ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
ถนนเจริญกรุง นับเป็นถนนสายแรกของกรุงเทพฯ ซึ่งก่อสร้างเพื่อใช้ในการสัญจรภายในเขต ใจกลางเมือง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ.๒๔๐๔ – ๒๔๐๗ มีนายเฮนรี อลาบาสเตอร์ เป็นผู้สำรวจและเขียนแบบถนน เจ้าพระยาทบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองควบคุมการก่อสร้างถนนเจริญกรุงช่วงคูเมืองตอนในถึงถนนตก เจ้าพระยายมราช(ครุฑ) เป็นแม่กองในการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน ระหว่างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ถนนเจริญกรุงมีระยะความยาวของเส้นทางเริ่มตั้งแต่สนามไชยถึงถนนตก ยาว ๘,๕๗๕ เมตร ถนนสายดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อสามัญว่า “ถนนใหม่(New Road)” ในพระราชปรารถเรื่องถนนเจริญกรุง ในรัชชกาลที่ ๔* กล่าวถึงว่า “...ชาวต่างประเทศเข้าชื่อกันขอให้ทำขึ้น เพื่อจะใช้ม้า ใช้รถให้สบาย ให้ถูกลมเย็นเส้นสายเหยียดยืดสบายดี...” โดยสร้างเป็นถนนถมดินและทรายอัดแน่น ปูพื้นผิวถนนด้วยอิฐ ผิวการจราจรแบ่งเป็นสองแนว ครั้นเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดใช้งานเมื่อพ.ศ.๒๔๐๗ กลับปรากฏว่า “...คนใช้ม้าทั้งไทย ทั้งชาวนอกประเทศกี่คน ใช้รถอยู่กี่เล่ม ใช้ก็ไม่เต็มสนน ใช้อยู่แต่ข้างหนึ่ง ก็ส่วนสนนอีกข้างหนึ่ง ก็ทิ้งตั้งเปล่าอยู่ ไม่มีใครเดินม้าเดินรถ เดินเท้า...ครึ่งหนึ่งของสนน เพราะไม่มีคนเดิน คนใช้ก็ยับไปเสียก่อน หากว่าปีนี้ ไม่มีฝน ถ้าฝนชุกก็เห็นจะยับไปมาก ฤาหญ้าก็จะขึ้นรกอยู่ค่างหนทาง...” ความกังวลพระทัยนั้น เป็นผลต่อมาเมื่อถนนเจริญกรุงชำรุดลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศแผ่พระราชกุศลซ่อมแซมถนน ต่อพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชสำนักฝ่ายหน้า ฝ่ายในส่วนพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคล ที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดในจำนวนปีมะเส็งนพศกแบริจากทรัพย์นั้นเพื่อการซ่อมแซมถนนทั่วพระนคร ต่อมาเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้น ถนนเจริญกรุงจึงเป็นเส้นทางสำคัญสายหนึ่งที่เชื่อมพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนในออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยในสมัยหลังได้มีการขยายผิวการจราจรและเทคอนกรีตและลาดยางพื้นผิวการจราจรเพื่อการงานเป็นเส้นทางคมนาคมสืบมาถึงปัจจุบัน ถนนเจริญกรุง ค.ศ. 1896ถนนเจริญกรุง พ.ศ. ๒๔๐๗-----------------------------------------------------------------------เรียบเรียง : เมธินี จิระวัฒนา นักโบราณคดี ชำนาญการ กองโบราณคดี -----------------------------------------------------------------------*อ้างอิงจาก กรมศิลปากร. ทำเนียบนามภาค ๔ ถนนในจังหวัดพระนครและธนบุรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตีพิมพ์พระราชทานในงานเมรุ มหาอำอาตย์นายก เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส (พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงธรรม, ๒๔๘๒) หน้า ๖๓ – ๖๖)
พระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม พบจากเจดีย์หมายเลข ๙ เมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พระพิมพ์ดินเผาขนาด กว้าง ๖ เซนติเมตร สูง ๙ เซนติเมตร ภาพพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มวงโค้ง พระพักตร์กลม พระกรรณยาว มีประภามณฑลรอบพระเศียร ครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบไม่มีริ้วบางแนบพระวรกาย ปรากฏขอบจีวรบริเวณพระศอ จีวรพาดผ่านข้อพระกรทั้งสองข้าง แล้วทิ้งชายลงเป็นวงโค้งเบื้องหน้า ขอบสบงและชายจีวรยาวถึงข้อพระบาท พระกรทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) ยืนในท่าสมภังค์ (ยืนตรง) บนฐานกลมประดับด้วยกลีบบัว ซุ้มด้านในประดับด้วยเสากลม ด้านนอกประดับด้วยเสาสี่เหลี่ยม ปลายกรอบซุ้มมีการตกแต่งลวดลาย ส่วนฐานยกเก็จคล้ายกับรูปแบบที่พบบนฐานของสถาปัตยกรรมทวารวดี สุนทรียภาพโดยรวมของพระพิมพ์องค์นี้ ได้แก่ การครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย การยืนในท่าสมภังค์ (ยืนตรง) และแสดงวิตรรกะมุทราสองพระหัตถ์ (ปางแสดงธรรม) เป็นรูปแบบเฉพาะที่นิยมในพระพุทธรูปยืนสมัยทวารวดี ซึ่งพบทั้งพระพุทธรูปและพระพิมพ์ตามเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ส่วนลักษณะฐานพระพุทธรูปที่มีการยกเก็จ สันนิษฐานว่ารับอิทธิพลมาจากส่วนฐานยกเก็จของพระพุทธรูปอินเดียแบบปาละ และอาจมีความเกี่ยวข้องกับซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปที่ประดับอยู่บนผนังของสถาปัตยกรรม ประเภทเจดีย์และวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ก็เป็นได้ จึงกำหนดอายุพระพิมพ์องค์นี้ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๙ เมืองโบราณอู่ทอง ยังมีการค้นพบพระพิมพ์ดินเผาซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างจากแม่พิมพ์รูปแบบเดียวกัน แต่มีสภาพไม่สมบูรณ์อีกจำนวนหนึ่ง พระพิมพ์เหล่านี้น่าจะสร้างขึ้นตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างพระพิมพ์จำนวนมากเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา หรือเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างบุญกุศลก็เป็นได้-------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทย ภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘. ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่า จีน: กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณหิสวิไชย)
สพ.บ. 241/1ขประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง นารายณ์สิบปาง ปางที่ 7ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรม วรรณคดีเลขหมู่ 895.9115สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พานิชกิจปีที่พิมพ์ 2496ลักษณะวัสดุ 210 หน้า หัวเรื่อง กวีนิพนธ์ไทยภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกนารายณ์สิบปาง เล่มนี้กล่าวถึงปางที่ 7 รามจันทราวตาร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภธมฺม (สังคิณี-ยมก)
สพ.บ. 375/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 72 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.38/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ปญฺจพุทฺธา (ปญฺจพุทฺธา)
ชบ.บ.76/1-1ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สงฺคีติกถา (ปถม-ปญฺจมสงฺคายนา)
ชบ.บ.101/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.318/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 3.5 x 52 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 129 (321-328) ผูก 7 (2565)หัวเรื่อง : พุทธวํสวณฺณนา มธุรตฺถวิลาสินี ขุทฺทนิกายฏฐกถา (พุทธวงศ์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๑๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๒๐ พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคมปีเดียวกัน ดังปรากฏใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๕ ความว่า "เวลาบ่าย ๕ โมงเศษไปสมโภชเดือนลูกฟ้าหญิง ให้ชื่อสุทธาทิพย์รัตนสุขุมขัติยกัลยาวดี..." และรับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๓๐ พระชนกนาถตรัสเรียกว่า "ลูกหญิง" ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมหญิง" หรือ "ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่" เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชธิดาเจ้าฟ้าชั้นเอกพระองค์แรกในรัชกาล
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรทรงเข้ารับการศึกษาอย่างกุลสตรีชาววังตามโบราณราชประเพณีที่โรงเรียนราชกุมารีในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาวิชาภาษาไทยจากพระชนนี และพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษจากครูมีทินและครูทิมจนแตกฉาน
วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์เดียวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้รับพระราชทานกรมสูงสุดถึงกรมหลวง และพระนามกรมยังหมายความถึงกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นนามของเมืองหลวง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรทรงรับราชการเป็นราชเลขานุการิณีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้มีโอกาสตามเสด็จประพาสต้นหลายครั้ง รวมทั้งตามเสด็จประพาสชวา ซึ่งได้โดยเสด็จออกแขกเมืองร่วมกับพระบิดา เมื่อพระบิดากำลังเสวยเครื่องและทรงงานไปด้วย จะมีรับสั่งให้พระองค์ทรงอักษรตามพระราชดำรัสสั่งงาน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรสิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๔๖๕ (นับแบบปัจจุบัน คือ พุทธศักราช ๒๔๖๖) สิริพระชันษา ๔๕ ปี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
ภาพ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร
ชื่อเรื่อง : โหงวโฮ้วเพงไซ โหงวโฮ้งเพงหน่า เล่ม ๑ ชื่อผู้แต่ง : โหงวโฮ้วเพง ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 276 หน้าสาระสังเขป : โหงวโฮ้วเพงไซ โหงวโฮ้งเพงหน่า เป็นนิยายอิงพงศาวดารจีนที่แพร่หลายในเมืองไทย เนื้อเรื่องสนุกสนาน ปูมหลังก็ยอดเยี่ยม ซึ่งจะทำความเข้าใจตัวละครและการดำเนินเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง