ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
“ภาพจิตรกรรมไทยฝีพระหัตถ์” พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชมพรเขตอุดมศักดิ์ ภายในอุโบสถวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ภายในอุโบสถของวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญอย่างมาก โเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่๕ ราวปี พ.ศ.๒๔๖๔ โดยประมาณ ตั้งอยู่ในส่วนของผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระประธาน คือภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของ “กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” พระองค์ทรงเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ตอนมารผจญ ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองร่วมกับข้าราชบริพาร ส่วนผนังด้านล่างระหว่างช่องประตูเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ ตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส โดยมี หม่อมเจ้าจารุภัตรา อาภากร พระธิดาองค์โต ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีส่วนร่วมในการเขียนภาพจิตรกรรมนี้ด้วย ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเขียนภาพโดยใช้เทคนิคจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ผสมผสานกับการเขียนภาพจิตรกรรมเทคนิคแบบตะวันตกจะเห็นได้จากมีการใช้แสงเงาเข้ามาเขียนภาพ การจัดองค์ประกอบภาพทำได้อย่างลงตัว มีการเขียนสอดแทรกภาพเหมือนข้าราชบริพารที่ตามเสด็จด้วย เช่น นายทหารแม่ครัว เป็นต้น ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนจิตรกรรมฝาผนังที่อื่นๆ คือในส่วนลายชายริ้วด้านซ้าย และขวาของภาพจิตรกรรม มีการจารึกอักษรขอมตัวบรรจง ซึ่งกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงมีความรู้ความสามารถในด้านคาถาเป็นอย่างมาก โดยมีพระครูวิมลคุณากร หรือที่รู้จักกันคือ หลวงปู่ศุข เกสโร เป็นพระอาจารย์ที่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก คาถาที่เขียนไว้คือ คาถา “ชัยมังคะละอัฏฐะกะคาถา”หรือเรียกกันสั้นๆว่า คาถาพาหุง ซึ่งเป็นคาถาที่แปลว่า “การชนะมารทั้ง ๘ ประการ อันเป็นมงคลสูงสุดของพระพุทธเจ้า” จารึกอักษรขอมเป็นคาถาที่สอดคล้องกับจิตรกรรม และเรื่องราวของภาพมารผจญเป็นอย่างมาก และมีจารึกต่อท้ายด้วยตัวอักษรไทยความว่า พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นายเทียบ นายรังสี นายแฉล้ม นายผ่อน ได้เขียนไว้ ลงท้ายความว่าเพื่อศุขประโยชน์ภายหน้า นิพพาน ปัจโย โหตุ อ้างอิง : รายงานการอนุรักษ์จิตรกรรมวัดปากคลองมะขามเฒ่า พ.ศ๒๕๔๔ หนังสือประวัติพระครูวิมลคุณากร เรียบเรียง : นายศุภกิจจ์ เสถียรอินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ
ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธี
มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗
จัดพิมพ์เผยแพร่
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 16(7)
ฉบับที่ 671(265)
วันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2535
ชื่อเรื่อง : อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์
ผู้เขียน : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สำนักพิมพ์ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ปีพิมพ์ : 2562
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-283-455-4
เลขเรียกหนังสือ : 915.935 ด427ว
ประเภทหนังสือ : หนังสือที่จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1
สาระสังเขป : ลำน้ำพิง หรือ น้ำแม่ปิง สายน้ำสำคัญในภาคเหนือที่ถือเป็นต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากลำน้ำ 4 สาย ได้แก่ ปิง วัง ยม น่าน มีผู้คนตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการเป็นบ้านเมืองมายาวนานหลายร้อยปี แม่น้ำสายนี้จึงเป็นเส้นเลือดสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนตลอดลุ่มน้ำ อีกทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อของผู้ที่อยู่อาศัยในที่ ราบลุ่มภาคเหนือกับภาคกลางอีกด้วย "อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์" เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพครั้งที่ 2 พ.ศ. 2464 นับว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ตลอดสองฝั่งลำน้ำปิงอันจะทำให้เข้าใจถึงพัฒนาการทางสังคมและบ้านเมืองในบริเวณดังกล่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งในการจัดพิมพ์ครั้งนี้นับเป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 6 โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ดำเนินการพิจารณาสอบค้นต้นฉบับและยึดฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2470 เป็นหลักใน การตรวจสอบชำระ จัดทำเชิงอรรถอธิบายความเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ พร้อมค้นคว้าภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพิ่มเติมก่อเกิดความเข้าใจแก่ผู้อ่านมากยิ่งขึ้น เอกสารอธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์ มีเนื้อความระบุการเดินทางตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม พ.ศ. 2464 รวม 26 วัน โดยเสด็จผ่านที่ต่างๆ ตามเวลาดังกล่าว เช่น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เขาดอยน้อย - พักแรมพระธาตุจอมทอง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ลงแก่งจุม - แก่งสองแคว - แก่งหน้าวัด - แก่งอกม้า - แก่งผาแอว - แก่งผาออ - แก่งเสือเต้น - พักแรมดอนเกลือ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พักร้อนบ้านปากยม - วังเจ้า - เกาะลูกช้าง - แวะดูเชิงเทินแลวัดเก่า - พักแรมตำบลคลองเมือง วันที่ 2 มีนาคม วัดมหาธาตุคลองสวนหมาก - วัดมหาธาตุและเมืองเก่า - ปรางค์ทุ่งเศรษฐี - เมืองเศรษฐี - เมืองกำแพงเพชร - สถานพระอิศวร - วัดหลวง - ศาลพระเสื้อเมืองหลักเมือง วันที่ 7 มีนาคม วัดเขาดิน - พักร้อนบ้านแก่ง - พักแรมปากน้ำโพ เป็นต้น นับว่าเป็นเอกสารประวัติศาสตร์สำคัญที่มีคุณค่าสาระ ทั้งเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีตลอดสิงฝั่งแม่น้ำปิง อันจะอำนวยประโยชน์ทางวิชาการต่อชนรุ่นหลังสำหรับทำการศึกษา ค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ต่อไป
ชื่อเรื่อง นิพฺพานสุตฺต (พระนิพพานสูตร)สพ.บ. 168/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา เวสสันดรชาดกบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 117/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม. หัวเรื่อง พระอภิธรรม พระไตรปิฎก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ เป็นเจดีย์สมัยทวารวดีที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารางกะปิด ในพื้นที่บ้านเขาพระ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน ๓ ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นหินที่เกิดจากการนำหินธรรมชาติมาถมปรับพื้นที่เพื่อรับน้ำหนักเจดีย์และเป็นลานประกอบกิจกรรม พบร่องรอยการก่อสร้างซ้อนทับกัน ๒ สมัย
จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุที่เป็นส่วนประกอบของเจดีย์ได้แก่อิฐและศิลาแลง พระพิมพ์ดินเผาประดับศาสนาสถาน ทั้งยังพบภาชนะดินเผาจำนวน ๓ ใบบรรจุโบราณวัตถุเนื่องในศาสนา ฝังอยู่ในพื้นหินที่ตั้งของโบราณสถาน
ในภาชนะดินเผาใบหนึ่งพบพระพิมพ์ดินเผามีจารึกอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ระบุนามกษัตริย์ผู้สร้างพระพิมพ์ จึงสันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างบุญกุศล มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ ต่อมาเจดีย์องค์นี้พังทลายลง จึงมีการสร้างเจดีย์สมัยที่ ๒ ครอบทับ
โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ พระพิมพ์ดินเผามีจารึก พระพิมพ์ดินเผาปิดทองคำเปลว พระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ แผ่นตะกั่วรูปพระโพธิสัตว์และแผ่นตะกั่วรูปสตรี ปัจจุบันโบราณวัตถุเหล่านี้จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เอกสารอ้างอิง
ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
เลขทะเบียน : นพ.บ.75/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 47 (52-58) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้วิชาการ เรื่อง "ชุดเครื่องเขียนชาวจีน" จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
เลขทะเบียน : นพ.บ.135/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.2 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 81 (322-325) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : บาลีการก (ศัพท์การก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.88/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 52.4 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 51 (94-102) ผูก 9 (2564)หัวเรื่อง : วิสุทธิมคฺคปาพัตถพฺยาขฺยาน (วิสุทธิมัคปาฬัตถพยาขยาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม