เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังสิ่งพิมพ์
คลังสิ่งพิมพ์มีมาตั้งแต่หอสมุดสำหรับพระนคร ตามที่พระยาอนุมานราชธนกล่าวไว้ในเรื่องสมเด็จกรมพระยาราชานุภาพและหอสมุดแห่งชาติ (อนุมานราชธน, พระยา, ๒๕๐๕ : ๑๖-๑๗) ความว่า “หอสมุดสำหรับพระนครจัดแบ่งหอสมุดออกเป็น ๒ หอ คือหอพระสมุดชิรญาณหอหนึ่ง สำหรับเก็บหนังสือตัวเขียน และหอพระสมุดวชิราวุธหอหนึ่ง สำหรับเป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
หอพระสมุดวชิราวุธ ซึ่งเป็นที่รวบรวมหนังสือตัวพิมพ์แยกออกเป็นภาษาไทยส่วนหนึ่งและภาษาต่างประเทศส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นภาษาไทยนอกจากหนังสือที่มีอยู่แล้วแต่เดิมจากผู้มีจิตศรัทธา ให้เป็นสมบัติของหอพระสมุดบ้าง ซื้อบ้างจากโรงพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือเรื่องใดขึ้น ก็ต้องส่งหอพระสมุดเรื่องละ ๒ เล่ม ตามที่กฎหมายบังคับไว้ เล่มหนึ่งเก็บไว้ที่พอพระสมุดสำหรับประชาชนอ่าน อีกเล่มหนึ่งเก็บไว้ในสถานที่ เรียกว่า ห้องหนังสือพิสูจน์ สำหรับเป็นหลักฐานอ้างอิง เมื่อเกิดคดีขึ้นในโรงศาล เมื่อศาลสั่ง
ในพ.ศ. ๒๕๐๙ หอสมุดแห่งชาติได้ก่อสร้างอาคารที่ให้บริการในปัจจุบัน จึงได้มีการย้ายหนังสือทั้งหมด รวมทั้งห้องหนังสือพิสูจน์ ให้เข้ามาอยู่ในความดูแลของงานจัดหาหนังสือ ห้องหนังสือพิสูจน์ได้เปลี่ยนเป็นงานคลังสิ่งพิมพ์ด้วยเช่นกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ มีการปรับปรุงโครงสร้าง การจัดส่วนราชการ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กองหอสมุดแห่งชาติเปลี่ยนเป็นหอสมุดแห่งชาติ การขยายโครงสร้างภายในจึงขยับปรับเปลี่ยนตามไปด้วย กล่าวคืองานคลังสิ่งพิมพ์จึงได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายคลังสิ่งพิมพ์ อยู่ภายใต้ของส่วนพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดและในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้เปลี่ยนเป็นคลังสิ่งพิมพ์ภายใต้การบังคับบัญชาของกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ จนถึงปัจจุบัน
ภารกิจการดำเนินงานของคลังสิ่งพิมพ์ แบ่งออกเป็น
๑. การจัดเก็บ การคัดแยกสิ่งพิมพ์ตามลักษณะสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ เพื่อลงทะเบียนและจัดเก็บ
๒. การรักษาให้คงสภาพ จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น แสง ความชื้น และ มอดแมลง
๑. การลงทะเบียน
เก็บสิ่งพิมพ์ทุกประเภท ที่กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศได้รับตามพระราชบัญญัติ จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ อย่างละ ๑ เล่ม/ฉบับ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ที่จัดพิมพ์ในประเทศ โดยทำการลงทะเบียนในฐานข้อมูล และทำบัตรหลักฐาน
๒. การจัดเก็บรักษา
จัดเก็บลงกล่องเพื่อป้องกันแสง ใส่พริกไทยห่อด้วยผ้าขาวบางเพื่อป้องกันมอดและแมลง และควบคุมอากาศ ด้วยเครื่องปรับอากาศ และเครื่องควบคุมความชื้น หากตรวจพบมอดและแมลง จะต้องทำการกำจัดโดยการนำสิ่งพิมพ์ไปแช่แข็งด้วยอุณหภูมิ -๑๘ องศาเซลเซียส
///คลังสิ่งพิมพ์มีสิ่งพิมพ์มากขึ้นจึง สำนักหอสมุดแห่งชาติได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารคลังสิ่งพิมพ์ โดยได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม บริเวณใกล้สำนักช่างสิบหมู่ และหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ ในวงเงิน ๔๕,๕๔๐,๐๐๐ บาท (สี่สิบห้าล้านห้าแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๔๘ และเริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน เป็นอาคาร ๕ ชั้น มีสิ่งพิมพ์ทั้งหมด ๑,๘๔๗,๘๔๐ เล่ม/ฉบับ ข้อมูลสรุป ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓
------------------------------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นายสรพล ขาวสะอาด บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
------------------------------------------------------------------------
บรรณานุกรม
จุฑาภัค ศิริพรวัฒนะกุล. ความรู้ด้านการจัดการคลังสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, [2549]
(จำนวนผู้เข้าชม 2329 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน