ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.314/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 5 x 56.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 128  (317-320) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อภิธมฺมตฺกสงฺคห(อภิธัมมัตถสังคหะ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๖ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๓๙๙      พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐภคินีร่วมพระมารดา คือ           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ           สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา      ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อพระชันษาได้ ๖ ปี พระมารดาถึงแก่อสัญกรรม ได้ทรงอยู่ในความดูแลของคุณท้าวทรงกันดาร (ศรี) ต่อมาได้ทรงศึกษาหนังสือ พอทรงอ่านเขียนได้แล้ว ทรงเรียนเลขจนบวกลบคูณหารได้แล้วหัดอ่านหนังสือขอมและมคธภาษา      ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระชันษาได้ ๑๓ ปี ทรงได้เข้าพระราชพิธีโสกันต์  ต่อมาทรงรับราชการในกรมทหารล้อมวัง ได้รับพระราชทานยศเป็นว่าที่พันตรี ทรงเป็นผู้ช่วยราชการเสนาบดีกระทรวงวัง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ ทรงรับราชการในกระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง แล้วย้ายไปเป็นอธิบดีศาลอุทธรณ์คดีหลวง ต่อมาย้ายไปเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งสรรพากร ครั้นเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมในเวลานั้นเสด็จไปราชการประเทศยุโรป  ก็ได้ทรงรับราชการในหน้าที่ผู้แทนเสนาบดี มาจนถึงพุธศักราช ๒๔๓๗ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรมาเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม จึงได้ย้ายไปรับราชการในศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษา พุทธศักราช ๒๔๔๐ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์กรุงเทพ จนสิ้นรัชกาลที่ ๕      ในรัชกาลที่ ๖ ปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์โท ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์” พุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ทรงรับเชิญเป็นเนติบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และสมาชิกวิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในปีแรกตั้งเนติบัณฑิตยสภา พุทธศักราช ๒๔๕๙ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นกรรมการศาลฎีกาตลอดมาจนสิ้นปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากหน้าที่ราชการประจำ      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๖๗ สิริพระชันษาได้ ๖๗ ปี   ภาพ : มหาอำมาตย์โท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์



ชื่อเรื่อง : บุคคลตัวอย่าง ชื่อผู้แต่ง : กมล วิชิตสรสาตร์ ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี สำนักพิมพ์ : อักษรเพชรเกษมจำนวนหน้า : 266 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้มีประวัติบุคคลสำคัญๆ 40 ท่านด้วยกัน พร้อมทั้งอธิบายประวัติไว้อย่างคร่าวๆ อ่านเข้าใจง่าย


เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๐ พรรษาบริบูรณ์ นับเป็นมหามงคลสมัยอันประเสริฐยิ่ง กอปรกับเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตินับได้หมื่นวันเศษ ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองสมโภช จึงทรงพระราชดำริเพื่ออนุวัตร ตามโบราณบุรพราชประเพณีอันมีมาแต่ก่อน โดยทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร เทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงพระเจริญเพียบพร้อมด้วยพระคุณสมบัติ และทรงปฏิบัติพระองค์ ตามแบบแผนขัตติยราชกุมารี สนองพระเดชพระคุณในพระราชภารกิจที่ทรงมอบหมายแทนพระองค์สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี กอปรทั้งมีพระราชหฤทัยเปี่ยมไปด้วยความรักชาติ ศาสนา และทรงจงรักภักดีต่อพระบรมราชวงศ์เป็นอย่างยิ่ง ในมหามงคลสมัยการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาพระราชอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นเกียรติประวัติตามโบราณราชประเพณีเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาและเฉลิมพระนามพระบรมวงศ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามราชประเพณีซึ่งมีสืบมาแต่โบราณ โดยทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เป็นพระโสทรกนิษฐภคินีที่ได้ทรงร่วมสุขร่วมทุกข์ มาแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อทรงเจริญพระชนมายุก็ได้ทรงปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนีด้วยพระวิริยอุตสาหะ เป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติและอาณาประชาราษฎร์อย่างใหญ่หลวงเป็นอเนกประการ ครั้นในรัชกาลปัจจุบัน ก็ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในหลายวาระ และช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจน้อยใหญ่ที่สืบเนื่องมาแต่ครั้ง รัชสมัยสมเด็จพระบรมชนกนาถให้ดำเนินลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย สมควจะยกย่องพระเกียรติยศ ตามฐานะแห่งพระบรมราชวงศ์ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมใหเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี  


          วันอังคารที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๔๕ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นายโยธิน ธาราหิรัญโชติ และนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ผู้มอบโบราณวัตถุ เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การรับมอบโบราณวัตถุ “ครอบพระเศียรทองคำ” ที่รับคืนมาจากสหรัฐอเมริกาและโบราณวัตถุ “เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์” พร้อมทั้งสมุดบัญชีโบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี จำนวน ๑๖๔ รายการ เพื่อเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ของคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ณ โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้โบราณวัตถุดังกล่าว กรมศิลปากร จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการถาวร ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมและศึกษาหาความรู้ตามเจตนารมณ์ของผู้มอบ ต่อไป


มังรายศาสตร์ หลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว ได้ปกครองและประทับอยู่เมืองนี้ตลอดพระชนม์ชีพ ทรงวางรากฐานความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ล้านนาหลายประการ ด้านการเมืองการปกครองนั้น พญามังรายทรงปกครองล้านนาโดยใช้กฎหมายที่เรียกว่า มังรายศาสตร์ ซึ่งใช้สืบต่อกันมาตลอดราชวงศ์มังราย มังรายศาสตร์ เป็นกฎหมายโบราณของล้านนาที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพญามังราย เนื้อหาในเล่มถูกคัดลอกจากข้อความเดิมต่อ ๆ กันมา บางตอนมีข้อความเพิ่มเติมเข้าไปในสมัยหลัง มังรายศาสตร์มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วินิจฉัยมังราย หมายถึง การตัดสินหรือคำพิพากษาของพญามังราย ถูกรวบรวมและเรียบเรียงมาจากกฎในธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์กฎหมายเก่าแก่ของอินเดีย เนื้อหาต่าง ๆ มีที่มาจากจารีตประเพณีของสังคม เช่น ความเชื่อ ค่านิยม อันเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมเนื้อหาในมังรายศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพญามังราย ความมุ่งหมายในการเขียน มีการบัญญัติกฎหมายไว้ ๒๗ หมวดหมู่ ได้แก่ หนีศึก คนตายกลางสนามรบ รบศึกกรณีได้หัวและกรณีไม่ได้หัวข้าศึกมา เสนาอมาตย์ตาย ให้ไพร่มีเวรผลัดเปลี่ยนกัน ไพร่กู้เงินขุน ไพร่สร้างไร่นา ไพร่ที่ขุนไม่ควรรับไปเป็นข้า ข้าขอรับมรดก ข้าพระยาไปอยู่กินกับไพร่ ลักษณะนายที่ดีและนายที่เลว ความผิดร้ายแรงซึ่งยอมให้ฆ่าผู้กระทำผิดได้  โทษประหารชีวิต โทษหนักสามสถาน การพิจารณาความให้ดูเหตุ ๔ ประการ ตัดสินความไม่ถูกต้องอันควรเพิกถอนเสีย ๘ ประการ อายุความยี่สิบปี สาเหตุวิวาทกัน ๑๖ ประการ ลักษณะหมั้น ลักษณะหย่า การแบ่งสินสมรส ลักษณะมรดก ลักษณะหนี้ ลักษณะวิวาท (ด่ากันตีกัน) ลักษณะใส่ความกัน ลักษณะลักทรัพย์และลักพา ลักษณะซ่อน อำ และลัก โดยในแต่ละหมวดยังแบ่งออกเป็นลักษณะกฎหมายเรื่องต่าง ๆ อีก บทลงโทษในมังรายศาสตร์ ส่วนมากเป็นโทษปรับไหม นอกจากนี้จะมีการเฆี่ยน การริบทรัพย์ ส่วนโทษหนัก คือ การประหารชีวิต ตัดตีนตัดมือ เอาไปขายเสียต่างเมืองหรือขับออกจากเมืองมังรายศาสตร์ฉบับที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ฉบับลานนาสีโหภิกขุ จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ฉบับที่สอง เป็นของคุณไกรศรี นิมมานเหมินท์ ซึ่งคัดจากต้นฉบับของกงสุลฝรั่งเศส ประจำเชียงใหม่ ฉบับที่สาม จากวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่สี่ เก็บรักษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มังรายศาสตร์ทั้งสี่ฉบับเขียนด้วยตัวหนังสือพื้นเมืองลานนาไทยหรือตัวไทยยวน นับว่ามังรายศาสตร์มีคุณค่าในแง่มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกชิ้นหนึ่ง ที่ให้คุณค่าทางนิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงสอดแทรกคุณค่าทางจริยธรรมเข้าไปด้วยผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง :๑. ประเสริฐ ณ นคร. ๒๕๑๔. มังรายศาสตร์. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเซียงจงเจริญ. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงโหตรกิตยานุพัทธ์ (อาสา โหตระกิตย์) ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ๔ เมษายน ๒๕๑๔).๒. กรมศิลปากร. ๒๕๖๐. ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๒๓ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗).๓. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. ๒๕๔๔. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.๔. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ม.ป.ป. ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่ (ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (สมัยราชวงศ์มังราย และสมัยพม่าปกครอง). ม.ป.ท.๕. อดิศร ศักดิ์สูง. ๒๕๕๐. “ผู้หญิงในกฎหมายมังรายศาสตร์.” วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. ๒ (๑) : ๗๒-๙๘.


          วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นางสาวเอมอร เชาวน์สวน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ เป็นประธานในกิจกรรม "วัฒนธรรมอาสา ทำความดีทั้งแผ่นดิน" เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ณ ห้องประชุมชั้น ๕ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ กรุงเทพฯ



การสำรวจการเพาะปลูกกัญชาในจันทบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๔-๒๔๗๕ กัญชา เป็นพืชที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากรัฐบาล ให้มีการแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับกัญชา ให้ประชาชนสามารถปลูกและใช้ประโยชน์ได้เสรีมากขึ้น ซึ่งในอดีตนั้นมีการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มาอย่างยาวนานปรากฎหลักฐานมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยาและปรากฎในตำรายาหลายฉบับ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช ๒๔๖๕" ออกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อปราบปราม "ฝิ่น" แต่อีก ๓ ปีถัดมา เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เห็นชอบคำแนะนำของอธิบดีกรมสาธารณสุข ให้เพิ่มชนิดยาเสพติดให้โทษในบัญชี โดยระบุว่า "ยาที่ปรุงด้วยกันชา (กัญชา) ก็ดี ยาผสมฤาของปรุงใดๆ ที่มีกันชาก็ดี กับทั้งยางกันชาแท้ฤาที่ได้ปรุงปนกับวัตถุใดๆ เหล่านี้ ให้นับว่าเปนยาเสพย์ติดให้โทษทั้งสิ้น" ด้วยเหตุนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๘ กัญชาจึงเป็นของผิดกฎหมาย ก่อนที่ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติกัญชา(กันชา) ในพุทธศักราช ๒๔๗๗ ซึ่งห้ามผู้ใดปลูก นำเข้า ซื้อขาย หรือครอบครองกัญชาโดยเด็ดขาด จึงเป็นจุดที่ทำให้กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในสังคมไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติกัญชา ๒๔๗๗ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม โดยกรมตำรวจกสิกรรม ได้มีการสำรวจการเพาะปลูกกัญชา ในจังหวัดต่างๆขึ้นในปี ๒๔๗๔ โดยสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อที่การเพาะปลูกในจังหวัด จำนวนผู้ปลูก จำนวนผลผลิตกัญชาต่อไร่ ฤดูกาลปลูกกัญชาในจังหวัด มีการใช้ประโยชน์จากกัญชาส่วนใดบ้าง และราคาของกัญชา เป็นต้น พระพิสิฐสุทธเลขา ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ในสมัยนั้นได้แจ้งไปยังอำเภอต่างๆ ให้สำรวจการเพาะปลูกกัญชาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อรายงานไปยังกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมต่อไป ซึ่งพบว่า ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔-๒๔๗๕ มีเพียงอำเภอมะขามเท่านั้นที่มีการเพาะปลูกกัญชา โดยปลูกกัญชากันในท้องที่กิ่งกำพุช มีประมาณ ๑ ไร่ ผู้ปลูกมีประมาณ ๑๐ คน จำนวนกัญชาที่ได้ต่อไร่ ประมาณ ๑ หาบ ซึ่งจะเริ่มเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม การใช้ประโยชน์ในพื้นที่นิยมใช้ต้นกัญชาและกะหรี่กัญชาหั่นและตำให้ละเอียด มวนปนกับยาสูบหรือใช้กล้องสูบ โดยหากเหลือขายจะขายอยู่ที่ ชั่งละ ๕๐ สตางค์ อดิศร สุพรธรรม นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (๑๓)มท ๑.๒.๕/๓๘ เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ส่งคำถามของกรมตรวจกสิกรรม เรื่องขอทราบการเพาะปลูกกัญชามาให้สอบสวน (๑๕ มีนาคม ๒๔๗๔ – ๒๒ เมษายน ๒๔๗๕) สรวลเฮฮา เล่าเรื่องกัญชาในประวัติศาสตร์ สืบค้นออนไลน์จาก https:/ /voicetv.co.th/read/B1Id7u_9X อ้างอิงภาพจาก https: //voicetv.co.th/read/B1Id7u_9X


ชื่อเรื่อง                                   สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                      25/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย                คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                 พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 55.8 ซม.หัวเรื่อง                                    พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคจาก จ. พระนครศรีอยุธยา


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่พระพุทธรูปปางมารวิชัยรูปแบบ : ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21  วัสดุ   :   สำริด ลงรักปิดทองประวัติ :  พบที่วัดศรีโขง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อคราวที่สำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อปีพ.ศ. 2502-2503ลักษณะ : พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย มีพระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระเนตรหรี่เหลือบต่ำฝังมุกและพลอย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นรูปลายสี่กลีบ ฐานเป็นแบบบัวคว่ำ- บัวหงาย มีลายเกสรบัว มีประดับเม็ดไข่ปลา รองรับด้วยฐานหกเหลี่ยม เจาะช่องกระจก และมีขาสามขา  ----------------------------------------------------พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะที่เหมือนกันกับพระพุทธรูปปางวิชัย ที่วัดพันเตา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีจารึกระบุปีที่สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2040 โดยจัดเป็นพระพุทธรูปกลุ่มขัดสมาธิราบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในยุคสมัยของพระเมืองแก้ว กำหนดอายุได้ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ในยุคนี้ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและนิยมการสร้างพระพุทธรูปเป็นอย่างมาก .จากลักษณะรูปแบบจะเห็นได้ว่ามีลักษณะสำคัญหลายประการที่เป็นข้อสังเกตของพระพุทธรูปในสมัยพระเมืองแก้ว ตัวอย่างเช่น .ส่วนของพระเนตรที่ทำหรี่เหลือบมองต่ำ ต่างจากพระพุทธรูปแบบเดียวกันในสมัยพระเจ้าติโลกราชที่นิยมทำพระเนตรเปิดกว้างและมองตรงมากกว่า.ส่วนของฐานที่ทำเป็นบัวคว่ำ-บัวหงาย มีลายเกสรบัวด้านใน ที่ฐานเหลี่ยมด้านล่างมีการเจาะช่องคล้ายลายก้อนเมฆ เรียกว่า “ช่องกระจก” ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน สันนิษฐานว่าช่างล้านนานำลายที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีนมาดัดแปลงเป็นลายประดับฐานและอาจจะช่วยความสะดวกในเรื่องการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปก็เป็นได้.ส่วนการทำขาสามขารองรับ โดยส่วนนี้มาจากสายท่อชนวนสำหรับหล่อพระพุทธรูปและเหลือไว้ไม่ตัดทิ้ง (โดยปกติเมื่อเสร็จแล้วจะตัดทิ้ง) จึงกลายเป็นลักษณะเฉพาะที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ .ส่วนของชายสังฆาฏิทำเป็นแผ่นค่อนข้างใหญ่ มักพบในศิลปะอยุธยา จึงสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยามาผสมด้วย ส่วนปลายมีลักษณะพิเศษ โดยตัดตรงและตกแต่งลวดลายบนส่วนปลาย เป็นลักษณะของพระพุทธรูปกลุ่มหนึ่งที่นิยมในสมัยนี้ อีกกลุ่มหนึ่งยังคงทำเป็นแบบปลายแยก 2 ชายม้วนเข้าหากันคล้ายเขี้ยวตะขาบ.นอกจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีลักษณะสำคัญอื่น ๆ ที่มักปรากฏในกลุ่มพระพุทธรูปอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในสมัยนี้ คือ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเท่ากันและเรียวยาว ส่วนใหญ่นิยมจารึกบอกศักราชปีที่สร้าง ตัวอย่างสำคัญคือ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ----------------------------------------------------อ้างอิง- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 243-244.ที่มารูปภาพพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพันเตา- ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ. (2547, 14 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121 ตอนที่ 55ง. หน้า 69.


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมสร้างความทรงจำ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปี การเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย โดยร่วมส่งภาพถ่ายของท่านที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย อาทิ ภาพการเข้าชม การเข้าร่วมกิจกรรม หรือการมอบโบราณวัตถุ เพื่อเก็บความทรงจำร่วมกัน โดยภาพถ่ายของท่านจะถูกนำไปสร้างความทรงจำภายในงาน "เก็บไว้ในความทรงจำ" กิจกรรมอำลาพิพิธภัณฑ์โฉมเก่า ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมกราคม ๒๕๖๖ นอกจากนี้ภาพเหล่านั้นยังถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการครบรอบ ๓๐ ปี การเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมายอีกด้วย:ภาพตัวอย่าง           ผู้สนใจสามารถส่งภาพถ่ายได้ที่ อีเมล phimaimuseum@hotmail.com หรือทางข้อความเพจเฟสบุ๊ก Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย หรือสามารถโพสต์เฟสบุ๊ก แล้วติดแฮชแท็ก #สร้างความทรงจำกับพชพิมาย ทั้งนี้ ทุกท่านที่ส่งภาพเข้ามาจะได้รับของที่ระลึก และผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับของรางวัลสุดพิเศษ  กำหนดส่งภาพได้ตั้งแต่วันนี้ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖             สอบถามเพิ่มเติมได้ทางเพจเฟสบุ๊กของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย https://www.facebook.com/PhimaiNationalMuseum หรือ โทร. ๐ ๔๔๔๘ ๑๒๖๙, ๐ ๔๔๔๗ ๑๑๖๗


ปทฺวาทสปริตฺต (ทฺวาทสปริตฺต-ตติยภาณวาร-ภาณปลาย) ชบ.บ 124/1จ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 162/7เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger