ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,789 รายการ


    รัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๖๐      ไม้ สีอคิลิค     ฉากบังเพลิงเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศ เป็นส่วนหนึ่งของพระเมรุมาศหรือพระเมรุใช้สำหรับบังลมไว้ไม่ให้ตีไฟแตกกระจาย อีกทั้งยังใช้ในการปิดกั้นเพื่อมิให้บุคคลภายนอกเห็นการถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือพระศพ การปฏิบัติการด้านพิธีกรรม และการเคลื่อนย้ายพระบรมศพ หรือพระศพจากพระโกศสู่พระโกศไม้จันทน์เพื่อตั้งประดิษฐานบนจิตกาธานก่อนการถวายพระเพลิง โดยฉากบังเพลิงมีลักษณะเป็น “ฉากพับ” ยึดติดไว้กับเสาพระเมรุมาศ หรือพระเมรุทั้ง ๔ ด้าน เมื่อจะใช้งานจะดึงหรือยกออกมาปิดไว้ บางครั้ง งานออกพระเมรุใช้ฉากบังเพลิงปิดทั้ง ๔ ด้าน บางครั้งใช้ปิดเพียง ๒ ด้าน      ฉากบังเพลิงพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วาดภาพนารายณ์ ๑๐ ปาง  โดยฉากบังเพลิงที่ปัจจุบันจัดแสดงใน โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  เป็นฉากบังเพลิงพระเมรุมาศด้านทิศตะวันตก เบื้องหน้าพระที่นั่งทรงธรรม โดยเป็นฉากที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเจิมสีนพเก้า ๙ จุด ๙ สี บนตาบกึ่งกลางกรอบพระพักตร์มงกุฎของพระกฤษณะ พระนารายณ์ปางที่ ๘ กฤษณาวตาร เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐      จิตรกรได้สร้างสรรค์งานเขียนให้พระกฤษณะอยู่ในรูปของพระนารายณ์ มีสี่กร (มือ) ในอิริยาบถนั่งเป่าขลุ่ย ถือจักร และตรี เพื่อสื่อให้เห็นว่าพระกฤษณะนั้นเป็นหนึ่งในร่างอวตารของพระนารายณ์  เบื้องหลังของพระองค์ปรากฏภาพโค (วัว) เพื่อสื่อให้เห็นว่าในฉากนี้เป็นการอวตารในภาค กฤษณาวตาร  เนื่องด้วย พระกฤษณะเป็นลูกของนางเทวากีกับวสุเทวะ พระองค์เติบโตท่ามกลางหมู่คนเลี้ยงโค (วัว) ตามตำนาน ในเรื่องนารายณ์สิบปาง เล่าว่าเมื่อคราวที่พระกฤษณะผ่านไปพบคนเลี้ยงวัวที่เขาโควรรธนะกำลังจะทำพิธีบูชายัญวัวให้กับพระอินทร์ พระกฤษณะเห็นดังนั้นจึงห้ามไว้แล้วชักชวนให้คนเหล่านั้นหันมาบูชาเขาโควรรธนะที่ให้หญ้า ให้น้ำ รวมถึงความอุดมสมบูรณ์กับฝูงวัว และคนเลี้ยงวัวแทน เมื่อพระอินทร์เห็นดังนั้นก็พิโรธจนบันดาลให้เกิดห่าฝนพายุขึ้นไม่หยุด พระกฤษณะจึงยกเขาโควรรธนะขึ้นเพื่อบังฝนให้กับฝูงวัวและคนเลี้ยงวัวทั้งหลายอยู่ ๗ วัน ๗ คืน จนพระอินทร์ต้องยอมแพ้ แล้วปล่อยให้คนเลี้ยงวัวหันมานับถือเขาโควรรธนะแทนในที่สุด วัวจึงเป็นสัญลักษณ์หรือเป็นคติของความอุดมสมบูรณ์ และการปกป้องคุ้มภัย ที่พระกฤษณะหรือพระรามทรงประทานให้      ปัจจุบันฉากบังเพลิงพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จัดแสดงในโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 





ภูโค้ง บ้านนาเสียว ตำบลบ้านนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นยอดสูงสุดของเทือกเขาภูแลนคา ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติ ตาดโตน และเป็นพื้นที่สถานีโทรคมนาคมทหารอากาศ          เมื่อวันที่ 27 - 29 มกราคม 2564 สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา พร้อมด้วยคณะสำรวจจากอุทยานแห่งชาติ ตาดโตน ร่วมดำเนินการสำรวจ โดยหลักฐานทางโบราณคดี จากการสำรวจพื้นที่บนภูโค้งไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานสิ่งก่อสร้าง พบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทโบราณวัตถุที่ทำจากหินทราย จำแนกตามลักษณะรูปแบบและหน้าที่การใช้งานได้ดังนี้ 1. ฐานรูปเคารพ จำนวน 3 ฐาน รายละเอียดดังนี้           1.1 ฐานรูปเคารพชิ้นที่1 พบเฉพาะส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม เรียกว่า “ปีฐะ” หรือ “ปิณฑิกา” ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมชำรุด ส่วนขอบแตกหักหายไป            1.2 ฐานรูปเคารพชิ้นที่2 มีส่วนประกอบจำนวน 4 ส่วน รายละเอียดดังนี้                 1.2.1 ส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม (ปีฐะ หรือปิณฑิตา) รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์                 1.2.2 ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมส่วนบนชำรุด                 1.2.3 ส่วนฐานโยนี รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์ บริเวณขอบด้านหนึ่งเจาะช่องกว้าง สำหรับเป็นท่อน้ำไหล เรียก “ท่อโสมสูตร”                 1.2.4 ส่วนศิวลึงค์ รูปทรงกระบอก สภาพด้านชำรุดหายไปบางส่วน สภาพปัจจุบันศิวลึงค์ แบ่งออก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรียกว่า “พรหมภาค” ส่วนกลางรูปทรงแปดเหลี่ยม เรียกว่า “วิษณุภาค”เส้นแบ่งด้านค่อนข้างลบเลือน ส่วนบนรูปทรงกระบอก เรียกว่า “รุทรภาค” ส่วนปลายชำรุดหายไปบางส่วน           1.3 ฐานรูปเคารพชิ้นที่3 มีส่วนประกอบจำนวน ๒ ส่วน รายละเอียดดังนี้ 1.3.1 ส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม (ปีฐะ หรือปิณฑิตา) รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์ 1.3.2 ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมส่วนบนชำรุด           1.4 ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมชำรุดแตกออกเป็นสองส่วน            ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี รูปแบบของฐานประติมากรรมที่พบจากภูโค้ง เป็นรูปแบบที่พบในช่วงสมัยศิลปะเขมรแบบพระนคร กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 โดยฐานประติมากรรมอันประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดประดับท้องไม้ด้วยลูกฟัก กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 15-16 ฐานประติมากรรมอันประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายท้องไม้เรียบๆ กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 17 สามารถเปรียบเทียบกับฐานรูปเคารพ ที่พบจากกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 16 -17            รูปแบบของศิวลึงค์ อันประกอบด้วยสามส่วนคือส่วนพรหมภาค ส่วนวิษณุภาค ส่วนรุทรภาค (สี่เหลี่ยม-แปดเหลี่ยม-ทรงกระบอก) กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 16-17 จากหลักฐานทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุโบราณวัตถุจากภูโค้งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 สามารถเปรียบเทียบรูปแบบได้กับศิวลึงค์ที่พบจากปราสาทตาเมือนธม อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 16 – 17            ศิวลึงค์ในคติศาสนาฮินดลัทธิไศวนิกายนั้น ถือว่าเป็นตัวแทนของพระศิวะ ที่สําคัญที่สุด นอกเหนือจากการปรากฏกายของพระศิวะในรูปมนุษย์ สําหรับบริเวณภูโค้งแห่งนี้ แม้จะไม่ปรากฏร่องรอยของศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างใดๆ แต่จากหลักฐานศิวลึงค์ ฐานรูปเคารพ และชิ้นส่วนฐานประติมากรรม สันนิษฐานได้ว่า ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 บริเวณภูโค้งแห่งนี้ เดิมคงเป็นที่ตั้งของศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย แต่อาจถูกทําลายไปในคราวที่สร้างสถานีโทรคมนาคมภูโค้งก็เป็นได้ ข้อสันนิษฐานสำหรับสิ่งก่อสร้างหรือศาสนสถาน สันนิษฐานว่าน่าจะมีปราสาทบนยอดของภูโค้งสำหรับประดิษฐานศิวลึงค์ซึ่งน่าจะสร้างด้วยหินทรายเป็นวัสดุ เนื่องจากโครงสร้างทางธรณีของภูโล้นเป็นหินทรายสอดคล้องกับช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่ใช้หินทรายเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง สำหรับสระน้ำที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของฐานรูปเคารพและศิวลึงค์ สันนิษฐานว่าเป็นสระน้ำประจำศาสนสถานที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมวางตัวในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู           สําหรับชุมชนผู้สร้างศาสนสถานแห่งนี้ คงนับถือศาสนาฮินดู ไศวนิกาย และคงตั้งชุมชนอยู่บริเวณโดยรอบเทือกเขาภูโค้ง จากการสํารวจทางโบราณคดีได้พบชุมชนวัฒนธรรมเขมรโบราณอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 หลายแห่งที่สําคัญคือ ชุมชนโบราณบ้านเมืองน้อยใต้ อําเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ห่างภูโค้งไปทางทิศใต้เป็นระยะทาง 20.21 กิโลเมตร ซึ่งพบหลักฐานโบราณวัตถุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 เช่น ฐานรูปเคารพ และชิ้นส่วนบัวยอด           สําหรับคติการสร้างศิวลึงค์บนภูโค้งเปรียบเสมือนการจําลองเขาไกรลาส (ลึงคบรรพต) ขึ้นบนพื้นมนุษย์โลก ด้วยการนําเอาศิวลึงค์ไปประดิษฐานไว้บนภูโค้งเป็นยอดเขาไกรลาศอันเป็นที่ประทับของพระศิวะผู้เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ศิวลึงค์) เช่นปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ --------------------------------------------------------------ข้อมูลโดย นายวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา


องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เรื่อง ไหเคลือบสีเขียว : หลักฐานพบใหม่จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๔ (โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ฺ ๓) เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี


          จากประวัติศาสตร์ไทยในเรื่องเหตุการณ์ ร.ศ.112 ที่ท่านผู้อ่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไทยเรามีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส จนถึงขนาดยึดเมืองสำคัญหลายเมืองเป็นประกันเพื่อให้ไทยมอบดินแดนที่ต้องการ ในจำนวนเมืองชายทะเลตะวันออกที่ฝรั่งเศสได้ยึดเป็นเมืองประกัน ได้แก่เมืองจันทบุรีในคราวแรก และเมื่อคืนจันทบุรีแล้วก็ไปยึดตราดต่อถึงเกือบ 3 ปี(22 มกราคม 2447- 23 มีนาคม 2449)          ผู้เขียนพบเอกสารจดหมายเหตุที่พระยาวิชาธิบดี ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี กราบทูลรายงาน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่องการรับมอบเมืองตราด และการฉลองเมืองตราด ในวันที่ 6-9 กรกฎาคม 2450 ในการรับมอบเมืองตราดคืนในครั้งนี้ ตัวแทนของฝรั่งเศสคือ มองสิเออร์รุซโซ เรสิดังของเมืองกำปอด และตัวแทนฝ่ายไทยคือ พระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลอง           วันที่ 6 กรกฎาคม เป็นวันรับมอบเมืองตราด ผู้แทนทั้งสองฝ่ายพร้อมคณะพร้อมกัน ณ บริเวณเสาธงที่ว่าการเมืองตราดหลังเก่า มองสิเออร์รุซโซได้อ่านคำมอบเมืองและให้ล่ามแปลเป็นภาษาไทย และพระยาศรีสหเทพได้อ่านตอบและมิสเตอร์รอบินเป็นผู้แปล ต่อจากนั้นพระยาศรีสหเทพได้ชักธงราชธวัชขึ้นสู่ยอดเสา เหล่าทหารและตำรวจทำวันทยาวุธ พร้อมเป่าแตรเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารและตำรวจบนเรือมกุฎราชกุมาร ที่จอดหน้าเกาะช้างยิงสลุด เป็นจบพิธีแบบเรียบง่ายในวันแรก เป็นที่น่าสังเกตุว่า...เสาธงเป็นเสาเปล่า ไม่มีการชักแลกเปลี่ยนเหมือนในครั้งแรกที่ส่งมอบเมือง...ซึ่งหลวงสาครคชเขตต์ ได้บันทึกในจดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรีในส่วนเมืองตราดว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ดีของฝ่ายไทยไม่ให้ต้องขมขื่นต่อกัน กระทรวงมหาดไทยจึงให้เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ           วันที่ 7 กรกฎาคม เว้นไป 1 วัน เนื่องจากพระยาศรีสหเทพ ประธานในพิธีป่วย           วันที่ 8 กรกฎาคม เป็นวันฉลองเมือง จัดพิธีบริเวณรอบเสาธง ในช่วงบ่าย 4 โมงเป็นต้นไป โดยเริ่มพิธีสงฆ์ อาราธนาพระสงฆ์ในเมืองตราด จำนวนเท่าพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประธานฝ่ายสงฆ์คือพระครูสังฆปาโมก เจ้าคณะเมืองจันทบุรี (เจ้าอาวาสวัดเขาพลอยแหวน : ผู้เขียน) หลังจากเสร็จพิธีสงฆ์ เวลาทุ่มตรงมีดินเนอร์ ณ ที่ว่าการเมืองตราดเก่า มีทั้งข้าราชการฝ่ายไทยและฝรั่งเศส พร้อมทั้งมีการจุดประทีปโคมไฟและมีมหรสพบรรเลง           วันที่ 9 กรกฎาคม ราษฎรเมืองตราดร่วมถวายภัตตาหารเช้าพระสงฆ์ที่ร่วมในพิธีเมื่อวาน เมื่อถึงเวลาบ่ายได้จัดพิธีแสดงความจงรักภักดี พระสงฆ์สวดถวายไชยมงคล ชักธงราชวัตรขึ้นสู่ยอดเสา ยิงสลุด แล้วอ่านคำถวายไชยมงคลต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส แล้วเดินเรียงแถวถวายความเคารพทั้งในส่วนราษฎรและข้าราชการ เป็นอันเสร็จพิธีและค่ำนี้มีมหรสพและจุดประทีปโคมไฟอีก 1 คืน           ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลังจากทำสัญญาคืนดินแดนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2449 แล้วก็จริง แต่ความเป็นไทของชาวเมืองตราดยังไม่เกิดอย่างแท้จริง เพราะยังมีทหารฝรั่งเศสอยู่ร่วมเมืองด้วยบางส่วน จวบจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2450 ทหารลงเรือกลับออกไป นั่นคือ"อิสรภาพที่แท้จริงของชาวเมืองตราด"-----------------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี-----------------------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (13)มท 2.1/186 เรื่อง หลวงนาถนรารักษ์ เสมียนตรามณฑลขอต่ออายุราชการให้ติดต่อกัน(26 กันยายน 2472- 5 กันยายน 2473)


          แผ่นอิฐจำหลักรูปมกร พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           แผ่นอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๑๖ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เซนติเมตร หนา ๗.๕ เซนติเมตร ด้านหน้าจำหลักเป็นรูปใบหน้าของสัตว์ในมุมมองด้านข้าง เป็นรูปตา จมูกและปากของสัตว์กำลังแยกเขี้ยวยิงฟันเห็นเขี้ยวรูปสามเหลี่ยมและฟันรูปสี่เหลี่ยมเรียงเป็นแถบ สันนิษฐานว่าเป็นสัตว์ผสมที่เรียกว่า “มกร” ด้านหลังแบนเรียบ มีร่องรอยแกลบข้าวในเนื้อดิน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี          มกร เป็นสัตว์ผสมในจินตนาการระหว่างสัตว์บกกับสัตว์น้ำ มีลำตัวและปากคล้ายจระเข้ มีงวงเหมือนช้าง มีหางเหมือนปลา ถือเป็นสัตว์มงคล และเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ คติเรื่องมกรปรากฏทั้งในพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อว่า มกร เป็นสัตว์ผู้พิทักษ์และเป็นพาหนะของเทพเจ้า ได้แก่ พระวรุณ พระคงคา เป็นต้น          ศิลปกรรมรูปมกร ปรากฏขึ้นครั้งแรกในศิลปะอินเดียโบราณ และได้รับการสืบทอดต่อมา โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามรสนิยมของแต่ละยุคสมัย ทั้งนี้ได้อิทธิพลให้กับศิลปะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา พม่า และไทย โดยพบรูปมกรทั้งในงานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ในสมัยทวารวดี พบการใช้รูปมกรประดับส่วนปลายพนักพุทธบัลลังก์ของพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาท จากวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ประดับมุมส่วนฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม และตกแต่งกรอบซุ้มประดับสถาปัตยกรรมที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นต้น          แผ่นอิฐจำหลักรูปมกรแผ่นนี้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นส่วนประกอบของรูปมกรที่ประดับเจดีย์ ซึ่งอาจใช้ประดับส่วนฐานในลักษณะเดียวกับมกรที่เจดีย์จุลประโทน หรืออาจเป็นใช้ประดับปลายกรอบซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปที่ติดอยู่บนผนังของเจดีย์ก็เป็นได้------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ธงกิจ นานาพูลสิน. “คติความเชื่อและรูปแบบ “มกร” ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. วิภาดา อ่อนวิมล. “อิฐมีลวดลายในสมัยทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖.


ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (อุณหิสวิไชย) สพ.บ.                                  241/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภธมฺม (สังคิณี-ยมก) สพ.บ.                                  375/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           90 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.157/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  60 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 94 (17-21) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.38/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)  ชบ.บ.75/1-1ป  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


โอวาทปาฏิโมกฺข (โอวาทปาฏิโมกฺข)  ชบ.บ.99/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.316/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 129  (321-328) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : กตัญญูกตเวที--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger