ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

สุภาษิตขงจู๊และวิธีประกอบอาหารจีนแบบง่าย ๆ. พระนคร : กรมศิลปากร, 2511.        รวบรวมสุภาษิตขงจู๊ ด้านศีลธรรม การให้มีสติปัญญา ข้อควรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และท้ายเล่มมีวิธีการประกอบอาหารจีนอย่างง่าย                           


บทความจากกฤษฎา นิลพัฒน์ นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร  



ก่อนจะเข้าสู่บทความแอดมิน วีรวัฒน์ขอให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ "นิราศ" ก่อนครับนิราศ...คือ เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลงนิราศ...มักถูกพบ เเละเก็บรักษาไว้ในเเหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น ห้องสมุด หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ นักสะสมหนังสือ นักสะสมวรรณกรรมท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นนิราศ...ถูกโต้เเย้งว่าจะเก็บไว้หอสมุดหรือหอจดหมายเหตุนิราศ...ถ้าเป็นต้นฉบับ เป็นลายมือเขียน รับมอบมาโดยตรง จะถูกเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุนิราศ...ที่เป็นหนังสือ จัดพิมพ์ ทำซ้ำ สำเนา หรือพิมพ์เป็นหนังสืองานศพ จะถูกจัดเก็บในหอสมุดแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ใหม่จะอยู่ในหมวดวรรณกรรมให้บริการในห้องหนังสือทั่วไป แต่ถ้าเป็นฉบับพิมพ์เก่า จะอยู่ใน ส่วนของหนังสือท้องถิ่น หนังสืองานศพ หนังสือหายากนิราศ...ถ้าถูกจัดเก็บสะสมโดยบุคคลเเละถูกส่งมอบต่อ ติดมาพร้อมเอกสารจดหมายเหตุที่บุคคลนั้นมอบให้ หรือประสงค์ให้กับหอจดหมายเหตุหรืออาจติดปะปนหนังสือราชการซึ่งผู้ปฏิบัติงานนั้นสะสมไว้ จะคัดเเยกเเละถูกเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ใน ประเภท หนังสือหายากนิราศ...เป็น สารสนเทศ เพื่อการเผยแพร่ จัดเป็นสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกับ นวนิยาย หรือวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เเต่ก็สามารถใช้ข้อมูล วันเวลา สถานที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้นิราศ...ที่ถูกจัดเก็บในหอจดหมายเหตุส่วนบุคคลนิราศก็จะกลายเป็นมรดกของบุคคลนั้น ที่เอามาเก็บในหอจดหมายเหตุเพื่อแสดงอัตลักษณ์ ว่า เขาผู้นั้น เป็นคนที่ชอบสะสม หนังสือนิราศ หรือวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น นิราศทุ่งหวัง นิราศเทพา พบได้จากการสะสมของนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์ หัวหน้างานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ที่ได้เเบ่งปันข้อมูลในทางกลับกัน ถ้านิราศนั้น คนสะสมหรืออาจารย์จรัส เป็นคนเขียนเป็นต้นฉบับ ก็กลายเป็นงานของเขา นิราศจะกลายเป็นจดหมายเหตุ ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม (CUTURAL HERITAGE)ซึ่งเอกสารจดหมายเหตุ (ARCHIVES) มาจาก เอกสารราชการ (RECORDS) + มรดกทางวัฒนธรรม (CUTURAL HERITAGE)นิราศ...ในความเห็นแอดมิน สามารถตีความได้กับการบันทึกเหตุการณ์สำคัญในขณะนั้น เพราะปรากฎ วัน เวลา สถานที่ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ต่างเพียงเเค่ใช้ลีลาการเรียบเรียง โดยใช้ร้อยกรอง เช่นกลอน โคลง เเทนการใช้ร้อยเเก้วเรียบเรียงโดยการบันทึกเหตุการณ์นิราศ...สามารถนำข้อมูลมาเติมเต็มข้อมูลชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ หรือเอกสารจดหมายเหตุได้ ถ้านิราศนั้นเขียนในสมัยบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้นๆ เช่น นิราศทุ่งหวัง ประพันธ์โดยกระจ่าง แสงจันทร์ (ก. แสงจันทร์) ครูผู้ถวายพระอักษรพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ก็สามารถนำนิราศมาเติมเต็มเอกสารจดหมายเหตุในสมัยนั้นที่ขาดหายหรือไม่ได้กล่าวถึงในเอกสารราชการนั้นได้นิราศ...จึงไม่เป็นเพียงเเค่วรรณกรรมที่เขียนถึงคนรัก หรือเรื่องเชิงสังวาสดังเช่น นิราศทุ่งหวังนี้ ให้ประโยชน์ในการบันทึกเรื่องราวระหว่างการเดินทางลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เรื่องราวท้องถิ่นดังพระประสงค์ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์สนจิตคิดแต่ถ้อย ระยะทางไม่ประสงค์ถึงนาง แน่งน้อยนักอ่านอย่าอางขนาง โอษฐ์ขนาบ นาพ่อผิวผิดคำถ้อย ขัดข้อง ขออภัยสรุปว่า เราจะพบนิราศเก็บรักษาในห้องสมุดมากกว่าเเหล่งอื่นใด และพบอยู่ในนักสะสมที่มีหอจดหมายเหตุส่วนบุคคล จนกว่าท่านนั้นจะส่งมอบหรือประสงค์มอบให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อใช้เติมเติมเอกสารจดหเป็นจดหมายเหตุ หรือท่านนั้น เป็นเครือข่ายงานจดหมายเหตุกับหอจดหมายเหตุนั้น ๆดังที่นายวีรยุทธ พุทธธรรมรงค์ นักจดหมายเหตุนำเสนอ บทความ เรื่อง จากสุนทรภู่ ถึง กระจ่าง แสงจันทร์ ๑๐๐ ปี นิราศเทพา และนิราศทุ่งหวังที่ได้ข้อมูลจากนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์หัวหน้างานจดหมายเหตุเเละพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา (นักสะสม) เเละนายวุฒิชัย เพชรสุวรรณ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ อบจ. สงขลา เก็บข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยการเสด็จ ซึ่งทั้งสองเป็นเครือข่ายงานจดหมายเหตุ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลาติดตามได้จากบทความนี้ใน แผ่นภาพบทความที่เเนบในอัลบั้มนี้ 



 แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดง : ชุมชนโบราณสมัยทวารวดีที่ถือว่าเก่าที่สุดในจังหวัดพิจิตร #โบราณคดีจังหวัดพิจิตร #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า..#แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดง ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เป็นชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในยุคประวัติศาสตร์ที่ถือว่าเก่าที่สุดในจังหวัดพิจิตร ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มต่ำ มีลำน้ำหลายสายในพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบ ผังเมืองมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอคล้ายรูปวงกลม พบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันคงเหลือหลักฐานไม่มากนัก เนื่องจากที่ตั้งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ถูกทำลายไปส่วนใหญ่ ชุมชนวังแดงนับว่าเป็นชุมชนสำคัญ เพราะมีการขุดสระกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่บ้านสระเพ็ง เรียกอีกชื่อว่า “#สระเพ็ง” นอกจากนี้ ยังปรากฎว่ามีการค้นพบเหรียญเงินสมัยทวารวดี ลักษณะคือด้านหนึ่งเป็นรูปพระอาทิตย์ ส่วนอีกด้านเป็นรูปสัญลักษณ์พระนารายณ์ หรือ ที่เรียกว่า “#เหรียญเงินศรีวัตสะ” ซึ่งมีอายุสมัย ๑,๒๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว.พ.ศ. ๒๕๓๒ ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม ได้สำรวจและตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีบ้านวังแดงไว้ในหนังสือเรื่อง “เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย” โดยเรียกว่า ชุมชนบ้านคลองเดื่อ ซึ่งมีการสำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยทวารวดี เช่น ซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ และมีเหรียญเงินแบบทวารวดีที่มีผู้ขุดพบเป็นจำนวนมาก ชุมชนโบราณที่บ้านคลองเดื่อนี้ ยังปรากฏร่องรอยของคูน้ำคันดินให้เห็นบางส่วน ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร ในเขตบ้านวังแดงได้มีการสำรวจพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ปรากฏเศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อไม่แกร่ง หรือ ประเภทเนื้อดิน (Earthenware) กระจายตัวทั่วไปตามเนินดินที่อยู่ใกล้เคียง ดังนั้นชุมชนโบราณที่บ้านคลองเดื่อจึงสัมพันธ์กับสระน้ำขนาดใหญ่ที่บ้านวังแดง .ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๓ สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย (ในขณะนั้นคือ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๕ สุโขทัย) ได้รับแจ้งจากพระครูพิลาศธรรมวิมล เจ้าอาวาสวัดวังแดง ให้มาตรวจสอบโบราณสถานที่บ้านวังแดง ซึ่งจากการสำรวจได้พบซากโบราณสถานหลายจุดก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ที่มีร่องรอยของแกลบข้าวเป็นส่วนผสม แต่เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมจึงทำให้ร่องรอยเหล่านั้นถูกทำลายไปจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบเหรียญเงินรูปพระอาทิตย์และศรีวัตสะซึ่งอยู่ในความครอบครองของราษฎรในพื้นที่ ในเบื้องต้นจึงกำหนดอายุของแหล่งโบราณคดีอยู่ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔.ในเวลาต่อมา พ.ศ. ๒๕๕๖ สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย จัดทำ #โครงการโบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีแผนการดำเนินงานส่วนหนึ่ง คือ การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดง เพื่อศึกษาแหล่งวัฒนธรรมสมัยทวารวดี ที่ปรากฏอยู่ไม่มากนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและจังหวัดพิจิตร โดยคาดว่าผลการศึกษาจะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่เชื่อมโยงให้เห็นถึงพัฒนาการของชุมชนโบราณต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างก่อนจะเกิดอาณาจักรสุโขทัย.ผลจากการศึกษาข้างต้นทำให้ได้ข้อสรุปว่า แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดงเป็นชุมชนโบราณสมัยทวารวดี โดยปรากฎร่องรอยกิจกรรมการอยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยนั้น มีการพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อไม่แกร่งประเภทเนื้อดิน (earthenware) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มักพบอย่างแพร่หลายในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีแห่งอื่น ๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองโบราณอู่ตะเภา จังหวัดชัยนาท เป็นต้น รูปแบบภาชนะที่พบแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มภาชนะใช้ในครัวเรือน เช่น หม้อมีสัน หม้อก้นกลม ไห อ่างและชามต่าง ๆ ส่วนอีกกลุ่มได้แก่ กลุ่มภาชนะที่ใช้ในโอกาสอื่น ๆ รวมทั้งกิจกรรมทางศาสนา พบน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มแรก ส่วนใหญ่เป็นภาชนะประเภทจานหรือชามมีเชิงสูง หม้อน้ำมีพวย ตะเกียง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบโบราณวัตถุประเภทอื่นที่อยู่ในความครอบครองของราษฎรในพื้นที่ซึ่งมีความร่วมสมัยกับชุมชนสมัยทวารวดีแห่งอื่น  เช่น เหรียญเงินรูปพระอาทิตย์และศรีวัตสะ แม่พิมพ์เหรียญรูปสังข์ ลูกปัดหิน ลูกปัดดินเผา เป็นต้น.เมื่อนำผลการศึกษาโบราณวัตถุที่พบจากการขุดค้นและการสำรวจมาวิเคราะห์เปรียบเทียบร่วมกับการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้นำตัวอย่างดิน อิฐ และเศษภาชนะดินเผาไปทำการวิเคราะห์ จึงสันนิษฐานว่า แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดง มีอายุสมัยอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔.:: เอกสารอ้างอิง ::กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย. โบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดง ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร. กรุงเทพฯ : บริษัท บางกอกอินเฮ้าส์ จำกัด, ๒๕๕๗.ศรีศักร วัลลิโภดม. เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๒...#โบราณคดีจังหวัดพิจิตร #พี่โข๋ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า#โบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง#องค์ความรู้ออนไลน์


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           33/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              48 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


อาฎานาฎิยสุตฺต (อาฎานาฎิยสูตร) ชบ.บ 125/1ข เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 163/3 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


           เถาะนักษัตร          วันขึ้นปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมนับวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามระบบการนับวันเวลาแบบจันทรคติ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงเปลี่ยนให้วันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นวันที่ ๑ เมษายน เนื่องจากระบบการนับจันทรคติไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ในขณะนั้นมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น ดังความตอนหนึ่งในลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า   “...พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์ว่าประดิทินที่ใช้กันในโลก ประเทศทั้งปวงรับใช้ประดิทินสุริยคติอย่างฝรั่งมากขึ้นทุกที่ ประดิทินทางจันทรคติมีที่ใช้น้อยลง ต่อไปวันน่าโลกคงจะใช้ประดิทินสุริยคติด้วยกันหมด ควรจะเปลี่ยนประดิทินไทยไปใช้สุริยคติเสียทีเดียว...” [สะกดตามข้อความต้นฉบับ]            ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ ๑ มกราคม โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา* และยังคงนับเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน          คติการนับปีตามนักษัตรของไทยนั้นสันนิษฐานว่ารับอิทธิพลจากจีนที่ไทยรับผ่านวัฒนธรรมเขมร โดยปรากฏหลักฐานอย่างน้อยสมัยสุโขทัย ข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ กล่าวว่า “...[มหาศักราช] ๑๒๑๔ [ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๓๕] ศกปีมะโรงพ่อขุนรามคำแหง...” รวมถึงบ้านเมืองที่ร่วมสมัยกันโดยเฉพาะดินแดนล้านนา พบการกล่าวถึงชื่อนักษัตรด้วยเช่นกัน อาทิ จารึกวัดพระยืน (ลพ. ๓๘) อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย จุลศักราช ๗๓๒ [ตรงกับ พ.ศ. ๑๙๑๓] ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๐ กล่าวว่า “...เมื่อท่านเป็นเจ้ามานั้นในปีระกา เดือนเจียง...” และจารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย (พะเยา) (ลพ.๙) อักษรฝักขาม ภาษาไทย พ.ศ. ๑๙๕๔ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ ปรากฏคำว่า “ปีมะแม”          อีกทั้งในวัฒนธรรมล้านนามีคำในภาษาตระกูลไทเกี่ยวกับ ๑๒ นักษัตร เช่น ไจ้ (ชวด) เป้า (ฉลู) ยี่ (ขาล)... ฯลฯ และพบชื่อนักษัตรเหล่านี้ได้ตามจารึกในล้านนาหลายหลัก บางครั้งพบการนับปีนักษัตรทั้งแบบอิทธิพลเขมรและวันแบบไท เช่น จารึกหลักที่ ๓๘ จารึกกฎหมายลักษณะโจร อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ กล่าวว่า “...ศกฉลูนักษัตรไพสาขปุรณมีพฤหัสบดี...”          อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนปีนักษัตรในทางโหรศาสตร์นั้นจะเปลี่ยนในดิถีขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวาระเปลี่ยนปีนักษัตรตามปฏิทินโหราศาสตร์ที่นับวันแบบจันทรคติ ซึ่งเป็นวิธีคิดของศาสนาพราหมณ์จากอินเดียระบุให้วันขึ้นปีใหม่เป็นเดือน ๕ จึงทำให้โหรเริ่มนับปีนักษัตรใหม่ที่เดือน ๕ ด้วยเช่นกัน ขณะที่การบันทึกปีนักษัตรลงในใบสูติบัตร และเอกสารทะเบียนราษฎร์นั้น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะบันทึกตามปฏิทินหลวงที่นับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ และวันสุดท้ายของปีนักษัตรคือวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒          สำหรับ พ.ศ. ๒๕๖๖** นี้ ตรงกับปีนักษัตร เถาะหรือกระต่าย เป็นสัตว์สัญลักษณ์ลำดับที่สี่ในบรรดาสัตว์ทั้ง ๑๒ ของรอบปีนักษัตร กระต่ายเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของพระจันทร์ ดังปรากฏในวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑) กล่าวว่าบนพระจันทร์มีรูปกระต่าย หรือ อรรถกถา “สสปัณฑิตชาดก” มีเรื่องย่อว่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่าย มีความตั้งใจรักษาศีลและให้ทาน ท้าวสักกะ (พระอินทร์) ได้แปลงเป็นนายพรานมาทดสอบจิตใจด้วยการขออาหาร ซึ่งพระโพธิ์สัตว์แสดงการให้ทานด้วยการกระโดดเข้ากองไฟเพื่อให้ตนเป็นอาหารแก่นายพราน แต่ไฟมิอาจทำอันตรายใดได้ นายพรานจึงบอกความจริงและสรรเสริญพระโพธิ์สัตว์พร้อมทั้งเขียนรูปกระต่ายไว้บนดวงจันทร์เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณความดีที่พระองค์พร้อมสละตนเป็นทานแก่สรรพสัตว์           ครั้นสมัยรัชกาลที่ ๓ บันทึกของบาทหลวงปาลเลกัวซ์ (Pallegoix) ระบุว่าคนไทยถือว่ากระต่ายเป็นสัตว์เจ้าปัญญาและเจ้าเล่ห์ นิทานหลายเรื่องล้วนกล่าวถึงกระต่ายมีลักษณะปราดเปรียวและฉลาดเหนือสัตว์อื่น รวมทั้งจุดในดวงจันทร์ก็มองว่าเป็นรูปกระต่ายด้วย ดังนั้นกระต่ายในทรรศนะของคนโบราณจึงมองว่าสัมพันธ์กับดวงจันทร์ (แม้กระทั่งสำนวนไทยยังมีคำว่า กระต่ายหมายจันทร์ ซึ่งหมายถึง ผู้ชายหมายปองผู้หญิงมีฐานะดีกว่า ) และอุปนิสัยของกระต่ายนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่ตามพื้นดิน มีความคล่องแคล่ว ว่องไว ดังเช่น คำพรรณนาในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ แต่งขึ้นในคราวพระองค์ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี ความตอนหนึ่งกล่าวว่า              กระต่ายหลายพงศ์พรรค์ เต้นชมจันทร์หันตัวตาม ซ่อนซุ้มชุมเหลือหลาม ยามออกเล่นเต้นชมกัน ฯ           กระต่ายหลายพวกพ้อง พรรค์งาม ชมชื่นแสงจันทร์ตาม ไล่เหล้น ซ่อนซุ้มชุมเหลือหลาม หลายเหล่า ยามเมื่อออกเล่นเต้น โลดเลี้ยวชมกัน ฯ           และในโคลง “สัตวาภิธาน” แต่งโดยพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ (สมัยรัชกาลที่ ๕) ระบุถึงชื่อสัตว์จำพวกต่าง ๆ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า          กระต่ายออกเต้นตามพง ฟุบแฝงกอปรง          กระโดดแลโลดลำภอง            นอกจากนี้กระต่ายยังเป็นสัตว์เลี้ยงของราชสำนักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐาน “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” กล่าวว่าบริเวณตำหนักคูหาสวรรค์เป็นสวนกระต่าย ดังข้อความกล่าวว่า    “...มีพระตำหนักห้าห้อง ฝาเขียนทองพื้นลงรักอยู่ในกลางสวนกระต่าย ๑ มีประตูเข้าไปพระตำหนักตึกใหญ่ ผนังนอกทาแดง ชื่อพระตำหนักโคหาสวรรค์ ๑ พระตำหนักนี้เปนที่ประทับของสมเดจพระพรรวษาใหญ่ ซึ่งเปนพระราชเทวีสมเดจพระนารายน์แต่ก่อนมา ครั้นภายหลังมาเปนพระคลังฝ่ายใน...”            แม้กระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ บริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาสในเขตฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เดิมเป็นวัดหลวงชี*** สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้ทำเป็นสวนกระต่าย ดังข้อความใน “ตำนานวังหน้า” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า     “...ที่วัดหลวงชี ครั้งรัชกาลที่ ๑ ทำนองจะไม่มีหลวงชีอยู่ดังแต่ก่อน กุฏิหลวงชีร้างชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดให้รื้อกุฏิหลวงชีเสียหมด ทำที่นั้นเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย เข้าใจว่าที่ตรงนี้แต่เดิมก็เห็นจะเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย เอาอย่างพระราชวังหลวงที่กรุงศรีอยุธยาจึงปรากฏว่ามีตำหนักอยู่ในนั้น...”     *ดังนั้น พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงมีระยะเวลา ๙ เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม **ตรงกับ ปีเบญจศก จุลศักราช ๑๓๘๕ และ รัตนโกสินทร์ศก ๒๔๒ ***หลวงชีในที่นี้หมายถึง นางชีนามว่า “นางแม้น” มารดาของนักองค์อี (ซึ่งเป็นพระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าอุไทยราชาแห่งกัมพูชา และเป็นพระสนมของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)     อ้างอิง กรมศิลปากร. ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พระมหาธรรมราชาที่ ๑ พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๖. กรมศิลปากร. นามพรรณพฤกษา สัตวาภิธาน และ นิติสารสาธก. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๖๕. กรมศิลปากร. ปฏิทินหลวงพระราชทานกับการกำหนดปีนักษัตรของไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๖๖, จาก: https://www.finearts.go.th/literatureandhistory/view/22641-ปฏิทินหลวงพระราชทานกับการกำหนดปีนักษัตรของไทย คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๔. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังหน้า. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ: แสงดาว, ๒๕๕๓. ส. พลายน้อย (นามแฝง). สิบสองนักษัตร. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๗. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สบ.๒.๑๙/๔. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เรื่อง วินิจฉัย จุลศักราช รัตนโกสินทร์ศก (๑๙ พ.ย. ๒๔๖๖).  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           17/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง         - ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายจุล  กาญจนลักษณ์ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       บัณฑิตการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2530 จำนวนหน้า      153  หน้า หมายเหตุ        หนังสืออนุสรณืในงานพระราชทานเพลิงศพนายจุล  กาญจนลักษณ์ รายละเอียด      หนังสือที่ระลึกงานศพ  นายจุล  กาญจนลักษณ์ ผู้ปรุงสุราแม่โขง  กวางทองและอื่นๆประกอบด้วยเรื่อง  สำคัญ  ดังนี้ ประวัติผู้วายชนม์  คำไว้อาลัย  พระธรรมเทศนา  ของพระศาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส  พระบรมราโชวาท ร.5 คู่มือทำให้มั่งมีของสมเด็จพระพุทธาจารย์ (โสมฉนโน)พระเจดีย์ไชยมงคล ของม.ร.วคึกฤทธิ์  ปราโมทย์  พระราชบัญัติสุรา พ.ศ.๒๔๙๓   ศาลเจ้าพ่อเสือของพระครูพวนโกศล (ช.อิสรานนท์ )และมงคลวันครองเรือนของศรีวัน


แนะนำ E-book หนังสือหายาก เรื่อง อัตชีวประวัติเกิดวังปารุสก์ เล่ม 3 สมัยยุทธภัย จุลจักรพงษ์, พันตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. อัตชีวประวัติเกิดวังปารุสก์ เล่ม 3 สมัยยุทธภัย. พระนคร: ร.พ. อุดม, 2496.


ชื่อผู้แต่ง              - ชื่อเรื่อง               อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายฟุ้ง  ศรีวิจารณ์ ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        กทม. สำนักพิมพ์          หจก. ดอกจันทร์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์              ๒๕๓๓ จำนวนหน้า          ๑๗๐  หน้า                          บุตร – ธิดา ของคุณฟุ้ง  ศณีวิจารณ์ จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายฟุ้ง  ศรีวิจารณ์ ป.ม. , ท.ช. , ต.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เนื้อหาของหนังสือประกอบด้วย ๔ ส่วนคือ ส่วนแรก เป็นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ส่วนเรื่องที่สองเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เบื้องหลังของการสร้างวัดไทยพุทคยาประเทศอินเดีย ส่วนที่สามเป็นบทความที่นายฟุ้ง  ศรีวิจารณ์ เขียนลงในหนังสือต่าง ๆ ได้แก่ เรื่อง “ส่วนสูงเป็นเหตุ” “กำเนิดดนตรีไทยเทพศิรินทร์” และ “จระเข้หางยาว” และส่วนที่สี่ เป็นโน๊ตดนตรีไทย ที่บันทึกไว้ด้วยลายมือนายฟุ้ง  ศรีวิจารณ์ คัดลอกมาจากต้นฉบับจริงโดยมิได้มีการดัดแปลงแก้ไข


          ในสังคมชาวพุทธ เราถูกสอนให้เข้าใจถึงความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน มีขึ้น มีลง มีสูง มีต่ำ มีใหม่ มีเก่า ฯลฯ ทุกอย่างมีความเสื่อมเป็นธรรมดา จิตใจมนุษย์ก็เหมือนกัน มีการแปรเปลี่ยนตลอดวัน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มีความทุกข์ร้องไห้ มีความสุข สนุกสนาน ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ใดอยู่ได้นาน ตามแต่สถานการณ์ต่างๆ จะนำพาไป ในทางพระพุทธศาสนาเปรียบจิตใจมนุษย์เหมือนลิง จิตมีเกิดดับ อุปมาเหมือนลิงท่องเที่ยวในป่าใหญ่ ห้อยโหนกิ่งไม้จากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง จิตมนุษย์มีการเคลื่อนไหวเฉกเช่นเดียวกัน มีความคิดที่ฟุ้งซ่านเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา การได้ทำสมาธิหรือการทำอานาปานสติเหมือนเป็นการหาหลักมามัดลิงไว้ให้สงบลงบ้าง เพื่อจะได้ใช้สติพิจารณาดูความเป็นไปของจิตใจตนเอง เมื่อพิจารณาจึงได้เห็นบางอย่าง จิตใจมนุษย์มักชื่นชอบและหลงใหลไปกับค่านิยมในสังคมได้แบบง่ายๆ กิเลศต่างๆ บำรุงจิตใจ จนกายเป็นลิงตัวใหญ่ที่มีพละกำลังมากมาย มีความทะยานอยากได้อยากมีในสิ่งที่ก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่เที่ยงแท้ เดี๋ยวก็เสื่อม            นิทรรศการ "ใจเรา ใจลิง (The Monkey Mind)" โดย ชัชวาล อ่ำสมคิด นี้เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจข้างต้น ชัชวาลใช้จิตนาการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงรูปลักษณ์ของจิต โดยอาศัยรูปทรงของสัตว์ โดยเฉพาะลิงสายพันธุ์ต่างๆ อุปมา อุปไมย เปรียบเทียบความไม่แน่นอนของจิตใจมนุษย์ผ่านท่าทาง เรื่องราวสภาพแวดล้อม น้อมนำให้ผู้ชมผลงานสัมผัสได้ถึงจินตนาการและความงามของประติมากรรมที่ทำจากวัสดุทองสำริด           นิทรรศการ ใจเรา ใจลิง (The Monkey Mind) จัดแสดงวันที่ 3 – 30 มีนาคม 2566 ณ อาคาร 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดทำการวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 น. – 16.00 น. (หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)


Messenger