ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

งพระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานสำคัญที่สุดในประเทศไทยเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเลื่อมใสของบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มาแต่จาตุรทิศ ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสแต่โบราณสืบมาจนปัจจุบัน


สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการศรีสุขนาฏกรรมวันศุกร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.ณ โรงละครแห่งชาติรายการแสดง ๑. รำ “พรศรีสุข”๒. ละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์ ตอน “ชมถ้ำ”๓. การแสดงนาฏะบันเทิง ชุด “พระขรรค์สามัคคี”๔. นาฏกรรม ชุด “เทพอำนวยชัยปีใหม่ ๒๕๖๑”นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีตกำกับการแสดง วันทนีย์ ม่วงบุญอำนวยการแสดงโดย เอนก อาจมังกร ผู้อำนวยการสำนักการสังคีตบัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท (เปิดสำรองที่นั่ง และจำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ สัปดาห์)วันแสดง (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง)สอบถามและสำรองที่นั่ง (วันและเวลาราชการ)โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒


ชื่อผู้แต่ง          ภิญโญ จิตต์ธรรม ชื่อเรื่อง           ภาษาถิ่น คติชาวบ้าน อันดับ 6 ครั้งที่พิมพ์        2 สถานที่พิมพ์      สงขลา สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์เมืองสงขลา ปีที่พิมพ์          2517 จำนวนหน้า      177     หน้า รายละเอียด           ภาษาถิ่น คติชาวบ้าน อันดับ 6 เป็นหนังสือที่ว่าด้วยวิชาภาษาถิ่นทั่วไปกับภาษาถิ่นของไทย เป็นหลักในการศึกษาภาษาถิ่นซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของภาษาถิ่นในแง่ภาษาศาสตร์ กล่าวถึงความสำคัญของภาษาถิ่น  เปรียบเทียบภาษาถิ่นในประเทศไทยทุกภาค ภาษาถิ่นที่อยู่ในหนังสือวรรณคดีตลอดจนภาษาถิ่นของคนไทยที่อยู่นอกประเทศ อีกทั้งเปรียบเทียบคำของชาวเกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ ฯลฯ  ที่คล้ายคลึงกับภาษาไทยอย่างน่าสนใจ จึงเป็นหนังสือที่เขียนให้อ่านง่าย เหมาะสำหรับผู้สนใจทางภาษาและผู้สนใจทางภาษาไทย ท้ายเล่มประกอบด้วยกิจกรรมเสนอแนะ รายชื่อผู้ช่วยเหลือและบรรณานุกรม


          เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรนา ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (Covid – 19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ทำให้เป็นโอกาสในวิกฤติที่คนไทยจะได้กลับมาให้ความสนใจ เกิดการตื่นตัว ต่อการรับรู้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น หอสมุดแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บ รวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ก็ได้ปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้นำเสนอข้อมูล โดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ ให้กับผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ ด้วยการอ่านหนังสือดีๆ จากห้องสมุดดิจิทัล D-Library ของหอสมุดแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเก่า หนังสือใหม่ หนังสือหายาก วารสาร หนังสือพิมพ์เก่า วิทยานิพนธ์และงานวิจัย รวมทั้ง VDOon Demand           “ตำราพระโอสถพระนารายน์” เป็นหนังสือหายากที่น่าสนใจมากเล่มหนึ่ง ในจำนวนหนังสือ ๑,๑๒๘ เล่ม ที่หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครจัดพิมพ์ขึ้นตั้งแต่แรกตั้งหอพระสมุดฯ เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๘ จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นองค์ความรู้ที่บรรพชน ได้รวบรวมภูมิปัญญาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า ต้นฉบับเดิมเป็นหนังสือส่วนพระองค์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ครั้งดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ประทานให้แก่ หอพระสมุดฯอยู่ในคัมภีร์ใบลานเป็นหนังสือผูก ๑ ตำรานี้เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายน์ เพราะมีตำราพระโอสถที่หมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลายขนาน ปรากฏชื่อหมอและศักราชวันคืนที่ได้ประกอบพระโอสถนั้นๆ จดไว้ชัดเจนว่าอยู่ในระหว่างปีกุน จุลศักราช ๑๐๒๑ พ.ศ. ๒๒๐๒ จนถึงปีฉลู จุลศักราช ๑๐๒๓ พ.ศ. ๒๒๐๔ คือระหว่างปีที่ ๓ - ๕ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำราพระโอสถพระนารายน์ เป็นตำรายาที่ได้รับความนิยมจึงมีการพิมพ์ถึง ๔ ครั้ง เพราะเชื่อว่าตำราพระโอสถนี้จะเป็นยารักษาโรคได้ผลดี เล่มที่นำมาเสนอ เป็นตำรายาที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ดำรัสสั่งกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณให้เลือกหนังสือในหอพระสมุดสำหรับพระนครทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับพิมพ์พระราชทานเป็นหนังสือที่ระลึกในงานศพพระยาแพทยพงษาวิสุทธาธิบดี (นาก โรจนแพทย์) หนังสือนี้ หนาถึง ๔๔ หน้า ภายในนำเสนอเนื้อหา เกี่ยวกับลักษณะเตโชธาตุ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมชองชาติ ได้ให้ความหมายของเตโชธาตุไว้ว่า เตโชธาตุ หมายถึงธาตุไฟอันมีอยู่ในร่างกาย มี ๔ อย่าง ได้แก่ ไฟสำหรับอุ่นกาย ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย ไฟสำหรับเผาให้คร่ำคร่า และไฟสำหรับย่อยอาหาร โดยอธิบายลักษณะเตโชธาตุ ไว้อย่างชัดเจนว่ามีอาการร้อนปลายมือ ปลายเท้า ปวดขบมีพิษ จากนั้นเริ่มลามไปถึงบวมหน้า บวมท้อง บวมเท้า ผื่นขึ้นทั้งตัวคล้ายกับผด แล้วลามไปถึงท้อง เลือดและน้ำเหลืองมือและเท้าตาย รู้มิถึงแก้มิต้อง พร้อมด้วยโทษ ๑๕ วันตัด นอกจากนั้นเนื้อหาในตำรายังบอกถึงยาแก้เตโชธาตุพิการ จำนวน ๗ ขนานยาแก้โรคต่างๆ อีกมากมาย รวมทั้งน้ำมันนวดพระเส้นอันทพฤก น้ำมันทรงพระนขา แก้ริดสีดวง ฯลฯ ดังเช่นตำรายาน้ำมันทรงแก้พระเกศาหล่น ให้คันให้หงอก ตำราพระโอสถพระนารายน์ ได้กล่าวไว้อย่างละเอียด ดังนี้“ขนานหนึ่งให้เอาเปลือกมะขาม รากรักขาว รากชะคราม รากผักเสี้ยนผี รากชาลีขม เครือเขา อีเหมือน หว้านพระตะบะ หว้านพระตะหึง ต้นเทียนนา บรเพ็ด ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน รากลำเจียก พรรณผักกาด สมอไทย รากพิลังกาสา ผักขวง ลูกชุมเห็ด ใบมะกา เสมอภาค สับต้ม ๔ เอา ๑ กรองจงหมดกากแล้ว เอาน้ำมันงาไชยภาคหนึ่ง น้ำยาต้ม ๓ ภาค หุงให้คงแต่น้ำมัน ทรงแก้พระเกษา หล่นแลให้คันให้หงอกเพื่อพระโรคริดสีดวง”           นอกจากตำราพระโอสถพระนารายน์ เล่มดังกล่าวแล้ว หอสมุดแห่งชาติ ยังนำเข้าข้อมูลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องไว้อีกหลายเรื่อง เช่น ตำรายาครรภ์รักษา ตำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ ๒ ตำราลักษณะไข้ เป็นต้น จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ ได้ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ Read from home อ่านออนไลน์ ลดความเสี่ยง เลี่ยง Covid-19 ได้ที่เว็บไซต์ หอสมุดแห่งชาติ www.nlt.go.th บรรณานุกรม ตำราพระโอสถพระนารายน์. พิมพ์ครั้งที่ ๓. พระนคร: หอพระสมุดวชิรญาณ, ๒๔๖๖. (พิมพ์ ในงานปลงศพ นายปั่น ฉายสุวรรณ เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖) ตำราพระโอสถพระนารายน์. พระนคร: หอพระสมุดวชิรญาณ, ๒๔๖๐. (สมเด็จพระบรม ราชินีนารถ พระบรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์) แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ, ๒๕๔๒. สำนักหอสมุดแห่งชาติ. ประชุมคำนำ คำอธิบายหนังสือ ของหอพระสมุดวชิรญาณ เล่ม ๑ กฎหมาย ตำรา การเดินทาง. กรุงเทพ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๙.


ชื่อผู้แต่ง           ศิลปากร,กรม ชื่อเรื่อง            พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ครั้งที่พิมพ์         ๓ พ.ศ. ๒๕๑๔ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์สามมิตร ปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๑๔              จำนวนหน้า         ๕๐ หน้า คำค้น               พระบรมราโชวาท หมายเหตุ  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรีชลยุทธ  เอกพจน์  ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร                หนังสือ พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เล่มนี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่จะชี้ให้เห็นว่า ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงสนพระทัยทางการทหาร ได้ทรงวางรากฐานไว้ในเบื้องแรก โดยทรงจัดตั้งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ขึ้นก่อน และทรงจัดให้เจริญก้าวหน้าตามกำลังความสามารถที่จะทรงกระทำได้สมัยนั้น 



ปกิรณกนิพนธ์.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2478.         หนังสือปกิรณกนิพนธ์ ประกอบด้วยเนื้อหา 4 เรื่อง คือ พลทหารบกเกิดขึ้นอย่างไร, อิริยบถของมนุษย์, โลกธรรม, และ โคลงสุภาษิต นอกจากนี้ได้จัดพิมพ์พระประวัติของพะเจ้าวรวงศเธอ กรมหมื่นภาณุพงศพิริยเดช ไว้ด้วย.


ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ - ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖   ผู้แต่ง : สำนักนายกรัฐมนตรี   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : สำนักนายกรัฐมนตรี                     จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ที่พิมพ์ในเล่มนี้ เริ่มแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ จนถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ รวมเป็นเหตุการณ์ในระยะเวลา ๖ ปี นับได้ว่าเป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี บางเรื่องและก็โดยมากต้องอาศัยพระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาช่วยขยายเรื่องราวให้ทราบละเอียดละออขึ้น


“(ถ้าแม้น) ให้ดวงสมรหนุนกรขวา วิทยาเสื่อมไปไม่ให้ผล”           ข้อความนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือสมุดไทยขาวเรื่อง นางปราสาททอง อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหมึก โดยเรื่องราวของวรรณกรรมกล่าวถึง นางอุบลผู้เป็นแม่เลี้ยงได้ยุยงให้นางปราสาททองขอบรรทมหนุน พระกรข้างขวาของพระศิลป์สุริยวงศ์ ด้วยความรู้ไม่เท่าทันผู้เป็นแม่เลี้ยงที่ต้องการกำจัดพระศิลป์สุริยวงศ์ นางจึงอ้อนวอนขอบรรทมหนุนพระกรข้างขวา แม้พระศิลป์สุริยวงศ์จะกล่าวชี้แจงว่าหากกระทำเช่นนั้น อาคมที่พระองค์มีก็จะเสื่อม แต่นางปราสาททองกลับไม่ยอมเชื่อ คิดแต่เพียงว่าพระศิลป์สุริยวงศ์ไม่ได้รักนาง พระศิลป์สุริยวงศ์จึงจำใจยอมให้นางบรรทมหนุนพระกรขวาของพระองค์ จากนั้นคาถาอาคมของพระองค์ที่มีจึงเสื่อมไป           เรื่องราวในวรรณกรรมอาจมีความแปลก ดูเกินจริง และชวนให้สงสัย เพราะหลายคนส่วนใหญ่ย่อมเคยได้ยินข้อห้ามที่คนมีคาถาอาคมถือกันหลายข้อ เช่น ห้ามกินมะเฟือง ห้ามลอดราวตากผ้า ห้ามลอดบันได ห้ามกินฟักเขียว ห้ามกินของเหลือ ห้ามกินผักปลัง ห้ามกินข้าวหรือกินน้ำในงานศพ ห้ามลอดใต้ถุนบ้าน เหล่านี้เป็นต้น แต่ถ้าหากพิจารณาอย่างถ่องแท้ และพยายามเชื่อมโยงให้เข้ากับความเชื่อที่ยึดถือกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จะพบว่า ข้อความที่ปรากฏในวรรณกรรมนั้น มีความหมายในแนวทางเดียวกันและเข้ากับตำราที่ว่า “หญิงซ้าย ชายขวา” ได้อย่างลงตัว และถ้าหากเราย้อนกลับไปอ่านวรรณกรรมที่มีเรื่องราวของวิถีชาวบ้านและความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์แทรกอยู่ ก็จะช่วยให้คลายความสงสัยได้มากขึ้น           คำกลอนสวัสดิรักษา ของสุนทรภู่ เป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อ “หญิงซ้าย ชายขวา” ความว่า “อย่านอนซ้ายสตรีมักมีภัย” เหตุผลของคนในสมัยก่อนคือ ผู้ที่นอนอยู่ทางขวาคือผู้ที่อยู่ใกล้ประตูห้องมากที่สุด ดังนั้นหากอันตรายใดๆ เกิดขึ้น ฝ่ายชายก็จะสามารถปกป้องคุ้มครองฝ่ายหญิงได้ทันท่วงที           ในเสภาเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน เป็นวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อ “หญิงซ้าย ชายขวา” เช่นกัน ปรากฏในตอนที่ขุนแผนตัดพ้อนางวันทอง ความว่า                      ๏ เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ          เด็ดใบบอนช้อนน้ำที่ไร่ฝ้าย           พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย                      แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน           “ความจริงแล้ว ความเชื่อที่เราถือนั้น เป็นสิ่งที่ดีเสมอ มีเหตุผลเสมอที่ถือ” เพราะความเชื่อใดๆ ล้วนมีคำอธิบายและเหตุผลทั้งสิ้น เพียงแต่คนสมัยก่อนมักสอนไว้ให้เป็นปริศนา เมื่อคนรุ่นหลังต้องมาตีความก็เลยกลายเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ ดังนั้น หากมองความเชื่อนี้ในแง่ของเหตุผล คำกล่าวที่ว่า ถ้าแม้นให้ดวงสมรหนุนกรขวา วิทยาเสื่อมไปไม่ให้ผล นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ และวิถีชีวิตแล้ว ยังเป็นการกล่าวสั่งสอนให้พึงระวัง เพราะคนส่วนใหญ่ถนัดใช้แขนข้างขวา ดังนั้นแขนขวาจึงเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทำงานหรือทำประโยชน์ต่างๆ หากให้ภรรยาหนุนแขนข้างขวา อาจจะส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้า หรือเป็นเหน็บชา และใช้การได้ไม่เต็มที่นัก .............................................................. ข้อมูล/ภาพ : นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เอกสารอ้างอิง :“นางปราสาททอง.” หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นหมึก. ม.ป.ป. เลขที่ ๕๖. หมวดวรรณคดี. กรมศิลปากร. รวมนิทาน บทเห่กล่อม และสุภาษิตของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙. เสฐียรโกเศศ. ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงาน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: ศยาม, ๒๕๓๙. เสภาเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑๘. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๔๔.



องค์ความรู้ เรื่อง "พระจิตรลดา" พระพิมพ์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงสร้างเรียบเรียงโดย นางสาวเบญจพร สารพรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี



จารึกเสาธรรมจักร เมืองโบราณซับจำปา วัสดุ : ศิลา อายุ/สมัย : ทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) ขนาด : สูง ๒๐๒ เซนติเมตร, เส้นผ่านศูนย์กลาง ๓๐ เซนติเมตร สถานที่พบ : เมืองโบราณซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบัน : จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ------------------------------------          ธรรมจักร สัญลักษณ์แสดงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยไม่มีการสร้างพุทธปฏิมา ในประเทศไทยปรากฏการสร้างครั้งแรกในวัฒนธรรมทวารวดี ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะ จากหลักฐานที่พบคาดว่ามีลักษณะเป็นประติมากรรมลอยตัวสลักจากหินที่ประกอบไปด้วย ๒ ส่วนหลัก คือ ส่วนยอดที่ทำเป็นรูปวงล้อเกวียนมีฐานผังสี่เหลี่ยมรองรับวงล้อ และส่วนเป็นเสารองรับในผังเหลี่ยม นิยมพบร่วมกับประติมากรรมรูปกวางหมอบ สื่อถึงการแสดงปฐมเทศนา ‘ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร’ แก่ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน           จังหวัดลพบุรีพบหลักฐานชิ้นส่วนธรรมจักรที่มีจารึกอักษรปัลลวะหลายชิ้น เช่น จารึกบนซี่ล้อธรรมจักร จารึกบนวงล้อธรรมจักร และจารึกบนชิ้นส่วนเสาธรรมจักร เป็นต้น ปัจจุบันทั้งหมดจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ โดยชิ้นที่มีความสำคัญและโดดเด่นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ภูมิใจเสนอ คือ เสาธรรมจักรแปดเหลี่ยมที่มีจารึก อักษรปัลลวะ ภาษาบาลี เนื้อความกล่าวถึงหลักธรรม เช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท ปฐมพุทธอุทาน และพระพุทธอุทาน           สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมจารึกเสาธรรมจักร เมืองโบราณซับจำปา ได้ทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.-------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ -------------------------------------อ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทยไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี, ๒๕๕๖. . ศิลปะทวารดี วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒ นนทบุรี :


***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 17(8)     ฉบับที่ 673(267)    วันที่ 1-15 มีนาคม 2535



Messenger