ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ




ชื่อเรื่อง                           นิพฺพานสุตฺต (พระนิพพานสูตร)สพ.บ.                                  168/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เวสสันดรชาดกบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                เทสนาสุวรรณสิรสาสูตร(สุวรรณสิรสาสูตร)สพ.บ.                                  117/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระอภิธรรม                                           พระไตรปิฎก  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


เครื่องประดับโบราณ : ตุ้มหูแบบ "ลิง ลิง โอ" (Ling-Ling-O) จัดแสดง ณ อาคารจัดแสดง ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง


เลขทะเบียน : นพ.บ.75/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 47 (52-58) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


           “เสี่ยหนา” เสี่ยหนา คือ ปิ่นโตหรือตะกร้าซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวจีน คำว่า “เสี่ยหนา” เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า “มงคล” เสี่ยหนาจึงเป็นของใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ อาทิ งานแต่งงาน เสี่ยหนาของชาวจีนฮกเกี้ยนมีเอกลักษณ์ คือ ทำจากไม้ไผ่สานลงรักสีดำ แดง และปิดทอง รูปทรงของเสี่ยหนามี ๒ รูปทรง คือ ทรงกระบอกส่วนฐานและฝาแบนเรียบ และทรงรีส่วนฐานและฝาโค้ง บนตัวของเสี่ยหนาจะมีการตกแต่งด้วยลวดลายต่างๆ อาทิ เทพจีน สัตว์ ดอกไม้ และต้นไม้ เป็นต้น ขนาดของเสี่ยหนามีหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนชั้นพบมี ๑ ชั้น ๓ ชั้น และ ๗ ชั้น สำหรับเสี่ยหนาซึ่งเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นปิ่นโต ๓ ชั้น พร้อมฝาสานด้วยไม้ไผ่ ชั้นบนสุดเป็นลายโปร่งมีลายสีทองรูปดอกไม้และนก ที่ด้ามจับมีห่วงโลหะไว้สำหรับใส่คาน          “เสี่ยหนา” เป็นของใช้ที่สำคัญในพิธีแต่งงานของชาวจีนฮกเกี้ยน โดยถูกใช้ในขั้นตอนการหมั้นซึ่งญาติฝ่ายเจ้าบ่าวจะนำของหมั้น อาทิ แหวน และขนมมงคลต่างๆ ใส่ลงในเสี่ยหนาและมอบให้ญาติฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งในจังหวัดภูเก็ตนั้นมีชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ชาวจีนเหล่านี้ได้เข้ามาแต่งงานกับคนพื้นเมืองและได้นำ “เสี่ยหนา” เข้ามาใช้ในพิธีหมั้นด้วย ในปัจจุบันชาวภูเก็ตได้ประยุกต์การงานเสี่ยหนา โดยนำเสี่ยหนาที่มีขนาดเล็กมาใช้แทนกระเป๋าถือเมื่อสวมใส่ชุดพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า “ชุดยาย๋า” “เสี่ยหนา” ถือเป็นเครื่องใช้ที่สำคัญของชาวจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต จึงถือเป็นศิลปวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีของชาวจีนในภูเก็ตได้เป็นอย่างดี----------------------------------------------------จัดทำข้อมูลโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง - ฤดี ภูมิภูถาวร. วิวาห์บาบ๋า. ภูเก็ต : บริษัท เวิลด์ออฟเซ็ทพริ้นติ้ง จำกัด, ๒๕๕๓.


เลขทะเบียน : นพ.บ.135/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.2 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 81 (322-325) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : บาลีการก (ศัพท์การก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง              พลเรือตรี จวน หงสกุล ชื่อเรื่อง               นิราศยุโรปและออสเตรเลีย ครั้งที่พิมพ์          พิมพ์ครั้งแรก สถานที่พิมพ์         พระนคร สำนักพิมพ์           ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์ ปีที่พิมพ์                 2509 จำนวนหน้า           103 หน้า หมายเหตุ               พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลตรีลม้าย อุทยานานนท์ เป็นผลงานการประพันธ์ของพลเรือตรี จวบ หงสกุล โดยแต่งเป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด ประกอบด้วยนิราศ ๓ เรื่อง คือ นิราศยุโรป นิราศออสเตรเลีย และนิราศนรก



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.9/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือพระพุทธศักราช 2469 ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2474 สถานที่พิมพ์ :-สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรณธนากร จำนวนหน้า : 542 หน้า สาระสังเขป : จดหมายเหตุรวบรวมเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ และมณฑลพายัพ เมื่อปี ๒๔๖๙ ทั้งเหตุการณ์เตรียมการก่อนเสด็จ และพฤติการเวลาเสด็จ


          ตู้และหีบพระธรรม เป็นเครื่องใช้สอยจำพวกหนึ่ง ที่สร้างขึ้นอุทิศไว้ในพระพุทธศาสนา มีรูปทรง และประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกันไปเป็นหลายประเภท ตามวิถีของพระสงฆ์สาวก ซึ่งเป็นผู้ศึกษาและเผยแผ่พระธรรม ภายในวัดวาอารามต่าง ๆ จึงมีหอพระไตรปิฎก เก็บรักษาพระธรรม คัมภีร์ ใส่ในตู้หรือหีบพระธรรม รักษาไว้เป็นส่วนของวัด และใช้ในพิธีกรรมอันปฏิบัติอยู่หมู่สงฆ์ รวมถึงประเพณี พิธีกรรมอันเนื่องกับฆราวาส จำแนกได้เป็นหลายประเภท เช่น ตู้พระธรรม ตู้พระไตรปิฎก หีบพระธรรม หีบหนังสือสวด หีบหนังสือเทศน์ เป็นต้น ------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ------------------------------------------------------


     ต้นไม้แก้วมีฐานเป็นชามอยู่ในครอบแก้วสูง ๕๑ เซนติเมตร       เป็นเครื่องแก้วฝีมือช่างไทย ฝีพระหัตถ์หม่อมเจ้าดำรง ปราโมช (ท่านปั๋ง) ทรงทำถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในรัชกาลที่ ๖ ปัจจุบันจัดแสดงในพระที่นั่งวสันตพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร      ราวปลายรัชกาลที่ ๔ - ต้นรัชกาลที่ ๕ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (ต้นราชสกุลปราโมช) ซึ่งกำกับกรมช่างหุงกระจก ทรงทดลองวิธีการหุงกระจกแบบใหม่ๆ จนสามารถทำแก้วสีต่าง ๆ ได้ และทรงทำเป็นรูปดอกไม้ผลไม้ที่มีความงามไม่แพ้ฝีมือช่างตะวันตก สำหรับหม่อมเจ้าดำรง ปราโมชทรงเป็นโปลิโอทำให้ท่านทรงเดินไม่ได้แต่ทรงพระเยาว์ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องประทับอยู่กับเสด็จพ่อท่านตลอดเวลาที่ทรงงานช่างต่างๆ หม่อมเจ้าดำรงจึงได้วิชาการช่างที่ต้องใช้ฝีมือจากเสด็จกรมขุนวรจักรธรานุภาพมากที่สุด นอกจากการเป่าแก้วแล้ว ท่านฝีมือมือในการกลึงตลับงาช้างเป็นรูปต่างๆ ด้วยฝีมือในการช่างนี้เองหม่อมเจ้าดำรง ปราโมช จึงได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเงิน (เข็มศิลปวิทยา) เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒      สำหรับท่านที่สนใจต้นไม้แก้วฝีมือช่างไทย ยังสามารถชมต้นไม้แก้วใหญ่ซึ่งเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยป้ายระบุว่าเป็นเครื่องประดับพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และอีกคู่หนึ่งของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีขนาดเล็กกว่า ปัจจุบันจัดแสดงในหอสมุดดำรงราชานุภาพ ถนนหลานหลวง



Messenger