ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

ชื่อผู้แต่ง           ธนิต  อยู่โพธิ์ ชื่อเรื่อง            ประวัติและโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ ครั้งที่พิมพ์        ๓ พ.ศ. ๒๕๑๑ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์ ปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๑๐              จำนวนหน้า          ๑๓๖ หน้า คำค้น               ศรีปราชญ์ หมายเหตุ  -                 หนังสือ โคลงกำศรวลศรีปราชญ์ เชื่อและกล่าวกันว่า ศรีปราชญ์ เป็นผู้แต่ง จึงเรียกว่า โคลงกำศรวลศรีปราชญ์ และกล่าวกันว่าศรีปราชญ์แต่งขึ้นเนื่องในคราวถูกเนรเทศให้ไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราช



พิธีเปิดโครงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ปีงบประมาณ ๒๕๕๙โดยมีนายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมานายอำเภอพิมาย เป็นประธานในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมายอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


ผู้แต่ง :  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่1   สถานที่พิมพ์  :  โรงพิมพ์ครุสภา   ปีที่พิมพ์  :  2506   หมายเหตุ  :   -   จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘                จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้  ฉบับที่ 1  เมืองชุมพร ฉบับที่ 2  ท่าไม้ แขวงเมืองชุมพร  ฉบับที่ 3  พระที่่นั่งรัตนรังสรรค์ ระนอง  ฉบับที่ 4 เรือถลาง หน้าเกาะคอยาว ( เมืองตะกั่วป่า ) ฉบับที่ 5  ที่ประทับตำบลสามกอง เมืองภูเก็ต  ฉบับที่ 6  เรือถลาง เดินทางไปพังงา  ฉบับที่ 7 เรือถลางจอดหน้าเกาะอ่าวนาง แขวงเมืองกระบี่ ฉบับที่ 8  ตำหนักจันทน์ เมืองตรัง  ฉบับที่ 9 พลับพลาตำบลทับเที่ยง อำเภอบางรัก แขวงเมืองตรัง  ฉบับที่ 10  พลับพลาอำเภอเขาขาว  แขวงเมืองตรัง  ฉบับที่ 11 ตำบลกะปางแขวงเมืองนครศรีธรรมราช และ  ฉบับที่ 12 เรือถลาง เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร


          วัดสรศักดิ์ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัยด้านเหนือ บริเวณใกล้กันกับศาลตาผาแดง วัดตระพังสอ และวัดซ่อนข้าว ณ วัดแห่งนี้ได้ค้นพบศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ กล่าวว่า นายอินทสรศักดิ์ได้ขอพระราชทานที่ดิน ขนาดกว้าง ๑๕ วา ยาว ๓๐ วา จากออกญาธรรมราชา เจ้าเมืองสุโขทัยในขณะนั้น เพื่อสร้างอารามถวาย ครั้นสร้างสำเร็จแล้วจึงให้นิมนต์พระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ จากตำบลดาวขอน ผู้เป็นน้าของออกญาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัย ให้มาจำพรรษาที่วัดนี้ด้วย           ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๕๙ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ขณะยังทรงพระเยาว์ได้เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล พร้อมพระราชมารดาและพระมาตุจฉา (น้า) ที่เมืองสุโขทัย การเสด็จคราวนี้พระมาตุจฉาได้เสด็จเข้าพำนักยังพระตำหนักหัวสนามเก่าด้านทิศตะวันตกติดกับวัดสรศักดิ์ ความในศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ตอนนี้เองที่ช่วยชี้ตำแหน่งของพระตำหนักหรือวังของเจ้านาย ตลอดถึงกษัตริย์ของสุโขทัยว่าควรจะอยู่ตรงบริเวณทิศตะวันตกของวัดสรศักดิ์เหนือศาลตาผาแดง และที่ปัจจุบันเป็นถนนจากวัดมหาธาตุ ผ่านระหว่างศาลตาผาแดง วัดสรศักดิ์ และพระตำหนักสู่ประตูศาลหลวงด้านทิศเหนือนี้ คือ “สนาม” ที่กล่าวถึงในจารึกวัดสรศักดิ์           ลักษณะเด่นของวัดนี้คือ มีเจดีย์ประธานทรงระฆัง หรือทรงลังกาอีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้างมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย คือ เจดีย์ทรงระฆังกลมที่มีช้างล้อมรอบฐาน ตามความเชื่อว่าช้างเป็นสัตว์พาหนะของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ที่คู่ควรกับการเป็นพาหนะค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนตลอด ๕,๐๐๐ ปี ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่ได้มอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ จากกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพบานประตูวิหารวัดหมื่นล้านโดยละเอียด หลังจากมีการทาสีทับลายรดน้ำบนบานประตูวิหารนั้น ได้รับรายงานว่า จากการตรวจสอบพบว่าชั้นของสีที่ทาทับบนบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน ประกอบด้วย ชั้นที่ ๑ ชั้นรองพื้นประเภทเรซิ่น เป็นการปรับพื้นผิวบานประตูให้เรียบเสมอกัน ชั้นที่ ๒ สีน้ำมัน (ที่นิยมใช้รองพื้นก่อนปิดทอง) สีแดง มีลักษณะบาง และชั้นที่ ๓ สีน้ำมันสีดำ           กระบวนการละลายชั้นสีที่ทาทับ ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ ชั้นที่ ๑ ชั้นรองพื้นประเภทเรซิ่น เพราะเป็นวัสดุที่ไม่มีตัวทำละลาย และหากปล่อยไว้จะทำปฏิกิริยากับอากาศทำให้แข็งตัวจับยึดแน่นกับภาพลายรดน้ำเดิม ซึ่งชั้นเรซิ่นนี้มีชั้นสีน้ำมันทาทับอยู่ จึงยังไม่แข็งตัวสามารถละลายออกได้ โดยเมื่อดำเนินการจะต้องประคองสภาพไม่ให้ชั้นเรซิ่นแข็งตัวเร็วขึ้น และค่อยๆ ละลายชั้นสีที่ปิดทับอยู่ทีละส่วน ไม่ละลายออกทีเดียวทั้งหมด โดยในขณะนี้กำลังทดสอบน้ำยาเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อใช้ในการดำเนินการ           ส่วนของระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินการละลายชั้นสีทั้งหมดออกจนแล้วเสร็จ ในเบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าน่าจะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ ๓๐ วัน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการดำเนินงานในแต่ละส่วน ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อลายรดน้ำดั้งเดิม และคืนสภาพลายรดน้ำบนบานประตูวิหารวัดหมื่นล้านไว้ให้ได้มากที่สุดต่อไป           วัดหมื่นล้าน เป็นโบราณสถานที่ไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ตามประวัติระบุว่า สร้างโดยหมื่นโลกสามล้าน หรือ หมื่นด้งนคร ผู้เป็นขุนศึกคู่พระทัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย ในปีมะเส็ง จุลศักราช ๘๒๒ หรือตรงกับ พ.ศ. ๒๐๐๒ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีบันทึกระบุว่า หลวงโยนะการพิจิตร ซึ่งเป็นคหบดีได้สร้างขึ้นมาทดแทนของเดิมที่เสียหาย ช่วงปี จ.ศ. ๑๒๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๐


องค์ความรู้ เรื่อง งานประเพณีทิ้งกระจาด จังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี



***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 17     ฉบับที่ 674    วันที่ 16-31 มีนาคม 2535


งานจดหมายเหตุเป็นกระบวนการดำเนินงานเก็บรวบรวมเอกสารการปฏิบัติงานทุกรูปแบบที่หน่วยงานเจ้าของเอกสารผลิตขึ้น เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและสิ้นกระแสการปฏิบัติงานแล้ว นำมาประเมินว่ามีคุณค่าในฐานะข้อมูลชั้นต้นที่แสดงถึงการพัฒนาการของหน่วยงานและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของประเทศ



สาส์นสมเด็จลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค ๔๓)





องค์ความรู้ เรื่อง การดูแลรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเบื้องต้น (ประเภทดินเผา) ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล โดย น.ส.ชุติณัฐ ช่วยชีพ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อ้างอิง : ๑. จิรา จงกล. พิพิธภัณฑสถานวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๗. ๒. ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ. การอนุรักษ์ศิลปโบราณวัตถุเบื้องต้น. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๔๗. ๓. มิโอดอฟนิก มาร์ก. วัสดุนิยม. แปลโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล. กรุงเทพฯ : โอเพ่น เวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, ๒๕๖๐.


Messenger