ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,805 รายการ

“วันทหารผ่านศึก 3 กุมภาพันธ์” ในอดีต ประเทศไทยต้องพบกับภาวะสงคราม และส่งทหารเข้าร่วมสงครามเป็นจำนวนมาก โดยปี พ.ศ.2488 เป็นต้นมา ทหารที่ได้รับการปลดระวางจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประสบปัญหาเดือดร้อนจากสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารไทยที่กลับจากการรบหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเอเชียมหาบูรพา รวมทั้งช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ แต่หน่วยงานที่ตั้งขึ้นนี้เป็นหน่วยงานที่ไม่เป็นทางการ ต่อมากระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาล ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491 จึงถือเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก ในปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึกได้เปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์การเพื่อการกุศลของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมและรัฐบาลบ้างเป็นครั้งคราว ภารกิจหลักขององค์การทหารผ่านศึก คือ การสงเคราะห์ทางด้านสวัสดิการ ด้านอาชีพ ด้านนิคมเกษตรกรรม ด้านกองทุน ด้านการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสิทธิของทหารผ่านศึก เดือนสิงหาคม พ.ศ.2511 กลุ่มภริยานายทหารชั้นผู้ใหญ่ นำโดย ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร เป็นประธานร่วมกันจัดตั้ง “สโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก” เพื่อช่วยเหลือครอบครัวทหารผ่านศึก และ ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร ก็ได้มอบเงินบริจาคจำนวน 300,000 บาท เป็นทุนประเดิม หลังจากนั้นก็ได้รับการสนับสนุนบริจาคสมทบจากผู้บริจาคอื่นๆ และคณะกรรมการก็ได้หาวิธีหารายได้ด้วยการจำหน่ายดอกป๊อปปี้จำหน่าย ปี พ.ศ.2512 “สโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก” ได้ยกระดับเป็น “มูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก” โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รับเป็นองค์อุปถัมภ์มูลนิธิฯ เพื่อจำหน่ายดอกป๊อปปี้ ให้ทั่วถึงมากขึ้น ทั้งกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ในวันทหารผ่านศึก ดอกไม้ชนิดนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น “ดอกไม้ที่ระลึกวันทหารผ่านศึก” ความหมายของดอกไม้ประจำวันทหารผ่านศึก มาจากสีแดงของดอกป๊อปปี้ที่หมายถึงเลือดของเหล่าทหารผู้เสียสละเพื่อชาติ เพื่อปกป้องแผ่นดินด้วยความกล้าหาญ เหมือนสีแดงของกลีบดอกที่ปกคลุมผิวดิน


ชื่อผู้แต่ง              - ชื่อเรื่อง               ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.อ. ชติ สัทธาพงศ์ ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์         กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์           บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด ปีที่พิมพ์              ๒๕๓๕ จำนวนหน้า          ๑๘๗  หน้า                         หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.อ. ชติ สัทธาพงศ์ ท่านได้เรียบเรียงไว้เมื่อยังมีชีวิต เรื่อง บรมครูแทพย์ วีวกโกมารภัจ และเรืองสั้น ๑๗ เรื่อง เรียบเรียงจากประสบการณ์โดยมีธรรมะสอดแทรกไว้ทุก ๆ เรื่อง


เลขทะเบียน : นพ.บ.438/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4.5 x 61 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 157  (141-148) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.584/1ก                            ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 189  (372-377) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เรื่อง ประเพณีสงกรานต์ปีใหม่เมืองล้านนา         ประเพณีสงกรานต์ หรือที่เรารู้จักกันดีคือวันขึ้นปีใหม่ไทย เป็นวันที่มีความหมายถึงการขึ้นศักราชใหม่ หรือปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติ โดยคำว่า สงกรานต์ เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายไป ในที่นี้คือ การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ ถือเป็นการเคลื่อนที่สำคัญ จึงเรียกว่า มหาสงกรานต์ ในไทยถิ่นเหนือเรียกวัน สังขานต์ล่อง ซึ่งก็มีความหมายเหมือนคำว่าสงกรานต์         ช่วงเวลาประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา พบว่าตรงกับเดือน ๗ ของทางเหนือ โดยได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ ซึ่งใช้ระบบการขึ้นปีใหม่แบบปฏิทินสุริยคติ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้ประกาศให้วันขึ้นปีใหม่ คือวันที่ ๑ เมษายน จนถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีไทยตามหลักสากลคือวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔  ส่วนเทศกาลสงกรานต์หรือการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ทางราชการได้กำหนดปฏิทินตรงกับวันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน ของทุกปี         กิจกรรมที่ชาวไทยล้านนาปฏิบัติกันในวันสงกรานต์ เริ่มจากวันแรก ชาวบ้านจะตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ มีการยิงปืนไล่สิ่งอวมงคล และทุกคนจะช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน ชำระร่างกายสระผมให้สะอาด นำผ้าห่ม หมอน มุ้งออกไปซัก ทำจิตใจให้ผ่องใส เมื่อเสร็จแล้วผู้คนจะนิยมไปเที่ยวแอ่วปีใหม่ตามที่ต่าง ๆ         วันที่สองคือวันขนทราย หรือเรียกว่า วันเน่า หรือวันเนาว์ ตามภาษาเขมรหมายถึง อยู่ ในวันดังกล่าวผู้คนจะไม่ด่าทอหรือทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล และออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อไปจ่ายตลาดเตรียมทำอาหารไว้ทำบุญถวายพระในวันรุ่งขึ้น ส่วนช่วงบ่ายเป็นการขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย ตกแต่งด้วยธงริ้วสีต่าง ๆ ธงนี้ชาวล้านนาเรียกว่า "ตุง" ทำด้วยกระดาษสี ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชายธงและรูปต่าง ๆ ติดปลายไม้สำหรับปักบริเวณที่ก่อเจดีย์ทราย นอกจากนี้ยังนิยมเล่นน้ำกันวันนี้อีกด้วย         วันที่สาม วันเถลิงศก หรือวันพญาวัน คือวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนปีศักราชช่วงเช้าทำบุญ "ทานขันข้าว" ที่วัดให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเมื่อเสร็จจากการทำบุญที่วัดจะเตรียมสำรับอาหารไปมอบให้ผู้ใหญ่ที่เคารพเพื่อขอพรคือการ "ทานขันข้าวคนเถ้า" ส่วนช่วงบ่ายนั้นจะเป็นการรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน วันพญาวันถือเป็นวันที่ดีที่สุดของปีจึงมักประกอบพิธีมงคลกันในวันนี้ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น         ประเพณีสงกรานต์แบบชาวล้านนายังมีต่อถึงวันที่สี่คือ วันปากปี โดยวันนี้ยังคงเป็นวันที่มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีความเชื่อเรื่องการรับประทานแกงขนุน จะทำให้มีผู้ค้ำหนุนชีวิตให้เจริญ ส่วนวันที่ห้าคือวันปากเดือน มีการประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เช่น สะเดาะเคราะห์  ส่งเคราะห์ และบูชาเทียน เป็นต้นเรียบเรียงโดย นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ :๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.แหล่งอ้างอิง :๑. สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๖๒. “ความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ในสังคมวัฒนธรรมล้านนา.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ). เชียงใหม่ นครแห่งอมต. เชียงใหม่ : บริษัท วิทอินดีไซน์ จำกัด, ๑๐๕ - ๑๑๕.๒. นิรันดร ชัยนาม. ๒๕๑๒. "ประเพณีตรุษสงกรานต์และดำหัว." ใน ประเพณีและวัฒนธรรมของเชียงใหม่และลานนาไทยกับการถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชอาคันตุกะ.พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, ๑๑ - ๑๖.



องค์ความรู้ตอนแรกที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า “ Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้” ซึ่งจะเป็นการปูพื้นฐานเรื่องเมืองโบราณยะรังก่อนจะไปใน Ep ต่อไป  ซึ่งเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้นเชิญติดตามรับชมกันได้เลยค่ะ   -------------------------------------------------------------------------- Ep1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3  จังหวัดชายแดนใต้ Ep 2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ? Ep 3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี Ep 4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ EP 5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) Ep 6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี -------------------------------------------------------------------------- อ้างอิง  การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้, ศูนย์. ลุ่มน้ำตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525 เขมชาติ เทพไชย, รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดี บริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, สงขลา : โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กองโบราณคดี  กรมศิลปากร, 2528 เขมชาติ เทพไชย, “การวิจัยทางโบราณคดี ณ บริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี”, เอกสารหมายเลข 11 การสัมมนาวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมไทยโฮเต็ล นครศรีธรรมราช 18-20 กันยายน 2532 ชูสิริ จามรมาน, รายงานผลการวิจัยเรื่องการวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์, นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2528 พรทิพย์ พันธุโกวิท, การศึกษาประติมากรรมสมัยทวารวดี ณ เมืองโบราณ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2530 ภัคพดี อยู่คงดี, รายงานสังเขปผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2531 และครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2532 ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์, รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านประแวในปีพ.ศ.2541  ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาและขยายฐานความรู้เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2561, เอกสารอัดสำเนา, 2561 ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนใต้,สมุทรสาคร : บริษัท บางกอกอินเฮาส์ จำกัด,2565 สว่าง เลิศฤทธิ์, การสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดีบริเวณเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530 อนันต์ วัฒนานิกร, แลหลังเมืองตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528 อิบรอฮิม ซุกรี(เขียน), หะสัน หมัดหมาน(แปล) ประพน เรืองณรงค์(เรียบเรียง), ตำนานเมืองปัตตานี (Sejarah Kerajaan Melayu Pattani), ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525  


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ปีที่ 6 ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ "เปิดเทอมสดใส กับพวงกุญแจสุดสวย" ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องหนังสือเด็กและเยาวชน ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ           ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถแจ้งได้ที่ www.facebook.com/events/797249565138663?ref=newsfeed และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ : National Library of Thailand  www.facebook.com/NationalLibraryThailand ได้ในวันและเวลาดังกล่าว


        สุวรรณจังโกฐสำริด         เลขทะเบียน         ๕๒๖ / ๒๕๑๖          แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓          วัสดุ (ชนิด)         สำริด         ขนาด         ฐานกว้าง ๓๗.๑ เซนติเมตร สูง ๕๗.๕ เซนติเมตร          ประวัติความเป็นมา พุทธสถานจังหวัดเชียงใหม่ มอบให้จัดแสดง          ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ          สุวรรณจังโกศ สำหรับประดิษฐานพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุ  ทำเป็นทรงแปดเหลี่ยม ประกอบด้วยฐานและส่วนฝา ส่วนฐานมีหน้ากระดานท้องไม้ขนาดใหญ่ ตกแต่งลายกรอบช่องกระจก เหนือท้องไม้ขึ้นไปตรงมุมประดับด้วยลายดอกประจำยาม ส่วนฝามีการตกแต่งส่วนมุมด้วยลายกนก ส่วนยอดบนสุดทำเป็นชั้นฐานปัทม์รองรับรูปแปดเหลี่ยมส่วนปลายยอดแหลม  


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ยลโฉมทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ คายท่อนพวงมาลัย ศิลปะโบราณอายุพันปี” วิทยากร นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา, นายธันยธรณ์ วรรณโพธิ์พร นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ผู้ดำเนินรายการ  นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร



(๕ พฤศจิกายน) เป็นวันคล้ายวันพิราลัยในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (พระนามเดิม เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน) เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ทางเพจเราจึงขอหยิบยกเกร็ดประวัติเจ้านายท่านนี้มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งว่ากันตามการรับรู้ถึงพระประวัติของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ นอกจากจะสืบวงศ์มาแต่เชื้อเจ้าเจ็ดตนในราชวงศ์ทิพย์จักรแล้ว ท่านยังสืบพงศาวลีได้ถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีเชื้อสายในราชวงศ์จักรี คือเป็นหลานตาทวดของเจ้านายสายสกุลอิศรเสนา ณ อยุธยา อีกด้วย สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าจักรคำขจรศักดิ์กับราชสำนักสยาม อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีความผูกพันทางสายเลือดกับราชวงศ์จักรี คือมีมารดาเป็นหม่อมราชวงศ์ในสายวังหน้า (แม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้วราชเทวี) ผู้สืบเชื้อสายจาก “พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงษ์อิศเรศร์ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช” พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ทั้งนี้ เสด็จในกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ยังถือเป็นเจ้านายวังหน้าพระองค์สำคัญ ถึงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า “ควรตำแหน่งเจ้าฟ้าในพระบวรราชวัง” (ราชสกุลวงศ์ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, หน้า ๑๑๗) อนึ่ง เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ ๑๐ ยังถือเป็นเจ้าหัวเมืองประเทศราชที่ดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้าย (พิราลัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖) ภายหลังการยกเลิกตำแหน่งเจ้าหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ท้ายที่สุดแอดมินขอปิดท้ายด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะหริภุญชัย เพียงหนึ่งเดียวในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่มีลักษณะเด่น คือ มีเม็ดพระศกแหลม พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระขนงยาวจรดกันเป็นรูปปีกกา ชายสังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี ฐานด้านหน้ามีจารึกเป็นอักษรมอญโบราณ โดยสมุดทะเบียนระบุอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ภาพที่ ๑ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ภาพที่ ๒ พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หน้า) ภาพที่ ๓ พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลัง) ภาพที่ ๔ จารึกอักษรมอญ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ Post by Admin Sarun / Photo by Nai9Kob


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    58 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร                            ขอมฉบับ                              ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    58 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร                            ขอมฉบับ                              ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.73 กาพย์คำสอนพระไตรลักษณ์ พระปรมัตถ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ธรรมคดีลักษณะวัสดุ              116; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ธรรมคดี                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม  อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ 


Messenger