ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

         จารึกศรีจนาศะ          มหาศักราช ๘๕๙ (ตรงกับพุทธศักราช ๑๔๘๐)          พบบริเวณเทวสถาน ใกล้สะพานชีกุน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          จารึกแผ่นศิลา รูปทรงคล้ายกลีบบัว จารึกอักษรเขมรโบราณทั้งสองด้าน ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑-๑๘ จารึกภาษาสันสกฤต ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑-๑๗ จารึกภาษาเขมรโบราณ (ส่วนล่างของจารึกชำรุดหักหายไป) เนื้อความในจารึกหลักนี้ ด้านที่ ๑ กล่าวสรรเสริญพระศิวะ และระบุรายนามกษัตริย์ผู้ปกครอง “ศรีจนาศะ” ได้แก่ พระเจ้าภคทัตต์ พระเจ้าศรีสุนทรปรากรม  พระเจ้าศรีสุนทรวรมัน พระเจ้านรปติสิงหวรมัน และพระเจ้าศรีมังคลวรมัน ส่วนด้านที่ ๒ กล่าวถึงนามข้าทาส          แม้จารึกหลักนี้มีประวัติว่าพบที่บริเวณเทวสถาน ใกล้สะพานชีกุนในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แต่บริเวณที่พบนั้นไม่มีโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เท่ากับอายุของจารึกศรีจนาศะ จึงเป็นไปได้ว่าจารึกศรีจนาศะหลักนี้ เดิมเคยอยู่ในพื้นที่อื่น กระทั่งต่อมาถูกย้ายมาอยู่ในพระนครศรีอยุธยา          ส่วนที่มาของจารึกหลักนี้สันนิษฐานว่าย้ายมาจากเมืองเสมาเนื่องจากจารึกหลักนี้ปรากฏชื่อ “จนาศะปุระ” หรือเมืองศรีจนาศะ ซึ่งชื่อเมืองนี้มีปรากฏในจารึกบ่ออีกา (พุทธศักราช ๑๔๑๑) พบที่บ้านบ่ออีกา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ด้านที่ ๑ ของจารึกกล่าวถึงกษัตริย์แห่งศรีจนาศะได้ถวายสัตว์ (กระบือ โค) และข้าทาสชายหญิงแก่พระภิกษุเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ประกอบกับที่ตั้งเมืองโบราณขนาดใหญ่ในพื้นที่นี้คือ “เมืองเสมา” ซึ่งเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินชัดเจน พบหลักฐานในวัฒนธรรมทวารวดีเป็นจำนวนมาก ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ รวมถึงหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเขมรซึ่งสะท้อนถึงการอยู่อาศัยที่ต่อเนื่อง           ในจารึกบ่ออีกาด้านที่ ๑ เป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เมืองเสมามีผู้ปกครองโดยกลุ่มอำนาจในท้องถิ่น เนื่องจากจารึกบ่ออีการะบุว่า ศรีจนาศะเป็นดินแดนที่อยู่นอกกัมพุชเทศ (กมฺวุเทศานฺตเร) หรือนอกอำนาจของการปกครองของราชสำนักเขมร แม้จะปรากฏการรับวัฒนธรรมเขมรเข้ามาผสมผสานบ้างก็ตาม (เช่น การใช้ภาษาเขมรบนจารึก เป็นต้น) อย่างไรก็ตามในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ปรากฏหลักฐานว่าราชสำนักเขมรได้เข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่เมืองเสมาอย่างชัดเจน โดยมีหลักฐานสำคัญคือ จารึกเมืองเสมา ระบุมหาศักราช ๘๙๓ (ตรงกับ พุทธศักราช ๑๕๑๔) ระบุว่าพราหมณ์ยัชญวราหะ สถาปนารูปเคารพ และสร้างปราสาท (ปัจจุบันคือโบราณสถานหมายเลข ๑ เมืองเสมา) พร้อมทั้งกัลปนาข้าทาสไว้ด้วย      อ้างอิง รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกของชาติ ปีที่ ๒ : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่มที่ ๑. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ๒๕๖๔. (เอกสารอัดสำเนา)   ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกบ่ออีกา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/332 . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกศรีจนาศะ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/313


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/19หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               60 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ


            สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ขอเชิญเที่ยวงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ชมการแสดงแสง สี เสียง สุดยิ่งใหญ่อลังการตระการตา ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พร้อมทั้งตลาดย้อนยุค ตลอดเส้นทางถนนจอมสุดาเสด็จ และประเพณีแข่งเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ ลำน้ำจักราช อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา             อำเภอพิมาย ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา กรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอพิมาย กำหนดจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย นครราชสีมา ประจำปี ๒๕๖๖ (ในสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายนเป็นประจำทุกปี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมรายได้ให้กับประชาชน ตลอดจนส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น อีกทั้งร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบ ๕๕๕ ปีการสถาปนาเมืองนครราชสีมา (พ.ศ. ๒๐๑๑ - ๒๕๖๖) ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ นี้ด้วย             ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ในงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ๒๕๖๖ ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย Phimai Historical Park


  พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ และพระพุทธรูปทองคำฐานบุด้วยเงิน ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ได้จากกรุภายในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) วัดบวรสถานสุทธาวาส อยู่ในพื้นที่ของพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เดิมบริเวณนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้สร้างวัดประทานแก่หลวงชีนักนางแม้น ผู้เป็นมารดาของนักองค์อีและนักองค์ภาพระสนมเอกของพระองค์ เรียกว่า “วัดหลวงชี” ต่อมาวัดนี้ชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๒ จึงโปรดให้รื้อวัดหลวงชีทำเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๓ ทรงอุทิศบริเวณสวนกระต่ายโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า “วัดบวรสถานสุทธาวาส” เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อทรงแก้บน หรือเฉลิมพระเกียรติเมื่อครั้งได้เสด็จยกกองทัพไปปราบกบฏเวียงจันทน์ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๘ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการก่อสร้างได้แล้วเสร็จ มีการเขียนจิตรกรรมเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ล้อมรอบ โดยมีพระราชดำริให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ให้มาประดิษฐาน แต่ก็ได้ล้มเลิกไป “กรุ” หมายถึง ช่องว่างหรือห้องเล็ก ๆ ภายในสถูปเจดีย์ พระปรางค์ หรือพระอุโบสถ ทำไว้เพื่อบรรจุพระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องราชูปโภค หรือพระบรมสารีริกธาตุ คติการสร้างกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมพระพุทธปฏิมาและเครื่องบูชาต่างๆ นั้น มีหลักฐานกล่าวถึงจำนวนมาก ทั้งตำนานการอัญเชิญพระบรมธาตุจากลังกามาบรรจุยังสถานที่ต่างๆ อาทิ ตำนานพระปฐมเจดีย์ และจารึกวัดบูรพาราม แสดงให้เห็นความเชื่อการรับพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ผ่านการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ สอดคล้องกับคติพระมหาธาตุประจำเมือง ความศักดิ์สิทธิ์ และการอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา จากคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาเรื่อง “ธาตุนิธานกรรม” (การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) กล่าวว่า “ครั้งพระมหากัสสปะรวบรวมและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในมหาสถูปกรุงราชคฤห์ ให้ขุดดินฝังพระธาตุลึกลงไป ๘๐ ศอก ...ทำรูปพระบรมโพธิสัตว์ ๕๕๐ ชาติ รูปพระอสีติ ๗ องค์ รูปพระเจ้าสุทโธทนะ พระนางสิริมหามายา และสหชาติทั้ง ๗ พร้องเครื่องราชปสาธนอลังการาภรณ์ อันพระเจ้าอชาตศัตรูถวายภายในเป็นการสัการบูชา แล้วปิดทวารห้องพระบรมธาตุอย่างมั่นคง” ในคัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกา กล่าวถึง “...สมัยพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยโปรดให้สร้างธาตุคัพภจรนะ (ห้องพระบรมสารีริกธาตุ) เป็นห้องสี่เหลี่ยมขาวเหมือนก้อนเมฆตกแต่งอย่างวิจิตร ...ตั้งพระพุทธรูปทองคำประดับรัตนะบนบัลลังก์แวดล้อมด้วยพระพรหมถือฉัตร ท้าวสักกะถือสังข์ พระปัญจสิขรถือพิณ พญากาฬนาค และพญามารพันมือขี่ช้างพร้อมบริวาร สร้างรูปพุทธประวัติ รูปชาดก ท้าวมหาราชประจำ ๔ ทิศ รูปยักษ์ เทวดาประนมมือ ฟ้อนรำ ประโคมเครื่องดนตรี ถือสิ่งของเครื่องบูชาต่างๆ มีแถวตะเกียงสว่างไสว มุมทั้งสี่กองด้วยทอง แก้วมณี กองไข่มุก และกองเพชร จากนั้นกระทำธาตุนิธานะ แล้วก่อปิดสถูปไว้...” จากหลักฐานข้างต้น ทำให้เห็นว่าคติความเชื่อการสร้างกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องอุทิศถวายฯ ยังได้ส่งต่อมายังสมัยอยุธยาด้วยทั้งจากพระปรางค์วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระศรีมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และการบรรจุพระพุทธรูปภายในพระอุระของพระมงคลบพิตร ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีการพบกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมพระพุทธรูปและเครื่องบูชาต่างๆ ทั้งภายในสถูปเจดีย์และเพดานพระอุโบสถด้วย เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๗ ได้มีการสำรวจพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส และได้พบพระพุทธรูปพร้อมเครื่องอุทิศถวายต่างๆ จำนวนหนึ่งภายในเพดานของพระอุโบสถ ซึ่งสร้างมาจากแก้วผลึกหรือหินมีค่า ทองคำ และสัมฤทธิ์ สามารถกำหนดอายุได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยนำไปจัดแสดงอยู่ภายในส่วนของมุขกระสันด้านหลังพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า “ห้องมหรรฆภัณฑ์” เป็นห้องนิรภัยสำหรับเก็บรักษาเครื่องทองหลวง และของมีค่าหายาก อันเป็นสมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและได้จากการขุดค้นหรือสำรวจทางโบราณคดี ต่อมามีการปรับปรุงพื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จึงได้ย้ายมาเก็บรักษา ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ได้มีการนำพระพุทธรูปแก้วผลึกส่วนหนึ่งออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาตามโอกาสสำคัญด้วย ____________________ อ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณวัตถุ กรุพระเจดีย์ วัดพระศรีสรรเพชญ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๒๕๖๔ กรมศิลปากร. วัดบวรสถานสุทธาวาส “วัด”ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/T5ezS กรมศิลปากร. สักการะพระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : ทศพุทธปฏิมาวังหน้า. เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/OhEQ2 กรมศิลปากร. พระพุทธรูปและพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา : วิเคราะห์รูปแบบ แนวคิดและคติความเชื่อในการบรรจุในกรุเจดีย์. เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/BukAO



รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๑ : สารคดีอัตชีวประวัติศิลปินไทย         รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๑ เป็นรายการสารคดีอัตชีวประวัติศิลปินไทย ซึ่งผลิตขึ้นในนาม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  และ มูลนิธิศิลปินแห่งชาติ ในปีนี้ทางรายการได้จัดทำไว้เป็น ๑๒ ตอน ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (อัครศิลปินแห่งแผ่นดินสยาม), จำรัส เกียรติก้อง (ช่างเขียนภาพเหมือนผู้ยิ่งใหญ่), หลวงประดิษฐไพเราะ (มหาดุริยกวี ๕ แผ่นดิน), สมชาย อาสนจินดา (พระเอกนักประพันธ์), ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี (ครูแห่งนาฏศิลป์ไทย), สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติ  (นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม), ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย), กุหลาบ สายประดิษฐ์ (สุภาพบุรุษศรีบูรพา), หลวงวิจิตรวาทการ (นักสู้ผู้พากเพียร), หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี (ครูช่างสถาปัตยกรรมไทย), พระเจนดุริยางค์ (ผู้วางรากฐานดุริยางคศิลป์ของไทย) และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ธ ผู้สร้างศาสตร์และศิลป์แผ่นดินไทย)นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จากสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (รวบรวมและเรียบเรียง) :        ๑. นางสาว ณัฐธิดา สถาอุ่น        ๒. นาย ตนุภัทร กิจชัยเจริญพร        ๓. นาย ภิญณกาญจ์ ปินตามาผู้ควบคุมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ :         นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.76 ธรรมคดี_คำสมาทานพระกรรมฐานและมานัตต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ธรรมคดีลักษณะวัสดุ              68; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ธรรมคดี                  ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538


แนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ GALE ONEFILE NEWS  โดย นายตนุภัทร กิจชัยเจริญพร นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่


หยุดอยู่บ้านวันอาทิตย์ เชิญ …มาอ่านผลงานของนางสาวสิริรัตน์ ทิพย์โชติ นักเรียนฝึกประสบการณ์ จากโรงเรียนสตรีราชินูทิศจังหวัดอุดรธานี


ชื่อเรื่อง                     คำร้องในเรื่องปล่อยแก่ ของศรีอยุธยา และบทละครพูด เรื่องปล่อยแก่ ของนายบัว (ทองอิน) วิเศษผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                     895.912 ม113ครสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์                    2501ลักษณะวัสดุ               92 หน้า หัวเรื่อง                     บทละครไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเป็นบทพระราชนิพน์ สำหรับร้องแทรกในละครพูดเรื่องปล่อยแก่


         ภาพปูนปั้นชาดกเล่าเรื่องษัฆทันต (ฉัททันต์)          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          - ปูนปั้น          - ขนาด กว้าง ๑๐๐ ซม. ยาว ๘๓ ซม. หนา ๕ ซม.          เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ภาพเล่าเรื่องษัฑทันตะ (ฉัททันต์) จากคัมภัร์สูตราลังการ เล่าเรื่อง เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระยาช้างมี ๖ งา มีพระราชินีซึ่งโกรธเคืองพระยาช้างมาแต่ชาติปางก่อน สั่งให้นายพรานไปนำงามาให้แก่ตน พรานจึงปลอมตัวเป็นพระภิกษุและยิงพระยาช้างด้วยลูกดอกอาบยาพิษ ด้วยนายพรานอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์ พระโพธิสัตว์จึงมิได้ทำอันตราย และอนุญาตให้นำงาของตนไปได้ โดนเอางวงของตนถอดงามอบให้แก่นายพราน   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40118   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออก ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ฯพณฯ นายฮวง เบา เซิน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายอักษรสาส์นตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทยรหัสเอกสาร ฉ/ร ๖๔๕


ชื่อเรื่อง                     ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี : เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี, ต้นเหตุของนามว่านครชัยศรี, จดหมายเหตุเรื่องส้มโอเมืองนครชัยศรี, นิราศเมืองนครชัยศรีผู้แต่ง                       อภิลักษณ์ เกษมผลกูลประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 978-616-279-116-1หมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                      959.372 ป241 สถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 โครงการเผยแพร่เอกสารความรู้ด้านไทยศึกษา ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลปีที่พิมพ์                    2555 ลักษณะวัสดุ              116 หน้า : มีภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง                     นครชัยศรี – ประวัติศาสตร์                              นครปฐม – ประวัติศาสตร์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลพรรณนาถึงประวัติเมืองนครไชยศรี เมืองเก่าที่ปรากฏหลักฐานมาแต่ครั้งอาณาจักรทวารวดี   


             อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 8 - 10 กันยายน 2567  เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป บริเวณลานด้านหน้าโคปุระ ทิศตะวันตก ปราสาทพนมรุ้ง (นำรถเข้าลานจอด ประตู 3 ได้) สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 4466 6251 หรือ Inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park   *หมายเหตุ : ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก หมอก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้



Messenger