ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

ปญฺจพุทฺธา (ปญฺจพุทฺธา)  ชบ.บ.76/1-1ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สงฺคีติกถา (ปถม-ปญฺจมสงฺคายนา)  ชบ.บ.101/1-1ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.319/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 3.5 x 52 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 129  (321-328) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปัญญาพล (ปัญญาพละ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๒๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๒๑       สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๒๓ สิริพระชันษา ๓ ปี      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถและพระราชชนนี   ภาพ : สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และสมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์



การสำรวจศิลปกรรมประเภทแกะสลักหินทรายบนทับหลัง โบราณสถานประเภท อโรคยาศาล..."กุฏิฤาษีหนองบัวลาย" โดย นายรัชฎ์ ศิริ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กุฏิฤาษีหนองบัวลาย หมู่ที่ ๗ บ้านหนองบัวลาย ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๕๕ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ พื้นที่โบราณสถาน ๑ ไร่ ๓ งาน ๗๑ ตารางวา องค์ประกอบของโบราณสถาน ๑.ปรางค์ เป็นปรางค์ขอมสร้างด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตรัสย่อมุม มีขนาดประมาณ ๕x๕ เมตร ทางด้านทิศตะวันออกมีซุ้มยื่นออกไปเป็นช่องประตู ขนาดประมาณ ๒.๖๐x๓ เมตร ผนังของซุ้มด้านทิศใต้เจาะเป็นช่องหน้าต่าง ๑ ช่อง ส่วนด้านอื่นๆทำเป็นซุ้มประตูหลอก ยอดปรางค์ประธาน ทำเป็นบัวเชิงบาตร ๔ ชั้น แต่ล่ะชั้นมีกลีบขนุนหินทรายจำหลักลวดลาย ส่วนยอดบนสุดเป็นบัวกลุ่ม ๒.บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน ภายในกำแพงแก้ว ปัจจุบันสภาพพังทลาย ๓.กำแพงแก้วและซุ้มประตู กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดประมาณ ๒๕.๗๐x๓๑.๗๐ เมตร มีซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกก่อด้วยศิลาแลงกรอบประตูเป็นหินทราย ผนังซุ้มประตูด้านทิศเหนือเจาะช่องหน้าต่าง ๑ ช่อง ๔.สระน้ำประจำโบราณสถาน ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกกำแพงแก้วของกุฏิฤาษีหนองบัวลาย


พวงพร  ศรีสมบูรณ์ และ การุณ  โรหิตรัตนะ.  การอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอาน.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2560.           คัมภีร์อัลกุรอาน เป็นมรดกวัฒนธรรมล้ำค่าของชาวมุสลิมที่ทุกคนศรัทธาและถือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน การอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอาน มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลรักษาและป้องกันการเสื่อมสภาพของคัมภีร์ คู่มือเล่มนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอานด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้รายละเอียดของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของคัมภีร์อัลกุรอาน การเสื่อมสภาพของคัมภีร์อัลกุรอาน การเตรียมวัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมคัมภีร์อัลกุรอาน วิธีการซ่อมแซมและข้อควรระวังในการซ่อมแซมคัมภีร์อัลกุรอาน รวมทั้งเทคนิคการซ่อมแซมคัมภีร์อัลกุรอาน


พระพุทธรูปยืน ศิลปะทวารวดี      ลักษณะ แสดงวิตรรกะมุทธา (ปางแสดงธรรม) ทั้ง ๒ พระหัตถ์  มีพระพักตร์กลมแป้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนาแบะ เป็นลักษณะที่พบในพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี   ย้ายมาจากวิหารหลวงวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา



          นายโยธิน และนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท บีเอสวายกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้มอบเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ ให้กับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 164 รายการ มูลค่า 82 ล้านบาท โดยทำพิธีรับมอบอย่างเป็นทางการ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการรับมอบ  เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา      นายโยธิน และนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ได้มอบเครื่องปั้นดินเผาชุดนี้ให้กับกรมศิลปากร เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ และจัดแสดงในนิทรรศการเครื่องปั้นดินเผา ห้องลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ            1. เพื่อให้คนไทยโดยเฉพาะอนุชนรุ่นใหม่ ได้ภาคภูมิใจในความสามารถของคนไทยในอดีต ที่เป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพดีมาตั้งแต่โบราณ จากหลักฐานแหล่งผลิตที่เตาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกไปยังราชสำนักเมืองพระนครและเมืองอื่นภายใน อาณาจักรเขมรโบราณ เช่นเดียวกับในปัจจุบันคนไทยยังคงเป็นผู้ผลิตสินค้าชั้นนำที่มีคุณภาพดีส่งไป จำหน่ายทั่วโลก            2. เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาเมืองบุรีรัมย์ชุดนี้เมื่อจัดแสดงในนิทรรศการ เครื่องปั้นดินเผาที่ห้องลพบุรีแล้ว จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เข้ามาชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มากยิ่งขึ้น            นายโยธินใช้เวลาในการศึกษารวบรวมมากว่า 20 ปี ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องปั้นดินเผาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จนเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากนักวิชาการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ทั่วโลกว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย   ทั้งนี้ เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี กรมศิลปากรได้พบแหล่งผลิตเป็นเตาเผาจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ อันเป็นแหล่งอุตสาหกรรมในอดีต ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-19 นิยมผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์ คือใช้น้ำเคลือบสีน้ำตาล สีเขียว สร้างสรรค์เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าในภูมิภาค ปัจจุบันจึงพบเครื่องปั้นดินเผาจากเตานี้ ในแหล่งโบราณคดีที่เป็นศาสนสถานทั้งในประเทศไทย และประเทศกัมพูชา    ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำโบราณวัตถุดังกล่าวจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปชม ณ ห้องศิลปะลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตามเจตนารมณ์ของผู้มอบ ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ – วันอังคารคนที พุทธศตวรรษที่ 13 (ประมาณ 1,300 ปี)หม้อมีพวย เผาที่อุณหภูมิต่ำ เคลือบขี้เถ้าพืช ปากผายกว้าง คอยาว ไหล่กว้าง กดประทับแถบลวดลายบริเวณไหล่ การกดประทับแบบนี้เป็นที่นิยมมากในสมัยทวารวดี ปลายพวยปั้นติดลายใบไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับลวดลายบนทับหลัง ซึ่งพบที่จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว ลักษณะพิเศษของหม้อน้ำใบนี้ คือ การเคลือบผิว ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบยากในช่วงต้นประวัติศาสตร์เมื่อกว่าพันปีมาแล้วภาชนะรูปสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่ นก กวาง กระต่าย หมูป่า สิงห์ ตัวนิ่ม แมว ปลา กบ ผลิตจากแหล่งเตาในจังหวัดบุรีรัมย์ สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่บริเวณ เทือกเขาพนมดงเร็กไหรูปนก เตาเผาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 17 - 18ไหมีเชิง ลำตัวกลม ปั้นติดรายละเอียดส่วนหน้าตา ปีก จะงอยปากที่เป็นลักษณะของนก มีกรงเล็บหนา เกาะเหนี่ยวไว้ที่ฐาน เคลือบขี้เถ้าพืชที่มีส่วนผสมของแร่เหล็กออกไซด์ทำให้เกิดเคลือบสีน้ำตาลตลับเคลือบขี้เถ้าพืช ผลิตจากเตาพนมกุเลน จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 16 (ประมาณ 1,000ปีมาแล้ว)คนโทรูปพระคเณศ เตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 17 - 18 (ประมาณ 800 - 900ปีมาแล้ว)คนโทเคลือบขี้เถ้าพืช บางแห่งมีการผสมแร่เหล็กออกไซด์ทำให้เกิดสีน้ำตาล ตอนบนปั้นเป็นรูปพระคเณศนั่งขัดสมาธิราบ สวมเครื่องประดับศีรษะ พระหัตถ์ขวาถืองาข้างที่หัก ตอนล่างเป็นภาชนะทรงกระบอกที่มีส่วนลำตัวคอดเว้า สันนิษฐานว่าเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับพิธีกรรมในศาสนาฮินดูคนโทรูปลิง เตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (ประมาณ 900 - 1,000ปีมาแล้วคนโทรเคลือบขี้เถ้าพืช ปากแคบ คอแคบสูง ลำตัวช่วงบนทำเป็นใบหน้าคล้ายลิง ลำตัวด้านหน้าปั้นติดหางยาว ใกล้ส่วนฐานด้านหน้าปั้นติดส่วนขาไหเคลือบสีน้ำตาล ผลิตจากแหล่งเตาในกัมพูชา พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 (ประมาณ 700 - 800ปีมาแล้ว)ไหเคลือบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เนื้อไม่ดี เคลือบไม่สม่ำเสมอ ปั้นติดรูปช้างสองตัวบนไหล่ รูปทรงของไหมีความสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี ไหใบนี้อาจเป็นต้นแบบให้แก่เครื่องปั้นดินเผาแหล่งเตาดังกล่าวในภาคกลางของประเทศไทย


ประวัติความเป็นมา           งานโบราณคดีใต้น้ำประเทศไทยเริ่มต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ที่อ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สาเหตุที่กรมศิลปากรเริ่มทำงานวิชาการด้านนี้อย่างจริงจังและกะทันหัน โดยที่กรมศิลปากรยังไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติงานในทะเล และไม่มีอุปกรณ์ปฏิบัติงานใต้น้ำ เนื่องจากมีชาวประมงพบซากเรื่อจมโบราณมีโบราณวัตถุประเภทเครื่องสังคโลกจำนวนมากในร่องน้ำลึกใกล้เกาะคราม และมีนักล่าสมบัติ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าไปงมเครื่องถ้วยสังคโลกขึ้นมาขาย โดยไม่หวั่นกลัวต่อกฎหมาย ทำให้หลักฐานทางวิชาการและมรดกทางวัฒนธรรมของชาติถูกทำลายไปมากมาย            ในการปฏิบัติงานโบราณคดีใต้น้ำระยะเริ่มต้นกรมศิลปากรได้ขอความร่วมมือจากกองทัพเรือ จัดส่งเรื่องอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการใต้น้ำมาช่วยดำเนินงานกู้โบราณวัตถุเครื่องถ้วยในแหล่งเรือจมโบราณใกล้เกาะครามได้เป็นผลสำเร็จ           ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ กรมศิลปากรได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศเดนมาร์กส่งผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีใต้น้ำมาช่วยแนะนำการปฏิบัติงานและร่วมการปฏิบัติงาน ให้ทุนฝึกอบรมและศึกษาดูงานในประเทศเดนมาร์ก นับตั้งแต่ปีนั้นมาคนไทยและนานาชาติก็รู้จักโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทย           ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ รัฐบาลไทยจึงอนุมัติให้กรมศิลปากร จัดตั้งโครงการโบราณคดีใต้น้ำ และได้บรรจุโครงการฯเข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๔) ต่อมาภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนยกระดับจากโครงการโบราณคดีใต้น้ำมาเป็นงานโบราณคดีใต้น้ำ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดีจนสุดท้ายมาเป็นกองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมดังในปัจจุบัน   บทบาทหน้าที่           จากจุดเริ่มต้นโครงการโบราณคดีใต้น้ำมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมการศึกษา วิจัยเรื่องการพาณิชยานาวีสมัยโบราณโดยการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีใต้น้ำประเภทซากเรื่อจมโบราณ ซึ่งหลักฐานจมน้ำเช่นนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การคมนาคม การติดต่อค้าขายทางทะเลตลอดจนถึงสินค้า แหล่งผลิตสินค้า เทคโนโลยีการต่อเรื่อ การเดินเรือ การสงคราม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเรือ และเมื่อท่าต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ทั้งของประเทศและของภูมิภาค           หน้าที่ความรับผิดชอบกลุ่มวิชาการโบราณคดีใต้น้ำได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามกิจกรรมดังนี้           ๑. เก็บข้อมูลทางวิชาการเพื่อการศึกษาวิจัย โดยการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีใต้น้ำทั่วทั้งประเทศไม่ว่าจะเป็นในมหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ลำธาร คลอง บึง น้ำตก หนอง กว๊าน ตระพัง สระ หรืออ่างเก็บน้ำที่เกิดจากการสร้างเขื่อน           ๒. ศึกษาวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการสำรวจขุดค้นและร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความชำนาญการเฉพาะด้าน ตามกระบวนการศึกษาวิจัย           ๓. แปลความและตีความหมายจากหลักฐานที่ได้จากการสำรวจขุดค้น           ๔. จัดการฝึกอบรมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีใต้น้ำ           ๕. พัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์และเทคนิคการปฏิบัติงานใต้น้ำให้เหมาะสมแก่เรื่องและกรณี ทั้งการจัดหาจัดซื้อและผลิตเองที่มาของข้อมูล : 8705-กองโบราณคดีใต้น้ำ



          วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. นางรักชนก โคจรานนท์ รองอธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โต๊ะข่าวไลฟ์ (Life) ในประเด็นการจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การจัดนิทรรศการ การคัดเลือกชิ้นงานจัดแสดง และการแนะนำชิ้นงานที่น่าสนใจ ฯลฯ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รวมทั้งยังได้มอบหนังสือประกอบนิทรรศการให้แก่ผู้สื่อข่าว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเขียนบทความเพิ่มเติมอีกด้วย



กรมศิลปากร.  โบราณคดีภาคใต้ อ่าวลึก อ่าวพังงา.  กรมศิลปากร : กรุงเทพฯ, 2532.       เป็นประมวลผลการศึกษาหลังสุดของโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดี (ภาคใต้) ของฝั่งตะวันตกหรือฝั่งอันดามัน ซึ่งสำรวจจากแหล่งโบราณคดีที่เป็นถ้ำและเพิง ผาหินปูนรอบอ่าวลึก อ่าวพังงา เป็นการขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากพบเครื่องมือหินกะเทาะคล้ายฮิวปิเนียนฝังอยู่กับโครงมนุษย์โครงหนึ่ง ที่กำหนดอายุได้หลายพันปีมาแล้ว รวมถึงการขุดค้นแหล่งโบราณเขาเฒ่า และการขุดทดสอบกองเปลือกหอยที่แหล่งโบราณคดีเขางุ้ม


Messenger