ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

การสำรวจศิลปกรรมประเภทแกะสลักหินทรายบนทับหลัง โบราณสถานประเภท อโรคยาศาล..."กุฏิฤาษีโคกเมือง" โดย นายรัชฎ์ ศิริ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กุฏิฤาษีโคกเมือง หมู่ที่ ๖ บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๕๕ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ พื้นที่โบราณสถาน ๓ ไร่ ๒ งาน ๗๐ ตารางวา องค์ประกอบของโบราณสถาน... ๑.ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาด ๗x๗ เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเป็นมุขยื่น ยาวออกไปเป็นประตูเข้าออก มีขนาดประมาณ ๒.๒๐x๓.๒๐ เมตร ๒.บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีขนาดประมาณ ๔x๗.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ภายในกำแพงแก้ว ๓.กำแพงแก้วและซุ้มประตู กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดประมาณ ๒๖.๗๐x๓๕.๔๐ เมตร มีซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกก่อด้วยศิลาแลงกรอบประตูเป็นหินทราย ซุ้มประตูแบ่งเป็น ๓ คูหา คูหาช่องซ้ายขวามีช่องหน้าต่างทั้งด้านนอกและด้านในข้างล่ะ ๑ ช่อง คูหากลางมีมุขหน้าขนาด ๔x๒.๕๐ เมตร และมุขหลังมีขนาด ๔x๔.๗๐ เมตร ๔.สระน้ำประจำโบราณสถาน ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกุฏิฤาษี ด้านทิศตะวันออกตรงแกนกลางมีบารายหรือสระน้ำขนาดใหญ่ ประมาณ ๕๐๐x๘๐๐ เมตร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทะเลเมืองต่ำ และห่างจากกุฏิฤาษีโคกเมืองไปด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ


          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ ประเทศไทยได้ว่าจ้างบริษัท เลส์ เอตาบลิสมองต์ ไดเดย์ (Les Etablissements Daydẻ Compagnie) ประเทศฝรั่งเศสดำเนินการก่อสร้างสะพานพระราม ๖ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของประเทศ          ย้อนไปใน พ.ศ.๒๔๒๓ หลุยส์ เลอบรุน (Louis Lebrun) พร้อมด้วยอองรี ไดเดย์(Henri Daydẻ) และออกุสต์ ปิเล่ (Auguste Pillẻ) ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อเลอบรุน ปิเล่ เอต์ ไดเดย์ (Lebrun, Pillẻ et Daydẻ Compagnie) รับจ้างดำเนินการก่อสร้างเกี่ยวกับโครงสร้างเหล็ก - โลหะ และเครื่องกำเนิดไอน้ำในงานอุตสาหกรรม หลังจากนั้นใน พ.ศ.๒๔๒๕ จึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นไดเดย์ เอต์ ปิเล่ (Daydẻ et Pillẻ Compagnie)          และใน พ.ศ.๒๔๔๓ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ว่าจ้างบริษัทดำเนินการก่อสร้างกรองด์ ปาเลส์ (Grand Palais) ซึ่งมีโครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก งานโลหะและกระจก เพื่อใช้เป็นอาคารจัดนิทรรศการความก้าวหน้า ทางวิทยาการจากนานาชาติ ในบริเวณจัตุรัสชองป์ส เอลิเซ (Champs Ẻlysẻes) กรุงปารีส ซึ่งถือเป็นงานก่อสร้างที่มีความก้าวหน้าอย่างมากในขณะนั้น รวมทั้งยังเป็นบริษัทที่ทำการก่อสร้างสะพานด้วยโครงสร้างเหล็กหลายแห่งในฝรั่งเศส อัลจิเรีย รวมถึงสะพานสองเบียน (Long Bien) ประเทศเวียดนาม          เฉพาะสะพานสองเบียน ในประเทศเวียดนามนั้น เป็นสะพานสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๔๕ นับเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแดง หรือแม่น้ำห่ง (Hoan) เชื่อมเมืองฮานอย(Hanoi) กับเมืองท่าไฮฟอง(Haiphong) ยาว ๒.๔ กิโลเมตร: ถือเป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดในอินโตจีน ซึ่งในขณะนั้นฝรั่งเศสปกครองอินโดจีน โดยมีผู้สำเร็จราชการดูแล คือ โปล ดูแมร์(Paul Doumer)          ลักษณะสะพานดังกล่าวเป็นสะพานรถไฟมีถนนสำหรับยานพาหนะและผู้คนใช้สัญจร ภายหลังใน พ.ศ.๒๕๑๐ สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดทำลายสะพานแห่งนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุนในการซ่อมแซมสะพานโดยคงรูปแบบเดิมของสะพานแห่งนี้ ซึ่งรัฐบาลเวียดนามเห็นชอบในการบูรณะสะพานด้วยเหตุผล ว่า “สะพานนี้ถูกก่อสร้างเพื่อการใช้ประโยชน์จากประเทศเมืองขึ้นของฝรั่งเศส แต่ก็ช่วยขยายการคมนาคมให้แก่ คนเวียดนามและเราต้องอนุรักษ์ไว้ นับเป็นกิจการคมนาคมสำคัญที่ส่งผลดีต่อการขนส่งสินค้าเป็นกิจการทางประวัติศาสตร์ที่มีความหมายทางวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ในปี ค.ศ.๑๙๕๕ (พ.ศ. ๒๔๙๘) ทหารฝรั่งเศสถอนออกจากเวียดนามกลับประเทศต้องผ่านสะพานแห่งนี้เพื่อเดินทางไปยังท่าเรือ ไฮฟองลงเรือกลับประเทศ” ลักษณะสถาปัตยกรรมสะพานดังกล่าวยังปรากฏในงานก่อสร้างสะพานพระราม ๖ ในประเทศไทย เมื่อบริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเลส์ เอตาบลิสมองต์ ไดเดย์ (Les Etablissements Daydẻ Compagnie) (Daydẻ Compagnie) ใน พ.ศ..๒๔๔๖           ใน พ.ศ.๒๕๐๗ บริษัท เลส์ เอตาบลิสมองต์ ไดเดย์ (Les Etablissements Daydẻ Compagnie) (Daydẻ Compagnie) ได้รวมเข้าเป็นบริษัท ฟรองเซส์ ดองเทรอร์ปรีส์ (Compagnie Française d’Entreprises – CFEM) เป็นบริษัทที่ทำหน้าทีในการดูแลโครงสร้างโลหะของหอไอเฟล (Eiffel Tower) ประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน   (ซ้าย – ขวา) การก่อสร้างอาคารกรองด์ ปาเลส์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓   (ซ้าย) กรองด์ ปาเลส์ ในปัจจุบัน (ขวา) โครงสร้างโลหะและกระจกส่วนหลังคากรองด์ ปาเลส์ ที่ขึ้นชื่อในความก้าวหน้าของงานก่อสร้างในฝรั่งเศส   (บน – ซ้าย) สะพานสองเบียน ประเทศเวียดนาม(บน – ขวา) สะพานลองเบียนในอดีต(ล่าง) ภาพลายเส้นแบบโครงสร้างสะพานลองเบียน ประเทศเวียดนาม   (ซ้าย) ป้ายชื่อบริษัท Daydẻ et Pillẻ ที่สะพานลองเบียน(ขวา) ด้านข้างสะพานลองเบียนใช้เป็นเส้นทางสำหรับพาหนะสัญจรสภาพความเสียหายสะพานลองเบียนเมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดทำลาย เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐(ซ้าย) ป้ายโลหะที่หน้าทางขึ้นสะพานพระราม ๖ (ซึ่งทำขึ้นเมื่อมีการบูรณะสะพานในสมัยหลัง) ระบุชื่อบริษัท Les Etablissements Daydẻ แห่งประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้สร้างสะพาน(ขวา) รายละเอียดข้อความชื่อบริษัท Les Etablissements Daydẻ แห่งประเทศฝรั่งเศส ที่ปรากฏบนแผ่นป้าย-------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเมธินี จิระวัฒนา นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี-------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง Ky Lan. สะพานลองเบียนจากข้อมูลของฝรั่งเศสที่ยังหลงเหลือ (เผยแพร่ทางสถานีวิทยุเวียดนาม – ส่วนกระจาย เสียงต่างประเทศแห่งชาติ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๗) สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔. https://fr.wikipedia.org/wiki/Daydẻ ) สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔. https://www,gracesguide.co.uki/Dayde_and_Pille สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔.


นงคราญ  สุขสม.  ประวัติศาสตร์โบราณคดีสุราษฎร์ธานี.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2545.           จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ พัฒนาการของบ้านเมืองเจริญควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจาการรับอารยธรรมจากภายนอกที่สำคัญ คือ จีน และอินเดีย เนื้อหาในหนังสือให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สุราษฎร์ธานี เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ พุทธศตวรรษที่ 19 พุทธศตวรรษ ที่ 20-23 พุทธศตวรรษที่ 24-25 และพุทธศตวรรษที่ 25 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับโบราณสถานและโบราณวัตถุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญทางประวัติศาสตร์



#หนังสือชุดน่าอ่านหนังสือชุด สนุกสนานตามธรรมชาติ เป็นหนังสือที่รวมการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อน แบ่งเป็น 3 เล่ม คือ เล่นกลางแจ้ง เล่นในป่า และเล่นริมน้ำ ซึ่งการละเล่นแต่ละแบบก็ให้ความสนุกสนานและเพลิดเพลินแก่เด็กๆ แตกต่างกันออกไป อ่านได้ที่ห้องหนังสือเยาวชน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ขอเชิญร่วมฟังเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "วัดโบสถ์ในความทรงจำ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต" ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีหัวข้อในการเสวนา ดังต่อไปนี้           ๑. ประวัติความเป็นมาของวัดโบสถ์ จากมหานิกายสู่ธรรมยุติกนิกาย โดย พระครูพิศาลธรรมสิริ เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระอารามหลวง และพระครูวินัยธรเกียรติศักดิ์ กิตฺติปาโล           ๒. ชื่อนี้มีที่มา ความเป็นมาของวัดโบสถ์จากเอกสารจดหมายเหตุ โดย คุณโกศล ขันติทานต์ นักวิชาการอิสระ           ๓. วัดโบสถ์พระอารามหลวง สมัยพระเทพสุธิโมลี และจุดกำเนิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี โดย พระครูพิศาลธรรมสิริ เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระอารามหลวง และพระครูวินัยธรเกียรติศักดิ์ กิตฺติปาโล           สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๓๖๕๘ ๑๙๘๖ หรือทาง Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี





พระบารมีปกเกล้าฯชาวอุบลฯ ๓ ตามรอยเสด็จเมืองอุบล ครั้งที่ ๒ เมื่อวันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ เวลา ๐๘.๓๕ น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จากที่ประทับแรมเขื่อนน้ำอูน ไปทรงเยี่ยมราษฎร ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาแผ่นดินในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและนครพนม เวลา ๑๑.๐๐ น. เสด็จฯ ถึงสนามหญ้าโรงเรียนบ้านนาแวง ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี แล้วเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังกองบังคับการกองร้อยทหารราบที่ ๖๐๑๑ ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานถุงของขวัญ เวชภัณฑ์ และพระเครื่องแก่ผู้แทนหน่วยทหาร หน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง หน่วยตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยอาสาสมัครรักษาแผ่นดิน และครูโรงเรียนบ้านนาแวง ต่อจากนั้น พันตรีดำรง ทัศนศร รองผู้บังคับศูนย์เฝ้าตรวจชายแดน ๓๐๓ กราบบังคมทูลถวายบรรยายสรุปสถานการณ์ เสร็จแล้วพระราชดำเนินทอดพระเนตรที่พักทหาร และทอดพระเนตรการติดต่อรอบกองบัญชาการฯ ตลอดจนมีพระราชปฏิสันถารกับผู้แทนหน่วยต่าง ๆ โดยทั่วถึง แล้วจึงเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังวัดโขงเจียมปุราณวาส เวลา ๑๒.๐๐ น. เสด็จถึงวัดโขงเจียมปุราณวาส ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ เสด็จขึ้นศาลาการเปรียญ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และมีพระราชดำรัสกับพระราชาคณะ และเจ้าอาวาสถึงความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดพระราชทานเวชภัณฑ์สำหรับพระภิกษุได้ใช้ร่วมกับราษฎร เสร็จแล้วเสด็จลงเพื่อทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าฯ อยู่อย่างล้นหลาม ได้มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรเหล่านั้นถึงสถานการณ์ตามชายแดนและความเป็นอยู่โดยทั่วไป แล้วจึงเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปยังโรงเรียนบ้านนาแวง ทรงเยี่ยมลูกเสือชาวบ้านจากจังหวัดอุบลราชธานีที่มาเฝ้าฯ ก่อนประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน ครั้นทรงพักผ่อนพระราชอิริยาบถตามพระราชอัธยาศัยแล้ว จึงเสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลและภาพถ่ายตามรอยเสด็จฯจังหวัดอุบลราชธานี อ.ปัญญา แพงเหล่า


พระมนเทียรถ้าเทิด แถวถงัน ขวาสุทธาสวรรย์พรรณ เพริศแพร้ว ซ้ายจันทรพิศาลวรรณ เวจมาศ พรายแพร่งสุริยแล้ว ส่องสู้แสงจันทร์ โครงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช, หลวงศรีมโหสถ ....................................................................................           พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นหนึ่งในพระที่นั่งองค์สำคัญภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน อันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์และข้าราชบริพารฝ่ายใน สร้างขึ้นในคราวเดียวกับการสร้างพระราชวังเมืองละโว้ ราว พ.ศ.2209 ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงการสร้างรวมถึงการพระราชทานนามของพระที่นั่งองค์นี้ในพงศาวดารความว่า   “...จึงสมเด็จบรมบาทพระนารายณ์ราชบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัสสั่งช่างพนักงานจับการก่อพระมหาปราสาทสองพระองค์ ครั้นเสด็จแล้วก็พระราชทานนามบัญญัติชื่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์องค์หนึ่ง พระที่นั่งธัญญมหาปราสาทองค์หนึ่ง...”             ซึ่งสอดคล้องกับโครงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประพันธ์โดยหลวงศรีมโหสถ กวีร่วมสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่กล่าวถึงพระที่นั่งต่าง ๆ ภายในพระราชวังเมืองละโว้ โดยได้พรรณนาถึงพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทที่ขนาบข้างซ้ายขวาด้วยพระที่นั่งจันทรพิศาล และพระที่นั่งสุทธาสวรรย์  ชื่อ “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์” จึงเป็นชื่อเดิมของพระที่นั่งองค์นี้ที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาตั้งแต่ครั้งแรกสร้าง           ข้อมูลจากหลักฐานทั้งพงศาวดารและบันทึกของชาวต่างชาติต่างระบุไว้ในทำนองเดียวกันคือ พระองค์ทรงโปรดที่จะประทับ ณ เมืองลพบุรี มากกว่าที่พระนครศรีอยุธยา   “...เมืองละโว้เป็นที่ประทับในชนบทของพระนารายณ์มหาราช ตามปกติประทับอยู่ที่เมืองนั้นเป็นนิตย์ เสด็จไปพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณเจ็ดร้อยเส้นนานๆ ครั้งหนึ่งและเมื่อมีงานพระราชพิธี...” – จดหมายเหตุฟอร์บัง (เชวาลอเอร์ เดอะ ฟอร์บัง)   “...พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ทรงโปรดปรานเมืองนี้มาก ประทับที่อยู่ที่นั่นเกือบตลอดปี และทรงเอาพระทัยใส่สร้างให้สวยงามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทรงตั้งพระทัยจะขยายอาณาบริเวณออกไปอีก...” – นิโกลาส์ แชร์แวส   “...และพระองค์เสด็จอยู่ ณ เมืองลพบุรีในเหมันตฤดู และคิมหันตฤดู และเสด็จลงมาอยู่ ณ กรุงเทพมหานครแต่เทศกาลวสันตฤดู...” “...ขณะนั้นสมเด็จบรมบพิตรพระนารายณ์เป็นเจ้า ทรงพระนามปรากฏว่า #สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมืองลพบุรี เหตุว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบุรี...” - พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา             จึงอาจกล่าวได้ว่านอกจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะเป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ยังเป็นพระที่นั่งที่พระองค์เสด็จมาประทับมากที่สุดตลอดรัชกาลของพระองค์           สำหรับเขตพระราชฐานชั้นในแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือบริเวณพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อนุญาตให้เฉพาะเหล่ามหาดเล็กในพระองค์ กับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเข้าเฝ้าเท่านั้น และส่วนที่สองเป็นที่อยู่ของเหล่าสนมกำนัล โดยมีที่พักอาศัยงดงามเป็นตึกแถว ยาวขนานไปกับพระตำหนักที่ประทับของพระองค์ การเข้า-ออกบริเวณนี้ทำได้ยากมาก แม้กระทั่งพระราชโอรสก็ไม่อนุญาตให้เข้ามีแต่พวกขันทีเท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปถวายการปรนนิบัติได้           ในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ประชวรอย่างหนักจนมิอาจว่าราชการได้ จึงโปรดให้พระเพทราชาออกว่าราชการแทนพระองค์ ขณะที่ทรงพระประชวรได้ประทับ ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ก่อนการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น คือเหตุการณ์การรัฐประหารของพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ คือการจับกุมตัวพระปีย์ผู้เปรียบเสมือนพระโอรสบุญธรรม และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยปรากฏข้อความในพงศาวดารเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวความว่า   “...พระปีย์กอปรด้วยสวามิภักดิ์นอนอยู่ปลายฝ่าพระบาท คอยปฏิบัติพยุงพระองค์ลุกนั่งอยู่ ครั้นรุ่งเพลาเช้าพระปีย์ลุกออกมาบ้วนปากล้างหน้า ณ ประตูกำแพงแก้ว จึงหลวงสรศักดิ์ผู้สำเร็จราชการ ณ ที่มหาอุปราช สั่งให้ขุนพิพิธรักษาชาวที่ผลักพระปีย์ตกลงไปจากประตูกำแพงแก้ว และพระปีย์ร้องขึ้นได้คำว่า ทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย พอขาดคำลงคนทั้งหลายก็กุมเอาตัวพระปีย์ไปประหารชีวิตตายในขณะนั้น...”             หลังจากการจับกุมตัวพระปีย์ไปสำเร็จโทษ อาการประชวรของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็รุนแรงขึ้นจนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระราชวังเมืองละโว้ก็ถูกทิ้งร้างให้โรยราไปตามกาลเวลาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ……………………….......................................................... อ้างอิง กรมศิลปากร. หนังสือนำชมพระนารายณ์ราชนิเวศน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท นะรุจ จำกัด, 2560. ____________. ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 50 ภาค 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2527. ____________. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516. นิโกลาส์ แชร์แวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม : ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2506. หลวงศรีมโหสถ. โครงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนาการ, 2478.   ............................................................................... เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาววสุนธรา ยืนยง นักวิชาการวัฒนธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ---------------------------------------------   ที่มาของข้อมูล :  https://www.facebook.com/1535769516743606/posts/pfbid034WJzYL2FXJ3aQyfgsZ8W8BHUkKKphmGLNU5J7ivzJwab54sMDgSckUgrnSamhyj4l/  


 เมืองนครไทย .#เมืองนครไทย_ตอนที่๑#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า..#เมืองนครไทย เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งที่มีความสัมพันธ์และมีวัฒนธรรมร่วมสมัยกับสมัยสุโขทัย โดยที่ตั้งของเมืองอยู่ในที่ราบหุบเขาในเส้นทางคมนาคมระหว่างสุโขทัยกับดินแดนชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย .เมืองนครไทยในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๙๘ กิโลเมตร .ลักษณะภูมิสัณฐานของเมืองนครไทยโบราณเป็นที่ราบหุบเขาที่มีรูปร่างแบบกะทะหงาย มีที่สูงและภูเขาเป็นขอบของที่ราบ ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินดินสูงริมแม่น้ำแควน้อย น้ำไม่ท่วมถึง และมีแนวกำแพงเมือง - คูเมือง สร้างด้วยดิน ล้อมรอบไปตามเนินดินธรรมชาติ ผังเมืองมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอคล้ายรูปวงรี มีขนาดประมาณ ๘๐๐ x ๔๐๐ เมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่ สภาพปัจจุบันยังคงปรากฎร่องรอยหลักฐานของโบราณสถานประเภทวัดหลายแห่งตั้งอยู่ภายในและนอกเขตกำแพงเมือง - คูเมือง เมืองนครไทย ส่วนแนวกำแพงเมือง – คูเมือง ในปัจจุบันมีสภาพไม่สมบูรณ์ โดยยังปรากฎร่องรอยหลงเหลืออยู่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นส่วนใหญ่ .มีการพบโบราณวัตถุที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่ของเมือง ได้แก่ พระพุทธรูปศิลาประทับนั่งขัดสมาธิเพชรศิลปะแบบทวารวดีและพระพุทธรูปนาคปรกฝีมือช่างท้องถิ่น รวมถึงเสมาหินศิลปะแบบทวารวดี ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของเมืองนครไทยที่เป็นชุมชนโบราณที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย.นับตั้งแต่ก่อนหน้า พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนครไทยนั้นถือว่าได้รับความสนใจมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า “#เมืองนครไทยสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง” ซึ่งได้มีนักวิชาการและผู้รู้หลายท่านต่างสันนิษฐานว่า เมืองนครไทย คือ เมืองบางยางของพ่อขุนบางกลางหาว หรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้เคยตั้งบ้านเมืองอยู่ที่นครไทยมาก่อนจะไปครองกรุงสุโขทัย แต่ทั้งนี้ ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนยืนยันเรื่องนี้แต่อย่างใด .การศึกษาเรื่องเมืองนครไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นการสำรวจและศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ ส่วนการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่เมืองนครไทยนั้น มีเพียงงานวิจัยของรองศาสตราจารย์ปราณี แจ่มขุนเทียน  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗  และการดำเนินงานทางโบราณคดีของสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ - ๒๕๖๑ ผลจากการศึกษาทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบดังกล่าว ทำให้พบหลักฐานที่มีความสำคัญหลายประการและทำให้ภาพของเมืองนครไทยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยได้ข้อสรุปว่า เมืองนครไทยเป็นชุมชนโบราณที่พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีตที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ โดยมีพัฒนาการเป็นชุมชนขนาดใหญ่ระดับเมืองที่มีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณต่าง ๆ  ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา จากนั้นจึงเข้าสู่พัฒนาการในสมัยสุโขทัยในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ และมีพัฒนาการของบ้านเมืองเป็นลำดับเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน..#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก #เมืองนครไทย #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า #องค์ความรู้ออนไลน์..::: อ้างอิง  :::. นาตยา ภูศรี. เมืองนครไทย : ข้อมูลใหม่จากงานโบราณคดีที่วัดหน้าพระธาตุ. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย, ๒๕๖๑. ปรานี  แจ่มขุนเทียน. การศึกษาเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙. สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย. รายงานการขุดแต่งทางโบราณคดีวิหารและเจดีย์ วัดหน้าพระธาตุ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย, ๒๕๖๐. หวน  พินธุพันธ์. พิษณุโลกของเรา. พระนคร : โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์, ๒๕๑๔...………………………………………………………………………………… ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย …………………………………………………………………………………กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่ Facebook Fanpage ::: https://www.facebook.com/fad6sukhothai Youtube Channel ::: https://www.youtube.com/channel/UCD2W0so8kn4bL-WOu8Doqnw


คิริมานนฺทสุตฺต (คิริมานนฺทสูตร) ชบ.บ 126/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 163/4 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


         ประติมากรรมดินเผารูปเด็กออกจากหอยสังข์ (พระสังข์ทอง)          ศิลปะอยุธยา            นายพิชัย วงษ์สุวรรณ มอบให้เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๙           ปัจจุบันจัดแสดง ณ ตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ประติมากรรมรูปเด็กออกมาจากหอยสังข์ ศีรษะด้านบนไว้ผมจุก ใบหน้ากลม ลำตัวตั้งตรง ส่วนขาขวาอยู่ภายในเปลือกหอยสังข์ ประวัติจากผู้มอบระบุว่าพบบริเวณคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรี) ใกล้เมืองเก่าพระนครศรีอยุธยา          ประติมากรรมชิ้นนี้สันนิษฐานว่าทำขึ้นตามนิทานเรื่อง “สังข์ทอง” ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีเค้าโครงมาจากเรื่อง “สุวรรณสังขชาดก”* นิทานเรื่องนี้มีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และใช้ในการแสดงละคร ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง         สุวรรณสังขชาดก พระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง และนิทานเรื่องสังข์ทอง มีตัวเอกในเรื่องคือ “พระสังข์” ทั้งสามเรื่องมีเค้าโครงเนื้อเรื่องที่ใกล้เคียงกัน แต่การลำดับเรื่องและรายละเอียดบางตอนอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น การเสด็จเลียบพระนครและท้าวยศวิมลบวงสรวงขอพระราชโอรสนั้น ไม่ปรากฏในสุวรรณสังขชาดก และนิทานสังข์ทอง เป็นต้น รวมทั้งชื่อตัวละครและชื่อสถานที่ในสุวรรณสังขชาดก กับพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง** ก็แตกต่างด้วยเช่นกัน         เรื่องย่อวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์ ทั้งบทพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ และนิทานสังข์ทอง มีเนื้อเรื่องว่า ท้าวยศวิมลกับพระมเหสีนางจันท์เทวี ไม่มีพระราชโอรส จึงทำการบวงสรวง กระทั่งนางจันท์เทวีทรงพระครรภ์และให้กำเนิดออกมาเป็นพระสังข์ นางจันทาสนมเอกได้ติดสินบนโหรหลวงทำนายให้ร้ายแก่นางจันท์เทวีว่า การให้กำเนิดออกมาเป็นหอยสังข์นั้นเป็นอัปมงคลต่อบ้านเมือง ท้าวยศวิมลหลงเชื่อจึงขับไล่นางจันท์เทวีออกจากเมือง นางจันท์เทวีได้ไปอยู่กับสองตายาย ทำงานบ้านและเก็บฟืนเลี้ยงชีพ วันหนึ่งพระสังข์เกิดสงสารมารดา จึงแอบออกมาจากหอยสังข์ช่วยทำงานบ้านขณะที่พระนางจันท์เทวีออกไปหาฟืน และกลับเข้าไปในหอยสังข์อีกครั้งเมื่อนางกลับมาถึงบ้าน ฝ่ายพระนางจันท์เทวีเมื่อรู้ว่าบุตรซ่อนอยู่ในหอยสังข์จึงทุบหอยสังข์แตกแล้วจึงชุบเลี้ยงพระสังข์จนเติบโต          เรื่องสังข์ทองแพร่หลายไปท้องที่ต่าง ๆ บางแห่งปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเช่นที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานความเห็นเกี่ยวกับการแพร่กระจายเรื่องสังข์ทองไว้ว่า   “...นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้ง***เป็นเมืองท้าวสามนต์ ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไม่ห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตกก็อ้างว่า เมืองตะกั่วป่า****เป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า อธิบายว่าเมืองพระสังข์ตีคลีชนะ ได้ขี่ม้าเหาะข้ามภูเขานั้นไปดังนี้…”     *หนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่แพร่หลายในพื้นที่ล้านนา-อยุธยา กล่าวถึงการเสวยชาติของพระโพธิ์สัตว์ **ทั้งนี้ชื่อตัวละครและสถานที่ในพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง กับนิทานสังข์ทอง นั้นมีความเหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้นพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทองยังมีรายละเอียดชื่อและสถานที่ มากกว่านิทานพระสังข์ทอง เช่น ชื่อเมืองสามล (เมืองของนางรจนา พระมเหสีของพระสังข์ทอง) กลับไม่ปรากฏในนิทานสังข์ทอง ***ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ****ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา   อ้างอิง ปัญญาสชาดกเล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ: มูลนิธิออมสินเพื่อสังคม, ๒๕๕๔. พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครนอก สังข์ทอง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๐. ศุภธัช คุ้มครอง และสุปาณี พัดทอง. “สังข์ทองตอนกำเนิดพระสังข์ : กรณีศึกษาสุวรรณสังชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ และนิทานเรื่องสังข์ทอง.” วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๑, ๑ (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๔): ๑๘๙-๒๑๓.  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           17/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger