เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
Les Etablissements Daydẻ Compagnie บริษัทก่อสร้างสัญชาติฝรั่งเศส กับงานก่อสร้างที่กลายเป็นประวัติศาสตร์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ ประเทศไทยได้ว่าจ้างบริษัท เลส์ เอตาบลิสมองต์ ไดเดย์ (Les Etablissements Daydẻ Compagnie) ประเทศฝรั่งเศสดำเนินการก่อสร้างสะพานพระราม ๖ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของประเทศ
ย้อนไปใน พ.ศ.๒๔๒๓ หลุยส์ เลอบรุน (Louis Lebrun) พร้อมด้วยอองรี ไดเดย์(Henri Daydẻ) และออกุสต์ ปิเล่ (Auguste Pillẻ) ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อเลอบรุน ปิเล่ เอต์ ไดเดย์ (Lebrun, Pillẻ et Daydẻ Compagnie) รับจ้างดำเนินการก่อสร้างเกี่ยวกับโครงสร้างเหล็ก - โลหะ และเครื่องกำเนิดไอน้ำในงานอุตสาหกรรม หลังจากนั้นใน พ.ศ.๒๔๒๕ จึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นไดเดย์ เอต์ ปิเล่ (Daydẻ et Pillẻ Compagnie)
และใน พ.ศ.๒๔๔๓ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ว่าจ้างบริษัทดำเนินการก่อสร้างกรองด์ ปาเลส์ (Grand Palais) ซึ่งมีโครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก งานโลหะและกระจก เพื่อใช้เป็นอาคารจัดนิทรรศการความก้าวหน้า ทางวิทยาการจากนานาชาติ ในบริเวณจัตุรัสชองป์ส เอลิเซ (Champs Ẻlysẻes) กรุงปารีส ซึ่งถือเป็นงานก่อสร้างที่มีความก้าวหน้าอย่างมากในขณะนั้น รวมทั้งยังเป็นบริษัทที่ทำการก่อสร้างสะพานด้วยโครงสร้างเหล็กหลายแห่งในฝรั่งเศส อัลจิเรีย รวมถึงสะพานสองเบียน (Long Bien) ประเทศเวียดนาม
เฉพาะสะพานสองเบียน ในประเทศเวียดนามนั้น เป็นสะพานสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๔๕ นับเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแดง หรือแม่น้ำห่ง (Hoan) เชื่อมเมืองฮานอย(Hanoi) กับเมืองท่าไฮฟอง(Haiphong) ยาว ๒.๔ กิโลเมตร: ถือเป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดในอินโตจีน ซึ่งในขณะนั้นฝรั่งเศสปกครองอินโดจีน โดยมีผู้สำเร็จราชการดูแล คือ โปล ดูแมร์(Paul Doumer)
ลักษณะสะพานดังกล่าวเป็นสะพานรถไฟมีถนนสำหรับยานพาหนะและผู้คนใช้สัญจร ภายหลังใน พ.ศ.๒๕๑๐ สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดทำลายสะพานแห่งนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุนในการซ่อมแซมสะพานโดยคงรูปแบบเดิมของสะพานแห่งนี้ ซึ่งรัฐบาลเวียดนามเห็นชอบในการบูรณะสะพานด้วยเหตุผล ว่า “สะพานนี้ถูกก่อสร้างเพื่อการใช้ประโยชน์จากประเทศเมืองขึ้นของฝรั่งเศส แต่ก็ช่วยขยายการคมนาคมให้แก่ คนเวียดนามและเราต้องอนุรักษ์ไว้ นับเป็นกิจการคมนาคมสำคัญที่ส่งผลดีต่อการขนส่งสินค้าเป็นกิจการทางประวัติศาสตร์ที่มีความหมายทางวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ในปี ค.ศ.๑๙๕๕ (พ.ศ. ๒๔๙๘) ทหารฝรั่งเศสถอนออกจากเวียดนามกลับประเทศต้องผ่านสะพานแห่งนี้เพื่อเดินทางไปยังท่าเรือ ไฮฟองลงเรือกลับประเทศ” ลักษณะสถาปัตยกรรมสะพานดังกล่าวยังปรากฏในงานก่อสร้างสะพานพระราม ๖ ในประเทศไทย เมื่อบริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเลส์ เอตาบลิสมองต์ ไดเดย์ (Les Etablissements Daydẻ Compagnie) (Daydẻ Compagnie) ใน พ.ศ..๒๔๔๖
ใน พ.ศ.๒๕๐๗ บริษัท เลส์ เอตาบลิสมองต์ ไดเดย์ (Les Etablissements Daydẻ Compagnie) (Daydẻ Compagnie) ได้รวมเข้าเป็นบริษัท ฟรองเซส์ ดองเทรอร์ปรีส์ (Compagnie Française d’Entreprises – CFEM) เป็นบริษัทที่ทำหน้าทีในการดูแลโครงสร้างโลหะของหอไอเฟล (Eiffel Tower) ประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน
(ซ้าย – ขวา) การก่อสร้างอาคารกรองด์ ปาเลส์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓
(ซ้าย) กรองด์ ปาเลส์ ในปัจจุบัน
(ขวา) โครงสร้างโลหะและกระจกส่วนหลังคากรองด์ ปาเลส์ ที่ขึ้นชื่อในความก้าวหน้าของงานก่อสร้างในฝรั่งเศส
(บน – ซ้าย) สะพานสองเบียน ประเทศเวียดนาม
(บน – ขวา) สะพานลองเบียนในอดีต
(ล่าง) ภาพลายเส้นแบบโครงสร้างสะพานลองเบียน ประเทศเวียดนาม
(ซ้าย) ป้ายชื่อบริษัท Daydẻ et Pillẻ ที่สะพานลองเบียน
(ขวา) ด้านข้างสะพานลองเบียนใช้เป็นเส้นทางสำหรับพาหนะสัญจร
สภาพความเสียหายสะพานลองเบียนเมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดทำลาย เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐
(ซ้าย) ป้ายโลหะที่หน้าทางขึ้นสะพานพระราม ๖ (ซึ่งทำขึ้นเมื่อมีการบูรณะสะพานในสมัยหลัง) ระบุชื่อบริษัท Les Etablissements Daydẻ แห่งประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้สร้างสะพาน
(ขวา) รายละเอียดข้อความชื่อบริษัท Les Etablissements Daydẻ แห่งประเทศฝรั่งเศส ที่ปรากฏบนแผ่นป้าย
-------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเมธินี จิระวัฒนา นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี
-------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
Ky Lan. สะพานลองเบียนจากข้อมูลของฝรั่งเศสที่ยังหลงเหลือ (เผยแพร่ทางสถานีวิทยุเวียดนาม – ส่วนกระจาย เสียงต่างประเทศแห่งชาติ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๗) สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔. https://fr.wikipedia.org/wiki/Daydẻ ) สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔. https://www,gracesguide.co.uki/Dayde_and_Pille สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔.
(จำนวนผู้เข้าชม 1139 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน