ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
วัดธาตุประสิทธิ์ อยู่ที่ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ภายในวัดมีพระธาตุสำคัญ คือ พระธาตประสิทธิ์ ตามประวัติกล่าวว่า เป็นเจดีย์เก่าแก่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด ก่อนการปฏิสังขรณ์เคยชำรุดทรุดโทรมมีเถาวัลย์ปกคลุม ภายในพระธาตุมีอุโมงค์ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ ผู้ค้นพบได้แก่ชนเผ่าญ้อซึ่งหนีภัยสงครามการรบพุ่งระหว่างอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์กับพม่าและอาณาจักรเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ ซึ่งพระองค์ได้ทรงบูรณะพระธาตุองค์นี้ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ ๒๒๘๓ เจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร พระนามว่าพระเจ้าขัติยวงศาราชบุตรี มหาฤาไชยไตรทศฤาดิเดช เชษฐบุรีศรีโคตรบูรณ์หลวง ได้บูรณะเสริมยอดสูงประมาณ ๓๐ เมตร พ.ศ ๒๔๓๖ พระเจดีย์ชำรุดทรุดโทรมมาก จนยอดเจดีย์หักลงมาต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๔ พระครูประสิทธิ์ศึกษากร เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้ทำการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเลียนแบบพระธาตุพนมบางส่วน สวดสายต่าง ๆ จะเป็นลวดลายใหม่ ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๗.๒๐ เมตร วัดโดยรอบฐาน ๒๔.๕๐ เมตร สูง ๒๔.๕๒ เมตร มีประตูเปิด-ปิด สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และได้ตั้งชื่อพระธาตุองค์นี้ใหม่ว่า “พระธาตุประสิทธิ์” ตามนามของพระครูประสิทธิ์ศึกษากร เจ้าอาวาสผู้ก่อสร้าง นอกจากนี้ ภายในวัดมีศาลาการเปรียญหลังเก่าซึ่งอยู่ด้านข้างองค์พระธาตุประสิทธิ์มีรูปทรงสวยงาม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ด้านในศาลาปรากฏภาพเขียนเป็นภาพพุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติตรัสรู้และปรินิพพานโดยแบ่งเป็น ๑๒ ตอน ได้แก่ ตอนประสูติ ตอนลองศร ตอนอภิเษก ตอนออกชมสวน ตอนเสด็จออกบรรพชา ตอนตัดพระโมฬี ตอนบำเพ็ญทุกรกิริยา ตอนถวายข้าวมธุปายาต ตอนมารผจญ-ตรัสรู้ ตอนโปรดปัญจวัคคีย์ ตอนเสด็จเยี่ยมพระนางพิมพา และตอนเสด็จปรินิพพาน ภาพพุทธประวัติทั้ง ๑๒ ภาพ โครงสีส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง น้ำตาล ดำ ซึ่งเป็นสีฝุ่น ที่ภาพแรกปรากฏชื่อว่าเป็นฝีมือของหม่อมหลวงมรกต บรรจงราชฯ มีนายสิงห์ วะชุม เป็นผู้ช่วย ภาพเขียนคงจะวาดขึ้นหลังจากปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ส่วนเสาของศาลาการเปรียญเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ แต่ละด้านของเสามีภาพสาวกของพระพุทธเจ้าอยู่ทุกเสา องค์สาวกห่มจีวรสีเหลืองสดใส มีพื้นหลังเป็นสีฟ้าครามทุกภาพ ด้านบนถึงด้านล่างองค์สาวกประดิษฐ์ลวดลายไทยด้วยสีน้ำตาล เหลือง พื้นสีฟ้าคราม แต่ละภาพไม่ปรากฏนามผู้วาด แต่จากลักษณะภาพเปรียบเทียบกับภาพที่ผนัง ซึ่งเป็นภาพพุทธประวัติแล้วคนวาดน่าจะเป็นคนละคนกันและต่างสมัยกันด้วย เพราะลักษณะของลายเส้นและการใช้สีต่างกัน ศาลาการเปรียญแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ (พระกฐินต้น) ณ วัดธาตุประสิทธิ์ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕ อีกด้วย----------------------------------------------------ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี----------------------------------------------------อ้างอิง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณหิสวิไชย)
สพ.บ. 241/1งประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 59.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภธมฺม (สังคิณี-ยมก)
สพ.บ. 375/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 76 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.157/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 94 (17-21) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.38/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อุโปสถสีล (อุโปสถสีล 8 ประการ)
ชบ.บ.100/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.317/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 12 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 129 (321-328) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : เตปิฎกานํสกถา (ฉลองปิฎก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระองค์เจ้าหญิงมาลินีนภดารา เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๔๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๒๘ ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี และพระขนิษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา" หลังจากนั้น ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี"
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๖๗ พระชันษา ๔๑ ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา"
หลังรัชกาลที่ ๗ ออกพระนามเป็น “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
ภาพ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
ชื่อเรื่อง : ประชุม พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาคที่ ๓ (ตอน ๒) ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๓๔ ถึงพุทธศักราช ๒๔๕๓ ชื่อผู้แต่ง : นายกรัฐมนตรี ปีที่พิมพ์ : 2513สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีจำนวนหน้า : 496 หน้าสาระสังเขป : เป็นการรวบรวมพระราชหัตถเลขาที่ทรงบริหารราชการแผ่นดินระหว่าง พ.ศ. 2434 - 2453 พระราชทานไปยังเสนาบดีเจ้ากระทรวง ที่กราบบังคมทูลถวายรายงานข้อราชการในสังกัด ส่วนใหญ่ เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ พระเจ้าน้องยาเธอ หรือขุนนางผู้ใหญ่ชั้นเสนาบดีจตุสดมภ์ ตั้งแต่ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 110 ถึง วันที่ 5 กรกฎาคม ร.ศ. 129 ประกอบด้วย เรื่องเกี่ยวกับชาวจีนในด้านคดี ความต่างๆ การก่อความวุ่นวายของอั้งยี่ เป็นต้น
การสำรวจศิลปกรรมภาพลายเส้นใบเสมาบ้านคอนสวรรค์
โดย นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส
ใบเสมาบ้านคอนสวรรค์ ตั้งอยู่บ้านคอนสวรรค์ หมู่ที่ ๘,๙ และ ๑๑ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นชุมชนโบราณที่ปรากฎหลักฐานและร่องรอยการอยู่อาศัยของคนในอดีตมาตั้งแต่สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖ หลังจากนั้นปรากฏพบหลักฐานร่องรอยวัฒนธรรมขอมภายในชุมชน แต่พบหลักฐานค่อนข้างน้อย และเป็นไปได้ว่าชุมชนอาจทิ้งร้างไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งในสมัยวัฒนธรรมไท – ลาว เมื่อประมาณ ๑๐๐ – ๒๐๐ ปีมาแล้ว มีคนกลุ่มใหม่เข้ามาอยู่อาศัยภายในชุมชนอีกครั้ง ดังปรากฏอาคารโบราณสถานอุโบสถ (สิม) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สร้างตั้งอยู่ในวัดบ้านคอนสวรรค์
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา (ขณะนั้น) ดำเนินงานบูรณะอาคารอุโบสถ (สิม) วัดบ้านคอนสวรรค์
ใบเสมาบ้านคอนสวรรค์ เป็นใบเสมาที่ทำจากหินทรายจำนวนมาก บริเวณที่พบนั้นเป็นเนินดินที่อยู่นอกเมือง เรียกว่า โนนกู่ ใบเสมาเหล่านี้ถูกนำไปเก็บไว้ที่ต่างๆ รอบหมู่บ้าน จนกระทั่งปัจจุบันได้นำมารวบรวมเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านคอนสวรรค์ ใบเสมาเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแผ่นหิน และพบการสลักลวดลายประดับเป็นภาพบุคคลตามเรื่องราวชาดกตอนต่างๆ ในพุทธศาสนา ได้แก่ เวสสันดรชาดก สุวรรณสามชาดก ภูริฑัตชาดก เตมียชาดก มโหสถชาดก เทวธรรมชาดกหรือสีวิรราชชาดก มาตุโปสกชาดก
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลภาพลายเส้นตามร่องรอยที่หลงเหลืออยู่จริง
๒. ดำเนินการวิเคราะห์ลายเส้นใบเสมา ร่วมกับนักโบราณคดี เพื่อเติมเต็มภาพลายเส้นให้สมบูรณ์
๓. ดำเนินการเติมภาพลายเส้นให้สมบูรณ์ ที่ได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์
๔. ดำเนินการจัดทำเสกลหน้างานจากแหล่งใบเสมา เพื่อให้ได้ความแม่นยำของระยะของลวดลาย
๕. ดำเนินการวาดภาพลายเส้นใบเสมาให้สมบูรณ์ตามแนวทางการวิเคราะห์ร่วมกับนักโบราณคดี
๖. ภาพผลงานการวาดลายเส้นลวดลายใบเสมาที่เติมเต็มให้สมบูรณ์ บนกระดาษกราฟที่เข้าเสกลตามสัดส่วนจริง
๗. นำภาพผลงานการวาดลายเส้นลวดลายใบเสมาที่เติมเต็มให้สมบูรณ์ มาดำเนินการวาดเส้นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Illustrator เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายต่อไป
ตอน การเกล้าผมตามแบบฉบับแม่หญิงล้านนา ในอดีตอาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีวัฒนธรรมเฉพาะ ทั้งทางด้านภาษา ด้านอาหารการกิน รวมไปถึงการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและการแต่งกายที่งดงาม โดยเฉพาะแม่หญิงชาวล้านนาที่มีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถบ่งบอกถึงแหล่งที่อยู่อาศัย การเกล้าผมมวย เป็นลักษณะหนึ่งในการแต่งกายแบบแม่หญิงชาวล้านนา โดยตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ผู้หญิงชาวล้านนามักไว้ผมยาวจนถึงปลายซิ่น และเกล้าผมมวยให้อยู่ด้านหลังของศีรษะ หรืออยู่ประมาณสูงกว่าท้ายทอยของศีรษะ รูปแบบการเกล้าผมมวยของชาวล้านนานั้น โดยทั่วไปนิยมใช้หวีสับกวาดเส้นผมจากหน้าผากให้เรียบ แล้วใช้หวีสับไว้ใกล้มวยผม ส่วนตรงผมมวยอาจจะเหน็บปิ่นรั้งเอาไว้เพื่อไม่ให้มวยผมหลุด บ้างหาดอกไม้สดเสียบเพิ่มความสวยงาม หากมีฐานะมักจะตกแต่งผมด้วยดอกไม้ไหวที่ทำขึ้นจากทองเหลือง นอกจากทรงผมเกล้ามวยแบบที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการเกล้าผมแบบอื่นด้วย เช่น การเกล้าผมมวยแบบชักหงีบ คือ ดึงผมด้านหน้าตรงกลางให้เรียบ แล้วใช้นิ้วสอดสองข้างตรงขมับ ให้ผมโป่งออกมาเล็กน้อย การเกล้าผมวิดหว้อง คือ การเกล้าผมบริเวณกลางศีรษะ โดยมีการดึงผมออกมา เรียกว่า ว้อง เพื่อเป็นห่วงกลางมวยผม การเกล้าผมแบบอั่วซ้อง คือ การเกล้าผมโดยนำเอาผมเป็นช่อ เรียก ช้อง (จ๊อง) นำมามัดกับเศษผมทาชันโรงและนำผมบางส่วนไปเสริมบนศีรษะก่อนมวยเพื่อให้มวยผมมีขนาดโตขึ้นและประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ในสมัยต่อมา ทรงผมที่นิยมคือ ทรงผมแบบอี่ปุ่น (ญี่ปุ่น) ซึ่งผู้ทำให้ผมทรงนี้จนเกิดความนิยมกันอย่างแพร่หลาย คือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้นำการเกล้าผมแบบญี่ปุ่นมาใช้ เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๕๗ รูปแบบการทำผมทรงนี้คือ เกล้ามวยผมขึ้นสูงเหนือท้ายทอย บริเวณท้ายทอยอาจดึงให้ตึงหรือโป่งตามความพอใจ ส่วนด้านหน้าของทรงผมใช้หมอนหนุนให้มองดูสูงแล้วปักปิ่นตรงมวยด้านใดด้านหนึ่งแล้วเหน็บหวีควาย หากเป็นสาวชาวบ้านจะเน้นปักผมด้วยดอกเอื้อง (ดอกกล้วยไม้) ดอกหอมนวล (ลำดวน) ดอกมะลิ ดอกสลิด (ดอกขจร) สลับเวียนกันไป การตกแต่งด้วยดอกไม้นี้ ถือเป็นการบูชาขวัญแห่งตน ซึ่งดอกไม้ที่ใช้มักมีสีอ่อน กลิ่นหอม และมีความหมายดี ปัจจุบันการเกล้าผมในชาวล้านนานั้นยังพอพบเห็นได้บ้าง นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์การแต่งกายแบบชาวล้านนา การเกล้ามวยผมแบบแม่หญิงล้านนาจึงสามารถพบเห็นได้ในโอกาสพิเศษ หรือการแต่งกายเพื่อการรำฟ้อน หรือตามประเพณีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทางภาคเหนือ ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.ภาพส่วนบุคคลชุดนายบุญเสริม สาตราภัย.อ้างอิง :๑. รัตนา พรหมพิชัย. "เกล้าผม (การแต่งกาย)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒: ๔๓๔ - ๔๓๖. ๒. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๖๑. "วิธีการดูแลเส้นผมของคนล้านนาโบราณ ที่บางคนไม่ยอมตัดไว้ยาวถึงพื้นก็มี" ใน คอลัมภ์ล้านนาคำเมือง (Online). https://www.matichonweekly.com/column/article_138323, ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕.