ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
แผ่นดินเผารูปเทวดาเหาะ จำนวน ๒ แผ่น พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แผ่นดินเผาขนาดใหญ่ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แผ่นที่ ๑ มีสภาพเกือบสมบูรณ์ กว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ยาว ๓๖ เซนติเมตร แผ่นที่ ๒ ชำรุดหักหายไปส่วนหนึ่ง กว้างประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ยาว ๓๒ เซนติเมตร หากมีสภาพสมบูรณ์น่าจะมีรูปแบบเช่นเดียวกับแผ่นดินเผาแผ่นที่ ๑ แผ่นดินเผาทั้งสองแผ่นมีการตกแต่งผิวหน้าด้วยภาพนูนต่ำรูปบุคคลเหาะ สันนิษฐานว่าผลิตขึ้นโดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์แล้วนำไปเผา เพื่อให้ได้ประติมากรรมรูปแบบเดียวกันจำนวนหลายชิ้น มีร่องรอยแกลบข้าวในเนื้อดิน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐ หรือประติมากรรมดินเผาที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) รูปบุคคลในท่าเหาะ ซึ่งน่าจะหมายถึงเทวดาเหาะนี้ ยกเข่าซ้ายตั้งขึ้น งอเข่าขวาเหยียดไปทางด้านหลัง มือซ้ายยกขึ้นระดับอกถือวัตถุซึ่งน่าจะเป็นดอกไม้ ส่วนมือขวาปล่อยไปทางด้านหลัง สวมเครื่องประดับศีรษะ ตุ้มหูแบบห่วงกลมขนาดใหญ่ และสร้อยคอ นุ่งผ้าสั้นเหนือเข่า คาดผ้าผูกเอวโดยผูกเป็นปมที่ด้านขวาและปล่อยชายผ้าปลิวไปทางด้านหลังแสดงถึงการเคลื่อนไหว ลักษณะของเทวดาเหาะนี้คล้ายคลึงกับรูปเทวดาเหาะที่พบในภาพสลักเล่าเรื่อง และบนประภามณฑลของพระพุทธรูป ซึ่งปรากฏในศิลปะอินเดียหลายสมัย ทั้งนี้ช่างพื้นเมืองทวารวดีน่าจะรับอิทธิพลทางด้านรูปแบบมาปรับเปลี่ยนจนมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน แผ่นดินเผานี้น่าจะใช้เพื่อประดับส่วนฐานของเจดีย์ ในลักษณะเดียวกับประติมากรรมรูปคนแคระแบกที่พบทั่วไปตามเมืองโบราณสมัยทวารวดี หรืออาจประกอบอยู่กับภาพเล่าเรื่องประดับเจดีย์ก็เป็นได้ นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทองแล้วยังพบประติมากรรมรูปบุคคลเหาะในลักษณะคล้ายกัน เป็นประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถานที่เขาคลังใน เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ อีกด้วย---------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ---------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. วิภาดา อ่อนวิมล. “อิฐมีลวดลายในสมัยทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. รายงานการวิจัยเรื่องพัฒนาการของเมืองอู่ทองจากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙.
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณหิสวิไชย)
สพ.บ. 241/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 10 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภธมฺม (สังคิณี-ยมก)
สพ.บ. 375/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 92 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.38/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.315/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4.5 x 52 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 129 (321-328) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ ๖๐ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๔๐๕ โดยได้รับพระราชทานพระราชหัตถเลขาตั้งพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๐๕ ซึ่งเป็นวันทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา" พระราชหัตถเลขามีดังนี้
"ศุภมัสดุ สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้บิดา ขอตั้งนามกรแก่บุตรี ที่ประสูติแต่เปี่ยมผู้มารดา ในวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๒ ค่ำ ปีจอจัตวาศก ศักราช ๑๒๒๔ นั้นว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา วัคมูลคู่ธาตุเป็นอาทิอักษร วัคอายุเป็นอันตอักษร ขอให้จงเจริญพระชนมายุพรรณ สุข พล ปฏิภาณ ศุภสารสมบัติ ศรีสวัสดิพิพัฒนมงคล พิบูลพูนผลทุกประการเทอญ"
สำหรับพระพรที่ทรงผูกเป็นภาษามคธกำกับลายพระราชหัตถเลขาตั้งพระนามว่า "สฺวางฺควฑฺฒนา" สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงพระนิพนธ์แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า
"เราได้ตั้งนามของบุตรีในราชสกุลนี้ว่า "สว่างวัฒนา" ดังนี้ ขอบุตรีนั้นจงเป็นผู้มีสุข เลี้ยงง่าย ไม่มีโรค ไม่มีอุปัทวันตราย มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ดำรงอิศริยยศตั้งอยู่ในพระบรมราชวงศ์ที่ประเสริฐสูงสุดของพระบิดายั่งยืนกาลนานเทอญ"
พระองค์มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น ๖ พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ ๖ พรรษา พระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นรัชกาลที่ ๕ ในราชวงศ์จักรี พระฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา จึงเปลี่ยนเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา
พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เมื่อทรงเจริญพระชันษา ได้เป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ ๕ ขณะที่มีพระชนม์ ๑๖ พรรษา โดยมีพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔ ที่รับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับพระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี และพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๑๐ พระองค์ เป็นพระราชโอรส ๔ พระองค์ เป็นพระราชธิดา ๔ พระองค์ ตกเสียก่อนเป็นพระองค์ ๒ ดังต่อไปนี้
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร,
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์,
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี,
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์,
สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร,
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี
และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กำพร้าพระมารดาอีก ๔ พระองค์ คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพร้อม
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี โดยข้าราชสำนักในสมัยนั้นออกพระนามว่า สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าฯ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่าทรงนับถือสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าดังเช่นสมเด็จพระบรมราชชนนี สมควรเฉลิมพระเกียรติยศให้ใหญ่ยิ่ง เพื่อเป็นที่ทรงปฏิบัติบูชาต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระพันวัสสา" มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ข้าราชสำนักจึงออกพระนามกันทั่วไปว่า สมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า สืบต่อมา
เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดา เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระนามสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตามพระราชสัมพันธ์ที่สมเด็จฯ ทรงมีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ คือเป็นพระอัยยิกา (ย่า) และทรงดำรงพระอิสริยยศนี้จนตลอดพระชนมายุ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จสวรรคตในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๙๘ สิริพระชนมายุได้ ๙๓ พรรษา
ภาพจากซ้ายไปขวา : สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี, สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ
ชื่อเรื่อง : เวชปฏิบัติ ภาคผนวก คู่มือการใช้ยา ชื่อผู้แต่ง : คณะแพทย์ศาสตร์บัณฑิต ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์จำนวนหน้า : 546 สาระสังเขป : หนังสือเวชปฏิบัติ ภาคผนวก คู่มือการใช้ยา เล่มนี้ คณะผู้รวบรวมซึ่งเป็นนายแพทย์คณะหนึ่งได้จัดการรวบรวมตำรับตำรายาสำคัญๆ ที่สามารถนำมาใช้แก้ไขเหตุการณ์ก่อนที่จะไปพบแพทย์ เพื่อให้ทำการรักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี รวมทั้งจำพวกยาสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดด้วยเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าใจถึงสรรพคุณของยาแต่ละชนิดแต่ละอย่าง เพื่อนำไปใช้รักษาโรคที่เป็นอยู่อย่างน้อยก็เป็นการดีแก่ผู้ที่รู้บ้าง
การสำรวจศิลปกรรมประเภทแกะสลักหินทรายบนทับหลัง โบราณสถานประเภท อโรคยาศาล..."ปราสาทโคกงิ้ว"
โดย นายรัชฎ์ ศิริ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส
ปราสาทโคกงิ้ว หมู่ที่ ๓ บ้านโคกงิ้ว ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๐ ตอนที่ ๓๖ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๖ พื้นที่โบราณสถาน ๑ ไร่ ๓ งาน ๘๗ ตารางวา
องค์ประกอบของโบราณสถาน
๑.ปรางค์ประธาน เป็นปรางค์ขอมสร้างด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตรัสย่อมุม มีขนาดประมาณ ๕x๕ เมตร มีประตูทางด้านทิศตะวันออก อีก ๓ ด้านเป็นประตูหลอก อยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐาน
๒.บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลง ขนาดประมาณ ๔x๗ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน จากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังแกะสลักหินทรายรูปคชลักษมี ซึ่งหล่นอยู่ภายในบรรณาลัย และได้นำไปเก็บไว้ เพื่อจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
๓.กำแพงแก้วและซุ้มประตู กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดประมาณ ๒๕x๒๕ เมตร มีซุ้มประตูหินทราย(โคปุระ)อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลง
๔.สระน้ำประจำโบราณสถาน ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกกำแพงแก้ว เป็นสระดินขนาดประมาณ ๑.๐๐x๑.๕๐ เมตร
ร่ายระบำฟ้อนกิงกะหร่า ฟ้อนกิงกะหร่า เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของชาวไทใหญ่ โดยมีความเชื่อมาจากพุทธศาสนา กิงกะหร่า ในความหมายตามสารพจนานุกรม คือ ชื่อของ กินนร หรือ กินรี ใช้พูดในภาษาไทใหญ่ หมายถึงสัตว์หิมพานต์ ที่มีท่อนล่างเป็นนก ท่อนบนเป็นคน ได้รับอิทธิพลการฟ้อนมาจากประเทศพม่าโดยมีชื่อว่า ฟ้อนนกเก็งไนยา ประวัติความเป็นมาของการฟ้อนกิงกะหร่านั้น มีเรื่องเล่าว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากจำพรรษาเพื่อโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ขณะเสด็จลงสู่โลกมนุษย์นั้น พุทธศาสนิกชนได้พร้อมใจกันนำอาหารไปทำบุญตักบาตร หรือที่รู้จักกันดีว่า "การตักบาตรเทโวโรหนะ" และเหล่าสัตว์ต่าง ๆ จากป่าหิมพานต์ คือ กินนรและกินนรี พากันออกมาฟ้อนร่ายรำเพื่อถวายการเคารพบูชา ในการแสดงฟ้อนกิงกะหร่า จะแสดงท่าทางอากัปกิริยาเลียนแบบนกกินรี ผู้แสดงมีได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใส่ชุดที่ประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ลำตัว ปีก หาง ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย แต่ละส่วนขึ้นโครงก่อนแล้วจึงติดผ้าแพร ประดับเพิ่มด้วยกระดาษสีต่าง ๆ ตัดเป็นลวดลายให้ตัวนกงดงามมากขึ้น จากนั้นใช้เชือกปอหรือหนังยางรัดให้แน่น อีกทั้งทำเชือกโยงดึงไปทั้งปีกและหาง เพื่อให้ขยับได้สมจริง ส่วนตัวผู้แสดงนั้นมักแต่งชุดสีเดียวกับส่วนหัวและส่วนหาง เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฟ้อนนกกิงกะหร่านี้ มี กลองก้นยาว ๑ ลูก มอง (ฆ้อง) ๔ - ๕ ใบ (มักเป็นฆ้องราว) และฉาบ (แส่ง) ๑ คู่ โดยจะใช้จังหวะของกลองประกอบการฟ้อน เมื่อนกทำท่าบิน คนจะตีกลองเป็นทำนองหนึ่ง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นท่านกกระโดดโลดเต้น จึงจะเปลี่ยนทำนองการตีกลอง เป็นต้น การแสดงฟ้อนกิงกะหร่านี้ มักใช้แสดงในประเพณีเดือน ๑๑ ในเทศกาล "ออกหว่า" หรือ ออกพรรษา ของชาวไทใหญ่ ซึ่งมักแสดงควบคู่กับฟ้อนโตหรือเต้นโตผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง :๑. อุดม รุ่งเรืองศรี. ม.ป.ป. "ฟ้อนกิงกะหร่า". สารานุกรมวัฒนธรรมไทย(Online). https://db.sac.or.th/thailand-cultural.../detail.php... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕.๒. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ม.ป.ป. "ข้อมูลการฟ้อนนกกิงกะหร่าและการเต้นโต". โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชฏักเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา(Online). https://online.pubhtml5.com/aofc/ufdf/#p=2 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕.
วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมในพิธีถวายราชสักการะ เเละลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๑๐) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม