ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

สาระสังเขป  :  พระยาโบราณราชธานินทร์ ขณะดำรงตำแหน่ง เป็นอุปราชมณฑลกรุงเก่า ได้เรียบเรียงทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลกรุงเก่าและมณฑลนครสวรรค์ ดังประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 1521 ว่า "วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พุทธศักราช 2459" เวลาเช้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารคจากท่าวาสุกรี ประพาสมณฑลกรุงเก่าและมณฑลนครสวรรค์ผู้แต่ง  :  โบราณราชธานินทร์, พระยา (พร เดชะคุปต์)โรงพิมพ์  :  บุญส่งการพิมพ์ปีที่พิมพ์  :  2504ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.31บ.12490เลขหมู่  :  915.93              บ923รพ


ขอเชิญชม การแสดงรอบพิเศษ  “นาฏเจียระไน ส่งใจถึงเธอ”วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ – ๒๐.๐๐ น.ณ โรงละครแห่งชาติ ภาคเช้า (๐๙.๓๐ -๒๐.๐๐ น.)๑. การบรรเลงและขับร้องโดยวงดุริยางค์ไทยและวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ออกแบบและจัดการแสดงโดย ผอ. เอนก อาจมังกร และ ดร.ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ ๒. รำฉุยฉายพระลอคลอเพื่อนแพง ๓. ระบำกินรีร่อน ออกซัดชาตรี ๔. ระบำอัศวลีลาม้าลิเก ๕. ละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน “ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง – พาวันทองหนี” ภาคบ่าย (๑๔.๐๐-๑๖.๓๐ น.) ๑. ระบำพม่าลีลาหุ่น ๒. ละครพันทาง – เรื่องผู้ชนะสิบทิศ “ตอนแม่ทัพคนใหม่” ภาคบ่าย (๑๔.๐๐-๑๖.๓๐ น.) ๑. รำบวงสรวงองค์ปะตาระกาหลา ๒. ฟ้อนแพน ๓. ละครเรื่องอิเหนา (แต่งกายชวา)  “ตอนศึกกะหมังกุหนิง”   สถานที่จำหน่ายบัตร - โรงละครแห่งชาติ                          โทร.๐๒-๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐๘๙-๘๕๑-๙๔๖๔ - คุณเนาวลักษณ์ วัฒนพาณิชย์          โทร.๐๒-๕๒๖-๗๙๒๖ , ๐๘๙-๘๙๓-๒๐๘๙   บัตรราคา ๔,๐๐๐, ๓,๐๐๐, ๒,๐๐๐  และ ๑,๐๐๐  (ชั้นบน) - เปิดสำรองที่นั่ง และจำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ สัปดาห์ และ วันแสดง (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง) สนับสนุนการจัดการแสดงโดย     บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด “น้ำดื่มสะอาด น้ำดื่มตราสิงห์”


ชื่อเรื่อง           ทศบารมีพระเวสสันดร ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        ธรรมสภา ปีที่พิมพ์          ม.ป.ป. จำนวนหน้า      30   หน้า รายละเอียด           เป็นหนังสือในโครงการศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก เป็นโอวาทที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสมอบไว้ให้แก่ทุกคน เพื่อให้ช่วยกันส่งเสริม สนับสนุนและปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ยุวชน หนังสือในโครงการมีทั้งหมด 10 เล่ม เรียกว่า ทศบารมี ซึ่ง “ ทศบารมีพระเวสสันดร” เป็นหนึ่งในโครงการนี้  เป็นหนังสือที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรจึงได้บำเพ็ญทานบารมีขั้นสูงสุดคือ ทรงบริจาคทรัพย์สิ่งของให้เป็นทานและต่อมาทรงบริจาคช้างสำคัญคู่บารมีจนเป็นเหตุให้ถูกเนรเทศไปอยู่ป่า นอกจากนี้ยังให้คติเตือนใจว่า “การให้ทาน เป็นบารมีแด่ตนอย่างยิ่ง” พร้อมภาพประกอบ


          ประตูต้นไทร เป็นประตูเมืองด้านทิศเหนือของค่ายเนินวง ก่อสร้างในปีพุทธศักราช ๒๓๗๗ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เพื่อเป็นปราการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของค่ายเนินวงมีภูมิประเทศเป็นเนินดินสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ เหมาะแก่การตั้งทัพป้องกันข้าศึกศัตรู           ค่ายเนินวงเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองคูเมืองล้อมรอบ คูเมืองขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ กว้างประมาณ ๑๕ เมตร ดินที่ขุดคูเมืองนำมาถมเป็นกำแพงเมืองกว้างประมาณ ๒๕ เมตร สูงประมาณ ๕ เมตร บริเวณที่มีการเว้นช่องประตูจะมีการก่ออิฐเป็นกำแพงกันดิน โดยเว้นช่องประตูกว้างประมาณ ๓.๕๐ เมตร ไม่ปรากฏร่องรอยของบานประตู แต่มีเสาไม้จำนวน ๔ ต้น สูงประมาณ ๕ เมตร รองรับอาคารด้านบนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหอรบหรือหอสังเกตุการณ์ ประตูต้นไทรเป็นประตูเพียงแห่งเดียวจากประตูเมืองทั้งหมด ๘ ประตู ที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยอาคารด้านบน ด้านข้างของอาคารทั้งสองด้านมีแนวใบบังทำจากศิลาแลง ยาวประมาณ ๗-๑๐ เมตร สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร และเชิงเทินกว้างประมาณ ๘ เมตร ยาวต่อเนื่องไปตลอดระยะกำแพงเมือง           กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะประตูต้นไทร ก่อนดำเนินการได้ทำการตัดแต่งกิ่งต้นไทรที่ขึ้นปกคลุมอาคารด้านบน ทำให้พบฐานอาคารก่ออิฐที่มีลักษณะเป็นฐานบัวคว่ำ มีทางเข้าออกจากด้านกำแพงเมืองทั้งสองฝั่ง ฐานอาคารตั้งอยู่บนไม้ซุงผ่าครึ่งวางเรียงกัน มีเสาไม้ คานไม้และผนังกันดินก่ออิฐเป็นตัวรองรับน้ำหนักอาคาร ไม่พบส่วนของผนังอาคารและโครงสร้างหลังคา อย่างไรก็ตามพบชิ้นส่วนปูนฉาบผนังอาคาร ลวดบัวปูนปั้นเป็นวงโค้ง กระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ทำให้สันนิษฐานว่าอาคารด้านบนของประตูเป็นอาคารที่มีฐานทำจากอิฐ มีผนังฉาบปูน มีช่องหน้าต่างหรือช่องประตูเป็นวงโค้งและมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา ภาพที่ 1 ประตูต้นไทรก่อนการดำเนินงาน ภาพที่ 2 ฐานอาคารด้านบนประตู หลังการตัดแต่งกิ่งต้นไทร ภาพที่ 3 และ 4 ประตูต้นไทร หลังการขุดแต่งทางโบราณคดี ภาพที่ 5 ใบบัง หลังการขุดแต่งทางโบราณคดี ภาพที่ 6 ลวดบัวและปูนฉาบอาคาร ที่พบจากการขุดแต่งทางโบราณคดี ภาพที่ 7 และ 8 ประตูต้นไทร หลังการบูรณะ ภาพที่ 9 และ 10 อาคารด้านบนประตูต้นไทร หลังการบูรณะ ภาพที่ 11 และ 12 ใบบัง หลังการบูรณะ ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี



ชื่อผู้แต่ง        :  พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก,พระบาทสมเด็จพระชื่อเรื่อง         :   บทละคอนเรื่อง อุณรุทภาคต้นครั้งที่พิมพ์      :  -สถานที่พิมพ์    :  พระนครสำนักพิมพ์      :   โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๐๘จำนวนหน้า     :   ๓๑๖ หน้าหมายเหตุ        :  เจ้าภาพโปรดให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลตรี  หม่อมเจ้าฉัตรมงคล  โสณกุล ณ เมรุพลับพลาอิศริยาภรณ์  วัดเทพศิรินทราวาส ๑๒ ธันวาคม ๒๕๐๘                      เรื่องอนิรุทธ  ปรากฏว่ารู้จักกันดีมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และที่ขึ้นชื่อลือชาปรากฏเป็นวรรณคดีเรื่องสำคัญ  คือ “อนิรุทธคำฉันท์” ของศรีปราชญ์ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เนื้อเรื่องตลอดจนชื่อคน และสถานที่ในอนิรุทธคำฉันท์มักกล่าวถึง  ถูกต้อง ตรงกันกับที่ปรากฏในคัมภีร์วิษณุปุราณะ


  ชื่อผู้แต่ง          สายไหม  จบกลศึก                           ชื่อเรื่อง            เครื่องยศ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์       ประเสริฐการพิมพ์                   ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๘ จำนวนหน้า      ๔๓ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเอก นิยมาคม                        เครื่องยศเป็นหนังสือที่ว่าด้วยลักษณะและเครื่องหมายหรือเครื่องใช้ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการ เพื่อเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศตามตำแหน่งและความดีความชอบซึ่งประกอบด้วย พานหมาก ถาดหมาก สายประคำ เครื่องอาวุธ เครื่องสูง เครื่องพาหนะ เครื่องผ้าแพรพรรณและหมวกหรือมาล


ชบานอก สีสันหลากหลายให้เลือกได้ในทุกอารมณ์ ดวงแก้ว ศรีลักษณ์.สีสันหลากหลายให้เลือกได้ในทุกอารมณ์.ครัว.(9):100;ตุลาคม 2545.           ชบา ดอกไม้ที่เคยเป็นดอกไม้ธรรมดาเมื่ออดีต กลายเป็นดอกไม้แสนสวยที่ครั้งหนึ่ง เคยซื้อหาราคาแพง เพราะเพิ่งจะนําพันธุ์เข้ามาในประเทศไทยใหม่ ๆ เพื่อเอาใจตลาดนักเล่น ชบา ความที่ชบาเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้ครั้งละมาก ๆ จึงทําให้ราคาต้นชบานอกในปัจจุบันถูก ลงอย่างมาก จนคนธรรมดาสามัญอย่างเราก็ซื้อกันไหว


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


ชื่อเรื่อง : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ผู้แต่ง :  ตรี  อามาตยกุล   ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๙   สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพ ฯ   สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต   หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางริ้ว  ประกาศสุขการ                   เรื่องจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้รายละเอียดเกี่ยวกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำนานเมือง ประวัติวัดโลกยสุธา วัดบรมวงศ์อิศรวรารามและพิพิธภัณฑสถานเจ้าสามพระยา ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อ  พ.ศ ๒๕๐๔ เป็นต้น


"จารึก" บนฐานพระคเณศสำริด พบที่โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช           พระคเณศ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย คัมภีร์ปุราณะกล่าวถึงกำเนิดของพระคเณศว่าถือกำเนิดมาจากพระศิวะและพระนางปารวตี ชื่อ “พระคเณศ” หรือ “พระพิฆเนศวร์” แปลตามรูปศัพท์ว่า อุปสรรค ด้วยเหตุนี้พระคเณศจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งการขจัดอุปสรรคและสิ่งกีดขวางทั้งปวง เทพแห่งความสำเร็จ เทพแห่งความฉลาดรอบรู้ และยังเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาและการประพันธ์ด้วย           สำหรับคติการบูชาพระคเณศในภาคใต้ของไทย พบหลักฐานในชุมชนโบราณทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของคาบสมุทร ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ มาจนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ โดยบริเวณฝั่งตะวันออกพบหลักฐานในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา ส่วนฝั่งตะวันตกพบหลักฐานในบริเวณจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา          โบสถ์พราหมณ์ เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งในภาคใต้ที่พบคติการเคารพบูชาพระคเณศ โดยได้พบประติมากรรมรูปพระคเณศจำนวนทั้งสิ้น ๓ องค์ องค์หนึ่งที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้ คือ พระคเณศ ๔ กร สำริด ซึ่งมีจารึกปรากฏอยู่ที่ฐานทั้ง ๒ ด้าน สำหรับโบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าโบสถ์พราหมณ์สร้างขึ้นราวสมัยอยุธยา โดยมีฐานะเป็นเทวสถานประจำเมืองนครศรีธรรมราช ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญของพราหมณ์ ภายในเคยประดิษฐานรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ที่สำคัญหลายองค์ ได้แก่ พระศิวนาฏราชสำริด พระอุมาสำริด พระวิษณุสำริด พระหริหระสำริด หงส์สำริด และพระคเณศสำริด ภายหลังโบสถ์พราหมณ์มีสภาพชำรุดมาก ถูกรื้อลงในปี ๒๕๐๕ (ปัจจุบันโบสถ์พราหมณ์ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรแล้ว ในปี ๒๕๖๓) จึงมีการเคลื่อนย้ายรูปเคารพบางส่วนรวมถึง “พระคเณศสำริด” ไปเก็บไว้ในหอพระอิศวรอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะนำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๕๑๕ ปัจจุบันพระคเณศองค์นี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช           พระคเณศสำริด มีขนาดสูง ๔๖.๕ เซนติเมตร เป็นพระคเณศ ๔ กร ประทับยืนตรง (สมภังค์) บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้นซึ่งมีจารึกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง องค์พระคเณศสวมกรัณฑมกุฏ (คือ หมวกรูปชามคว่ำ เป็นหมวกที่เทพทั่วไปและกษัตริย์นิยมสวม) และเครื่องประดับต่าง ๆ งาข้างขวาหัก มีงาเดียว (จึงมีอีกนามว่า “เอกทันต์”) งวงตวัดไปทางด้านซ้าย สวมสายยัชโญปวีตพาดพระอังสาซ้าย ทรงผ้านุ่งแบบสมพรต (ถกเขมร) พระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือบ่วงบาศ พระหัตถ์ขวาบนทรงถือขอสับช้างหรืออังกุศ พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงถือขนมโมทกะ (คือ ขนมที่ปรุงจากข้าวและน้ำตาล เชื่อว่าขนมโมทกะเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาดรอบรู้) และพระหัตถ์ขวาล่างทรงถืองาข้างขวาที่หัก ทั้งนี้ พบว่าลักษณะการถือสัญลักษณ์ในพระหัตถ์ของพระคเณศองค์นี้คล้ายกับพระคเณศในอินเดียใต้เป็นอย่างมาก           บริเวณฐานชั้นล่างของพระคเณศสำริด ปรากฏจารึกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จารึกด้านหน้าเป็นอักษรทมิฬ ภาษาทมิฬ อ่านว่า มะ ชหา ปิ จิ เท ศะ (ma jhā pi ci de śa) แปลว่า ประเทศอันรุ่งเรืองแห่งมัชหาปิ (มัชปาหิต) ส่วนด้านหลังเป็นจารึก อักษรไทย ภาษาไทย อ่านว่า มหาวิคิเนกสุระ แปลว่า มหาพิฆเณศวร เกี่ยวกับการกำหนดอายุสมัยและการตีความจารึกบนฐานพระคเณศองค์นี้ อาจารย์อัญชนา จิตสุทธิญาณ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึก แห่งภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กำหนดอายุตัวอักษรทมิฬที่ปรากฏในจารึกว่ามีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ แม้ว่าจารึกภาษาทมิฬจะมีการกล่าวถึงราชวงศ์มัชปาหิต ซึ่งเป็นราชวงศ์หนึ่งของชวาที่รุ่งเรืองขึ้นในชวาตะวันออกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ แต่พระคเณศองค์นี้ไม่ได้แสดงให้เห็นอิทธิพลจากศิลปะชวาแต่อย่างใด หากแต่กลับแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะเขมรอย่างเด่นชัด จึงกำหนดอายุของพระคเณศองค์นี้ไว้ในสมัยอยุธยาตอนต้น เรียบเรียง/กราฟฟิค : นภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช อ้างอิง: กรมศิลปากร. จารึกที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักโบราณคดีที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๐. (อัดสำเนา) จิรัสสา คชาชีวะ. “คติความเชื่อและรูปแบบพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๗. นภัคมน ทองเฝือ. รายงานการขุดค้นโบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๙. ผาสุข อินทราวุธ. “พระคเณศ: ที่พบในภาคใต้” สารานุกรมวัฒนธรรม ภาคใต้ ๖ (๒๕๒๙): ๒๒๒๐ - ๒๒๓๐. ผาสุข อินทราวุธ. ศาสนาฮินดูและประติมานวิทยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ม.ป.ป. -------------------------- สามารถดูข้อมูลโบราณสถานโบสถ์พราหมณ์เพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง “โบสถ์พราหมณ์ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช” https://www.facebook.com/nakonsrifad14/posts/464313600834893/ และสามารถดูภาพพระคเณศสำริดองค์นี้ในแบบ ๓ มิติ ได้ที่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nakhonsithammarat/index.php/th/virtual-model-360/37-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%93%E0%B8%A8-2.html



เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วัชรหุงการมุทรา/วัชรหูงการมุทร(Vajrahuṅkāramudrā/Vajrahūkāramudrā)           มุทรา (mudrā) คือ การทำเครื่องหมายด้วยมือและนิ้วมือทั้งสิบนิ้ว หรือนิ้วใดนิ้วหนึ่ง ในลักษณะต่าง ๆ โดยแสดงด้วยมือข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ซึ่งสื่อความหมายตามบัญญัติ ใช้เป็นท่าทางการแสดงสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู มีบัญญัติไว้เป็นจำนวนมากหลายร้อยภาค มุทราแต่ละท่าจะแฝงนัยความหมายทางจิตวิญญาณที่แตกต่างกันไปตามประติมานวิทยา และการฝึกจิตที่พบในศาสนาแบบอินเดีย           วัชรหุงการ (Vajrahuṅkāra) หรือ วัชรหูงการ (Vajrahūkāra) เป็นท่ามือแห่งพยางค์ “หูม” (hūṁ) ในพุทธศาสนาลัทธิตันตระ แสดงโดยไขว้ข้อมือทั้งสองระหว่างอก มือขวาถือวัชระ (vajra) มือขวาถือกระดิ่ง (ฆัณฎา-ghaṇṭā) นานครั้ง ๆ จึงปรากฏว่าถือสัญลักษณ์อื่น มือทั้งสองหันเข้าด้านใน หากหันฝ่ามือออก เรียกว่า ไตรโลกยวิชัยมุทรา (trilokyavijayamudrā)            มุทรานี้เป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้ การหลุดพ้นจากกิเลส นอกจากนี้ยังกล่าวว่า หมายถึงการผสานรวมกันเข้าระหว่างปรัชญา (prajñā) และอุปาย (upāya) เป็นลักษณะของสมันตภัทร (Samantabhadra) สัมวระ (Samvara) ไตรโลกยวิชัย (Trailokyavijaya) วัชรธร (Vajradhara) วัชรหุงการ (Vajrahuṅkāra) และยิดัม (yi-dam) ภาพประกอบ 1. ลายเส้นแสดงวัชรหุงการมุทรา ภาพโดยนางกิริยา ชยะกุล สิทธิวัง นักวิชาการช่างศิลป์ กองโบราณคดี ภาพประกอบ 2. พระวัชรธร 4 กร 2กรหน้าแสดงวัชรหุงการมุทรา ศิลปะทิเบต พุทธศตวรรษที่ 20-21 ภาพจาก Asian Art Museum --------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาพลายเส้น: นางกิริยา ชยะกุล สิทธิวัง นักวิชาการช่างศิลป์ กองโบราณคดีอ้างอิงจาก 1. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976.



***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 16(7)      ฉบับที่ 672(266)    วันที่ 16-29 กุมภาพันธ์ 2535


Messenger