ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
ชื่อผู้แต่ง พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง หลักราชการ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กระดาษไทย
ปีที่พิมพ์ 2508
จำนวนหน้า 33 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพรองเสวกตรี เล็กอินทารุณ
รายละเอียด หนังสือเรื่องหลักราชการ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จัดพิมพืเพื่อแจกข้าราชการในโอกาสตรุษจีน สงกรานต์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ ทรงนำคุณสมบัติของการเป็นราชการ ๑๐ เรื่อง ประกอบด้วย ๑.ความสามารถ ๒.ความเพียร ๓.ไหวพริบ ๔.ความรู้เท่าถึงการ ๕.ความซื่อตรงต่อหน้าที่ ๖.ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป ๗.ความรู้จักนิสัยคน ๘. ความรู้จักผ่อนผัน ๙. ความมีหลักฐาน และ ๑๐.ความจงรักภักดี
แนะนำ E-book หนังสือหายาก
เรื่อง อัตชีวประวัติเกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 สมัยประชาธิไตย
จุลจักรพงษ์, พันตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. อัตชีวประวัติเกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 สมัยประชาธิปไตย.พระนคร: โรงพิมพ์ อุดม, 2494.
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง โหราศาสตร์กับชีวิตประจำวัน
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๔
จำนวนหน้า ๖๖ หน้า
โหราศาสตร์กับชีวิตประจำวัน คณะเจ้าภาพจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นายสุช กาญจนาวดี เกร็ดความรู้โหราศาสตร์หรือเคล็ดลับการเรียนรู้ชะตาด้วยตนเอง การตั้งชื่อเด็ก การสร้างบ้าน ฤกษ์ ยาม พิธีตั้งศาลพระภูมิ วิธีบูชาพระพุทธรูป โดยอาศัยพื้นฐานจากตำรา โลกธาตุของพระสารประเสริฐเป็นหลัก
เลขทะเบียน : นพ.บ.439/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4.8 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 157 (141-148) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.585/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 189 (372-377) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ปัญญาบารมีหลวง--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
โบราณสถานวัดสระศรี วัดสระศรีหรือโบราณสถานร้าง ก.4 ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย โดยอยู่ห่างจากวัดมหาธาตุมาทางทิศเหนือประมาณ 350 เมตร วัดสระศรีนี้เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางตระพังตระกวน ซึ่งเป็นตระพังหรือสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองสุโขทัย โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดประกอบไปด้วย 1. เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ มีรูปทรงสมบูรณ์ ตังอยู่บนฐานสี่แหลี่ยมยกพื้นสูงเพื่อเป็นลานประทักษิณ ล้อมรอบด้วยระเบียงคด 2. วิหาร ขนาด 7 ห้อง ก่อด้วยอิฐ ยกเว้นในส่วนของเสาวิหารที่นำศิลาแลงมาใช้ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย 3. เจดีย์ขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระพุทธรูปอยู่ทั้ง 4 ทิศ สภาพสมบูรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเจดีย์ประธาน และนอกจากนี้ยังพบฐานเจดีย์รายขนาดเล็กตั้งอยู่อีก 5 องค์ 4. ฐานโบสถ์ขนาด 2 ห้อง ก่อด้วยศิลาแลง มีใบเสมาหินปักโดยรอบ ตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆ กลางน้ำ ทางด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานภายในวัด โดยมีสะพานไม้เชื่อมถึงกัน 5. สระน้ำขนาดใหญ่หรือตระพังตะกวน มีเนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ ซึ่งเป็นตระพังที่เกาะของโบราณสถานวัดสระศรีตั้งอยู่ เดิมในอดีตสระนี้มีถนนทางหลวงชนบทผ่านกลางสระ แต่ปัจจุบันได้ขุดรื้อถอนไปแล้ว เจดีย์ประธานของวัดสระศรีเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย หรือเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ที่เหมือนกับเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองสุโขทัย ต่างกันในส่วนฐานที่ไม่มีช้างล้อม สันนิษฐานว่ามีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งนี้วัดสระศรีนี้มีการสร้างโบสถ์อยู่บนเกาะที่มีน้ำล้อมรอบตามคตินทีสีมา คือการใช้น้ำเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตวิศุงคามสีมา ซึ่งถือเป็นขอบเขตที่บริสุทธิ์ พบในสุโขทัยหลายแห่ง เช่น ที่วัดตระพังเงิน วัดตระพังทอง เป็นต้น เจดีย์รายเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้าน คล้ายกับเจดีย์ทรงระฆังวัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเจดีย์รายที่วัดสระศรีแห่งนี้น่าจะได้อิทธิพลของศิลปะอยุธยามา..เอกสารอ้างอิง 1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. “การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑” โครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร. 2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร, ๒๕๖๑. 3. ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562. 4. ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย ประมวลศิลปกรรมโบราณเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.
เมืองโบราณยะรัง EP.3 : การดำเนินงานทางโบราณคดี
องค์ความรู้ตอนที่ 3 ที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า "เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางโบราณคดี”
การสำรวจ
การสำรวจของนายอนันต์ วัฒนานิกร
พ.ศ.2505 นายอนันต์ วัฒนานิกร ศึกษาธิการอำเภอยะรังในสมัยนั้น เริ่มเข้าสำรวจร่องรอยของโคกเนินต่างๆที่สันนิษฐานว่าจะเป็นโบราณสถาน โดยมีผู้ช่วย 2 คนคือนายเจิม ชูมณี และนายพรหม ทุเรศพล
“...ขณะนั้นยังสังเกตเห็นแนวกำแพงเมืองเป็นเนินดินสูง 2-3 เมตร ขนานไปกับคูน้ำ กำแพงชั้นในวัดขนาดได้ 590 เมตร ชั้นนอก 860 เมตร มีป้อมตรงมุมทั้งสี่ ซากโบราณสถานมีกระจายไปทั่วอยู่ในเขตที่ทำกินของราษฎร...”
นายพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ได้สัมภาษณ์นายอนันต์ วัฒนานิกร ในระหว่างพ.ศ.2525-2528 และได้จดบันทึกเรื่องตำแหน่งของโบราณสถานจากการสำรวจของนายอนันต์ วัฒนานิกร ระหว่างพ.ศ.2505-2516 ซึ่งได้กำหนดที่ตั้งของโบราณสถานไว้เป็นหมายเลขจำนวน 31 แห่ง
การสำรวจของ Stewart Wavell
ในช่วงฤดูร้อนของพ.ศ.2505 Stewart Wavell นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้เดินทางไปสำรวจเมืองโบราณยะรังซึ่งปรากฎข้อมูลว่ามีผู้ร้ายทำการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุตามเนินโบราณสถาน โดยในขณะที่เขาอยู่ในเมืองปัตตานีได้มีผู้นำเทวรูปพระวิษณุสำริดซึ่งอ้างว่าขุดได้จากเนินโบราณสถานในเมืองโบราณยะรังมาให้ชม และต่อมาเขาได้เดินทางไปยังเมืองยะรัง
การสำรวจของนายมานิต วัลภิโภดม และนายจำรัส เกียรติก้อง
พ.ศ.2507 นายมานิต วัลภิโภดม นายจำรัส เกียรติก้อง และคณะสำรวจจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้เข้ามาทำการสำรวจและจัดทำแผนผังเมืองโบราณยะรังในบริเวณบ้านประแว โดยแผนผังที่เขียนขึ้นแสดงภาพของเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 300 เมตร ยาว 340 เมตร มีกำแพงดินและคูน้ำล้อมรอบสามชั้น และในแผนผังยังแสดงตำแหน่งของ “ซากเจดีย์” ซึ่งปรากฏกระจายอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านประแว และกระจุกตัวหนาแน่นเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณบ้านวัด
การสำรวจของ H.G.Quaritch Wales
ในพ.ศ.2517 H.G.Quaritch Wales ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “ลังกาสุกะและตามพรลิงค์และการจดบันทึกบางสิ่งทางโบราณคดี” โดยกล่าวว่าเขาและภรรยา ได้เดินทางมายังเมืองโบราณยะรัง พร้อมกับนายบันเทิง พูลศิลป์ เจ้าหน้าที่จากหน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กรมศิลปากร โดยมีนายอนันต์ วัฒนานิกร ศึกษาธิการอำเภอยะรังในขณะนั้นเป็นผู้นำทาง
การสำรวจของชูสิริ จามรมาน
นางสาวชูสิริ จามรมาน อาจารย์ในภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับทุนจากมูลนิธิจิม ทอมป์สัน เพื่อทำการวิจัยเรื่อง “การวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์” ได้ทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2521-2523 โดยทำการสำรวจใน 2 ช่วงเวลา ดังนี้
การสำรวจระยะที่ 1 เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2521 โดยร่วมสำรวจกับเจ้าหน้าที่กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากร ได้ทำการสำรวจที่บ้านปาละแว และบ้านวัด เพื่อเลือกจุดที่จะตรวจสอบหลักฐานบนดินและใต้ดินด้านการเจาะสำรวจ และได้เดินทางไปกิ่งอำเภอไม้แก่น เพื่อเลือกจุดสำรวจและเจาะสำรวจในบริเวณที่มีโคกดินลักษณะคล้ายๆกันกับที่อำเภอยะรัง
การสำรวจระยะที่ 2 เริ่มขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2523 เป็นการเดินสำรวจอย่างละเอียดด้วยการเดินทั้งในและนอกบริเวณที่มีคันดินซึ่งเคยเป็นกำแพงเมืองโบราณ จากนั้นจึงทำการสำรวจในบริเวณนอกเมืองโบราณที่บ้านปาละแว
การสำรวจของนายศรีศักร วัลลิโภดม
เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2521 นายศรีศักร วัลลิโภดม เดินทางไปสำรวจเมืองโบราณยะรังบริเวณบ้านประแว โดยมีนายอนันต์ วัฒนานิกร เป็นผู้นำทางไปยังตำแหน่งโบราณสถานต่างๆทั้งในและนอกเมือง
“...ก็พบความจริงอย่างหนึ่งว่าเมืองประแวที่ทางกรมศิลปากรเคยสำรวจไว้ว่าเป็นเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบสามชั้นนั้น เป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง เมืองนี้ตัวเมืองมีขนาดเล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงและคูน้ำชั้นเดียว ไม่มีล้อมรอบสามชั้นแต่อย่างใด แต่เผอิญทางด้านทิศใต้นั้นเกิดมีคันดินสองเส้นตัดผ่านจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก ขวางหน้าก่อนที่จะเข้าไปถึงกำแพงเมือง คันดินสองสายนี้ดูเชื่อมกับลำน้ำเขาที่ไหลเลียบตัวเมืองลงมาทางตะวันตก เพื่อระบายน้ำผ่านไปลงที่ลุ่มต่ำทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ทางกรมศิลปากรเดินสำรวจเพียงด้านเดียวคือด้านใต้จึงมองเห็นเป็นว่าเมืองนี้มีคันกำแพงดินล้อมรอบสามชั้นไป…”
“...ข้าพเจ้าจัดกลุ่มโบราณสถานที่พบในเขตอำเภอยะรังนี้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่อยู่ในเขตบ้านประแว หรือที่เรียกว่าเมืองประแวนั่นเอง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือเขตบ้านวัด ซึ่งห่างจากกลุ่มแรกไปประมาณ 3-4 ก.ม....”
การสำรวจของโครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้)
โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กรมศิลปากร ดำเนินการสำรวจพื้นที่เมืองโบราณยะรังในพ.ศ.2528 โดยใช้วิธีเดินสำรวจภาคพื้นดิน ประกอบกับแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ และจัดทำแผนผังโดยใช้กล้องธีโอโดไลห์ ผลการดำเนินงานได้กำหนดตำแหน่งที่ตั้งพร้อมระบุเลขประจำเนินโบราณสถานจำนวน 30 แห่ง
“...ลักษณะของเมืองโบราณนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หันไปตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนาดกว้าง 550 เมตร ยาว 710 เมตร กำแพงเมืองชั้นเดียวทำด้วยดินและมีคูน้ำล้อมรอบ ที่มุมทั้ง 4 มีป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในเมืองยังมีแนวกำแพงและคูน้ำ จากแนวกำแพงเมืองทางด้านตะวันตกและทางทิศใต้ไปบรรจบกันภายในเมืองอีกด้วย ทางด้านทิศใต้เป็นแนวคันดินและคูภายในเมืองเชื่อมต่อกับทางน้ำเก่า ซึ่งปัจจุบันปรากฏเพียงด้านเดียวเท่านั้น ส่วนด้านอื่นๆมีทางน้ำเก่าและได้ถูกปรับพื้นที่เป็นที่นาเสียส่วนใหญ่ คันดินนี้นี่เองทำให้หลายคนเข้าใจว่าเมืองโบราณยะรังเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีกำแพงและคูเมือง 3 ชั้น ระหว่างคันดินกำแพงเมืองมีหนองน้ำขนาดใหญ่และโบราณสถานอยู่ 2 แห่ง ส่วนภายในเมืองนั้นมีบ้านราษฎรอยู่ประมาณ 40 หลังคาเรือน มีบ่อน้ำโบราณอยู่ 7 แห่ง ทางด้านทิศใต้นอกกำแพงเมืองมีสระน้ำขนาดใหญ่จำนวน 1 สระ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างยาว 70 เมตร สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของเมืองโบราณยะรังนั้น เป็นที่ทำสวนเสียส่วนมาก โดยเฉพาะสวนยาง สวนส้ม สวนเงาะ สวนทุเรียน และสวนกล้วย เป็นต้น โบราณสถานบริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียงนั้นมีด้วยกัน 29 แห่ง อยู่ในเขตบ้านประแว 11 แห่ง เขตตำบลวัด 11 แห่ง และเขตตำบลปิตูมุดี 7 แห่ง...”
การสำรวจของโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานี ศึกษากรณีชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบในเขตเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ระยะที่ 1
โครงการสำรวจนี้เป็นการดำเนินการภายใต้หน่วยงานคือศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอสโซ่สแตนดาร์ตประเทศไทย จำกัด ดำเนินการสำรวจโดยสว่าง เลิศฤทธิ์ นายเดวิด เจ เวลซ์ นางจูดิท มิกนีลล์ และนางสาวนันทิยา หนูสอน David J. Welch ระหว่างเดือนเมษายน 2529 ถึงเดือนเมษายน 2530 โดยทำการสำรวจด้วยกล้องธีโอโดไลท์และเทปวัดระยะในพื้นที่บ้านประแวและบ้านวัด
การสำรวจของโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี
โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ตั้งขึ้นในพ.ศ.2531 เป็นโครงการในความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กองโบราณคดี กรมศิลปากร การสำรวจโดยโครงการฯได้ดำเนินการสำรวจโดยการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและดำเนินการสำรวจภาคพื้นดิน ในระหว่างพ.ศ.2531-2532 และในพ.ศ.2535 ได้จัดพิมพ์หนังสือ “การสำรวจโบราณสถานเมืองยะรัง” นำเสนอผลการสำรวจและรายละเอียดของโบราณสถานที่สำรวจพบทุกแหล่ง ทั้งในเขตบ้านประแว บ้านจาเละ และบ้านวัด
เนินโบราณสถานจากการสำรวจของโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง
(พ.ศ.2531-2532)
โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ดำเนินการสำรวจเมืองโบราณ ยะรังอีกครั้งในระหว่างพ.ศ.2531 – 2532 ในครั้งนี้ได้กำหนดการเรียกชื่อเนินโบราณสถานใหม่ โดยจำแนกเนินโบราณสถานออกเป็น 3 กลุ่มตามตำแหน่งที่ตั้ง คือ กลุ่มโบราณสถานบ้านวัด กลุ่มโบราณสถานบ้านจาเละ และกลุ่มโบราณสถานบ้านประแว
กลุ่มโบราณสถานบ้านวัด ใช้อักษรย่อว่า บว.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 20 แห่ง
กลุ่มโบราณสถานบ้านจาเละ ใช้อักษรย่อว่า จล.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 11 แห่ง
กลุ่มโบราณสถานบ้านประแว ใช้อักษรย่อว่า บว.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 2 แห่ง
การขุดค้นทางโบราณคดี
-----------------------------------
พื้นที่เมืองโบราณยะรัง ได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากนักวิชาการชาวไทย และชาวต่างประเทศ โดยในระยะแรกการขุดค้นมักอยู่ในลักษณะของการขุดตรวจหรือขุดทดสอบ รวมถึงการขุดสำรวจโดยใช้เครื่องมือเจาะดินที่เรียกว่าออเกอร์
ส่วนการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณที่เป็นเนินโบราณสถานขนาดใหญ่นั้น เริ่มดำเนินการในพ.ศ.2531 โดยโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ของกรมศิลปากร โดยเริ่มทำการขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 เป็นแห่งแรกในพ.ศ.2531 ขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 2 และหมายเลข 8 ในพ.ศ.2535 และขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านวัดหมายเลข 9 ในพ.ศ.2546
การขุดค้นของ H.G.Quaritch Wales
ในพ.ศ.2517 บทความเรื่อง “ลังกาสุกะและตามพรลิงค์และการจดบันทึกบางสิ่งทางโบราณคดี” ของ H.G.Quaritch Wales กล่าวถึงการขุดค้นทางโบราณคดีในลักษณะของหลุมยาว (Trench) จำนวน 2 หลุม ในพื้นที่ภายในเมืองประแวด้านทิศใต้ ผลการขุดค้นไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ
การขุดค้นของชูสิริ จามรมานและคณะ
เป็นการดำเนินการของนางสาวชูสิริ จามรมาน อาจารย์ในภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ ซึ่งได้รับทุนจากมูลนิธิจิม ทอมป์สัน เพื่อทำการวิจัยเรื่อง “การวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์” ซึ่งทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2521-2523 และการวิจัยเรื่อง “สมัยศิลปะที่ยะรัง เมืองโบราณในจังหวัดปัตตานี” ซึ่งทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2523-2524
การขุดค้นของโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานี ศึกษากรณีชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบในเขตเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ระยะที่ 1
การขุดค้นทางโบราณคดีในระหว่างพ.ศ.2529 – 2530 นี้เป็นการดำเนินการในโครงการโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานีฯ ภายใต้หน่วยงานคือศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีนายสว่าง เลิศฤทธิ์ Dr.David J. Welch และ Ms.Judith R.Mcniell เป็นผู้ดำเนินโครงการ
สรุปผลการศึกษา
1.บ้านประแว ผลการการขุดค้นและขุดตรวจด้วยออเกอร์แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีบ้านประแวมีอายุไม่มากนักดังที่ศรีศักร วัลลิโภดม เคยกล่าวไว้ โบราณวัตถุที่พอจะกำหนดอายุได้ก็มีเศษเครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงและเศษเครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินที่มีลวดลายประดับสมัยอยุธยา หลังจากส่งตัวอย่างถ่านไปหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 ที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพบว่าโบราณวัตถุในชั้นดินที่ 2 มีอายุประมาณ 300 ปี ชั้นดินที่ 3 มีอายุประมาณ 500 ปี ในขณะที่ชั้นดินที่ 4 ซึ่งอยู่ล่างสุดพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินสีเทาดังเช่นที่พบที่สทิงพระ แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีบ้านประแวมีอายุเก่าสุดอยู่ที่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 จึงสรุปได้ว่าเมืองแห่งนี้เป็นเมืองขนาดเล็ก ไม่มีฐานะหรือบทบาทสำคัญนัก โดยมีกลุ่มชนเข้ามาอยู่อาศัยครั้งแรกประมาณสมัยศรีวิชัยตอนปลาย และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการสร้างป้อมที่มุมเมือง ซึ่งหลักฐานต่างๆแสดงให้เห็นถูกสร้างขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ราวปี 1790-1791 ซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ระบุว่าปัตตานีมีการย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่บ้านประแวในสมัยรัชกาลที่ 1
2.บ้านวัด จากการศึกษาพบว่าเมืองแห่งนี้มีขนาดใหญ่ (อย่างน้อย 60 ตารางเมตร) และมีคูเมืองซับซ้อนมาก มีเนินเจดีย์ 16 แห่ง มีเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 แห่ง ผลการขุดค้นของนักโบราณคดีจากกรมศิลปากรได้พบโบราณวัตถุหนาแน่นกว่าที่บ้านประแว จากการขุดค้นยังทำให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีผ่านการใช้งานมาอย่างน้อย 2 ช่วง เพราะชั้นดินทางโบราณคดีจะเห็นถึงความแตกต่างได้ชัด โบราณวัตถุที่พบก็ต่างสมัยกันด้วย โบราณวัตถุในชั้นดินล่างสุดอาจจะเป็นของสมัยทวารวดีส่วนโบราณวัตถุในชั้นดินบนอยู่ในสมัยหลังก็เป็นได้ และการขุดค้นที่หลุมขุดค้นแห่งหนึ่งบนเนินดินชั้นในพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเศษอิฐและเศษภาชนะดินเผา ชั้นดินชั้นล่างสุดที่ทำการขุดค้นอาจจะเป็นฐานเจดีย์เพราะพบแนวอิฐและก้อนอิฐมีรู โบราณวัตถุที่พบร่วมกับแนวอิฐคือเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง? อย่างไรก็ตามเมื่อผลการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายออกมา ก็คงจะทราบอายุของโครงสร้างแนวอิฐนี้ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมีอายุอย่างน้อย 1,000 ปี มาแล้ว
การขุดค้นของโครงการศึกษาการตั้งถิ่นฐานเมืองปัตตานีโบราณ (The old settlement of The Pattani Region)
โครงการศึกษาการตั้งถิ่นฐานเมืองปัตตานีโบราณเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10 สงขลา กับสถาบันฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ(Ecole Francaise d’Etreme-Orient) และสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยกำหนดเป็นโครงการต่อเนื่อง 5 ปี โดยเริ่มต้นโครงการในพ.ศ.2540 สำหรับการศึกษาในพ.ศ. 2541 เป็นการดำเนินการในปีที่ 2 ของโครงการ ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณบ้านประแว โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาถึงความต่อเนื่องของการอยู่อาศัยของชุมชนโบราณบ้านประแวกับชุมชนโบราณบ้านกรือเซะว่ามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันหรือไม่อย่างไร ตามสมมุติฐานที่เชื่อว่ากลุ่มชนบริเวณบ้านกรือเซะนั้นย้ายมาจากบ้านประแว
สรุปผลการขุดค้น
ผลของการขุดค้นทางโบราณคดีในพ.ศ.2541 ทำให้เห็นถึงพื้นดินที่ถูกรบกวนในทุกๆหลุมขุดค้น ยกเว้นในหลุมขุดค้น PW.3 ซึ่งพบเศษภาชนะดินเผาซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเศษภาชนะดินเผาที่พบในหลุมขุดค้นอื่นๆ ซึ่งก็เป็นได้ว่าอาจเป็นเพราะเศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มาจากช่วงเวลาที่ต่างกัน และการวิเคราะห์โดย Mrs.M.F.Dupoizat พบว่า เศษภาชนะดินเผาที่พบเกือบทั้งหมดนี้กำหนดอายุในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20
.
.
.
ในส่วนของ Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ โปรดติดตามในตอนต่อไป..
---------------------------
Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790
Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid023vs8jRqA2iqonHKfjBgCMWEC6GfQLWyYHFy8ogMX3RVt1UG1uy2pSNVxkd2s9BT6l
Ep.3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี
Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ
EP.5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)
Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี
--------------------
เอกสารอ้างอิง
หน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา, ความเป็นมาของเมืองโบราณยะรังโดยสังเขป, 2531 หน้า 7 (อัดสำเนา)
เขมชาติ เทพไชย, รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดี บริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, (สงขลา : โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2528), 9-10 (เอกสารอัดสำเนา)
ชูสิริ จามรมาน, รายงานผลการวิจัยเรื่องการวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์, (นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2528), 6
ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้, “บันทึกเรื่องเมืองโบราณที่อำเภอยะรัง” ใน แลหลังเมืองตานี, (ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528), 18
Stewart Wavell, “The Lady from Langkasuka” in The Naga King’s Daughter, (London : George Allen & Unwin Ltd., 1964), 15
Ibid, 158
ศรีศักร วัลลิโภดม, “ชุมชนโบราณในสี่จังหวัดภาคใต้”, เมืองโบราณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม2521-มกราคม2522) หน้า 49
เรื่องเดียวกัน, 48
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นต้น, คาถาธมฺมปท) อย.บ. 244/6หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ. 240/20หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ
คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรม First Open House : รับฟังเรื่องเล่ากับเราชาวพิพิธภัณฑ์ พบกับกิจกรรม “เปิดบ้าน” สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้และทำความเข้าใจคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2566 รับจำกัดเพียงรอบละ 25 คน (*ไม่รับ Walk-in) สามารถเลือกลงทะเบียนตามรอบผ่าน QR Code หรือลิงก์
- รอบเช้าเวลา 09.00 น. ผ่านทางลิงก์ : https://forms.gle/4MHXG4Yy4baEnkA1A
- รอบบ่าย 13.00 น. : ผ่านทางลิงก์ : https://forms.gle/TwY4mSWabuy82hWH9
สอบถามเพิ่มเติมได้ทางกล่องข้อความ (Inbox) เฟสบุ๊กเพจ : Central Storage of National Museums : คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือ โทร. 0 2902 7835
#๑๒๓ปีรถไฟสายแรกของประเทศไทย
#องค์ความรู้ #หอสมุดแห่งชาติฯนครราชสีมา
๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เป็น “วันครบรอบ ๑๒๓ ปี” นับจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยือนนครราชสีมา ในคราวเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๔๓ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ มีระยะทางทั้งสิ้น ๒๖๕ กิโลเมตร ซึ่งการเสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองนครราชสีมาในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวตลอดรัชสมัยของพระองค์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะบำรุงพระราชอาณาจักรให้เจริญยิ่งขึ้น โดยการสร้างทางรถไฟให้เป็นความสะดวกในการเดินทาง จากระยะทางไกลให้เหมือนใกล้ ดังที่ปรากฎในพระราชดำรัสตอบเจ้ากรมรถไฟว่า
“ความเจริญรุ่งเรืองของประชุมชน ย่อมอาไศรยถนนหนทางไปมาหากัน เปนใหญ่เปนสำคัญ เมื่อมีหนทางคนจะไปมาได้ง่ายได้ไกล ได้เร็วขึ้นเพียงใดก็เป็นการขยายประชุมชนให้ไพศาลขึ้นเพียงนั้น บันดาการค้าขายอันเปนสมบัติของบ้านเมืองก็จะรุ่งเรืองวัฒนาขึ้น”
.
นับตั้งแต่เปิดให้บริการเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เป็นต้นมาส่งผลดีต่อการคมนาคมขนส่งสินค้าอย่างมาก เนื่องจากสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางจากเดิมที่ใช้เวลาเกือบ ๒ เดือน มาเป็นการเดินทางเพียง ๑๐ ชั่วโมง เท่านั้น (หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, ๒๕๔๒) ดัง รายงานการเสด็จตรวจราชการเมืองนครราชสีมา ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความตอนหนึ่งว่า “ได้เห็นความเจริญที่แปลกเปลี่ยน
ในเมืองนครราชสิมา ตั้งแต่เวลาที่มีรถไฟแล้วผิดกว่าแต่ก่อนก่อนนี้เพียงไรนั้น เกล้า าได้จดเปน
รายงานย่อถวายมาพร้อมกับจดหมายนี้”
๑. พ่อค้ามณฑล อิสาณ อุดร ไม่รับซื้อสินค้าจากพ่อค้าโคราชดังแต่กอ่น
ลงไปซื้อเสียเองที่กรุงเทพ า
๒. สินค้าลง เข้าเปลือก สุกร ยาง ส้ม มะขามปอ้ม สมอ นุ่น มะขามฝัก
(เพราะคนเมืองนี้ไม่กิน) มะเกลือ ส้ม ออ้ย เนื้อโค ไม้เสาเรือน ไม้ไถ
ไม้เคื่รองเกีวยน ไม้แดง ไม้ทอ่น ศิลา โค ม้า เปดไก
๓. สินค้าขึ้น ของกรุงเทพ า ขึ้นหมดทุกอย่าง มีน้ำแขงเปนที่สุด
๔. ปลายา่ง ปลากรอบ คนโคราชไปบรรทุกเกวียนมาคราวละกว่า
๕๐ - ๖๐ เล่ม มาแต่พระตะบองแล้วบรรทุกรถไฟลงไปขายกรุงเทพ า
๕. คนโคราชกินเกลือทะเล แต่คนบ้านนอกยังกินเกลือสินเทาว์ แต่กอ่น
ใช้ยาเพชบูรณ แลหนองคาย เดียวนี้ใช้ยาเกาะกร่าง หมากพลู ปูนแดง
ยาจืด มาแต่กรุงเทพ า แต่กอ่นใช้ปลาร้าพิมาย เดียวนี้ใช้ปลาร้ากรุงเก่า
๖. โรงเรือนมุงสังกสีมาก มีโรงแถวปลูกขึ้นใหม่มาก ทั้งในเมือง
แลนอกเมืองเกือบตลอดถึงสะเตชั่น มีโรงรับจ้างทำอิฐ ทำกระเบือ้ง
๗. ราคาที่ดินแรงขึ้น ที่ริมถนนทอ้งตลาดราคาถึงวาละ ๖ บาท ๗ บาท
๘. บา้นขา้งทางรถไฟ ลาดบัวขาว สีคิ้ว บ้านชอ่งก็มากขึ้น
แต่ไม่เหมือนที่บา้นสูงเนิน มีตลาดแลโรงแถวครึกครื้นขึ้นมาก
*ถ่ายถอดตามเอกสารต้นฉบับ
เรียบเรียงและรวบรวมโดย
นางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร
บรรณารักษ์ชำนาญการ
องค์ความรู้ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เรื่อง ภาพยนตร์เกี่ยวกับประวัติศาสต์ที่อิงบุคคลสำคัญของไทย ภาพยนตร์แนวประวัติศาสตร์ของไทย ได้สอดแทรกความรู้ วิสัยทัศน์ ทัศนคติ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ของบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ซึ่งภาพยนตร์มีส่วนช่วยให้ผู้รับชมเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น แม้ภาพยนตร์บางเรื่องได้มีการเติมแต่งเรื่องราวบางส่วนเข้าไป เพื่อให้เกิดความบันเทิง แต่ก็ยังคงข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ที่มีอยู่จริงและที่เคยเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังสะท้องถึงความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตที่มีความรักชาติรักแผ่นดินเกิด ผู้เขียนจึงขอแนะนำภาพยนตร์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่อิงบุคคลสำคัญของไทย สามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านทางภายนตร์ดังกล่าวได้ผู้รวบรวมและเรียบเรียง : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่แหล่งอ้างอิง :ไทยบันเทิง. ไทยบันเทิง ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/ไทยบันเทิง.บริษัท พระนครฟิล์ม จำกัด. บางระจัน 2. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.phranakornfilm.com/th/movie_page.php?id=16.ยูเรก้า. พ้นท้ายนรสิงห์ (2493). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=E5rRrgVcl2c, ๒๕๖๔.ยูเรก้า. หนังไทย ศึกบางระจัน (2509) สมบัติ เมทะนี, พิศมัย วิไลศักดิ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=eq_q4d5C69I, ๒๕๖๔.หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). ภาพยนตรานุกรมแห่งชาติที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๙๙. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (มหาชน), ๒๕๕๗.Bang Rajan - Blood Fight - Trailer. ตัวอย่างเต็ม ทองดีฟันขาว (Official Trailer). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=IzROLUfpSeI, ๒๕๕๗.Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์). พระเจ้าช้างเผือก 2484 (The King of the the White Elephant 1941). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=uiu7-X0Kh_U, ๒๕๖๓.goodjobfilm. ตัวอย่างภาพยนตร์ ขุนรองปลัดชู. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=e_Z6IOyW60I, ๒๕๕๔.Juufrie Sunshine. Trailer YAMADA Thai Final Version Full HD ( 10 21 2010 ).mp4. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=ULn-l5gl5II, ๒๕๕๓.Sahamongkolfilm International Co.,Ltd. ตัวอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช องค์ประกันหงสา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=tzY1HITdXKs, ๒๕๖๐.Sahamongkolfilm International Co.,Ltd. ตัวอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3 ยุทธนาวี (Official Tr.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=w5qzEboH9kc, ๒๕๕๔.Sahamongkolfilm International Co.,Ltd. ตัวอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา (Final Trailer-HD). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=XsqabGmSDVg, ๒๕๕๘.Sahamongkolfilm International Co.,Ltd. ตัวอย่าง พระนเรศวรฯ 4 ศึกนันทบุเรง (Official Tr.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=C4ATtBDAQcE, ๒๕๕๔.Sahamongkolfilm International Co.,Ltd. ตัวอย่างเต็ม ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 5 ยุทธหัตถี (Final Official Tr. [HD]). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=7bAr3tuTKd8, ๒๕๕๗.Sahamongkolfilm International Co.,Ltd. ตัวอย่างเต็ม ทองดีฟันขาว (Official Trailer). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=ZN4U-ohnWpU..., ๒๕๖๐.Sahamongkolfilm International Co.,Ltd. ตัวอย่างภาพยนตร์ พันท้ายนรสิงห์ (Official Trailer). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=_bAXXdJU9U4, ๒๕๕๘.Sahamongkolfilm International Co.,Ltd. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพ (ภาค 2) : ตัวอย่าง (Official Trailer). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?time_continue=2..., ๒๕๖๐.SF Cinema. 400 นักรบขุนรองปลัดชู - Official Trailer ตัวอย่าง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕, จาก:https://www.youtube.com/watch?v=MiwmEHzQvnI&t=2s, ๒๕๖๑.Thai Movie Posters. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.facebook.com/ThaiMoviePosters.
ชื่อเรื่อง สพ.ส.75 ไสยศาสตร์_คาถาเมตตามหาเสน่ห์ประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ 62; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ไสยศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538