหน่ายคือผู้ที่อยู่ในวัย กลางคนหรือสูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีการ เจ็บป่วยเป็นประจำ ผู้ที่มีรายได้ในระดับปาน กลางขึ้นไป ผู้ที่มีหน้าที่ในระดับผู้นำหน่วยงาน ผู้ที่ใช้บัตรเครดิตต่างๆ รวมทั้งผู้ที่มีชื่อเสียง ในสังคม อาหารเสริมสุขภาพเหล่านั้นจะได้รับ ความสนใจจากผู้บริโภคและมีการสั่งซื้อเพื่อ ทดลองใช้ แต่ไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะใช้ ต่อเนื่องนานเท่าใด ขึ้นอยู่กับความนิยมใน สังคม การขยายตัวในตลาด ความผันแปรใน การเผยแพร่ การเปลี่ยนรูปลักษณ์ของอาหาร และคุณภาพที่แท้จริงของอาหารนั้นๆ             การพิจารณาว่าอาหารเสริมเหล่านั้นมี ประโยชน์หรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอาหารและโภชนาการ และ ข้อเท็จจริงที่ผู้บริโภคได้รับ ซึ่งผู้บริโภคส่วน มากไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึง ทำให้หลงเชื่อและเข้าใจผิดในข้อมูลต่างๆ หรือ อาจสนใจในข้อเสนอและของสมนาคุณจาก ตัวแทนจำหน่ายเป็นแรงจูงใจในการซื้อ อันตรายที่เกิดจากอาหารมักจะไม่ค่อยเป็นข่าว ให้ทราบ แต่เมื่อเกิดแล้วอาจจะเป็นอันตราย ถึงชีวิต เช่น การแพ้นมผึ้งในประเทศออสเตรเลียเมื่อต้นปี พ.ศ. 2537 ที่มีอาการรุนแรง จนถึงชีวิต


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ  


ประชุมรับมอบนโยบายและพิธีบายศรีสู่ขวัญ ต้อนรับนายจารึก วิไลแก้วผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘


ชื่อเรื่อง : ลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณสร้างตลาดสำหรับเมือง สร้างเมือง และพยากรณ์ความฝัน ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา และพระมหากวี กิตฺติสาโร ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : เลี่ยงเซียงจงเจริญ


มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. หลักราชการ ประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม ลัทธิเอาอย่าง ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ. พระนคร : กรมศิลปากร, 2507.        หนังสือหลักราชการ ประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม ลัทธิเอาอย่าง ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เล่มนี้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง 4 เรื่อง และในท้ายเล่มยังมีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณีประจำชีวิตไว้ด้วย


          กลองมโหระทึก (ในภาคเหนือมักเรียกว่า ฆ้องกบ, ฆ้องเขียด) เป็นสิ่งที่มีการสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นประวัติศาสตร์ (ราว ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว) เชื่อว่ามีจุดกำเนิดมาจากวัฒนธรรมดงเซิน (Dong Son) ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณจังหวัด Thanh Hoa ในประเทศเวียดนาม พบในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ           ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่ากลองมโหระทึกผลิตขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้ ๑. แสดงฐานะความมั่งคั่ง ๒. ใช้ประกอบพิธีกรรมความตาย ๓. ใช้ตีเป็นสัญญาณสงคราม ๔. ใช้ประกอบพิธีขอฝน ๕. ใช้ตีเพื่อบำบัดโรคทางไสยศาสตร์ กลองมโหระทึกที่พบในพื้นที่จังหวัดน่าน           ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เวลาราว ๑๒.๐๐ น. พบกลองมโหระทึกจำนวน ๒ ใบ บริเวณเนินดินซึ่งเป็นป่าช้าเก่าที่บ้านบ่อหลวง ริมถนนหมายเลข ๑๐๘๑ ใกล้หลักกิโลเมตรที่ ๗๗ ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ร่วมกับโบราณวัตถุอื่นๆ ได้แก่ แหวนทองคำ แหวนสำริด แผ่นทองคำ ชิ้นส่วนกระดูกขนาดเล็ก ฯลฯ โดยผู้พบคือ เด็กหญิงนงเยาว์ กุลสุทธิ และเด็กหญิงนพมาศ ปรังกิจ ต่อมานายชัยนันท์ บุษยรัตน์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขณะนั้น จึงได้ประสานงานนำมาเก็บรักษาและจัดแสดง กลองมโหระทึกที่พบในประเทศไทย           ไม่เพียงแต่จังหวัดน่าน กลองมโหระทึกยังพบในอีกหลายต่อหลายพื้นที่ซึ่งหากนับเฉพาะชิ้นที่สามารถระบุตำแหน่งที่พบได้อย่างชัดเจนมีมากกว่า ๔๐ ใบ แต่หากนับรวมชิ้นที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่พบได้ชัดเจนก็จะมีถึงราว ๖๐ ใบเลยทีเดียว ทั้งนี้ นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบกลองมโหระทึกที่เวียดนาม (เชื่อว่าเป็นเจ้าของวัฒนธรรม) ลาว จีน พม่า อินโดนีเซีย และติมอร์ เป็นต้น ทำให้อาจเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ถึงการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม และอาจแสดงถึงการติดต่อของผู้คนก็เป็นได้ ย้อนมองเมืองน่าน : ชุมทางการค้าแห่งล้านนาตะวันออก (?)           ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์เราไม่อาจยืนยันชัดเจนว่าผู้คนมีการติดต่อกันด้วยเส้นทางใดบ้าง แต่หากพิจารณาเส้นทางในสมัยหลังลงมาได้มีผู้กล่าวว่าเมืองน่านน่าจะเป็นชุมทางสำคัญด้านล้านนาตะวันออกที่เชื่อมโยงสินค้าประเภทของป่าจากตอนในของแผ่นดิน เช่น หลวงพระบาง ไปสู่สุโขทัยก่อนที่จะผ่านเมืองตากออกสู่เมืองท่าอย่างเมาะตะมะในพื้นที่ประเทศพม่าในปัจจุบัน มองเส้นทางการค้าแล้วย้อนมองการกระจายตัวของกลองมโหระทึก //หากเรากลับไปมองการกระจายตัวของกลองมโหระทึกซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่มีอายุในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์-ต้นสมัยประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคเหนือตอนล่างจะพบว่ามีการพบกลองมโหระทึกทั้งที่น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก สอดรับกันดีกับเส้นทางการค้าสมัยโบราณดังที่กล่าวไปข้างต้น           ดังนั้น กลองมโหระทึกอาจเป็นหนึ่งในวัตถุทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดน่านมีผู้คนอาศัยอยู่มาแล้วนับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อีกทั้งคงจะมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนและบ้านเมืองโดยรอบ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คติความเชื่อ ตลอดจนสินค้า และงานศิลปกรรมในเวลาต่อมา นำไปสู่พัฒนาการของชุมชนสู่บ้านเมืองในเวลาต่อมา_________________________ ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. กองโบราณคดี. ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา กลองมโหระทึก. กรุงเทพฯ: แกรนด์พ้อยท์, ๒๕๖๒. กรมศิลปากร. จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๗. กรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กลองมโหระทึกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป, ๒๕๔๖. ชวิศา ศิริ. "การค้าของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒." ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐. ธีระวัฒน์ แสนคำ. "เส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสุโขทัยกับกลุ่มบ้านเมืองในลุ่มน้ำโขง." ใน สุโขทัยกับอาเซียน : มองปัจจุบันผ่านอดีตจากมิติประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี. ปทุมธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โยซิยูกิ มาซูฮารา. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง : สมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ จากรัฐการค้าภายในภาคพื้นทวีปไปสู่รัฐกึ่งเมืองท่า. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๖. วราภรณ์ เรืองศรี. คาราวานพ่อค้าทางไกล : การก่อเกิดรัญสมัยใหม่ในภาคเหนือของไทยและดินแดนตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๗. ศรีศักร วัลลิโภดม. สยามประเทศ ภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาราชอาณาจักรสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๙. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ. ๒๐๐๐. กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งเรืองการพิมพ์, ๒๕๓๕. สุจิตต์ วงษ์เทศ. มโหระทึก หรือกลองทอง. กลองกบ ใช้ตีขอน้ำฟ้าน้ำฝน ตามประเพณีดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้วของอุษาคเนย์. มติชนออนไลน์, เข้าถึงเมื่อ ๕ เม.ย. ๖๓ เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_348099 สุจิตต์ วงษ์เทศ. ขวัญ หน้ากลองมโหระทึก. มติชนออนไลน์เข้าถึงเมื่อ ๕ เม.ย. ๖๓ เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_1390415


          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวกรณีวัดหมื่นล้านทาสีแดงลบลายบานประตูวิหาร ซึ่งบานประตูบริเวณอกเลามีการจารึกอักษรธรรมล้านนาว่า “พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ แล จุลศักราช ๑๒๗๙ เดือน ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๔ ได้ฉลองหน้ามุกวิหารหลังนี้ นิพพานปจฺจโยโหนตุโนนิจจํ” ปีพุทธศักราชที่ระบุในจารึก ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๖ หรือ ๑๐๓ ปีมาแล้ว .          วัดหมื่นล้าน เป็นโบราณสถานที่ไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ตามประวัติระบุว่า สร้างโดยหมื่นโลกสามล้าน หรือ หมื่นด้งนคร ผู้เป็นขุนศึกคู่พระทัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย ในปีมะเส็ง จุลศักราช ๘๒๒ หรือตรงกับ พ.ศ. ๒๐๐๒ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีบันทึกระบุว่า หลวงโยนะการพิจิตร ซึ่งเป็นคหบดีได้ สร้างขึ้นมาทดแทนของเดิมที่เสียหาย ช่วงปี จ.ศ. ๑๒๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๐           วิหารวัดหมื่นล้านเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาประยุกต์ โดยมีการบูรณะ ซ่อมแซม ต่อเติมมาหลายยุคหลายสมัย ตามการใช้ประโยชน์ของอาคาร ซึ่งในส่วนของกรณีการทาสีทับลายรดน้ำบนบานประตูวิหาร เป็นการซ่อมแซมบูรณะจากผู้มีจิตศรัทธาที่เข้ามาด้วยเจตนาดี แต่ขาดความเข้าใจในหลักการอนุรักษ์ อย่างไรก็ตาม สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ประสานกับทางวัดให้ระงับการดำเนินการซ่อมบูรณะทั้งหมดไว้ก่อนแล้ว โดยในวันพุธที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ กรมศิลปากรได้มอบให้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เข้าสำรวจเก็บข้อมูลโดยละเอียดเพื่อหารือร่วมกันในแนวทางการดำเนินการบูรณะที่เหมาะสมต่อไป โดยจะมอบให้ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ฯ และกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังฯ กรมศิลปากร ร่วมตรวจสอบและหาวิธีการลอกสีที่ทาทับบานประตูนี้ออก เพื่อฟื้นคืนสภาพให้ได้มากที่สุดต่อไป


องค์ความรู้ เรื่อง ประติมากรรมดินเผารูปคนจูงลิง จัดทำโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง


Messenger