ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.439/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5.5 x 58.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 157 (141-148) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.584/3 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 189 (372-377) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
#เก๊าไม้เก๊าตอกลมแล้งชื่อทางการ : ราชพฤกษ์ ลมแล้ง ต้นไม้มงคลที่ต้นไม้ประจำชาติไทย มีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า “คูน” เนื่องจากจำง่ายกว่า ทางภาคเหนือเรียกว่า “ลมแล้ง” และจะบานสีเหลืองอร่ามในช่วงเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะเทศกาลปี๋ใหม่เมือง ข้อมูลจาก เพจอุทยานหลวงราชพฤกษ์ https://www.facebook.com/129630133792811/posts/2195581530530984/
องค์ความรู้ตอนที่ 2 ที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า "Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?" นำเสนอเกี่ยวกับชื่อ “ลังกาสุกะ” ที่ปรากฏในเอกสารโบราณต่างๆ และสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรัง
ลังกาสุกะ เป็นชื่อเมืองที่ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณ กล่าวกันว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 – 21 ผลจากการศึกษาเอกสารโบราณ นักวิชาการได้สรุปในเบื้องต้นว่าที่ตั้งของเมืองลังกาสุกะนั้นตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายูโดยมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนใต้และบริเวณเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าลังกาสุกะนั้นตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรัง
แต่ทั้งนี้การศึกษาเรื่องเอกสารโบราณยังมีข้อถกเถียงอีกมากมายหลายประการ การนำเสนอองค์ความรู้ในครั้งนี้เป็นเพียงทฤษฎีหนึ่งในการศึกษาเมืองลังกาสุกะที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลทางด้านวิชาการถือเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ แต่ทั้งนี้ การศึกษาเอกสารโบราณ ยังมีปัญหาอีกมากในการนำมาใช้งาน ทั้งการอ่านหรือแปลความ หรืออคติของผู้เขียนเอง ดังนั้น การศึกษาเอกสารโบราณเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการตีความทางด้านโบราณคดี
---------------------------
Ep1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790
Ep2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?
Ep3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี
Ep4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ
EP5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)
Ep6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี
---------------------------
อ้างอิง
กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้. สงขลา : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา, ๒๕๖๕.
อมรา ศรีสุชาติ.ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,๒๕๕๗.
---------------------------
ข้อมูลการศึกษาลังกาสุกะเพิ่มเติม
Gustaaf Schlegel, “Geographical Notes Lang-ga-siu or Lang-ga-su and Sih-lan shan Ceylon, in T’uong Pao vol.9 No.3 (1898), 191-200
Ed. Huber, “Reviewed Work: En Oud-Javaansch geschiedkundig gedicht uit het bloeitijdperk van Madjapahit by H. Kern”in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient Vol.4, No. 1/2 (janvier-juin 1904), 474-475
Paul Pelliot, Deux itinéraires de Chine en Inde à la fin du VIIIe siècle in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient ,1904 vol 4, 131-413
G.E. Gerini, “The Nagarakretakama list of the countries on the Indo-Chinese mainland” in Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland, (1905), 485-511
Charles Otto Blagden, “Siam and the Malay peninsula” in Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland, (1906), 107-119
G.P. Rouffaer, Was Malaka Emporium Voor 1400 A. D., Genaamd Malajoer? En Waar Lag Woerawari, Ma-Hasin, Langka, Batoesawar? in Bijdragen tot de taal-, land- en volkenkunde, deel Ixxvii (1921), 359-569
W. Linehan, “Langkasuka The Island of Asoka” in Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society, Vol. 21, No. 1 (144) (April 1948), pp. 119-123.
G. Ferrand, “Le Melaka, Le Melayur” in Journal Asiatique (paris), 1918, 391-484.
George Coedes, “Le royaume de Crivijaya” in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient ,1918 vol XVIII,no.6, 1-36. and Les états hindouisés d'Indochine et d'Indonésie (Paris : De Boccard, 1964)
Roland Braddell, “Notes on Ancient Times in Malaya - Langkasuka and Kedah” in Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society, Vol. 23, No. 1 (151) (February, 1950), 1-36.
Paul Wheatley, “Langkasuka” in The Golden Khersonese (Kuala Lumpur : University of Malaya Press, 1961), 252 - 267.
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญฟังการบรรยายเรื่อง "โครงการพระราชดำริป่ารักน้ำ บริษัท ดอยคำฯ : สืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานในหลวง รัชกาลที่ 10" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2566 วิทยากรโดย นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ในวันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30-16.30 น. ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ : National Library of Thailand (www.facebook.com/NationalLibraryThailand) ได้ในวันและเวลาดังกล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08 6891 2548
แผ่นจุณเจิมนี้ พบจากเมืองโบราณดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ปัจจุบัน จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท
แผ่นจุณเจิมนี้สร้างจากหิน โดยใช้เครื่องมือสลักลงบนแผ่นหินเป็นลวดลายนูนต่ำ มีขนาดที่วัดได้ ณ ปัจจุบัน กว้าง ๑๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๕.๘ เซนติเมตร ชำรุดหักเหลือเพียงส่วนเบ้าหลุมตื้นๆ ตรงกลางและลวดลายสลักนูนต่ำบางส่วน ผิวหน้าของแผ่นจุณเจิมมีการกะเทาะหายไป หลงเหลือลวดลายหม้อน้ำ (กลศ) ลวดลายสังข์ และลวดลายส่วนด้ามของแส้จามรี (จามร) ที่เป็นเครื่องสูงอย่างหนึ่ง สันนิษฐานว่าแต่เดิมอาจมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม
มีนักวิชาการหลายท่าน สันนิษฐานว่าแผ่นจุณเจิมนี้อาจทำขึ้นเพื่อเป็นแผ่นหินรองรับหม้อน้ำ (ปูรณฆฏะ) เพื่อใช้สรงน้ำเทพและเทพี ในพิธีราชสูยะ หรือพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ทวารวดี หรืออาจเป็นไปได้ว่าแผ่นจุณเจิมนี้เบ้าตรงกลางอาจมีไว้สำหรับใส่เครื่องหอม ซึ่งอาจใช้สำหรับพราหมณ์ในการทำพิธีกรรมทางศาสนา
แผ่นจุณเจิมนี้มีการค้นพบในพื้นที่ต่างๆ บนดินแดนไทย ได้แก่ แผ่นจุณเจิมที่พบที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แผ่นจุณเจิมที่พบที่เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม แผ่นจุณเจิมที่พบที่อนุเสาวรีย์กลางแจ้ง วัดพระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และแผ่นจุณเจิมที่พบที่ บ้านหนองจิก อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
แผ่นจุณเจิม ที่พบจากเมืองโบราณดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาทนี้ กำหนดอายุสมัยอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว แม้จะชำรุดไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นหลักฐานทางโบราณคดี ที่แสดงให้เห็นถึงพิธีกรรมและความเชื่อของผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองโบราณดงคอน ในอดีตเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว
--------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล :
Facebook Page พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี
https://www.facebook.com/chainatmunimuseum/posts/pfbid029B51XxeP15Wpgr5GiLwr39PWJvThc2VGdvoSa1MmgRojhVnj99mvWmaMz31Pf43Ql
ชื่อเรื่อง ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาค 1 - 6ผู้แต่ง องค์การค้าของคุรุสภาประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่ 390.09593 ห391ลสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์ 2504ลักษณะวัสดุ 316 หน้าหัวเรื่อง พิธีศาสนาและพิธีกรรมภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ การทำบุญ มีทั้งหมด 6 ภาค
ชื่อเรื่อง สพ.ส.74 เทพลินทองประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ วรรณคดีลักษณะวัสดุ 158; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง วรรณคดี ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่เจดีย์วัดพระธาตุดอยกองมู ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนวัดพระธาตุดอยกองมู เดิมมีชื่อเรียกว่า จองป๋ายหลอย หรือ วัดปลายดอย ตั้งอยู่บนยอด “ดอยกองมู” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองแม่ฮ่องสอน กองมูเป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า พระเจดีย์ เพราะเชื่อกันว่าเขาลูกนี้มีลักษณะเหมือนเจดีย์ .ภายในวัดมีเจดีย์ที่สำคัญ 2 องค์ คือ เจดีย์องค์ใหญ่และเจดีย์องค์เล็ก ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม 2524 หน้า 3690 รวมทั้งวิหารหลังคาทรงยวนที่อยู่ติดกันด้วย.เจดีย์องค์ใหญ่ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2403 (จุลศักราช 1222) โดยศรัทธาผู้สร้างคือ คหบดีชื่อ จองต่องสู่ และนางเหล็ก ผู้เป็นภรรยา ภายในบรรจุพระธาตุของพระโมคัลลานะ ที่อัญเชิญมาจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ซึ่งมอบให้พระอูปั่นเต๊กต๊ะ ช่วยจัดหาพระธาตุสำหรับบรรจุภายในเจดีย์ให้ เมื่อก่อสร้างเสร็จเต็มองค์แล้ว เจดีย์มีฐานกว้างด้านละ 20 เมตร สูง 33 เมตร ต่อมาจองต่องสู่ได้จ้างช่างที่เมืองมะละแหม่งให้ทำยอดฉัตรเจดีย์ให้ แต่ว่าได้ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะได้ทำพิธียกฉัตรและสมโภช หลังจากนั้นเจดีย์ได้พังลงเหลือเพียงส่วนฐานข้างล่างจากคอระฆังลงมา ปลายปีพุทธศักราช 2491 พระครูอนุสนธิศาสนากิจ เจ้าอาวาสวัดไม้ฮุง และคณะศรัทธา ได้ร่วมกันบูรณะใหม่ให้เต็มองค์และทำพิธียกฉัตรสมโภชเมื่อเดือนมีนาคม ปีพุทธศักราช 2493 ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2511 มีการบูรณะเจดีย์โดยพระครูอนุสารสาสนกรณ์ (ปานนุ วิสุทโธ) เจ้าอาวาส พร้อมคณะศรัทธา ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเจดีย์ตั้งอยู่บนฐาน 8 เหลี่ยมซ้อนกันและสร้างซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวันเกิด 8 องค์ และทำพิธียกฉัตรสมโภชเมื่อปีพุทธศักราช 2514.เจดีย์องค์เล็ก สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2417 (จุลศักราช 1236) โดยศรัทธาผู้สร้างคือ พญาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองคนแรกของแม่ฮ่องสอน ภายในบรรจุพระธาตุของพระสารีบุตร ที่อัญเชิญมาจากเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า ซึ่งมอบให้พระอูเอ่งต๊ะก๊ะ ช่วยจัดหาพระธาตุบรรจุภายในเจดีย์ให้ และทำพิธียกฉัตรสมโภชเมื่อพุทธศักราช 2418 .แม้ว่าเจดีย์ทั้งสององค์จะสร้างไม่พร้อมกันและมีการบูรณะหลายครั้ง แต่รูปแบบปัจจุบันโดยรวมมีความคล้ายกัน คือ “เป็นเจดีย์แบบมอญ” สันนิษฐานว่าจำลองรูปแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ซึ่งเป็นเจดีย์องค์สำคัญที่เชื่อว่าบรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าโดยเจดีย์แบบมอญมีรูปแบบ คือ มีฐานลาด ไม่มีบันไดหรือลานประทักษิณ มักมีเจดีย์ขนาดเล็กที่ฐานด้านล่าง มีปลียาว ซึ่งแตกต่างจากเจดีย์แบบพม่า แต่ส่วนองค์ระฆังมีรัดอกและบัวคอเสื้อ ไม่มีบัลลังก์ มีปัทมบาทระหว่างปล้องไฉนและกับปลี เหมือนกับเจดีย์แบบพม่าเจดีย์ทั้งสององค์มีองค์ประกอบหลักเป็นเจดีย์มอญ แต่มีความแตกต่างกันที่ เจดีย์องค์ใหญ่ได้มีการบูรณะปรับเปลี่ยนเป็นฐาน 8 เหลี่ยมซ้อนกันและบริเวณฐานด้านล่างประดับซุ้มพระพุทธรูปทั้ง 8 ทิศ ส่วนเจดีย์องค์เล็กเป็นฐาน 4 เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน บริเวณฐานด้านล่างประดับซุ้มพระพุทธรูปซึ่งมีหลังคาประดับเรือนยอดทรงปราสาท 3 ยอด และที่มุมทั้ง 4 มีประดับรูปปั้นสิงห์----------------------------------------------------อ้างอิง- พระครูอนุสารสาสนกรณ์. ประวัติวัดพระธาตุดอยกองมู และจังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : นีลนาราการพิมพ์, 2528. หน้า 22-31.- สุรชัย จงจิตงาม. ล้านนา Art & Culture. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2555. หน้า 122-125.- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. หน้า 94.- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่. เชียงใหม่ : เจริญวัฒน์การพิมพ์, 2549. หน้า 377.- ป้ายประวัติวัดพระธาตุดอยกองมู ที่วัดพระธาตุดอยกองมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน- เอกสารประกอบการบรรยายวิชา survey of arts history in neighboring countries คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภาพปูนปั้นเล่าเรื่อง ไมตระกันยกะ?
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ดินเผา
- ขนาด กว้าง ๙๓.๕ ซม. ยาว ๘๔ ซม. หนา ๕ ซม.
-เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑
ภาพเล่าเรื่องไมตระกันยกะซึ่งมีปรากฎในคัมภีร์อวทานศตกะ ทิวยาวทาน อวทานกัลปดา และภัทรกัลปอวทานเล่าเรื่อง เมื่อ พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพ่อค้า นามว่า ไมตระกันยกะ ก่อนออกเดินทางได้ทำร้ายมารดา เป็นผลให้ต้องผจญวิบากกรรม จนไปพบเปรตตนหนึ่งที่ทนทุกข์ทรมานจากการทูนจักรไฟบนศีรษะเพราะผลกรรมเช่นเดียวกัน พระโพธิสัตว์จึงตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าตนเองจะเป็นผู้ทูนจักรไฟนี้ตลอดไป ขออย่าให้มีใครกระทำบาปเช่นตนอีก เมื่อได้กระทำสัตย์ปฏิญาณแล้วผลแห่งความตั้งใจดีจึงทำให้จักรไฟลอยออกจากศีรษะ พ้นเคราะห์กรรมในที่สุด อย่างไรก็ตาม ภาพนี้สามารถบ่งชี้ลักาณะเครื่องต่ายกาย และลวดลายเครื่องประดับของทั้งบุรุษ และสตรีในสมัยนั้นได้
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40128
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 07.00 น. ร้อยเอกบุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่2 สุพรรณบุรี พร้อมผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนในสังกัด นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ พร้อมเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมงาน "ชวนแต่งไทย ทำบุญเมืองสุพรรณ" ตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี กิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองสุพรรณบุรี ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ราชวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวังรหัสเอกสาร ฉ/ร ๒๒๙๐