ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

วันพญาวัน วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ ถือเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนจุลศักราชตามปฏิทินล้านนา จากจุลศักราช ๑๓๘๕ ปีก่าเหม้า ซึ่งเป็นปีเถาะ สู่จุลศักราช ๑๓๘๖ ปีกาบสี ซึ่งคำว่า กาบ เป็นชื่อปีไทยโบราณ ซึ่งเป็นชื่อของแม่ปีที่ตรงกับจุลศักราชหรือศกที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ ส่วนคำว่า สี เป็นชื่อขอลลุกปีตรงกับปีมะโรงตามปีนักษัตรปีมะโรง หรือในล้านนาเรียกว่าปีสี สัญลักษณ์คืองูใหญ่หรือนาค นาคเป็นงูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในเทวตำนานความเชื่อขอพราหมณ์(ฮินดู) ไทยได้รับความเชื่อเรื่องนาคจากผ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา โดยนำมาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม จนกลายเป็นคติความเชื่อความศรัทธาเกี่ยวกับเรื่องนาคอย่างแน่นแฟ้นในวัฒนธรรมสะท้อนผ่านงานด้านศิลปกรรม นาฏศิลป วรรณคดี ประเพณีและคติความเชื่อท้องถิ่นด้วยคติความเชื่อของนาคที่เป็นสัตว์ปกป้องคุ้มครองและพิทักษ์พระพุทธศาสนา ประกอบกับรูปลักษณ์ของนาคทำให้ช่างสามารถนำมาประยุกต์กับงานศิลปกรรมอันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาแทบทุกประเภท อ้างอิง พิมพรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, บรรณาธิการ. ภูมิริรักษ์ ครุฑ ยักษ์ นาค. รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977): นครปฐม, ๒๕๖๖. สนั่น ธรรมธิ. ๒๕๖๗. ปฏิทินล้านนา ๒๕๖๗ มื้อจั๋นวันดี ฉบับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก: http://surl.li/spaxh . ๑๕ เมษายน ๒๕๖๗.


         ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องบุคคล          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          - ปูนปั้น และดินเผา          - ขนาด กว้าง ๙๓ ซม. ยาว ๘๕ ซม. หนา ๕ ซม.          เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ด้านขวาของภาพเป็นรูปบุคคลทำด้วยปูนปั้น นั่งในท่ามหาราชลีลา ส่วนของศีรษะหักหายไป ด้านซ้ายของภาพเป็นรูปบุคคล ๒ คน ทำด้วยดินเผา ยืนชิดกัน คนที่อยู่ด้านขวาของภาพไว้ผมยาวถึงต้นคอ มือขวาถือสิ่งของคล้ายภาชนะทรงกลม ตอนบนเป็นรูปกรวยคว่ำ คนที่ยืนถัดมากอดอาวุธคล้ายดาบแนบกับอกด้   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40123   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


วันที่14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. ร้อยเอกบุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่2 สุพรรณบุรี พร้อมผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนในสังกัด นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ พร้อมเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมงาน กิจกรรมบวงสรวง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยมีนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี


            นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจราชการแหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน เขตเทศบาลนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้ดำเนินการขุดตรวจทางโบราณคดีบริเวณกำแพงเมืองนครราชสีมา ด้านทิศตะวันออก ระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2567 พบโครงกระดูกมนุษย์ 3 โครง และหลักฐานทางโบราณคดี มีอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก หรือราว 2,500 – 1,500 ปีมาเเล้ว นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าสำคัญของการศึกษาร่องรอยมนุษย์โบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา จึงมอบนโยบายให้กรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้หลักฐานที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และอาจนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งโบราณคดี (site museum) ต่อไป               รมว. สุดาวรรณ กล่าวอีกว่า การดำเนินงานทางโบราณคดีในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างเทศบาลนครนครราชสีมากับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งประชาชนในพื้นที่ต่างให้ความสนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ การขุดตรวจทางโบราณคดีในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความรัก และหวงแหน มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติเพิ่มขึ้นอีกด้วย              แหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่พบในพื้นที่ตัวเมืองนครราชสีมา  บริเวณแนวคูเมืองด้านทิศตะวันออก โดยในเขตเมืองเก่านครราชสีมาไม่เคยมีการขุดค้นทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบมาก่อน ในส่วนของการขุดค้นทางโบราณคดี นักโบราณคดีได้ดำเนินการเก็บกู้โครงกระดูกและหลักฐานทางโบราณคดีที่พบร่วมจากหลุมขุดตรวจมาเก็บรักษาไว้ยังที่ปลอดภัย ณ ห้องปฏิบัติการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากน้ำใต้ดิน และน้ำฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจะดำเนินการทำความสะอาดหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทั้งหมดก่อนนำส่งตัวอย่างหลักฐานไปวิเคราะห์ต่อไป               ทั้งนี้ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา จะชะลอการขุดค้นทางโบราณคดีไว้เป็นการชั่วคราวเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคและปัญหาต่อการขุดค้น ประกอบกับเพื่อให้มีช่วงเวลาที่นักโบราณคดี จะทำการศึกษา วิเคราะห์หลักฐานที่ได้มาก่อนหน้านี้อย่างเป็นระบบ และจะดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2567 



อาภรณ์ภัณฑ์เรือพระราชพิธี หมายถึง เครื่องประดับที่ใช้ตกแต่งในขบวนเรือพระราชพิธีในพระราชพิธีเสด็จทางชลมารค ในโอกาสพระราชพิธีสำคัญฯ มาแต่โบราณกาลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน   งานผ้าลายทองแผ่ลวด เป็นงานช่างแขนงหนึ่งในหมู่ช่างสนะไทย หรือช่างที่ปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องภูษาอาภรณ์ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานเนื่องในสถาบันพระมหากษัตริย์และศาสนา ไม่นิยมใช้กับสามัญชน ได้แก่ ฉัตรเครื่องสูงที่ทำด้วยผ้า ตาลปัตรปักลายในรัฐพิธีสำคัญแต่โบราณ ผ้าม่าน ผ้าดาดหลังคากัญญาเรือพระที่นั่งฯ ธงงอนราชรถ ผ้าดาดหลังคาพระสีวิกากาญจน์ ผ้าดาดหลังคาพระวอประเวศวัง เป็นต้น   เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศประเภทเรือพระที่นั่ง ที่ปรากฏในงานทองแผ่ลวดที่สำคัญคือเรือพระราชพิธี โดยเฉพาะเรือพระที่นั่งประเภทเรือกิ่ง จะปรากฏงานทองแผ่ลวดที่ผ้าดาดหลังคาพระแท่นกัญญาเรือพระที่นั่ง ผ้าม่าน ผ้าหน้าโขนเรือ ฉัตร ธงสามชาย และในขบวนเรือพระราชพิธี ก็จะใช้ผ้าลายทองแผ่นลวดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะแตกต่างกันก็จะดูที่ลวดลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับฐานานุศักดิ์ ชั้นยศ ของผู้ใช้เรือในขบวนเรือ เช่น เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เรือทองขวนฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรืออีเหลือง เรือแตงโม จะทำผ้าลายทองแผ่ลวดดาดหลังคาคฤห์ และกัญญาเรือ และผ้าโขนเรือ เป็นต้น ข้อมูล : สำนักช่างสิบหมู่


ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากร ชื่อเรื่อง เล่มที่ ตอนที่ หน้า วันที่ประกาศ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (วังเทวะเวสม์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 2 ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (วังวรดิศ ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 3 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 4 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (อาคารโรงเรียนสวนกุหลายวิทยาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 5 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (สถานพลับพลาที่ประทับที่สถานีรถไฟบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 6 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (วัดสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอโคกปีป จังหวัดปราจีนบุรี) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 7 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (วัดแค ตำบลรั้งใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 8 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (วัดสระแก้ว ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 9 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (อาคารศาลากลางจังหวัดพังงา (หลังเก่า) อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 10 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (วัดโพธิ์ชัย ตำบลนาพึง อำเภอนาแก้ว จังหวัดเลย) 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 11 ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (พระธาตุขามแก้ว "วัดเจติยภูมิ") 104 ๑๘ ง ฉบับพิเศษ 12 ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๐ แก้คำผิด ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 104 ๙๗ ง 3596 ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุศิลปวัตถุ 104 ๑๒๑ ง ฉบับพิเศษ 11 ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 104 ๑๔๓ ง 5239 ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 104 ๑๔๓ ง 5243 ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุศิลปวัตถุ 104 ๒๓๕ ง ฉบับพิเศษ 1 ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 104 ๒๔๖ ง 8135 ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 104 ๒๔๖ ง 8140 ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 105 ๕๗ ง 2876 ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานอนุสาวรีย์หมู กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 13 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานสนามไชย กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 14 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานศาลเจ้าแม่ทับทิม กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 15 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑ กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 16 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานศาลเจ้าพ่อเสือ กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 17 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานสะพานช้างโรงสี กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 18 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานสะพานอุบลรัตน์ กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 19 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานสำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 20 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานคอกช้างเผือก กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 21 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานอาคารเรือนไม้ ๓ ชั้น (จวนเรซิดัง กัมปอร์ต) จังหวัดตราด] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 22 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 23 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานสะพานเจริญศรี กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 24 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานสะพานเจริญรัช ๓๑ กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 25 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานสะพานดำรงสถิตย์ กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 26 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 27 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานตึกที่ทำการกรมศิลปากร กรุงเทพมหานคร] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 28 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [จำนวน ๔ แห่ง] 105 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 29 ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 106 ๑๖ ง 711 ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 106 ๒๖ ง 1173 ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 106 ๒๖ ง 1178 ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 106 ๒๗ ง 1288 ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 106 ๒๗ ง 1290 ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 106 ๔๓ ง 2082 ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 106 ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ 15 ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 106 ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ 19 ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 106 ๑๔๐ ง 6137 ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 106 ๒๒๐ ง 9466 ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 106 ๒๒๐ ง 9470 ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒


เครื่องเขินเป็นภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันทางภาคเหนือ “ร้อยเรื่องเมืองไทย” ตอน “เครื่องเขินเชียงใหม่” ออกอากาศวันที่ 31 พ.ค. 2558 เขินคือเครื่องใช้ที่ทำจากไม้หรือไม้ไผ่สา­น ทาทับด้วยยางรักธรรมชาติ ขูดลวดลาย ลงสี หรือปิดทองคำเปลว เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพชนล้านนา ถ่ายทอดสืบต่อยังคนรุ่นปัจจุบัน "ร้อยเรื่องเมืองไทย" ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 07.52 - 07.57 น. ช่อง 7



วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะทวารวดี อายุสมัย อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13-15 (ประมาณ 1,100–1,300 ปีมาแล้ว) สถานที่พบ พบที่บ้านเมืองไพร ตำบลเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด หินทรายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แกะลายรูปเครื่องประดับ รูปครึ่งวงกลม ลายดอกบัวก้านยาว ลายใบโพธิ์มีห่วงด้านบน ลายใบไม้สามเหลี่ยม และลายลูกกระพรวนทรงกลม ด้านบนมีห่วง ส่วนด้านหลังแกะลายดอกไม้ หรือลายประจำยาม และลายเรขาคณิต แม่พิมพ์แต่ละอันต่อกับร่องหรือก้านสำหรับเทน้ำโลหะ ลักษณะเป็นแม่พิมพ์แบบประกบกัน 2 ชิ้น ใช้หล่อเครื่องประดับในชีวิตประจำวันซึ่งทำมาจากทอง เงิน ดีบุก เช่น ตุ้มหู และเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ รูปแบบของเครื่องประดับเหล่านี้ แม้จะเริ่มทำมาตั้งแต่สมัยฟูนันราวพุทธศตวรรษที่ 8 แล้วก็ตาม แต่ความเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบนั้นมีน้อยมาก


ห้องเมืองยุทธหัตถี             การรบบนหลังช้างหรือการกระทำยุทธหัตถี ถือว่าเป็นการศึกที่ยิ่งใหญ่ของชนชั้นปกครองในดินแดนที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดีย คือ ลังกา และเอเชียอาคเนย์ การสู้รบบนหลังช้างที่เก่าแก่และรู้จักกันดีปรากฏในคัมภีร์มหาวงศ์ของลังกา เป็นการกระทำยุทธหัตถีระหว่างพระเจ้าทุฎฐคามณีอภัยกษัตริย์ลังกา กับพระเจ้าเอฬารทมิฬกษัตริย์ทมิฬ ซึ่งพระเจ้าทุฎฐคามณีอภัยทรงมีชัยชนะ             ในประวัติศาสตร์ไทย การสงครามบนช้างเกิดขึ้นหลายครั้ง นับตั้งแต่สุโขทัยครั้งที่พ่อขุนบางกลางหาว ขับไล่ขอมออกจากกรุงสุโขทัย, เจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามณีสู้รบกับขุนจังและท้าวอีจาน และครั้งที่สำคัญคือคราวที่พ่อขุนรามคำแห่งทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด             ในสมัยอยุธยานั้น เหตุการณ์สู้รบบนหลังช้างมีหลายครั้งด้วยกัน คือ ครั้งที่เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระราชโอรสในสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ทรงชนช้างเพื่อชิงราชสมบัติ และสิ้นพระชนม์บนคอช้างทั้งสองพระองค์, ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระอินทราชาพระราชโอรสชนช้างกับหมื่นดั้งนคร, ในสงครามพระยาเชลียงยกทัพเข้าตีเมืองกำแพงเพชร  เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๖, ในสงครามกับพม่า พ.ศ. ๒๐๙๑ ระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กับพระเจ้าแปร ซึ่งในครั้งนั้น สมเด็จพระสุริโยทัยทรงปลอมพระองค์เป็นชายเข้าช่วยพระสวามี ทำให้สิ้นพระชนม์บนคอช้าง และครั้งสุดท้ายซึ่งถือว่าเป็นยุทธหัตถีครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อพ.ศ. ๒๑๓๕ เป็นการสู้รบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี เหตุการณ์ในครั้งนั้น พระมหาอุปราชายกทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้กองทัพที่จะยกไปตีเขมร ให้ไปตั้งมั่นที่ป่าโมกเพื่อรอกองทัพหลวงที่จะไปเมืองสุพรรณบุรี และรับสั่งให้พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ยกกองทัพหัวเมืองไปขัดตาทัพข้าศึกที่ลำน้ำบ้านคอย แขวงเมืองสุพรรณบุรี เมื่อกองทัพหลวงยกมาถึงเมืองสุพรรณบุรีที่บ้านสามโก้ ข้ามลำน้ำสุพรรณบุรีที่ท่าท้าวอู่ทองถึงค่ายหลวงที่หนองสาหร่าย กองทัพพระยาศรีไสยณรงค์ปะทะกองทัพพม่าที่ดอนเผาข้าว กองทัพไทยแตกร่น สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างพระที่นั่งไชยานุภาพหรือพลายภูเขาทอง และสมเด็จพระเอกาทศรถทรงช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร หรือพลายบุญเรือง ช้างทรงของทั้งสองพระองค์ตกมันวิ่งไล่เข้าไปอยู่ท่ามกลางข้าศึก สมเด็จพระนเรศวรทรงท้าพระมหาอุปราชากระทำยุทธหัตถี พระมหาอุปราชาทรงช้างพลายพัทธกอ ช้างทรงพระมหาอุปราชาดันช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชถอยเบนไป พระมหาอุปราชาจึงจ้วงฟันด้วยของ้าว ถูกพระมาลาเบี่ยงไป ขณะนั้นช้างพระที่นั่งถอยมาถึงจอมปลวกแห่งหนึ่ง จึงมีกำลังยันดันช้างของพระมหาอุปราชาเบนไป ได้ล่างแบกถนัดสมเด็จพระนเรศวรได้ทีจึงจ้วงฟันพระมหาอุปราชาด้วยพระแสงของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถทรงชนช้างชนะแม่ทัพมังจาปะโร กรุงศรีอยุธยาจึงได้ชัยชนะ ซึ่งในครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้สร้างพระเจดีย์ไว้องค์หนึ่ง ครั้นล่วงมาในกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงดำริอยากเห็นเจดีย์ยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้น จึงมีรับสั่งให้พระยาสุพรรณบุรี (อี้  กรรณสูต) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในขณะนั้นไปสืบหาเจดีย์องค์นี้ ต่อมาพระยาสุพรรณบุรีได้พบเจดีย์ยุทธหัตถีเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๔๔๖ และทำรายงานขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อแรกพบนั้นพระเจดีย์มีลักษณะเป็นเนินดินสูง มีต้นไม้ปกคลุมทั่วไป เมื่อถากถางแล้ว ปรากฏเป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยม บนฐานก่ออิฐ ๓ ชั้น ขนาดกว้างประมาณ ๑๐ วา ส่วนยอดพังลงมา ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งพระองค์ทรงให้ความสนพระทัยและได้มีพระอุตสาหะเสด็จฯไปนมัสการเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๖ และมีพระราชดำริให้บูรณะ โดยโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรออกแบบ แต่การบูรณะไม่แล้วเสร็จในสมัยของพระองค์ การบูรณะพระเจดีย์ยุทธหัตถีดังกล่าวเริ่มขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลปัจจุบันพ.ศ. ๒๔๙๕ แล้วเสร็จในพ.ศ. ๒๕๐๐ พร้อมกับการสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เจดีย์ยุทธหัตถีในปัจจุบันมีความสูงทั้งสิ้น ๖๖.๐ เมตร เป็นเจดีย์ทรงกลมออกแบบสร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิมไว้


วันพุธที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๒เวลา ๐๙.๓๐ น.คณะคุณครูและนักเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน ๑๗๕ คนเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงโดยมีนางสาวปวีณา พัดภูเขียว นายสุพัฒน์ สุทธิบุญ เป็นวิทยากรนำชม


งานแถลงข่าวราชรถพระนำและราชรถ อัญเชิญพระศพสมเด็จพระสังฆราช  ในวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2558   พิธีบวงสรวงอัญเชิญราชรถ ในวันพฤหัสบดีที่ 26พฤศจิกายน 2558   ณ สำนักช่างสิบหมู่ พุทธมณฑลสาย 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 




Messenger