ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๔๙ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษก การจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง ในโอกาสครบรอบ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พุทธศักราช ๒๕๖๖ ในโอกาสครบรอบ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนา กรมศิลปากรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ เพื่อหารายได้นำเข้ากองทุนโบราณคดี ใช้ในการบูรณะโบราณสถาน และกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ การจัดสร้างครั้งนี้ ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ด้วยฝีมืออันงดงาม ถือเป็นการจัดสร้างครั้งแรก และจัดสร้างจำนวนจำกัด พิเศษคือใต้ฐานพระพุทธสิหิงค์จำลองทุกองค์ได้บรรจุไม้ช่อฟ้าเดิมซึ่งเป็นส่วนสูงสุดของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และเทียนชัยเข้าพรรษา ซึ่งถวายองค์พระพุทธสิหิงค์เพื่อเป็นนิมิตแห่งความสว่างไสวของชีวิต
กรมศิลปากรได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีเถาะ เวลา ๑๓.๔๙ น. ซึ่งเป็นวันมหาสิทธิโชค และตรงกับราชาแห่งฤกษ์ โดยพระเถรานุเถระ ผู้ได้รับความเคารพนับถือจากประชาชน ได้แก่ หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาสราชสงคราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะ จ.ชัยภูมิ หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ (พระอารามหลวง) จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อชำนาญ วัดชินวรารามวรวิหาร (พระอารามหลวง) จ.ปทุมธานี พระอาจารย์ธรรมนูญ วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี หลวงพ่อวราห์ ปุญญวโร วัดโพธิ์ทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ทั้งนี้ จะอัญเชิญวัตถุมงคลที่จัดสร้างทั้งหมดไว้ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นเวลา ๑ ราตรี เพื่อซึมซับความศักดิ์สิทธิ์จากองค์พระพุทธสิหิงค์ ถือเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจสั่งจองพระพุทธสิหิงค์ จำลอง พระกริ่งพระพุทธสิหิงค์ และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง ชั้น ๓ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ โทร. ๐ ๒๑๒๖ ๖๕๕๙ หรือ facebook page พระพิฆเนศวร ๑๐๘ ปี กรมศิลปากร
กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี ขอเชิญเที่ยวชมโบราณสถานยามค่ำคืน ณ โบราณสถานพระปรางค์สามยอด และโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 16.30 - 20.30 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี โทร. 0 3641 2510 ต่อ 112
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 74 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร ขอมฉบับ ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร ขอมฉบับ ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค
องค์ความรู้ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เรื่อง ภาพยนตร์เรื่องเล่า...เล่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแม่นาค เรื่องเล่าอำแดงนากหรือนางนากหญิงชาวพระโขนงตายทั้งกลมโดยศพนางนากถูกฝังในป่าช้า คลองพระโขนง แต่ด้วยความรักที่มีต่อสามีนางนากได้แปลงร่างเป็นคนอาศัยอยู่กินกับสามี ในที่สุดได้มีพระมาปราบผีนางนากจนสิ้นฤทธิ์นับแต่นั้นตำบลพระโขนงก็กลับคืนสู่ความสงบสุขอีกครั้ง หลังจากนั้นเรื่องเล่าแม่นาคได้ถูกนำมาสร้างในรูปแบบสื่อประเภทต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ละครเวที ละครเพลง นิยาย และเรื่องสั้น ซึ่งภาพยนตร์แม่นาคเรื่องแรก คือเรื่องนางนาคพระโขนง สร้างขึ้นในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ มีระบบการถ่ายทำ เป็นภาพยนตร์เงียบ ขาว-ดำ และใช้ฟิล์ม ๓๕ มม. ฉายที่ ศาลาเฉลิมบุรี โดยหม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ เป็นผู้กำกับ และ ร.วุธาทิตย์ เป็นผู้ประพันธ์ ในการนี้จึงรวบรวมภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องแม่นาคไว้เป็นหัวข้อภาพยนตร์เรื่องเล่า...เล่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแม่นาค สำหรับในอนาคตนั้นตำนานแม่นาคพระโขนงก็ยังคงเป็นเรื่องเล่าอย่างสืบไป เพียงแต่จะนำเสนอในสื่อต่างๆ ในรูปแบบใดเท่านั้นเองผู้รวบรวมและเรียบเรียง : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่แหล่งอ้างอิง :ชิษณุพงศ์ แจ่มปัญญา. “ผีแม่นากพระโขนง” อุบายของบุตรที่มิอยากให้บิดามีเมียใหม่ ?. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.silpa-mag.com/culture/article_34905 , ๒๕๖๓.ไทยบันเทิง. ไทยบันเทิง ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ทุกคน สามารถมีส่วนร่วมได้. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก: https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/ไทยบันเทิง.ศิลปวัฒนธรรม. “แม่นาก” ผีชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้อง กับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พระผู้ใหญ่ ได้อย่างไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.silpa-mag.com/history/article_22373 , ๒๕๖๕.หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). ภาพยนตรานุกรมแห่งชาติที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๙๙. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (มหาชน) , ๒๕๕๗.เอนก นาวิกมูล. เปิดตำนานแม่นากพระโขนง. กรุงเทพฯ : โนรา, ๒๕๔๓.เอนก นาวิกมูล. แม่นากภาคสมบูรณ์ (ปกแข็ง). กรุงเทพฯ : แสงดาว, ๒๕๖๕.Thai Movie Posters. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๕, จาก: https://www.facebook.com/ThaiMoviePosters.
ชื่อเรื่อง สพ.ส.71 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 158; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำรายาแผนโบราณ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ
ศิลาจารึกพ่อขุนรามพล
ศิลาจารึกลักษณะเป็นจารึกบนแผ่นหิน ๕ เหลี่ยม ทรงสูงด้านหลังเรียบกว้าง จารึกตัวอักษรที่ด้านทั้ง ๔ คือ ด้านหน้า ซึ่งมีพื้นที่กว้างตรงกลางเป็นสันนูน แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ เหลี่ยม และด้านข้างอีก ๒ ด้าน ส่วนด้านหลังไม่มีการจารึกตัวอักษร ตัวอักษรลบเลือนมาก
ซึ่งสันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาจากอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พร้อมกับพระร่วงโรจนฤทธิ์ โดยจารึกด้วยอักษรสมัยสุโขทัย ภาษาไทย เล่าเรื่องเกี่ยวกับการทำบุญ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณได้ให้ข้อสังเกตว่าจารึกหลักนี้มีลักษณะพิเศษกว่าจารึกหลักอื่น ๆ คือมีการร่างเส้นบรรทัด ด้วยการสลักหินเป็นเส้นลงในเนื้อหิน แล้วจึงจารึกตัวอักษร
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40149
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
#ขุดค้นขุดแต่งสะพานขอมโครงการขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานสะพานขอม ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ข้อมูลโดยสังเขป โบราณสถานสะพานขอม เป็นสะพานก่อด้วยศิลาแลง มีความกว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สูง ๓ เมตร บนสะพานทำเป็นพื้นเรียบ ยกขอบศิลาแลงเป็นสันขึ้นมาทั้งสองข้าง ส่วนด้านล่างที่เป็นเสาสะพานก่อด้วยศิลาแลงยาวตลอดความกว้างสะพาน โดยก่อเว้นเป็นช่อง ๑๑ ช่อง เพื่อรับน้ำหนักสะพานด้านบน และเป็นช่องให้น้ำไหลผ่านได้ สันนิษฐานว่า เดิมสะพานขอมเป็นสะพานข้ามลำน้ำสาขาของห้วยโมงที่ไหลมาจากด้านตะวันตกสู่หนองหารหลวงด้านเหนือ กำหนดอายุโดยพิจารณาจากหลักฐานสมัยวัฒนธรรมเขมรโบราณที่พบในพื้นที่จังหวัดสกลนครแล้ว ควรสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ หรือ ๑,๐๐๐ - ๘๐๐ ปีมาแล้ว⋯⋯✧⋯⋯✧⋯✦⋯✧⋯⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถานโทร. : 043-242129 Line : finearts8kk E-mail : fad9kk@hotmail.comTiktok : สำนักศิลปากรขอนแก่นพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี
ชื่อเรื่อง ประมวญความรู้ น.ธ.โทผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3076 ก241ปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรนิติปีที่พิมพ์ 2472ลักษณะวัสดุ 188 หน้า หัวเรื่อง ธรรมะ – การศึกษาและการสอน พระพุทธศาสนา – วินัย พุทธประวัติภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเรื่องราวของประมวญความรู้ น.ธ.โท เพื่อจะได้จำง่ายไม่กินเวลานานและไม่ต้องหาหนังสือหลายเล่ม มีครบในหนังสือเล่มนี้ บรรดาที่ควรย่อต่างๆ ตั้งแต่ต้นธรรมวิภาค วินัยบัญญัติ อนุพุทธประวัติ สังคีติกถา สำหรับนักธรรมชั้นโท
สมุดภาพงานมัณฑนศิลป์ในพระนครคีรี พระราชวังจันทรเกษม และพระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีเนื้อหาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ร่วมสมัยของงานมัณฑนศิลป์ในพระราชวังทั้ง ๓ แห่งกับงานมัณฑนศิลป์จีน อินเดีย ยุโรป และอเมริกา และนำเสนอมิติใหม่ในการจัดแสดงแก่ผู้เข้าชม แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ แรงบันดาลใจ การผสมผสาน และจินตนาการ เป็นงานศึกษา ค้นคว้าของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมัณฑนศิลป์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้รับความสนับสนุนจากที่ปรึกษาและความร่วมมือของคณะทำงานจากกลุ่มมัณฑนศิลป์ สำนักสำนักสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ และนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น สมุดภาพเล่มนี้จะช่วยสร้างความความเข้าใจและพัฒนารสนิยมสุนทรีย์ทางมัณฑนศิลป์ และสร้างจิตสำนึกให้สังคมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบต่อไป
ภายในเล่มมีเนื้่อหาประวัติทั้ง ๓ วัง บทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ ภาพถ่ายเก่าที่หายาก ภาพลายเส้นงานมัณฑนศิลป์ในพระราชวังทั้ง ๓ แห่ง ภาพลายเส้นเครื่องเรือนพร้อมขนาด และแผนที่เส้นทางในการเดินทาง พิมพ์ ๔ สีทั้งเล่ม จำหน่ายราคาเล่มละ ๓๒๐ บาท
ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อได้ที่สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร อาคารใหม่กรมศิลปากร ชั้นที่ ๔ ถ.ศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๖ ต่อ ๔๐๔ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้ง ๓ แห่ง
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง
เล่มที่
ตอนที่
หน้า
วันที่ประกาศ
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อสถานประกอบการค้าที่ได้รับอนุญาตให้ทำการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ (สถานประกอบการค้าโบราณวัตถุ จำนวน ๑๐๒ ร้าน สถานประกอบการค้าศิลปวัตถุ จำนวน ๗๑ ร้าน รวม ๑๗๓ ร้าน)
117
พิเศษ ๙๘ ง
18
๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (เจดีย์วัดดุสิตาราม กรุงเทพมหานคร)
117
พิเศษ ๑๐๓ ง
1
๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในท้องที่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดระยอง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย รวม ๑๗ แห่ง)
117
พิเศษ ๑๐๓ ง
2
๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดถ้ำเชียงดาว (วัดบ้านถ้ำ) อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่)
117
พิเศษ ๑๐๓ ง
5
๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ค่ายสีกุก อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
1
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ตึกแถวริมถนนตะนาว (ช่วงที่ ๑) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
2
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (เจดีย์หน้าวัดสนามไชยและวัดโพธิ์ ในท้องที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วัดโคกโพธิกุญชร ในท้องที่ จังหวัดลพบุรี, วัดมะเหยงคณ์ ในท้องที่ จังหวัดชัยนาท และวัดพรหมสาคร ในท้องที่ จังหวัดสิงห์บุรี)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
3
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (บ้าน พลตรี หม่องราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (บ้านเลขที่ ๑๙) กรุงเทพมหานคร)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
4
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดจุฬามุนี ในท้องที่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
5
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (กู่คูขาด (กู่แก้ว) วัดป่ากู่แก้ว อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
6
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (สะพานวรเสรษฐ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
7
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน (ป้อมปากน้ำแหลมทราย อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
8
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน (วังปารุสกวัน (ด้านเหนือ) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร)
117
พิเศษ ๑๐๔ ง
9
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓