๑๒๓ปีรถไฟสายแรกของประเทศไทย
๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เป็น “วันครบรอบ ๑๒๓ ปี” นับจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยือนนครราชสีมา ในคราวเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๔๓ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ มีระยะทางทั้งสิ้น ๒๖๕ กิโลเมตร ซึ่งการเสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองนครราชสีมาในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวตลอดรัชสมัยของพระองค์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะบำรุงพระราชอาณาจักรให้เจริญยิ่งขึ้น โดยการสร้างทางรถไฟให้เป็นความสะดวกในการเดินทาง จากระยะทางไกลให้เหมือนใกล้ ดังที่ปรากฎในพระราชดำรัสตอบเจ้ากรมรถไฟว่า
“ความเจริญรุ่งเรืองของประชุมชน ย่อมอาไศรยถนนหนทางไปมาหากัน เปนใหญ่เปนสำคัญ เมื่อมีหนทางคนจะไปมาได้ง่ายได้ไกล ได้เร็วขึ้นเพียงใดก็เป็นการขยายประชุมชนให้ไพศาลขึ้นเพียงนั้น บันดาการค้าขายอันเปนสมบัติของบ้านเมืองก็จะรุ่งเรืองวัฒนาขึ้น”
.
นับตั้งแต่เปิดให้บริการเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เป็นต้นมาส่งผลดีต่อการคมนาคมขนส่งสินค้าอย่างมาก เนื่องจากสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางจากเดิมที่ใช้เวลาเกือบ ๒ เดือน มาเป็นการเดินทางเพียง ๑๐ ชั่วโมง เท่านั้น (หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, ๒๕๔๒) ดัง รายงานการเสด็จตรวจราชการเมืองนครราชสีมา ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความตอนหนึ่งว่า “ได้เห็นความเจริญที่แปลกเปลี่ยน
ในเมืองนครราชสิมา ตั้งแต่เวลาที่มีรถไฟแล้วผิดกว่าแต่ก่อนก่อนนี้เพียงไรนั้น เกล้า าได้จดเปน
รายงานย่อถวายมาพร้อมกับจดหมายนี้”
๑. พ่อค้ามณฑล อิสาณ อุดร ไม่รับซื้อสินค้าจากพ่อค้าโคราชดังแต่กอ่น
ลงไปซื้อเสียเองที่กรุงเทพ า
๒. สินค้าลง เข้าเปลือก สุกร ยาง ส้ม มะขามปอ้ม สมอ นุ่น มะขามฝัก
(เพราะคนเมืองนี้ไม่กิน) มะเกลือ ส้ม ออ้ย เนื้อโค ไม้เสาเรือน ไม้ไถ
ไม้เคื่รองเกีวยน ไม้แดง ไม้ทอ่น ศิลา โค ม้า เปดไก
๓. สินค้าขึ้น ของกรุงเทพ า ขึ้นหมดทุกอย่าง มีน้ำแขงเปนที่สุด
๔. ปลายา่ง ปลากรอบ คนโคราชไปบรรทุกเกวียนมาคราวละกว่า
๕๐ - ๖๐ เล่ม มาแต่พระตะบองแล้วบรรทุกรถไฟลงไปขายกรุงเทพ า
๕. คนโคราชกินเกลือทะเล แต่คนบ้านนอกยังกินเกลือสินเทาว์ แต่กอ่น
ใช้ยาเพชบูรณ แลหนองคาย เดียวนี้ใช้ยาเกาะกร่าง หมากพลู ปูนแดง
ยาจืด มาแต่กรุงเทพ า แต่กอ่นใช้ปลาร้าพิมาย เดียวนี้ใช้ปลาร้ากรุงเก่า
๖. โรงเรือนมุงสังกสีมาก มีโรงแถวปลูกขึ้นใหม่มาก ทั้งในเมือง
แลนอกเมืองเกือบตลอดถึงสะเตชั่น มีโรงรับจ้างทำอิฐ ทำกระเบือ้ง
๗. ราคาที่ดินแรงขึ้น ที่ริมถนนทอ้งตลาดราคาถึงวาละ ๖ บาท ๗ บาท
๘. บา้นขา้งทางรถไฟ ลาดบัวขาว สีคิ้ว บ้านชอ่งก็มากขึ้น
แต่ไม่เหมือนที่บา้นสูงเนิน มีตลาดแลโรงแถวครึกครื้นขึ้นมาก
*ถ่ายถอดตามเอกสารต้นฉบับ
เรียบเรียงและรวบรวมโดย
นางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร
บรรณารักษ์ชำนาญการ

(จำนวนผู้เข้าชม 234 ครั้ง)

Messenger