ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

❝ เมืองนครไทย : จากหลักฐานเอกสาร ❞ #เมืองนครไทย_ตอนที่๒#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า..เรื่องราวของเมืองนครไทย มีปรากฏในหลักฐานเอกสาร ดังนี้ ๑. เมืองนครไทย จากศิลาจารึกสุโขทัย  ๑.๑ จารึกวัดเขากบ จารึกวัดเขากบ พบที่บนเขากบ เหนือปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นจารึกสมัยสุโขทัย ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มีเนื้อหากล่าวถึงการสร้างรอยพระพุทธบาท พระเจดีย์และวิหารไว้บนยอดเขาสุมนกูฏ หรือ เขากบ นั่นเอง โดยในเนื้อหาของจารึกวัดเขากบ ด้านที่ ๒ มีความตอนหนึ่งที่กล่าวถึงเมืองนครไทย ดังนี้ ❝...ข้ามมาลุตะนาวศรีเพื่อเลือกเอาคนฝูงดี.....สิงหลทีป รอดพระพุทธศรีอารยไมตรี เพชรบุรี ราชบุรีน....ส อโยธยา ศรีรามเทพนคร ที่สอรพิรุณาส ตรงบาดาล พระ...เด็จ ท่านก่อที่นั้น ผสมแต่ก่อพระเจดีย์พระศรีรัตนธาตุได้พัน...ร้อยห้าสิบเจ็ด รัตนกูดา #นครไทย (นครไท) ว่ากัมพงคลองอีกพระเจดีย์...... ❞   ดูข้อมูลของจารึกวัดเขากบ เพิ่มเติมได้ที่ : https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/215.๑.๒ จารึกวัดบูรพาราม  จารึกวัดบูรพาราม  พบที่จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่หอพระสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร มีอายุศักราช พ.ศ. ๑๙๓๙ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงขอบเขตดินแดนของสุโขทัยโดยรวมถึงเมืองนครไทยด้วย  ความว่า ❝ศักราชเจ็ดร้อยห้าสิบแปดกลาย (พ.ศ. ๑๙๓๙) ท่านได้ปราบต์ทั้งปกกาวชาวด้านหนตีน  เถิงฝั่งของ...ตะวันออกคุง......เบื้องตะวันตกเท้าเมืองฉอดรอดแดนพัล เบื้องข้างตะวันหนออกรอดเถิงลุมบาจายรอดสายยโสธรเบื้องข้างหนอุดร #ลุนครไท (นคอร(ไท))....รอดริด...เชียงดงเชียงทองนองด้วยท้าวพระยาทิศานุทิศมาไหว้คัล❞ นอกจากนี้จารึกหลักเดียวกันนี้อีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นภาษาบาลี ปรากฏชื่อเมืองนครไทยว่า ❝ #นครเทยฺยกํ❞   ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออก (บูรพา) ของสุโขทัย   ดูข้อมูลของจารึกวัดบูรพารามเพิ่มเติมได้ที่https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/254.๑.๓ จารึกกฎหมายลักษณะโจร จารึกกฎหมายลักษณะโจร (พ.ศ. ๑๙๔๐) พบที่ทางเลี้ยวเข้าวัดพระมหาธาตุและวัดสระศรี หลักกิโลเมตรที่ ๕๐ - ๕๑  อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานครเนื้อความของจารึกหลักนี้ กล่าวถึงพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติกฎหมายลักษณะโจร มีความตอนหนึ่งที่กล่าวถึงข้าราชบริพารที่มาเข้าเฝ้าจากเมืองต่าง ๆ ความดังนี้❝...พระองค์ท่านเสด็จในกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ ด้วยพระราชศฤงคารบริพารพลแลจตุรงคนิกรธารลำน้ำพระยาพังเกษตร สคาบุรีพระยาพัง ศรีสัชนาลัยบุรีพระยาพังไทวยนทีศรียมนาพี่พระยาทานพัง #นครไทย (นคอรไทย) แล...พระราชมาตุละบพิตรมนตรีอนุชิต... ❞   ดูข้อมูลของจารึกกฎหมายลักษณะโจร เพิ่มเติมได้ที่https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/118..ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครไทยในจารึกสุโขทัย แสดงให้เห็นว่าในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ได้มีเมืองนครไทยเกิดขึ้นแล้ว และเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของสุโขทัย ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของเมืองที่เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างดินแดนต่าง ๆ ทั้งสุโขทัย ล้านช้าง อยุธยา และล้านนา และการเป็นแหล่งทรัพยากรประเภทของป่า รวมทั้งการผลิตเกลือ ทำให้เมืองนครไทยมีร่องรอยของพัฒนาการสืบเนื่องต่อมา โดยเฉพาะในสมัยอยุธยา ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองนครไทย ดังนี้.. ๒. พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เนื้อความในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ พูดถึงเมืองนครไทย ๒ เหตุการณ์ ดังนี้❝ ศักราช ๘๒๔ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๐๕) #เมืองนะครรไทย พาเอาครัวอพยพหนีไปนาน แลให้พระกลาโหมไปตามได้คืนมา... ❞   เหตุการณ์ที่หนึ่งกล่าวถึง ปี พ.ศ. ๒๐๐๕ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ในช่วงที่ทำสงครามกับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา ได้เกิดการอพยพผู้คนจากเมืองนครไทยไปอยู่ที่เมืองน่าน จนทำให้ทางกรุงศรีอยุธยาต้องส่งพระยากลาโหมไปกวาดเทครัวที่อพยพหนีไปกลับคืนมา ซึ่งในเวลาต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงย้ายมาประทับบัญชาการศึกอยู่ที่พิษณุโลกและทรงผนวชที่วัดจุฬามณี เป็นเวลาถึง ๒๕ ปี เพราะฉะนั้น นครไทยในช่วงนั้น น่าจะเป็นหัวเมืองสำคัญหัวเมืองหนึ่งของอยุธยา จึงไม่สามารถปล่อยเมืองนี้ไปอยู่ในความครอบครองของล้านนาได้จากเหตุการณ์นี้เอง เป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงโปรดฯ ให้ตั้งเมืองนครไทยขึ้นเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ ๒๐๒๐ ดังความว่า ❝...ศักราช ๘๓๙ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๒๐) แรกตั้ง #เมืองณครรไทย.... ❞  . ๓. จดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุลาลูแบร์ (Du Royaume de Siam แปลตามตัวคือ “ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม”) เป็นบันทึกของของซิมง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา จดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้กล่าวถึงเมืองนครไทยไว้เช่นเดียวกัน โดยกล่าวถึงตำนานการสร้างพระนครศรีอยุธยา ว่ามีบรรพกษัตริย์ของสมเด็จพระรามาธิบดี (พระเจ้าอู่ทอง) พระองค์หนึ่ง อพยพมาอยู่ที่เมืองนครไทย ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนที่กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาจะอพยพลงมาสร้างพระนครศรีอยุธยา และได้ระบุถึงปี พ.ศ. ๑๗๓๑ ไว้ด้วย ความว่า❝...ในปี พ.ศ. ๑๗๓๑ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๒ สืบต่อจากพระองค์นี้ ซึ่งทรงพระนามว่า พระพนมไชยศิริ ทรงให้อาณาประชาราษฎรของพระองค์อพยพตามไปยังเมือง #นครไทย (Lacontai) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอันไหลมาจากภูเขาแดนลาว ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ (เจ้าพระยา) ตอนเหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไปเล็กน้อย แต่นั้นไปยังเมืองนครไทยไกลกัน ๔๐ ถึง ๕๐ ลี้ แต่พระมหากษัตริย์พระองค์นี้มิได้ประทับอยู่ ณ เมืองนครไทยตลอดมา.... ❞  ตำนานการสร้างพระนครศรีอยุธยาของลาลูแบร์ มีเค้าโครงคล้ายกับตำนานพระเจ้าอู่ทองที่มีอยู่หลายสำนวน แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่าเอกสารของลาลูแบร์ เป็นการจดบันทึกจากคำบอกเล่า ทั้งคำบอกเล่าของขุนนางบ้าง ราษฎรบ้าง เป็นการจดบันทึกต่อ ๆ กันมา แต่อย่างไรก็ตาม จดหมายเหตุลาลูแบร์ก็แสดงให้เห็นว่า อยุธยาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนครไทยยังคงเป็นหัวเมืองสำคัญที่อยู่ในการรับรู้ของชาวอยุธยา ..#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก #เมืองนครไทย #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า #องค์ความรู้ออนไลน์..::: อ้างอิง  :::. กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๘. กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. นาตยา ภูศรี. เมืองนครไทย : ข้อมูลใหม่จากงานโบราณคดีที่วัดหน้าพระธาตุ. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย, ๒๕๖๑. ลาลูแบร์. จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, ๒๕๑๐. หวน  พินธุพันธ์. พิษณุโลกของเรา. พระนคร : โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์, ๒๕๑๔...…………………………………………………………………………………☆ ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ☆…………………………………………………………………………………กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่ Facebook Fanpage ::: https://www.facebook.com/fad6sukhothaiYoutube Channel ::: https://www.youtube.com/channel/UCD2W0so8kn4bL-WOu8Doqnw


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           33/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 45 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา




คิริมานนฺทสุตฺต (คิริมานนฺทสูตร) ชบ.บ 126/1ก เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 163/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


          พระสาวกนั่งพนมมือ           ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒           ได้มาจากวัดศรีโขง ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔-๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓           ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           หินผลึกใสสลักรูปพระสาวกในท่าอัญชลี (พนมมือ) นั่งขัดสมาธิราบ ศีรษะเรียบ ใบหน้ากลม คิ้วโก่ง หลับตา ปลายหางตาตวัดเล็กน้อย บริเวณคอมีรอยแตกชำรุด ครองจีวรห่มเฉียง มือทั้งสองข้างยกขึ้นมาในท่าอัญชลี           พระสาวก หมายถึง ศิษย์ของศาสดา* รูปประติมากรรมพระสาวกจะแตกต่างจากพระพุทธรูปชัดเจน คือ ไม่ปรากฏอุษณีษะบนศีรษะ อันเป็นหนึ่งในลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการของพระพุทธเจ้า รวมทั้งหากเป็นพระพุทธรูปจะไม่แสดงท่าอัญชลี (การพนมมือ) เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงมีสถานะสูงสุดในโลกนี้           การสร้างประติมากรรมพระสาวกในล้านนา เกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อเรื่อง พระรัตนตรัย ทางพุทธศาสนาที่ประกอบไปด้วย “พระพุทธ” หมายถึง พระพุทธเจ้า “พระธรรม” หมายถึงหลักธรรมคำสอน และ “พระสงฆ์” หมายถึงพระสาวก ทั้งนี้ในวัฒนธรรมสมัยหริภุญไชย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙) ปรากฏทั้งประติมากรรมลอยตัวพระสาวกนั่งขัดสมาธิราบแสดงการพนมมือ และพระพิมพ์บางชิ้นยังปรากฏรูปพระสาวกนั่งคุกเข่าพนมมือขนาบข้างพระพุทธเจ้า            ต่อมาในวัฒนธรรมล้านนายังคงปรากฏการสร้างรูปพระสาวกในพุทธศาสนา มีตัวอย่างเช่นประติมากรรมพระอัครสาวกสองรูปที่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๑๙๕๔ ประติมากรรมพระสาวกสัมฤทธิ์ที่จัดแสดงอยู่ในห้องล้านนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รวมทั้งพระสาวกหินผลึกองค์นี้ ซึ่งได้จากโบราณสถานวัดศรีโขง โบราณสถานที่พบทั้งพระพุทธรูปงา พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ และพระพุทธรูปหินผลึกเป็นจำนวนมากและมีหลากหลายสี จำนวนทั้งสิ้น ๑๑๕ ชิ้น           แรงบันดาลใจสำคัญของการสร้างพระสาวกและพระพุทธรูปหินผลึกเหล่านี้ เกิดจากแนวคิดอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป มีปรากฏในคัมภีร์อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปฉบับล้านนา ระบุว่าอานิสงส์ที่จะได้รับจากการสร้างพระพุทธรูปนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ กรณีของแก้วหรือหินผลึกกล่าวว่า จะได้เสวยผลอานิสงส์ ๖๕ กัป**     *ตามความหมายของ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หน้า ๑๒๕๐ **กัป หมายถึง อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลกบางทีใช้คู่กับคำกัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร.     อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน นพปฏิมารัตนมารวิชัย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๒. กรมศิลปากร. สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แพร่การช่าง. (พิมพ์เป็นที่ระลึกในการฌาปนกิจศพ นายนกยูง พงษ์สามารถ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๘). ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.           ความรู้สึกทั้งหมด 152152  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           17/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง              อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ นายเสริม วินิจฉัยกุล ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์        กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์          บริษัท เพื่อนพิมพ์ จำกัด ปีที่พิมพ์             ๒๕๒๘ จำนวนหน้า         ๑๐๑  หน้า                         ราชบัณฑิตยสถานกับเจ้าภาพ ขออนุญาติจัดพิมพ์บทความทางวิชาการที่ท่านได้เขียนขึ้น แม้บางเรื่องจะเขียนไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๖ และ ๒๔๘๗ ในโอกาศการพระราชทานเพลิงศพ นายเสริม วินิจฉัยกุล นายกราชบัณฑิตยสถาน ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพสิรินทราวาส


เลขทะเบียน : นพ.บ.439/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 157  (141-148) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.585/1ก                            ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 189  (372-377) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : ปัญญาบารมีหลวง--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เทวดาปูนปั้นวัดเจ็ดยอด ประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดาถูกประดับอยู่ที่บริเวณผนังของวิหารวัดมหาโพธาราม หรือ วัดเจ็ดยอด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1998 สมัยพระเจ้าติโลกมหาราช โดยโปรดให้ช่างถ่ายแบบมาจากวิหารมหาโพธิ์ ตำบลพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยย่อส่วนให้เหลือประมาณ 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น ส่วนลวดลายปูนปั้นที่ผนังนอกวิหารใช้การประดับเป็นรูปเทวดาแทนตำแหน่งพระพุทธรูป ซึ่งแตกต่างจากต้นแบบ .ลักษณะของเทวดาที่ประดับเรียงรายอยู่ในแต่ละช่องที่คั่นด้วยเสามี 2 ชั้น แบ่งได้ 2 กลุ่มคือ  1. เทวดานั่งพนมมือ ท่าทางเหมือนลอยหรือเหาะอยู่กลางอากาศ ประดับที่ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ 2. เทวดายืนพนมมือ อยู่บนฐานบัว ประดับที่มุมจากการยกเก็จด้านหลังของวิหารพื้นหลังของเทวดาตกแต่งโปรยปรายด้วยลายดอกไม้ร่วง จากลักษณะดังกล่าวนี้เอง การประดับเทวดาในที่นี้น่าจะหมายถึง เหล่าเทวดาลงมาชุมนุม ร่วมแสดงความยินดีในคราวที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่ามกลางดอกไม้สวรรค์ เนื่องจากเหล่าเทวดามีหันพระพักตร์ไปทางด้านหลังของวิหารวัดเจ็ดยอด ซึ่งมีต้นโพธิ์อันเป็นสัญลักษณ์การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอยู่ด้วย ภาพเหล่าเทวดาหรือเทพชุมนุมเช่นนี้มักพบอยู่ในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ที่วัดเจ็ดยอดนี้เป็นงานปูนปั้นด้านนอกของวิหาร.รูปแบบของเทวดาทั้งกลุ่มนั่งและยืน มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรมองตรง แย้มพระโอษฐ์ พระวรกายเพรียวบาง บั้นพระองค์เล็ก เครื่องประดับ ทรงสวมมงกุฎกรวยสูง (กรัณฑมงกุฎ) กุณฑล กรองศอ สายอุทรพันธะ พาหุรัด ข้อพระกร ข้อพระบาท การแต่งกาย ทรงสวมผ้านุ่งยาวและชักชายผ้าออกมาโดยทำให้มีลักษณะพลิ้วไหวปลายสะบัดขึ้น ทำให้เหมือนว่าเทวดากำลังล่องลอยอยู่กลางอากาศพื้นหลังมีลายดอกไม้ร่วง โดยทำเป็นลายดอกโบตั๋น ผสมใบและลายกนกก้านขด ลายก้อนเมฆ ลายจำปาดะที่คล้ายดอกจำปีหรือจำปา แต่มีขนาดใหญ่กว่า.เทวดาปูนปั้นวัดเจ็ดยอดถือได้ว่าเป็นต้นแบบในการกำหนดอายุงานศิลปกรรมในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ของล้านนาได้ จากรูปแบบข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นถึงการได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปะหลายแหล่งที่เป็นนิยมในช่วงนั้น เช่น การทำพระพักตร์รูปไข่ พระเนตรมองตรง พระวรกายบาง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ซึ่งลักษณะเหล่านี้ได้ปรากฏในกลุ่มพระพุทธรูปด้วย การสวมเครื่องประดับ เช่น กรัณฑมงกุฎ การนุ่งผ้า และลายดอกจำปาดะ ก็แสดงให้เห็นถึงกระแสศิลปะลังกา ที่ในสมัยพระเจ้าติโลกมหาราช มีกลุ่มพระภิกษุนิกายวัดป่าแดงได้ไปศึกษาศาสนาที่ลังกาและอาจนำกลับมาก็เป็นได้ ส่วนลายดอกโบตั๋น แสดงให้เห็นถึงความนิยมในลวดลายประดับแบบศิลปะจีนที่พบเจอทั้งในงานประติมากรรม งานจิตรกรรม และเครื่องถ้วยในสมัยนี้-------------------------------------------อ้างอิง- สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย – ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555. หน้า 121 - 123.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 323 – 325.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2565. หน้า .ที่มารูปภาพ- ภาพถ่ายเก่าวัดเจ็ดยอด จาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่



เมืองโบราณยะรัง Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ --------------------------------------------------------------- สำหรับหัวข้อที่จะมานำเสนอในวันนี้ คือ เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ จะมีเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้นเชิญติดตามรับชมกันได้เลยค่ะ   --------------------------------------------------------------- Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790 Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ? https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid023vs8jRqA2iqonHKfjBgCMWEC6GfQLWyYHFy8ogMX3RVt1UG1uy2pSNVxkd2s9BT6l Ep.3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid02yA8FEeS67MfC8HzjSBSYFYPtYd2b3nmNpXf9FQuwkajWb5X4woZgmPtHJ4vyyA8dl Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ EP.5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี -------------------- เอกสารอ้างอิง  กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้. สงขลา : สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา, 2565. การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้, ศูนย์. ลุ่มน้ำตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525 เขมชาติ เทพไชย, รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดี บริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, สงขลา : โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กองโบราณคดี  กรมศิลปากร, 2528 เขมชาติ เทพไชย, “การวิจัยทางโบราณคดี ณ บริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี”, เอกสารหมายเลข 11 การสัมมนาวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมไทยโฮเต็ล นครศรีธรรมราช 18-20 กันยายน 2532 ชูสิริ จามรมาน, รายงานผลการวิจัยเรื่องการวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์, นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2528 พรทิพย์ พันธุโกวิท, การศึกษาประติมากรรมสมัยทวารวดี ณ เมืองโบราณ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2530 ภัคพดี อยู่คงดี, รายงานสังเขปผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2531 และครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2532 ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์, รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านประแวในปีพ.ศ.2541  ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาและขยายฐานความรู้เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2561, เอกสารอัดสำเนา, 2561 ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนใต้,สมุทรสาคร : บริษัท บางกอกอินเฮาส์ จำกัด,2565 สว่าง เลิศฤทธิ์, การสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดีบริเวณเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530 อนันต์ วัฒนานิกร, แลหลังเมืองตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528 อิบรอฮิม ซุกรี(เขียน), หะสัน หมัดหมาน(แปล) ประพน เรืองณรงค์(เรียบเรียง), ตำนานเมืองปัตตานี (Sejarah Kerajaan Melayu Pattani), ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525 อมรา ศรีสุชาติ.ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,2557.



Messenger