ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.9/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ (ประชุมพงศาวดาร ภาค ๑ ตอนต้น) ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 334 หน้า สาระสังเขป : หนังสือชุดประชุมพงศาวดารเป้นหนังสือที่ได้รวบรวมเรื่องเก่าๆที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าวไว้โดยละเอียด หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาค ๑ นี้ มีพงศาวดารเหนือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ จารึกศิลา และพงศาวดารเขมร
พระเก้าอี้พับ ไม้พนักเก้าอี้จำหลักรูปมังกรและสิงโต
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)
ไม้ลงรักปิดทอง หนังสัตว์
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระเก้าอี้พับ ที่ประทับทำด้วยหนัง กลางพนักมีนวมหนังสำหรับรับพระปฤษฎางค์เมื่อเอนพระองค์ลงพิง พระเก้าอี้นี้ใช้เข้าในกระบวนเสด็จพระราชดำเนิน สำหรับการฉุกเฉินที่เจ้าพนักงานไม่ได้ทอดพระแท่นที่ประทับ เมื่อต้องทรงยืนอยู่นานเจ้าพนักงานจะเชิญพระเก้าอี้เข้าไปทอดถวายแทน ตลอดทรง ใช้ในคราวเสด็จงานพระราชสงคราม
เขตพระราชฐานชั้นใน หรือที่บางคนเรียกว่า “ฝ่ายใน” นั้น เป็นคําที่ใช้เรียกพื้นที่ส่วนหนึ่ง ในพระบรมมหาราชวัง มีบริเวณอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง อันเป็นที่ประทับสําหรับ พระมเหสี พระราชเทวี พระชายา พระราชธิดาและเป็นที่อยู่ของเจ้าจอมมารดา เจ้าจอม เหล่าข้าราชบริพารและข้าราชการฝ่ายใน ซึ่งเป็นเขตพื้นที่สาหรับผู้หญิงล้วนและห้ามผู้ชายที่มีอายุเกิน ๑๓ ปีเข้าไป เว้นแต่พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะประทับในเขตพระราชฐานชั้นในได้ หากผู้ชายมีความจําเป็นจะต้องเข้าไปทําธุระในเขตพระราชฐานชั้นใน จะต้องมีโขลนคอยกํากับ ควบคุมและดูแลโดยตลอด การพระราชพิธีต่าง ๆ นับแต่โบราณ เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าจะต้องมีวงดนตรีต่าง ๆ เข้าไปประโคมเพื่อประกอบพระอิสริยยศอยู่ด้วย โดยงานพระราชพิธีที่จัดขึ้นนั้นมีทั้งงานที่จัดขึ้นนอกพระบรมมหาราชวังและงานที่จัดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ถ้าหากงานพระราชพิธีนั้นจัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง ของพระบรมมหาราชวังหรือจัดขึ้น นอกพระบรมมหาราชวัง นักดนตรีที่บรรเลงในงานพระราชพิธีนั้นโดยมากจะนิยมใช้ผู้ชาย แต่ถ้าหากงานพระราชพิธีนั้นจัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน อันเป็นเขตพื้นที่หวงห้ามสาหรับบุรุษเพศแล้ว ย่อมเป็นที่แน่นอนว่านักดนตรีที่บรรเลงในงานพระราชพิธีดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นผู้หญิง ดังที่ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้กล่าวถึง การประโคมดุริยางคดนตรีในพระราชพิธีที่จัดขึ้น ในเขตพระราชฐานชั้นใน ไว้ในหนังสือการบรรเลงปี่พาทย์ในงานพระราชพิธี ความว่า “..อนึ่ง งานที่ประกอบขึ้น ณ พระราชฐานชั้นใน อันมีแต่ข้าราชการ และเจ้านายฝ่ายในนั้น การประโคมใช้วงปี่พาทย์ผู้หญิง ซึ่งแต่ก่อนมีประจําอยู่วงหนึ่ง ผู้บรรเลงเป็นสตรีล้วน...” (มนตรี ตราโมท, ๒๕๐๑: ๔) จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า นักดนตรีที่ทําหน้าที่ประโคมดุริยางคดนตรีในงานพระราชพิธีที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในแต่โบราณนั้นเป็นนักดนตรีที่เป็นผู้หญิงล้วน ซึ่งข้อมูลสําคัญ อีกประการที่แสดงให้เห็นว่างานพระราชพิธีที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน มีการใช้วงดนตรีที่มีผู้บรรเลงเป็นผู้หญิงล้วนในการประโคมก็คือ ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ที่สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ถึงเรื่อง “การประโคมเมื่อเจ้านายประสูติ” ซึ่งเป็นการประโคมดุริยางคดนตรีที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน ไว้ว่า “...ปี่พาทย์ประโคมเมื่อพระเจ้าลูกเธอประสูตินั้น ผู้หญิงทําทั้งปี่พาทย์และแตรสังข์...” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ๒๕๕๒: ๒๔๐) ถึงแม้ว่าปี่พาทย์พิธีและแตรสังข์ที่ใช้ประโคมในเขตพระราชฐานชั้นในจะใช้ผู้หญิงล้วนในการบรรเลงเครื่องดนตรี แต่สาหรับ “ฆ้องชัย” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่อยู่ในแตรสังข์ของงานเครื่องสูงนั้น ยังคงใช้ผู้ชายเข้าไปทําหน้าที่อยู่ โดยจะใช้พนักงานผู้ชายคุมเข้าไปคอยอยู่กับปี่พาทย์พิธี ที่บรรเลงด้วยผู้หญิงล้วนเพื่อทาหน้าที่ลั่นฆ้องชัย สาหรับสาเหตุที่ฆ้องชัยไม่ใช้ผู้หญิงลั่นนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ความว่า “...ในการที่เอาผู้ชายไปตีฆ้องชัยนั้น สันนิษฐานว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วผู้หญิงจับไม่ได้ ที่ปี่พาทย์ผู้หญิงไม่มีฆ้องชัยก็เพราะถ้ามี ก็ไม่เป็นชัย ไปได้ ด้วยผู้หญิงถูกต้องฆ้องนั้น...” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์, ๒๕๕๒: ๒๔๑) นอกจากนี้นางเจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ บุตรีพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ผู้เคยถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ และได้อยู่งานฉลองพระเดชพระคุณเป็นนักร้องประจําวงมโหรีของพระราชสํานัก ยังได้บรรยายถึงบรรยากาศการฝึกซ้อมดนตรีและการบรรเลงดนตรีในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้อย่างน่าสนใจ ความว่า “...ข้าพเจ้าจะเล่าถึงงานหลวงที่ได้ปฏิบัติมาตลอดรัชกาลที่ ๗ งานเฉลิม พระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วงมโหรีหลวงต้องเข้าไปบรรเลงในพระราชวังชั้นในซึ่งไม่มีผู้ชายเข้าได้ ข้าพเจ้าเป็นคนระนาดทอง วันเฉลิมพระชนมพรรษามีพระราชพิธี ๓ วัน เช้า – เย็น มโหรีต้องทํารับพระ – ส่งพระ งานฉัตรมงคลก็เช่นเดียวกัน และตอนเย็นของวันสุดท้าย จะมีงานราชอุทยานสโมสร ที่สวนศิวาลัย หลังพระที่นั่งบรมพิมาน จะมีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงและคณะทูตานุทูตประเทศต่าง ๆ มาถวายพระพร มีมโหรีพวกเราบรรเลงทุกปีที่เสด็จอยู่...งานหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่ตลอด การทํางานของเราก็คล้ายกรมศิลปากรเดี๋ยวนี้ แต่เล็กกว่า แสดงแต่เฉพาะของพระเจ้าอยู่หัวและแล้วแต่จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ส่งไปช่วย...” (เจริญใจ สุนทรวาทิน, ๒๕๕๕: ๑๓๒-๑๓๓) จากข้อมูลของนางเจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ จะเห็นได้ว่า ในอดีตงานพระราชพิธี ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในนั้น นอกจากจะมีการใช้วงปี่พาทย์ผู้หญิงดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในข้างต้น การประโคมดุริยางคดนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีการใช้วงมโหรีผู้หญิงล้วนสําหรับบรรเลงในงานพระราชพิธีสําคัญต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในอีกด้วย หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพุทธศักราช ๒๔๗๕ ชีวิตนักดนตรีผู้หญิง ในพระราชสํานักก็เปลี่ยนไป บางท่านย้ายกลับภูมิลําเนาเดิมของตนเอง บางท่านย้ายสังกัดมาขึ้นตรงกับกรมศิลปากร ที่แผนกดุริยางค์ไทย ซึ่งปัจจุบันคือกลุ่มดุริยางค์ไทย สํานักการสังคีต กรมศิลปากร ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะไม่มีวงดนตรีที่บรรเลงด้วยผู้หญิงล้วนเข้าไปประโคมฉลองพระเดชพระคุณในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในเช่นแต่ก่อน แต่ทว่าหากมีงานพระราชพิธี ที่จัดขึ้นในเขตพระราชชั้นในครั้งใด อย่างไรเสียก็ยังคงต้องมีวงดนตรีเข้าไปทําหน้าที่ประโคมดังเดิม เช่น พระราชพิธีสรงมูรธาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ที่จัดขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ที่จัดขึ้น ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ที่จัดขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เป็นประจําทุกปี ฯลฯ ซึ่งพระราชพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็น พระราชพิธีที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในทั้งสิ้นและในการพระราชพิธีดังกล่าวยังคงมีปี่พาทย์พิธี ซึ่งบรรเลงโดยดุริยางคศิลปิน จากกลุ่มดุริยางค์ไทย สํานักการสังคีต กรมศิลปากร เข้าไปประโคม อยู่ด้วยทุกครั้ง ทั้งนี้ข้อกาหนดเรื่องเพศของผู้บรรเลงนั้นไม่ได้เคร่งครัดเช่นแต่ก่อน มีการใช้ผู้บรรเลงทั้งชายและหญิงเข้าไปฉลองพระเดชพระคุณในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในทุกครั้ง------------------------------------------------------------------ผู้เขียน : นายธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สํานักการสังคีต กรมศิลปากร------------------------------------------------------------------รายการอ้างอิง เจริญใจ สุนทรวาทิน, ข้าพเจ้าภูมิใจที่เกิดเป็นนักดนตรีไทย. ใน จารุวรรณ ชลประเสริฐ และ พรทิพย์ จันทิวโรทัย, บรรณานุสรณ์ เจริญใจ สุนทรวาทิน, หน้า ๑๓๒-๑๓๓. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน), ๒๕๕๕. ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา และนริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. ประโคมเจ้านายประสูติ. ใน พูนพิศ อมาตยกุล, เพลง ดนตรี และนาฏศิลป์ จากสาส์นสมเด็จ, หน้า ๒๔๐-๒๔๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้ว การพิมพ์, ๒๕๕๒. มนตรี ตราโมท, การบรรเลงปี่พาทย์ในงานพระราชพิธี. พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบํารุงจิตรเจริญ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๑. ม.ป.ท., ๒๕๐๑.
พระมาลัย คือ พระอรหันต์ชาวลังกา ที่มีฤทธิ์ลงไปโปรดสัตว์ยังนรก ถามถึงบุรพกรรมต่าง ๆ ของสัตว์นรก นำมาบอกแก่ญาติพี่น้องให้ทำบุญแผ่ส่วนกุศลไปให้ และได้ขึ้นไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้สนทนากับพระอินทร์ ซึ่งบอกให้ทราบถึงอานิสงส์ ที่ผู้บำเพ็ญบุญจะได้ด้วยประการต่าง ๆ บนสวรรค์ พระมาลัยยังได้พบและสนทนากับพระศรีอริยเมตไตรย ถึงความสมบูรณ์พูนสุขในสมัยของพระองค์ และวิธีเกิดในพุทธกาลของพระองค์ด้วย เมื่อกลับมาสู่โลกมนุษย์แล้ว จึงได้นำความมาเทศนาต่อชาวบ้าน พระมาลัยเป็นวรรณกรรมมุ่งสั่งสอนในทางโลก ให้คนเว้นจากบาปกรรม นำให้พ้นนรก และให้บำเพ็ญกุศลเพื่อเกิดในสวรรค์ ได้พบกับพระอินทร์ ได้บูชาพระเจดีย์จุฬามณี และได้เกิดทันศาสนาของพระศรีอาริย์ ทางศิลปกรรมถ่ายทอดออกมาเป็นภาพประกอบสมุดพระมาลัยกลอนสวด สมุดภาพไตรภูมิ ภาพพระบฏ จิตรกรรมฝาผนัง และประติมากรรมรูปเคารพ ปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย หลักฐานทางศิลปกรรม พบว่ารูปพระมาลัยมักจะถือพัดใบตาล (ตาลปัตร) ไว้ในมือเป็นเครื่องหมายประจำพระองค์เสมอ หรือบางครั้งก็ทำเป็นพัดยศ ตามแบบพระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์ ถวายแก่พระมาลัยเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องจากพัดเป็นเครื่องหมายในการแสดงธรรม ใช้สวดธรรม และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระมาลัยเป็นพระอรหันต์ผู้โปรดสัตว์ในยมโลก เทวโลก และมนุษยโลก จึงถือพัดเครื่องหมายการแสดงธรรมเป็นสัญลักษณ์ ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นธรรมเนียมนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
คลังสิ่งพิมพ์มีมาตั้งแต่หอสมุดสำหรับพระนคร ตามที่พระยาอนุมานราชธนกล่าวไว้ในเรื่องสมเด็จกรมพระยาราชานุภาพและหอสมุดแห่งชาติ (อนุมานราชธน, พระยา, ๒๕๐๕ : ๑๖-๑๗) ความว่า “หอสมุดสำหรับพระนครจัดแบ่งหอสมุดออกเป็น ๒ หอ คือหอพระสมุดชิรญาณหอหนึ่ง สำหรับเก็บหนังสือตัวเขียน และหอพระสมุดวชิราวุธหอหนึ่ง สำหรับเป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ หอพระสมุดวชิราวุธ ซึ่งเป็นที่รวบรวมหนังสือตัวพิมพ์แยกออกเป็นภาษาไทยส่วนหนึ่งและภาษาต่างประเทศส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นภาษาไทยนอกจากหนังสือที่มีอยู่แล้วแต่เดิมจากผู้มีจิตศรัทธา ให้เป็นสมบัติของหอพระสมุดบ้าง ซื้อบ้างจากโรงพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือเรื่องใดขึ้น ก็ต้องส่งหอพระสมุดเรื่องละ ๒ เล่ม ตามที่กฎหมายบังคับไว้ เล่มหนึ่งเก็บไว้ที่พอพระสมุดสำหรับประชาชนอ่าน อีกเล่มหนึ่งเก็บไว้ในสถานที่ เรียกว่า ห้องหนังสือพิสูจน์ สำหรับเป็นหลักฐานอ้างอิง เมื่อเกิดคดีขึ้นในโรงศาล เมื่อศาลสั่ง ในพ.ศ. ๒๕๐๙ หอสมุดแห่งชาติได้ก่อสร้างอาคารที่ให้บริการในปัจจุบัน จึงได้มีการย้ายหนังสือทั้งหมด รวมทั้งห้องหนังสือพิสูจน์ ให้เข้ามาอยู่ในความดูแลของงานจัดหาหนังสือ ห้องหนังสือพิสูจน์ได้เปลี่ยนเป็นงานคลังสิ่งพิมพ์ด้วยเช่นกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ มีการปรับปรุงโครงสร้าง การจัดส่วนราชการ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กองหอสมุดแห่งชาติเปลี่ยนเป็นหอสมุดแห่งชาติ การขยายโครงสร้างภายในจึงขยับปรับเปลี่ยนตามไปด้วย กล่าวคืองานคลังสิ่งพิมพ์จึงได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายคลังสิ่งพิมพ์ อยู่ภายใต้ของส่วนพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดและในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้เปลี่ยนเป็นคลังสิ่งพิมพ์ภายใต้การบังคับบัญชาของกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ จนถึงปัจจุบัน ภารกิจการดำเนินงานของคลังสิ่งพิมพ์ แบ่งออกเป็น ๑. การจัดเก็บ การคัดแยกสิ่งพิมพ์ตามลักษณะสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ เพื่อลงทะเบียนและจัดเก็บ๒. การรักษาให้คงสภาพ จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น แสง ความชื้น และ มอดแมลง ๑. การลงทะเบียน เก็บสิ่งพิมพ์ทุกประเภท ที่กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศได้รับตามพระราชบัญญัติ จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ อย่างละ ๑ เล่ม/ฉบับ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ที่จัดพิมพ์ในประเทศ โดยทำการลงทะเบียนในฐานข้อมูล และทำบัตรหลักฐาน ๒. การจัดเก็บรักษา จัดเก็บลงกล่องเพื่อป้องกันแสง ใส่พริกไทยห่อด้วยผ้าขาวบางเพื่อป้องกันมอดและแมลง และควบคุมอากาศ ด้วยเครื่องปรับอากาศ และเครื่องควบคุมความชื้น หากตรวจพบมอดและแมลง จะต้องทำการกำจัดโดยการนำสิ่งพิมพ์ไปแช่แข็งด้วยอุณหภูมิ -๑๘ องศาเซลเซียส ///คลังสิ่งพิมพ์มีสิ่งพิมพ์มากขึ้นจึง สำนักหอสมุดแห่งชาติได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารคลังสิ่งพิมพ์ โดยได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม บริเวณใกล้สำนักช่างสิบหมู่ และหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ ในวงเงิน ๔๕,๕๔๐,๐๐๐ บาท (สี่สิบห้าล้านห้าแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๔๘ และเริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน เป็นอาคาร ๕ ชั้น มีสิ่งพิมพ์ทั้งหมด ๑,๘๔๗,๘๔๐ เล่ม/ฉบับ ข้อมูลสรุป ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ ------------------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายสรพล ขาวสะอาด บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ------------------------------------------------------------------------บรรณานุกรม จุฑาภัค ศิริพรวัฒนะกุล. ความรู้ด้านการจัดการคลังสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, [2549]
พระพุทธรูปบุทอง-บุเงิน ศิลปะล้านช้าง(ลาว) พุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ (๓๐๐ – ๒๐๐ ปีมาแล้ว) วัสดุ : แผ่นทอง แผ่นเงิน ดินหุ่นเนื้อว่าน ประวัติ : นางสาวไตและนางสาวกาญจนา บุญเลิศ ราษฎรตำบลตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พบในที่นาของตน และนำไปถวาย ณ วัดบ้านตรมไพร ต่อมาได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๔ ลักษณะทางศิลปกรรม ๑.พระพุทธรูปบุทอง ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียง(ฐานหน้ากระดาน) ปรากฏแผ่นทองเพียงครึ่งองค์ ภายในพบดินหุ่นเนื้อว่าน ๒.พระพุทธรูปบุเงิน ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว พบทั้งฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย ฐานบัวถลา ฐานลายใบไม้ม้วน คั่นด้วยลูกแก้วอกไก่ และพบจารึกที่ฐานชั้นล่างสุด ปรากฏเป็นอักษรธรรมอีสานและอักษรไทยน้อย ภาษาไทย-อีสาน ข้อความในจารึกกล่าวถึงการสร้าง สร้างเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง และสร้างเพื่อวัตถุประสงค์ใด ปัจจุบันยังไม่สามารถอ่านและแปลความจารึกได้ทั้งหมด เนื่องจากอยู่ระหว่างรอดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซม คติการสร้างพระพุทธรูปบุทอง-บุเงินนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับและเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ประเทศไทยส่วนมากพบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น เป็นต้น สำหรับจังหวัดสุรินทร์มีการค้นพบพระพุทธรูปบุทอง-บุเงิน จากแหล่งโบราณคดีครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ณ โบราณสถานปราสาทเต่าทอง ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ และค้นพบครั้งที่ ๒(ล่าสุด) เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ณ บ้านตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ เมื่อประชาชนพบโบราณวัตถุควรปฏิบัติดังนี้ ๑.แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรหรือฝ่ายปกครอง ๒.เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรตรวจพิสูจน์ ขุดค้นหรือขุดกู้โบราณวัตถุ ๓.ดำเนินการส่งมอบ-รับมอบโบราณวัตถุ ๔.กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซม จัดทำทะเบียนและศึกษาค้นคว้าข้อมูลโบราณวัตถุ ๕.เก็บรักษาหรือจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป---------------------------------------------------เรียบเรียงและออกแบบ : นางสาวพรเพ็ญ บุญญาทิพย์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ---------------------------------------------------บรรณานุกรม - ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์. “การกำหนดอายุและแบบของพระพุทธรูปบุทอง-บุเงิน ที่พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๗. - ศิริพร สุเมธารัตน์. “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์” กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๕๔. อ่านและแปลจารึกโดย : นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา///ที่มาของภาพประกอบ : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/khonkaen พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณหิสวิไชย)
สพ.บ. 241/1คประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง พระร่วง พระเกียรติรถ สาวิตรี : บทละครร้อง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่6ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรม วรรณคดีเลขหมู่ 895.9112 ม113พสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ บริษัท สมเกียรติ จำกัดปีที่พิมพ์ 2499ลักษณะวัสดุ 270 หน้าหัวเรื่อง บทละครไทย -- รวมเรื่อง ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเรื่องนิทานต่างๆ ในประเทศตะวันตกของเมืองเรา คือ อิรเดีย อาหรับ อาฟริกา อันเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะวิทยาการมาก่อนประเทศอื่นๆ
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ)
สพ.บ. 376/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.38/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)