ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,789 รายการ


สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม ละครใน เรื่องอิเหนาตอน “ฤทธิ์เทวาปะตาระกาหลา”วันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๑วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑วันอาทิตย์ที่ ๔ ,๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาตินำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีตกำกับการแสดงโดย วันทนีย์ ม่วงบุญ อำนวยการแสดงโดย เอนก อาจมังกร ผู้อำนวยการสำนักการสังคีตบัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ สัปดาห์) วันแสดง (จำหน่ายบัตiก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง)สอบถามและสำรองที่นั่ง โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ ในวันและเวลาราชการ


ชื่อผู้แต่ง          ฤาษีลิงดำ ชื่อเรื่อง           ประวัติหลวงพ่อปาน (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์ :    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ :      โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ ปีที่พิมพ์           2517 จำนวนหน้า       285  หน้า รายละเอียด           ประวัติหลวงพ่อปาน (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค เป็นหนังสือที่รวบรวมมาจากการบันทึกเสียงถอดออกมาพิมพ์เป็นตัวหนังสือ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมปฏิบัติทางพุทธศาสนา ความตาย การท่องนรก ท่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการประกาศคุณธรรมความดีของหลวงพ่อปานในด้านต่างๆ พร้อมทั้งชีวประวัติ เป็นการช่วยสร้างศรัทธาในการปฏิบัติธรรมแก่พุทธศาสนาโดยทั่วไป เพื่อช่วยกันธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตามวาระ  


          SOCIAL DISTANCING ในสมัยนี้ใช้ในสังคมเครือข่ายออนไลน์เพื่อการแจ้งข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงทั้งช่องทาง เฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ ฯลฯโดยใช้อุปกรณ์ประเภทคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือและอื่น ๆ ที่อำนวยความสะดวก           แต่เมื่อสมัย 100 ปีการสื่อสารประเภท SOCIAL DISTANCING จะอยู่ในแบบตราสาร ใบบอก หรืออย่างทันสมัยสุดคือ โทรเลข แต่ข้อจำกัดของโทรเลขคือส่งข้อความไม่ได้มากเท่าที่ควร การนำสารไปบอกในแต่ละเมืองอาจใช้เวลาหลายวันเนื่องจากการคมนาคม และระยะทาง ซึ่งต่างจากในสมัยนี้สามารถคลิกครั้งเดียวส่งข่าวสารกระจายไปได้ทั่วโลก แต่มีข้อดีว่าการติดต่อของโรคระบาดจะควบคุมได้ง่ายกว่าในสมัยนี้เช่นกันเพราะการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว สามารถลัดฟ้าไปมาหากันได้ภายในพริบตา           SOCIAL DISTANCING การเพิ่มระยะห่างทางสังคม มีปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุว่า พ.ศ.2464 เกิดโรคชนิดหนึ่งในเมืองจันทบุรี เรียกว่า “ไข้หวัดใหญ่” เหตุเกิดขึ้นครั้งแรกที่ตำบลตลาดและตำบลวัดใหม่ และชุกชุม ได้ติดต่อไปยังนักโทษของเรือนจำเป็นคราวเดียวกันถึง 25 คน รองอำมาตย์โท ขุนนรินทร์ประสาตร์ แพทย์ประจำจังหวัดจันทบุรี จึงได้กราบทูล อำมาตย์เอกหม่อมเจ้านพมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ความว่า “...ด้วยไข้หวัดใหญ่(อินพลูแวนซา) เกิดแก่นักโทษ...บัดนี้เห็นด้วยเกล้าว่าควรจัดการป้องกันราษฎรตามตำบลอำเภอต่าง ๆ เสียแต่ต้นมือ เพื่อโรคจะไม่รุกรามต่อไป           ซึ่งมีวิธีการ “ห้าม... ควร... ระวัง...หลีกเลี่ยง...”ตามประกาศของกรมควบคุมโรคเรื่องโรคระบาดโควิด-19 ในสมัยนี้มีความคล้ายคลึงกับประกาศในสมัยร้อยปี ได้แก่           1.มีคำสั่งให้จังหวัดประกาศให้ราษฎรทราบ           2.แนะนำให้ความรู้ถึงสาเหตุและการติดต่อของโรคชนิดนี้           3.แนะนำวิธีการป้องกันและวิธีรักษา          เหตุที่เกิดโรค ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดโดยพันธุไม้อย่างละเอียด เรียกว่าเชื้อโรคนี้ ปัจจุบันนี้วงการแพทย์ได้เรียก”พันธุไม้อย่างละเอียด”ว่า ไวรัส และระบุว่าไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน เชื้อต้นเหตุเป็นไวรัสที่เรียกว่า influenza virus              การติดต่อ           1. โรคนี้ติดต่อทางลมหายใจ และทางปาก เชื้อโรคนี้ออกจากน้ำลายและน้ำมูกของคนที่ป่วยแล้วปลิวตามอากาศ เราหายใจเข้าไปหรือน้ำลาย น้ำมูก เข้าจมูกเรา จึงป่วยเป็นโรคนี้           2.หรือจะพูดได้ว่าเชื้อโรคออกจากปากหรือจมูก คนที่ป่วยเป็นโรคนี้แล้วติดเรา (โรคโควิด-19 จะมีการติดต่อได้จากการสัมผัสน้ำลายและน้ำมูกของผู้ป่วย เช่นกัน)           การป้องกัน แพทย์สาธารณสุขเมืองจันทบุรี ได้แนะนำว่า           1.ให้อำเภอประกาศให้ราษฎรทราบว่าถ้ามีเหตุจำเป็นจริง ๆ แล้วอย่าให้ราษฎรไปที่ตลาดจันทบุรี 2.ให้รักษาบ้านเรือนให้สะอาดเก็บกวาดสิ่งโสโครกออกเผา ปิดประตูหน้าต่างให้อากาศพัดไปมาได้สะดวก           3.บำรุงร่างกายให้แข็งแรง เช่นระวังอย่าให้หิวและเหนื่อยเกินสมควร อย่าอดนอน           4.จงนอนและทำงานในที่มีอากาศโปร่ง เมื่อนอนต้องห่มผ้าให้หน้าอกและท้องอุ่นอยู่เสมอ          5.ออกกำลังกายในที่กลางแจ้งพอสมควรอย่าให้เหนื่อยเกินไป           6.จงอยู่ในที่ ๆ มีอากาศโปร่ง อย่าอยู่ยัดเยียดกัน           7.เมื่อกำลังเหนื่อยหรือมีเหงื่ออยู่หรือกำลังร้อนอย่าเพ่ออาบน้ำ ต้องปล่อยให้เหงื่อแห้งและหายร้อนหายเหนื่อย จึงอาบได้อย่านั่งให้ลมโกรกจนหนาวสะท้าน           8.เวลานี้ไม่ควรปล่อยให้ร่างกายเปล่าควรใส่เสื้อหรือห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่นเสมอ           9.บำรุงธาตุให้ปรกติ อย่ารับประทานของเสาะท้อง หรือของที่ทำให้ท้องขึ้น เช่น ส้มเปรี้ยวต่าง ๆ ผักดิบผลไม้ดิบต่าง ๆ อาหารเผดร้อน และสุรา 10.การดูมโหรศพ ในเวลานี้ไม่ควรดู...           11.เมื่อทราบว่าใครเป็นขึ้นแล้วไม่จำเป็นไม่ควรเยี่ยม           12.อย่าเข้าใกล้ผู้ที่ไอหรือจามด้วยโรคนี้           13.มือหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่ใด้ถูกตัวคนป่วยแล้ว อย่าให้ถูกปากหรือจมูก เมื่อเวลารับประทานอาหาร ต้องล้างมือให้สะอาด ของต่าง ๆ ก็ต้องทำให้สะอาดเช่นเดียวกัน           14.อย่าใช้เครื่องใช้ต่าง ๆ ปนกับคนป่วย           15.อย่านอนในห้องหรือเรือนที่มีคนป่วย           16.เมื่อใครเป็นขึ้นมาแล้วเมื่อเวลาไอหรือจาม ต้องใช้ผ้าหรือผ้าเช็ดหน้าปิดจมูกและปาก ถ้าไม่มีผ้าเมื่อเวลาไอแลจามต้องก้มหน้าลง           17.อย่าให้คนป่วยถ่มน้ำลายน้ำมูกลงบนพื้นบ้าน ต้องให้ถ่มน้ำลายน้ำมูกลงในกระโถน ในกระโถนต้องใช้ยาแซนนิตาสใส่ ถ้าไม่มีใช้น้ำมันก๊าศใส่แทน เมื่อถึงเวลาแล้วนำไปเทเผาเสียทุกครั้ง ห้ามไม่ให้เทบนพื้นดินหรือในน้ำ           วิธีการรักษา โดยสรุป           1.ถ้ามีอาการตัวร้อน คัดจมูก เมื่อยและท้องผูก ให้รับประทานยาถ่าย และกินยาแก้ไข้ควินิน           2.คนป่วยห้ามอาบน้ำเย็นและตากลม           3.ให้คนป่วยรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย           4.เมื่อหายป่วยแล้วห้ามรับประทานของแสลง เช่นกล้วย ส้มต่าง ๆ และของเมือกมัน หวาน เช่นกะทิ มันหมู น้ำมันต่าง ๆ เป็นต้น และให้อำเภอรายงานคนป่วย คนตายโดยเร็ว และต่อเนื่องทุกสัปดาห์           จะเห็นได้ว่าการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อร้อยปี สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่โรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในปัจจุบันได้อย่างดี และจากมาตรการป้องกันอันเข้มข้นของรัฐบาล ณ ขณะนี้ และหวังว่าเรื่อง “SOCIAL DISTANCING" ของประเทศไทยที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จะช่วยกระจายความรู้ความเข้าใจให้"ตระหนัก"อย่างถ่องแท้และโปรดอย่า"ตระหนก"จนเกินเหตุ เราจะก้าวผ่านโรคร้ายนี้ไปอย่างรวดเร็วเหมือนในอดีตได้เช่นกัน ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านผู้เขียน นางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรีอ้างอิง-เอกสารจดหมายเหตุ ชุด (13) มท2.3.1/14 เรื่อง ราษฎรป่วยเปนไข้หวัดใหญ่ (15-22 ม.ย.2464) -ประเสริฐ เชื้อวรากุล .(2553).ไข้หวัดใหญ่(Influenza).วันที่ค้นข้อมูล 31 มีนาคม 2563.เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoct…/e-pl/articledetail.asp… ที่มาของบทความ https://www.facebook.com/102943834583364/posts/146054520272295/


ชื่อผู้แต่ง        สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ    ชื่อเรื่อง         เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนและเมืองเขมรในรัชกาลที่ ๒ ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ 3     สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ       สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์ชวนพิมพ์      ปีที่พิมพ์        2518  จำนวนหน้า    58      หน้า    หมายเหตุ      พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพันตำรวจเอกเชิงชัย ชาญศิลป์                    หนังสือเรื่องนี้สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียบเรียงกล่าวถึงเหตุการณ์ในพระราชพงศาวดารที่ประเทศไทยเกี่ยวพันกับเมืองญวนและเมืองเขมรตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ร.1 ตอนสุดท้ายเรื่องพม่าชักชวนญวนให้ยกทัพเข้ามาตีไทยสมัย ร.2 แต่ญวนไม่ยอมเข้ากับพม่า จึงมาบอกให้ไทยทราบแต่ญวนของก็ยังขยายอำนาจออกมาเสมอ และต้องรบกับไทยในที่สุดในสมัย ร.3


ชื่อผู้แต่ง        :  สมมตอมรพันธุ์,กรมพระชื่อเรื่อง         :  ตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์และระเบียบการศพครั้งที่พิมพ์      :  -สถานที่พิมพ์    :  กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      :   โรงพิมพ์กรุงเทพฯปีที่พิมพ์         :   ๒๕๓๔จำนวนหน้า     :   ๒๕๒ หน้าหมายเหตุ        : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์สุทธิสวาท กฤดากร ป.ช.,ป.ม.ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ ๑กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๔                     หนังสือเรื่อง ตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์นี้  พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เผะอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จฯ เจ้า-ฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  ไดเทรงช่วยกันเรียบเรียงขึ้น  เนื้อหากล่าวถึงลักษณะของพระโกศที่ทรงพระบรมศพ  พระศพเจ้านายและโกศพระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์ ส่วนหีบศพบรรดาศักดิ์ เป็นหีบหลวงพระราชทานสำหรับศพข้าราชการโดยจำแนกตามชั้นยศบรรดาศักดิ์ เป็นอันดับกัน



นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.  พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2506.         พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้จัดพิมพ์ในเล่มนี้ เป็นพระบรมราโชวาทซึ่งมีไปพระราชทานพระบรมโอรสาธิราช ขณะประทับศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศภาคหนึ่ง และอีกภาคหนึ่งเป็นพระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ เนื่องในโอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2484 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นสำหรับแนะนำสั่งสอนพระเจ้าลูกยาเธอ เนื้อความเป็นคติสอนใจที่เป็นผลแก่ผู้อ่านทั่วไปด้วย โดยเฉพาะกุลบุตรกุลธิดา ซึ่งกำลังอยู่ในวัยเล่าเรียน ทั้งที่ศึกษาอยู่ในบ้านเมืองของเรา และที่ออกไปศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศ



ชื่อเรื่อง         : จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙   ผู้แต่ง            :  -   ครั้งที่พิมพ์     : ๕   ปีที่พิมพ์        : ๒๕๑๐   สำนักพิมพ์    : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล   หมายเหตุ     : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง                                           วันที่ ๒๘ พศจิกายน ๒๕๑๐                        หนังสือจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙ เล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องราวและเหตุการณ์ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประภาสหัวเมืองต่างๆในมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ ซึ่งมีเรื่องราวความเป้นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีของหัวเมืองฝ่ายเหนือไดเเป็นอย่างดี 


องค์ความรู้ เรื่อง พุทธลักษณะหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวเบญจพร สารพรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


          กรมศิลปากร กำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ วัดพระงาม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ในวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. และขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยโดยเสด็จพระราชกุศลได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป           ด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรรับผ้า พระกฐินพระราชทาน ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ นำไปถวาย ณ วัดพระงาม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ในวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยจะมีพิธีสมโภชองค์พระกฐินในวันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๘.๐๐ น.           กรมศิลปากร จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ โดยเสด็จพระราชกุศล ในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว ได้ที่ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ในกรณีส่งธนาณัติ หรือ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ โปรดสั่งจ่ายในนามผู้อำนวยการกลุ่มคลังและพัสดุ กรมศิลปากร ปณ.หน้าพระลาน กทม. ๑๐๒๐๐ หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารออมสิน สาขาหน้าพระลาน บัญชีเลขที่ ๐ ๕ ๐ ๕ ๗ ๐ ๓ ๔ ๕ ๕ ๙ ๐ ชื่อบัญชี การกุศลกรมศิลปากร ประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๓ ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะได้รวบรวมนำเข้าสมทบถวายบำรุงพระอารมหลวงวัดพระงามต่อไป สอบถามเพิ่มเติมโทร. ๐ ๒๒๒๑ ๗๘๑๒






Messenger