ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

          ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ.๒๐๕๔) มีการเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง คือ ไข้ทรพิษ บริเวณหมู่บ้านโปรตุเกส ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ราว ๓,๐๐๐ คน ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้ด้วย มีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมากนับว่าเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของชาวโปรตุเกสในสมัยอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยนั้นวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่ทันสมัยพอ ประกอบกับจากการศึกษาวิจัยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ โดย ดร.นพ.สุด แสงวิเชียร จากโรงพยาบาลศิริราช ได้ทำการวิจัยโครงกระดูกจากหลุมฝังศพในหมู่บ้านโปรตุเกสพบว่ามีโครงกระดูกที่มีรูพรุนจากหนองที่เจาะกระดูกของบาทหลวงและชาวโปรตุเกสในนั้น เรียบเรียงโดย นายวุฒิพันธุ์ นวลสนิท นักวิชาการวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา   ที่มาของข้อมูล https://www.facebook.com/AY.HI.PARK/posts/1094859940862843





นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


เรื่องสั้นเกี่ยวหับประเพณีต่างๆ ของเสฐียรโกเศศนี้มีอยู่หลายเรื่อง ทุกเรื่องล้วนน่าอ่านน่าศึกษา เพะราให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของไทยเป็นอย่างดี


สาระสังเขป  :  หนังสือลายพระหัตถ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี ที่ถวายแด่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ขณะทรงศึกษาอยู่ทวีปยุโรปในปี พ.ศ.2439-2445 เลือกบันทึกรายวันในการตามเสด็จพระราชดำเนินประเทศเกาะชวาครั้งที่ 2 พ.ศ.2444ผู้แต่ง  :  ทิพยรัตนกิริฎกุลินี, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงโรงพิมพ์  :  จันหว่าปีที่พิมพ์  :  2501ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.27บ.7336เลขหมู่  :  915.982              ท466ลท


สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการศรีสุขนาฏกรรม วันศุกร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ รายการแสดง ๑. รำถวายพระพร ๖๓ พรรษา สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปิ่นเกศีประชาไทย ๒. โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “ศึกแสงอาทิตย์” ๓. ระบำโบราณคดีศรีสยาม ๔. รำโนรา ๕. ละครพื้นเมือง เรื่องสงกรานต์ ตอน “เชิญศรีษะท้าวกบิลพรหม” นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดง วันทนีย์ ม่วงบุญ อำนวยการแสดงโดย เอนก อาจมังกร ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท (เปิดสำรองที่นั่ง และจำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ สัปดาห์) วันแสดง (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง) สอบถามและสำรองที่นั่ง (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒



          ศิลาจารึกวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยาราม (พ.ศ. ๑๙๔๗) ระบุชื่อเมืองพชรบุรีศรีกำแพงเพชร อันน่าจะหมายถึงเมืองโบราณกำแพงเพชรที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีแผนผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวขนานไปกับแม่น้ำปิง ตัวเมืองมีขนาดกว้างประมาณ ๖๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๒,๔๒๐ เมตร แนวกำแพงเมืองด้านเหนือพบร่องรอยคูน้ำและคันดินจำนวน ๓ ชั้น จึงสันนิษฐานได้ว่าสร้างกำแพงเมืองกำแพงเพชรมีลักษณะเป็นคูน้ำและคันดิน ต่อมาได้มีการพัฒนากำแพงเมืองชั้นในให้เป็นกำแพงก่อด้วยศิลาแลง กำแพงเมืองชั้นในที่ล้อมรอบตัวเมืองเป็นระยะทางทั้งสิ้น ๕,๓๑๓ เมตร แบ่งเป็นกำแพงด้านทิศเหนือยาวประมาณ ๒,๔๐๓ เมตร กำแพงด้านทิศใต้ยาวประมาณ ๒,๑๕๐ ด้านทิศตะวันออกยาวประมาณ ๕๔๐ เมตร และด้านทิศตะวันตกยาวประมาณ ๒๒๐ เมตร แนวกำแพงมีความกว้าง ๖.๕ เมตร สูงประมาณ ๔.๗ – ๕.๒ เมตร           แนวกำแพงเมืองที่ล้อมรอบตัวเมืองซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญของเมืองนั้น มีองค์ประกอบสำคัญคือ แนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมา ประตูเมือง และป้อมปราการ ประตูเมืองกำแพงเพชรที่ยังคงปรากฏหลักฐานอยู่ในปัจจุบันจำนวน ๙ ประตู ได้แก่ แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกพบประตูเมือง จำนวน ๑ ประตู คือ ประตูหัวเมือง แนวด้านทิศเหนือพบประตูจำนวน ๔ ประตู คือ ประตูผี ประตูสะพานโคม ประตูวัดช้าง และประตูเตาอิฐ แนวกำแพงด้านทิศตะวันออกพบจำนวน ๑ ประตู คือ ประตูท้ายเมือง แนวกำแพงด้านทิศใต้พบ ๓ ประตู คือ ประตูบ้านโนน ประตูดั้น และประตูเจ้าอินทร์ อย่างไรก็ตามอาจมีป้อมและประตูบางแห่งที่ไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน เช่น ประตูน้ำอ้อย แต่ปรากฏหลักฐานในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ และในแผนที่เมืองกำแพงเพชรที่เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวยังได้กล่าวถึงกำแพง ประตู และป้อมของเมืองกำแพงเพชร ในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ความว่า “…ไปตามถนนบนฝั่งน้ำชั้นบนไปข้างเหนือผ่านวัดเล็ก ๆ ทำด้วยแลง และที่ว่าการซึ่งยังทำไม่แล้ว เลี้ยวเข้าประตูน้ำอ้อยทิศตะวันตก หน้าประตูนี้เป็นทางลึกลงไปจากฝั่งจนถึงท้องคูแล้วจึงขึ้นเมือง...กำแพงก่อด้วยแลง ใบเสมาเป็นรูปเสมาหยักแต่ใหญ่ คออ้วนเหลืออยู่น้อย ตามประตูน่าจะเป็นป้อมทุกแห่ง แต่ที่ได้เห็น ๓ ประตู คือ ประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น...” และในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ความว่า “…เมืองกำแพงเพชรนี้รูปชอบกลไม่ใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยม กำแพงด้านตะวันออกตะวันตกยาวกว่าด้านเหนือด้านใต้หลายส่วน ด้านเหนือด้านใต้มีประตูด้านละช่องเดียวเท่านั้น แต่ด้านตะวันออกตะวันตกมีหลายช่อง ทั้งมีป้อมวางเป็นระยะ...กำแพงบนเชิงเทินทำแน่นหนาก่อด้วยแลง มีใบเสมาก่อเป็นแผ่นตรงขึ้นไปสักศอกหนึ่งแล้ว จึงก่อเป็นรูปหลังเจียดขึ้นไปอีกศอกหนึ่ง บนกำแพงมีทางเดินได้รอบกว้างพอคนเดินหลีกกันได้สบาย นอกกำแพงมีคูลึก...”           สำหรับป้อมปราการที่ปรากฏแบบตามลักษณะตำแหน่งของป้อมได้ ๓ รูปแบบ คือ           ๑. ป้อมประจำมุมเมือง ปัจจุบันพบเพียง ๓ ป้อม ตั้งอยู่บริเวณมุมเมืองทั้ง ๓ มุม ในแนวเดียวกับกำแพงเมืองชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ได้แก่ ป้อมมุมเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้           ๒. ป้อมหน้าประตูเมือง ตั้งอยู่บนเกาะกลางคูเมืองชั้นในหน้าประตูเมือง ป้อมมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ได้แก่ ป้อมบ้านโนน ป้อมเจ้าจันทร์ ป้อมประตูผี ป้อมวัดช้าง ป้อมเตาอิฐ โดยสันนิษฐานว่าด้านหน้าประตูเมืองทุกประตูน่าจะมีป้อมลักษณะดังกล่าวตั้งอยู่ด้านหน้าทุกประตู           ๓. ป้อมในแนวกำแพงเมือง ตั้งอยู่ในแนวกำแพงเมือง มีแผนผังเป็นรูปห้าเหลี่ยมหัวลูกศร ที่มีส่วนแหลมยื่นเข้าสู่คูเมืองชั้นใน แนวกำแพงด้านทิศใต้มีป้อมในแนวกำแพงเมือง ได้แก่ ป้อมหลังทัณฑสถานวัยหนุ่ม และป้อมเจ้าอินทร์ และแนวกำแพงด้านทิศเหนือมีป้อมในแนวกำแพงเมือง ได้แก่ป้อมเพชรและป้อมข้างประตูเตาอิฐ           กำแพงเมืองกำแพงเพชรไม่ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์ว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๒) รูปแบบการก่อสร้างป้อมและแนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมานั้น เป็นรูปแบบที่น่าจะเข้ามาพร้อมกับอิทธิพลตะวันตก ดังที่มีข้อสันนิษฐานจากการศึกษาของนายประทีป เพ็งตะโก ในบทความ เรื่อง ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา “…และเป็นไปได้ว่าชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวยุโรปมีบทบาทอยู่ในราชสำนักอยุธยามากที่สุดในขณะนั้น น่าจะมีส่วนในการออกแบบกำแพงเมืองและป้อมที่มีเชิงเทินและใบเสมา สำหรับเป็นที่กำบังกระสุนปืนให้สอดคล้องกับการสู้รบที่มีการใช้ปืนใหญ่ตามแบบตะวันตก ดังนั้นเอกสารทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ ต่างรับรองในแนวเดียวกันว่ากำแพงก่ออิฐของอยุธยาน่าจะสร้างในระหว่างรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์และสมเด็จพระมหาธรรมราชาหรือทั้งสองรัชกาล...” จึงเป็นไปได้ว่าการก่อสร้างของกำแพงเมืองกำแพงเพชรที่ก่อด้วยศิลาแลงนั้นเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) ด้วยเช่นกัน           ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองกำแพงเพชรบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงแห่งนี้ นับว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการสงครามที่มีบทบาทเป็นอย่างมาก เมืองแห่งนี้จึงจำเป็นต้องมีการก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการที่แข็งแกร่ง ชื่อเมืองกำแพงเพชรจึงปรากฏในเส้นทางการเดินทัพของทั้งฝ่ายกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพม่า และฝ่ายล้านนา มาโดยตลอด กระทั่งการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ และยังคงปรากฏต่อเนื่องในสมัยธนบุรี และตอนต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางการสงครามของเมืองกำแพงเพชรซึ่งมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์คือแนวกำแพงเมืองที่ยังมีความสมบูรณ์มั่นคงมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน บรรณานุกรม ประทีป เพ็งตะโก. “ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา”. ศิลปากร. ปีที่ ๔๐, ฉบับที่ ๕ (ก.ย.-ต.ค. ๒๕๔๐) หน้าที่ ๕๐-๖๕. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕. พิมพ์ครั้งที่ ๒๖. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า, ๒๕๒๙. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๑๙.


            ชื่อเรื่อง : เพศ หลากเฉดสี พหุวัฒนธรรมทางเพศในสังคมไทย      ผู้เขียน : นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และ ปีเตอร์ เอ แจ็คสัน (บรรณาธิการ)      สำนักพิมพ์ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)      ปีพิมพ์ : ๒๕๕๖      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๗๑๕๔-๒๑-๓      เลขเรียกหนังสือ : ๓๐๖.๗๖ พ๘๘๑      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑สาระสังเขป : ความหลากหลายทางเพศ เป็นคำที่เริ่มได้ยินและคุ้นเคยมากขึ้นจากช่วงทศวรรษ ๒๕๔๐ ถึงต้นทศวรรษ ๒๕๕๐ ในสังคมไทยนำมาใช้เพื่ออธิบายถึงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีมีเพศภาวะและเพศวิถีแตกต่างนอกเหนือออกไปจากที่บรรทัดฐานทางสังคมกำหนด "เพศ หลากเฉดสี พหุวัฒนธรรมทางเพศในสังคมไทย" ได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับการศึกษาเพศภาวะและเพศวิถีในพหุวัฒนธรรม เพศภาวะและเพศวิถีนอกกรอบในสังคมไทย ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมลูกผสมของเพศนอกกรอบ เพศนอกกรอบภายใต้สภาวะสมัยใหม่ มองผ่านชนชั้นและความเชื่อ กาปฏิบัติทางเพศและการข้ามเพศในพื้นที่การแสดง นาฎกรรม และมหรสพ การปฏิบัติทางเพศและการข้ามเพศในพื้นที่พิธีกรรมและความศักดิ์สิทธิ์ การไกล่เกลี่ยต่อรองกับความเป็นหญิงและชายภายใต้บรรทัดฐานของรักต่างเพศสมัยใหม่ อีกทั้งยังมีการรวบรวมบทความที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยาที่ให้ข้อมูลหรือข้อคิดที่มีคุณค่า ได้แก่ ลูกผสมของวัฒนธรรมทางเพศในสังคมไทย ผู้สาวหน้าฮ้านหมอลำ ความสัมพันธ์ระหว่างกะเทยและผู้ชายในคอนเสิร์ตหมอลำอีสาน พิธีกรรมทรงผีเจ้านาย : พื้นที่เปิดทางเพศภาวะในสังคมล้านนา "เฉดความเป็นชาย" บนร่างของโคโยตี้บอย ภาพสะท้อนวัฒนธรรมบริโภคของเกย์กรุงเทพฯ นางยี่เกชาย สิ่งชำรุดในรัฐนิยม : เรื่องเล่าชีวิตนางยี่เกชายผ่านวรรณกรรม รักสองเพศของผู้หญิง ทางเลือกของความปราถนาและการค้นหานิยามอัตลักษณ์ Cultural Pluralism and Sex/Gender Diversity in Thailand : Introduction นอกจากนี้ยังได้มีการรวบรวมคำศัพท์ที่ควรรู้มาอธิบายความหมายเบื้องต้น เพื่อที่จะช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เช่น Cross-Gender (การข้ามเพศภาวะ) คือ การแสดงเพศภาวะหญิงหรือชายที่ตรงข้ามไม่สอดคล้องกับเพศสรีระ Gender Identity (อัตลักษณ์ทางเพศภาวะ) คือ การตระหนักรู้ของปัจเจกบุคคลต่อตัวตนทางเพศที่เขาเลือก Queer (เควียร์/เพศนอกกรอบ) คือ สภาวะเพศที่อยู่นอกระเบียบกฏเกณฑ์ทางสังคมและบรรทัดฐานของผู้ชายผู้หญิง เป็นต้น ด้วยความมุ่งหวังว่า เรื่องราวที่นำเสนอนี้จะเป็นการสร้างความเข้าใจต่อความแตกต่างหลากหลายของผู้คนในวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจ เคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข



อดุลย์ รัตนมั่น.แปะโป๋ว.ครัว.(9):100;ตุลาคม 2545.           คนจีนนำพืช 3 ชนิดในสกุล Stemona วงศ์ Stemonaceae มาใช้เป็น สมุนไพร และให้ชื่อสามัญว่า แปะโป้ว เหมือนกัน หนึ่งในสามชนิดนี้เป็นสมุนไพร ไทยที่คนไทยเรารู้จักกันดี คือ หนอนตายหยาก หรือ กะเพียด ซึ่งจะได้พูดราย ละเอียดต่อไป ด้วยแปะโป๋วได้มาจากพืช ถึง 3 ชนิด ทำให้มันเป็นสมุนไพรอีกตัวหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกมากถึงกว่าสิบชื่อ


ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์จะพระราชทาน " พระปฐมบรมราชโองการ " หลังจากพราหมณ์ทูลเกล้าฯ ถวาย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องราชูปโภคแล้วพระปฐมบรมราชโองการ นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๙ มีเนื้อความเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัยซึ่งล้วนแต่แสดงพระราชปณิธาน ในฐานะทรงเป็นผู้รับพระราชภาระแห่งบ้านเมือง    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พุทธศักราช ๒๓๒๘ “...พรรณพฤกษ ชลธี แลสิ่งของในแผ่นดิน ทั่วเขตพระนคร ซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้น ตามแต่สมณชีพราหมณาจารย์ราษฎรปรารถนาเถิด...”    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๕๒ “ แต่บรรดาพฤกษาและแม่น้ำใหญ่ น้อย และสิ่งของทั้งปวง ซึ่งมีในแผ่นดิน ทั่วขอบเขตแดนพระนคร ซึ่งหาเจ้าของหวงแหนมิได้ให้พระราชทานแก่ สมณะ พราหมณ อณาประชาราษฎร์ทั้งปวง ตามแต่ปรารถนาเถิด ”    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ “ เจ้าพระยา และพระยา ของซึ่งถวายทั้งนี้ จงจัดแจงบำรุงไว้ให้ดี จะได้รักษาแผ่นดิน ”ในการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่พบหลักฐานพระปฐมบรมราชโองการหลังจากพิธีถวายสิริราชสมบัติและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ที่พระที่นั่งภัทรบิฐพบแต่ “ พระราชโองการปฏิสันถาร ” ในการเสด็จมหาสมาคม ซึ่งโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนเข้าเฝ้าเพื่อรับการถวายราชสมบัติจากนั้นจึงมีพระราชโองการตรัสปฏิสันถารกับเจ้าพระยา และพระยาทั้งปวง ซึ่งมีข้อความเดียวกันทุกรัชกาลต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ยกเลิกพิธีส่วนนี้ มีแต่เพียงการถวายพระพรชัยมงคลจากขุนนางฝ่ายหน้าและข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายในเท่านั้น    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๙๔ “ พรรณพฤกษ ชลธี แลสิ่งของในแผ่นดิน ทั่วเขตพระนคร ซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้น ตามแต่สมณชีพราหมณาจารย์ราษฎรจะปรารถนาเถิด ”    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ “ แต่บรรดาที่ไม่มีเจ้าของผลไม้ทั้งน้ำในห้วยละหารตรท่าก็ดี ตามแต่สมณพราหมณาจารยอาณาประชาราษฎรจะมาแต่จตุระทิศต่างๆ ตามแต่จะปรารถนา ” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ คำภาษามคธ “ อิทานหํ สพฺเพสํ อนุมติยา ราชา มุทฺธาวสิตฺโต สฺยาเมสุ อิสฺสราธิปจฺจํ รชฺชํ กาเรมิธ ธฺมมิกราชปเวณิยา อนุชานามิ ยนฺติ สฺยามวิชิเตอปรปริคฺคหิตํ ติณกฏฺโจทกํ สมณพฺราหฺมณาทโย สพฺเพสฺยามรฏฺฐิกา ยถาสุขํ ปริภุญฺชนุตุฯ ” คำแปล “ ครั้งนี้ท่านทั้งปวงพร้อมใจกัน ยอมให้เราเปนเจ้าครองราชสมบัติได้รับมุรธาภิเษกเปนใหญ่ในสยามราษฎร์วราณาจักรนี้แล้ว เราขออนุญาตยอมให้ โดยธรรมิกราชประเพณี พรรณพฤกษชลธีในสยามราษฎร์วราณาจักรนี้ ซึ่งไม่มีเจ้าของหวงแหนนั้น ตามแต่สมณพราหมณาจารย์ ประชาราษฎรทั้งปวงจะปรารถนาใช้สอยเทอญ ฯ ”    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๓ คำภาษามคธ “อิทานาหํ พฺราหฺมณา ราชภารํ วหนฺโต พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย ธมฺเมน สเมน รชฺชํ กาเรมิ ตุมฺหากํ สปริคฺคหิตานํอุปริ ราชกํ อาณํ ปสาเรตฺวา นาโถ หุตฺวา ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตี สํวิทหามิ วิสฺสฏฺฐา หุตฺวา ยถาสุขํ วิหรถ ฯ” คำแปล “ ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชนเราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เปนที่พึ่ง จัดการปกครองรักษาป้องกัน อันเปนธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบาย เทอญ ฯ ”    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๘ คำภาษามคธ “อิทานาหํ พฺราหฺมณา ราชภารํ วหนฺโต พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย ธมฺเมน สเมน รชฺชํ กาเรมิ ตุมฺหากํ สปริคฺคหิตานํอุปริ ราชกํ อาณํ ปสาเรตฺวา นาโถ หุตฺวา ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตี สํวิทหามิ วิสฺสฏฺฐา หุตฺวา ยถาสุขํ วิหรถ ฯ” คำแปล “ ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชนเราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เปนที่พึ่ง จัดการปกครองรักษาป้องกัน อันเปนธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบาย เทอญ ฯ ”    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคตก่อนทรงรับพระราชพิธีบรมราชภิเษก    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ”


ชื่อผู้แต่ง  :  กรมศิลปากรกองหอสมุดแห่งชาติ   ชื่อเรื่อง  :  จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ล.1.                    พิมพ์ครั้งที่  :   ๑   สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์ภาพพิมพ์   ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๙     จำนวนหน้า       ๓๑๑                 หน้า   หมายเหตุ  :   เอกสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ อันดับที่ ๔/๒๕๒๙ เป็นการรวบรวมคำอ่านและแปลจารึกที่พบในประเทศไทยโดยนักภาษาโบราณประกอบด้วย เทิบ ปีเต็ม จำปา เยื้องเจริญ ชะเอม แก้วคล้าย บุญเลิศ เสนานนท์และบุญนาค สะแกนอกและอาจารย์ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ เป็นผู้ตรวจสอบเรียบเรียงประวัติทะเบียนจารึก โดยจัดเป็นกลุ่มรูปแบบอักษรตามลำดับยุคสมัยเล่มที่ ๑ จารึกอักษรปัลลวะหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔


Messenger