ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,788 รายการ
วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมในพิธีถวายราชสักการะ เเละลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๑๐) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
วัดโบสถ์การ้อง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก มีแม่น้ำนครนายกไหลผ่านทางด้านทิศเหนือของวัด ข้อมูลจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรกล่าวว่าวัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ อาคารเสนาสนะภายในวัดได้แก่ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ และมณฑปเก่า
มณฑปเก่าวัดโบสถ์การ้องเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม มณฑปหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีทางเข้าออก ๓ ทาง ยกเว้นด้านทิศใต้ โครงสร้างหลังคาเป็นไม้ ทรงจั่ว หลังคามุงด้วยสังกะสี ผนังด้านทิศเหนือของมณฑปเจาะช่องประตูประดับบานประตูไม้ กรอบประตูยังมีโครงสร้างไม้ให้เห็นอยู่ และมีแผ่นไม้เหนือกรอบประตูตกแต่งด้วยการฉลุไม้เป็นลายก้านขดในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังด้านทิศใต้เป็นผนังทึบ ส่วนผนังด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเจาะช่องประตูแต่ไม่มีบานประตู สันนิษฐานว่าคงเสื่อมสภาพและนำออกไปแล้ว ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพเรื่องวิถีชีวิตของผู้คนอยู่ที่ผนังด้านทิศใต้และทิศตะวันออก
-----------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง : ข้อมูลวัดในจังหวัดนครนายก จังหวัดสระบุรี และจังหวัดสิงห์บุรี ที่พบหลักฐานทางโบราณคดี โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ โดย สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา
------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นางสาวอลิสา ขาวพลับ นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา
------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ >> ปางพิจารณาชราธรรม <<ลักษณะ : พระพุทธรูปในอิริยาบถนั่ง พระหัตถ์ซ้ายและขวาวางคว่ำบริเวณพระชานุทั้งสองข้าง เป็นปางจากพุทธประวัติของเหตุการณ์ในพรรษาที่ 45 พรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ พระพุทธองค์ประทับ ณ บ้านเวฬุวคาม ทรงประชวรหนักเกิดทุกขเวทนา ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาด้วยอธิวาสนขันติ และบำบัดขับไล่อาพาธให้สงบระงับด้วยความเพียรในอิทธิบาทภาวนาครั้นหายประชวรเป็นปกติแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่พระอานนท์ว่า “บัดนี้ เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยเสียแล้ว ชนมายุกาลแห่งเราถึง 80 ปีเข้าแล้วนี่ กายแห่งคถาคตย่อมเป็นประหนึ่งเกวียนชำรุดที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ มิใช่สัมภาระเกวียนฉะนั้น” พระองค์ทรงเปรียบเทียบสังขารว่าเหมือนเกวียนเก่า ซึ่งต้องใช้ไม้ไผ่ผูกดามกระหนาบ----------------------------------------------------------ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีพระราชประสงค์จะบำเพ็ญพระราชกุศลเช่นบูรพกษัติรย์ในสมัยอยุธยาได้เคยปฏิบัติ คือ การสร้างพระพุทธรูปถวายเป็นพุทธบูชาในพระพุทธศาสนา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพุทธอิริยาบถปางต่าง ๆ ตามเรื่องที่มีในพุทธประวัติ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มเติมขึ้น อาทิ ปางทุกรกิริยา ปางรับมธุปายาส ปางลอยถาด ปางรับกำหญ้าคา ฯลฯ โดยมี “ปางพิจารณาชราธรรม” รวมอยู่ด้วย ซึ่งปางนี้ได้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1.พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคราวนี้เป็นแบบอย่างของพุทธศิลปะแบบแผนสกุลช่างกรุงเทพฯ ที่สำคัญ ปัจจุบันพระพุทธรูปดังกล่าวได้ประดิษฐานในหอราชกรมานุสรณ์ และหอราชพงศานุสรณ์ ทางด้านตะวันตกของพระอุโบสถวัดศรีรัตนศาสดาราม.ปางพิจารณาชราธรรมเป็นปางที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการสร้างเหมือนกับปางมารวิชัย หรือ ปางสมาธิที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มักพบเจอพระพุทธรูปปางนี้ได้ไม่บ่อยนัก.ตัวอย่างหนึ่งที่พบในสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ได้มีการสร้างพระพุทธรูป 80 องค์รอบพระระเบียงองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม สร้างขึ้นจากศรัทธาบริจาคของพุทธศาสนิกชน โดยมี 66 องค์เป็นปางที่สร้างขึ้นตามเหตุการณ์สำคัญตอนต่าง ๆ ในพุทธประวัติ และหนึ่งในนั้นก็ได้สร้างพระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรมนี้ไว้ด้วย.และจากเหตุการณ์เจดีย์ถล่มที่วัดศรีสุพรรณ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มีการพบพระพุทธรูปที่ถูกบรรจุอยู่ภายในเจดีย์จำนวนมาก และหนึ่งในนั้นก็ได้พบพระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรมเช่นกัน ซึ่งแทบไม่เคยพบในพระพุทธรูปล้านนามาก่อน จากประวัติการคิดค้นปางนี้มีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา จึงสันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปปางนี้น่าจะเป็นการบรรจุเพิ่มปะปนรวมกับพระพุทธรูปของเดิมสมัยพระเมืองแก้วกลับเข้าไปในตอนซ่อมเจดีย์ในสมัยหลังก็เป็นได้--------------------------------------------------------อ้างอิง- สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ, 2535. หน้า 178-179.- กรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2558. หน้า 12-13, 90.- สมพร อยู่โพธิ์. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2514. หน้า 7-10, 128-129.- ไขศรี ศรีอรุณ. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ในสยามประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, 2561. หน้า 71.- ธนากิต. ประวัติพระพุทธรูปปางต่าง ๆ. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2544. หน้า 261-263.ที่มาของภาพ1. ภาพพระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม ประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม- สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ, 2535. 2. ภาพพระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม ประดิษฐานรอบพระระเบียงองค์พระปฐมเจดีย์- กรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2558. 3. ภาพลายเส้นพระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม - สมพร อยู่โพธิ์. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2514.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 33/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
อาฎานาฎิยสุตฺต (อาฎานาฎิยสูตร) ชบ.บ 125/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 163/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดี แสดงภาพพุทธประวัติ ตอน “มหาปาฏิหาริย์”
ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผารูปบุคคลยืนตริภังค์ (เอียงสะโพก) จำนวน ๓ ชิ้น เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง มีรายละเอียดดังนี้
ชิ้นที่ ๑ กว้าง ๘ เซนติเมตร สูง ๗.๕ เซนติเมตร ด้านหน้ามีภาพบุคคลยืนตริภังค์ แสดงอัญชลีมุทรา ไม่ปรากฏฉลองพระองค์ สภาพชำรุดเหลือเฉพาะส่วนพระศอลงมาจนถึงพระโสณี ด้านหลังแบนเรียบ
ชิ้นที่ ๒ กว้าง ๘ เซนติเมตร สูง ๙ เซนติเมตร ด้านหน้ามีภาพบุคคลยืนตริภังค์ ผินพระพักตร์ไปด้านซ้าย พระหัตถ์ขวาวางไว้บริเวณพระโสณีทรงก้านดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระพาหา ไม่ปรากฏฉลองพระองค์ สภาพชำรุดมีเฉพาะส่วนพระเศียรลงมาจนถึงพระอูรุ (ต้นขา) ด้านหลังแบนเรียบ
ชิ้นที่ ๓ กว้าง ๘.๕ เซนติเมตร สูง ๑๒ เซนติเมตร ด้านหน้ามีภาพบุคคลยืนตริภังค์ พระหัตถ์ซ้ายวางไว้บริเวณพระโสณี (สะโพก) ทรงถือก้านดอกบัว พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระพาหา ไม่ปรากฏฉลองพระองค์ แต่ทรงพระภูษาซึ่งยาวถึงพระชงฆ์ สภาพชำรุดพระเศียรหักหายไป ด้านหลังแบนเรียบ
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบชิ้นส่วนรูปบุคคลทั้ง ๓ ชิ้นกับพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีชิ้นอื่นๆ พบว่า มีลักษณะตรงกับรูปบุคคลที่ปรากฏบนพระพิมพ์ดินเผาซึ่งสันนิษฐานว่าแสดงภาพพุทธประวัติ ตอน “มหาปาฏิหาริย์” แสดงถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี โดยประทับบนดอกบัวที่เนรมิตขึ้นโดยราชานาคนันทะและอุปนันทะ มีพระอินทร์ พระพรหม และเหล่าเทวดาทั้งหลายลงมาเฝ้า ตัวอย่างพระพิมพ์ปางดังกล่าว ได้แก่ พระพิมพ์ที่พบบริเวณบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีลักษณะเป็นพระพิมพ์ดินเผาขนาดใหญ่ สูง ๓๓.๘ เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางมีภาพพระพุทธเจ้าประทับขัดสมาธิราบบนดอกบัวมีก้าน มีประภามณฑลเป็นวงโค้งรอบพระเศียร พระหัตถ์ขวาแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ด้านข้างซ้ายขวามีรูปบุคคลยืนตริภังค์ทรงดอกบัว สันนิษฐานว่าอาจเป็นราชานาคนันทะและอุปนันทะ ถัดขึ้นไปด้านซ้ายขวามีภาพบุคคลยืนตริภังค์แสดงอัญชลีมุทรา สันนิษฐานว่าอาจเป็นพระอินทร์และพระพรหม
จากการศึกษาเปรียบเทียบกับพระพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น จึงสันนิษฐานว่าชิ้นส่วนทั้ง ๓ ชิ้น แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของพระพิมพ์ดินเผารูปแบบเดียวกัน คือพระพิมพ์ดินเผาแสดงภาพพุทธประวัติ ตอน “มหาปาฏิหาริย์” โดยชิ้นที่ ๑ เป็นชิ้นส่วนมุมบนขวา เป็นรูปของพระพรหม ส่วนชิ้นที่ ๒ และ ๓ เป็นชิ้นส่วนมุมล่างขวาและซ้ายตามลำดับ และเป็นรูปของราชานาคนันทะและอุปนันทะ แม้ชิ้นส่วนพระพิมพ์ทั้ง ๓ ชิ้นนี้จะอยู่ในสภาพชำรุด แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงถึงรูปแบบพระพิมพ์ดินเผาขนาดใหญ่ที่เป็นรูปแบบพิเศษที่ปรากฏในสมัยทวารวดี เนื่องจากพบจำนวนไม่มากนัก กำหนดอายุชิ้นส่วนพระพิมพ์ทั้ง ๓ ชิ้นนี้ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
อนึ่ง น่าเสียดายว่าไม่สามารถระบุที่มาของชิ้นส่วนพระพิมพ์ทั้ง ๓ ชิ้น ดังกล่าวได้แน่ชัด ว่ามีที่มาจากพระพิมพ์องค์เดียวกันหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้พบชิ้นส่วนทั้ง ๓ ชิ้น ร่วมกัน โดยได้จากการสำรวจทางโบราณคดี ๒ ชิ้น และรับมอบจากการบริจาคของประชาชน ๑ ชิ้น
เอกสารอ้างอิง
ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
สินชัย กระบวนแสง. “พระพิมพ์ซึ่งพบที่บ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี”. ใน รายงานเบื้องต้น การขุดค้นโบราณสถานสมัยทวารวดี ที่บ้านคูเมือง ตำบลบางชัน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๑๙.
ที่มารูปภาพ
ภาพพระพิมพ์ดินเผาแสดงภาพพุทธประวัติ ตอน “มหาปาฏิหาริย์”จากบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จาก Jean Boisselier, “Travaux de la mission archeologique francaise en Thailande (juillet-novembre 1966), ” fig.60. อ้างถึงใน ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง อนุสรณืในงานพระราชทานเพลิงศพนางเที่ยง คงฤทธิศึกษาการ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ ศิลปสนองการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2533
จำนวนหน้า 76 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางเที่ยง คงฤทธิศึกษาการ
รายละเอียด เป็นหนังสือเรื่องทิศ 6 เล่มนี้พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานศพ เป็นหนังสือประกวด ประเภทธรรมะที่ชนะเลิศการประกวดประจำปี ๒๔๗๖ ซึ่งแต่งโดยพระครูวิจิตรธรรมคุณ หรือ ตำแหน่งในขณะนั้นของสมเด็จพระอริยวงศวคตญาณ (วาสนมหาเถระ)สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ทำเนียบสมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชคณะที่พระศาสนโสภณ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไทยเขษม
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๒๒๔ หน้า
หนังสือทำเนียบสมณศักดิ์รองสมเด็จพระราชาคณะ ที่พระศาสนโสภณ จัดพิมพ์ขึ้นเป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระศาสนโสภณ (เยื้อน ชินทตฺโต ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เจ้าคณะภาค ๑-๒-๓ และ ๑๒-๑๓ (ธรรมยุต) พระอุดมสารโสภณ (ผาสุก) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสจัดพิมพ์น้อมอุทิศส่วนกุศลถวาย รวบรวมประวัติ การได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ประวัติชาติภูมิ ตลอดจน กำหนดการพระราชทานน้ำสรงศพ กำหนดการบำเพ็ญกุศล พิธีสงฆ์ต่างๆ และกำหนดการงานพระราชทานเพลิงศพ
เลขทะเบียน : นพ.บ.437/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 157 (141-148) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : เทวทูตสูตร--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.584/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 189 (372-377) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
อาคารศาลแขวงเชียงใหม่ อาคารศาลแขวงเชียงใหม่ สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นอาคารสองชั้น เดิมใช้เป็นที่ทำการศาลมณฑลพายัพ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ กำหนดระเบียบการบริหารส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นจังหวัด อำเภอ ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล พระธรรมนูญศาลยุติธรรมแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงระบุให้เลิกศาลมณฑลและให้ศาลมณฑลแต่เดิมมีฐานะเป็นศาลจังหวัด ต่อมามีการจัดตั้งศาลแขวงเชียงใหม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งเริ่มเปิดทำการตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๐ มีเขตอำนาจครอบคลุมท้องที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ และใช้อาคารเดียวกับศาลจังหวัดเชียงใหม่เป็นที่ทำการ ต่อมาศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ย้ายที่ทำการเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗ จึงเหลือแต่ศาลแขวงเชียงใหม่ที่ใช้อาคารหลังนี้ จนถึงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๗ ศาลแขวงเชียงใหม่ได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ สถานที่ใหม่ และเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ขอใช้ประโยชน์อาคารศาลแขวงเดิมจากสำนักงานศาลยุติธรรมและกรมธนารักษ์เพื่อปรับปรุงเป็นหอพื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Centre) เปิดทำการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยจัดแสดงข้อมูลวิถีพื้นบ้านของชาวเชียงใหม่รวมถึงผู้คนในอาณาจักรล้านนานับแต่อดีตถึงปัจจุบัน#เอกสารจดหมายเหตุ #ศาลจังหวัดเชียงใหม่ #ศาลแขวงเชียงใหม่ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ฟิล์มเนกาทีฟ ชุด สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ อ้างอิงข้อมูล : ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่. "ศาลจังหวัด - ศาลแขวง - พิพิธภัณฑ์". (Online) https://m.facebook.com/chiangmaicityheritagecentre/posts/5516903985044208/