ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

           สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมโครงการเผยแพร่ความรู้ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ฯ ประจำปี 2567 รับฟังการบรรยาย เรื่อง “กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ กับมรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวัฒนธรรม” วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ในวันพฤหัสบดี ที่ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ อาคารดำรงราชานุภาพ 2490 ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live : National Library of Thailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08 6891 2548, 08 9545 3194


หนังสือเรียน ประวัติศาสตร์สยาม.  พระนคร : โรงพิมพ์ศรีหงส์, 2473.


ผู้แต่ง : ฝอยทอง สมวถา (สมบัติ)ปีที่พิมพ์ : 2546 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : นพบุรีการพิมพ์      เล่าขานตำนานเมืองแจ๋ม เรื่องราวจากการบอกเล่าและเรื่องเล่าในท้องถิ่น ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ แม่แจ๋มงดงาม เพราะยังคงความเป็นพื้นบ้านพื้นเมืองไว้ได้มากกว่าเมืองอื่นๆ จากวิถีชีวิตที่งดงาม มีมนต์ขลังรางเมืองลับแลอันลึกลับ และเร้าใจจากสองข้างทางที่ผ่านไปในเมือง แม่แจ๋มมีความดีงาม ความงามอยู่ในตัว ไม่อยากให้สูญเสียความดีงามนี้ไป จงรักษาไว้เถิด เป็นตัวของตัวเอง และถึงแม้จะเป็นเมืองหลังเขาแต่ทรงเสน่ห์เสมอ


กสารองค์ความรู้เกี่ยวกับพระเมรุ ในพิธียกเสาพระเมรุงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ บริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศใต้    การก่อสร้างพระเมรุและอาคารประกอบในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ                        สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี           คณะกรรมการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา  สิริโสภาพัณณวดี มอบหมายให้ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบออกแบบก่อสร้างพระเมรุและอาคารประกอบ กรมศิลปากรได้เชิญพลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย เป็นผู้ออกแบบ เป็นที่ปรึกษาและควบคุมการก่อสร้างพระเมรุและอาคารประกอบ ตลอดถึงการจัดสร้างพระโกศจันทน์ การบูรณะซ่อมแซมราชรถและพระยานมาศทุกองค์เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีครั้งนี้ ในการนี้ พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น ได้ศึกษาและร่างแบบพระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รูปแบบพระเมรุแล้ว พระราชทานกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ในวันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๕  กรมศิลปากรดำเนินการเขียนแบบ ขยายแบบพระเมรุและอาคารประกอบ ตามขั้นตอนงานช่างอย่างไทยเริ่มงานปรับพื้นที่บริเวณท้องสนามหลวงฝั่งทิศใต้และเตรียมการเบื้องต้นเพื่อการก่อสร้างอาคารประกอบพระเมรุหลังต่างๆ ที่ใช้ในงานพระราชพิธีดังกล่าวให้เสร็จสมบูรณ์อย่างสมพระเกียรติทันตามกำหนดการพระราชพิธี และในวันจันทร์ที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ (ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือนยี่) เวลา ๑๑.๕๙ น. คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ กำหนดให้มีพิธียกเสาพระเมรุ ทั้งนี้เพื่อเป็นการบวงสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายบริเวณสนามหลวง เพื่อทำการขออนุญาตปลูกสร้างพระเมรุ และเพื่อความเป็นสิริมงคลของงานการก่อสร้างพระเมรุ คณะกรรมการฯ คณะทำงานฯ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งปวง พระเมรุ คนไทยมีคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เปรียบเสมือนสมมติเทพ เมื่อเสด็จพระราชสมภพถือว่าเป็นเทพอวตาร เมื่อถึงวาระสุดท้ายของพระชนมชีพ คือการเสด็จกลับสู่เทวพิภพ เรียกว่า สวรรคต  มีความหมายว่า เสด็จสู่สวรรคาลัย ณ ยอดเขาพระสุเมรุ และตามโบราณราชประเพณีจึงมีการจัดงานถวาย พระเพลิงพระศพ สืบต่อมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน โดยอัญเชิญพระศพไปถวายพระเพลิงบนพระเมรุ    ที่สร้างขึ้น ณ มณฑลพิธี ซึ่งสมมติหมายว่าเป็นพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม          พระเมรุสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นอาคารทรงปราสาทยอดมณฑป หลังคาจัตุรมุขซ้อนสองชั้น สร้างขึ้นบนฐานชาลาใหญ่ จากฐานชาลาถึงยอดฉัตรสูง ๓๕.๕๙ เมตร มุขหน้าด้านทิศตะวันตกเป็นทางเสด็จพระราชดำเนิน มุขด้านทิศเหนือมีสะพานเกรินสำหรับอัญเชิญพระโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระจิตกาธานภายในพระเมรุ มุขหลังด้านทิศตะวันออกเป็นพื้นที่วางเตาเผาพระศพ บริเวณฐานชาลาทุกด้านมีบันไดทางขึ้นลง รายล้อมด้วยรั้วราชวัติ ฉัตร โคม และเทวดาอัญเชิญฉัตรประกอบพระอิสริยยศ     เครื่องยอดพระเมรุ เป็นทรงมณฑปมีชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น แต่ละชั้นมีซุ้มบันแถลงซ้อน ๒ ชั้น มุมหลังคา   มีนาคปัก ส่วนบนเป็นองค์ระฆังรับบัลลังก์ เหนือบัลลังก์เป็นชุดบัวคลุ่ม ๕ ชั้น ปลียอดแบ่งสองส่วนคั่นด้วยลูกแก้ว บนยอดมีเม็ดน้ำค้าง เหนือสุดปักเบญจปฎลเศวตฉัตร หน้าบันทั้ง ๔ ด้านประดับอักษรพระนาม “พร” โครงสีของพระเมรุโดยรวมเป็นสีทองและสีชมพู ตามสีวันพระราชสมภพ คือวันอังคาร          ภายในพระเมรุตั้งพระจิตกาธาน ประดิษฐานพระโกศไม้จันทน์ ส่วนบนสุดประดับฉัตรผ้า ๕ ชั้น          การตกแต่งพระเมรุ ใช้งานศิลปกรรมแบบซ้อนไม้ทดแทนการแกะสลักไม้จริง เป็นลักษณะพิเศษที่ใช้ในงานพระเมรุ อันถือเป็นงานลำลองสำหรับอาคารใช้งานชั่วคราว งานพระเมรุครั้งนี้ มีแนวคิดที่ลดการใช้ไม้    ซึ่งเป็นวัสดุหายาก จึงเสริมบางส่วนที่เป็นงานซ้อนไม้ด้วยวิธีการปั้นหล่อถอดพิมพ์ไฟเบอร์กลาส การประดับตกแต่งส่วนอื่นๆ ใช้การปิดผ้าทองย่นสาบสีสอดแววแทนการปิดทองประดับกระจก ซ่าง ซ่าง คืออาคารที่สร้างบนฐานชาลาพระเมรุทั้ง ๔ มุม เป็นที่สำหรับพระพิธีธรรม ๔ ชุดสลับกันสวดพระอภิธรรม ตั้งแต่เชิญพระโกศพระศพประดิษฐานบนพระจิตกาธานจนเสร็จการพระราชทานเพลิง หอเปลื้อง           หอเปลื้องเป็นอาคารขนาดเล็กชั้นเดียวหลังคาจั่ว ตกแต่งผนัง ๔ ด้าน เป็นฝาปะกนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระเมรุ เป็นที่เก็บพระโกศและเครื่องประกอบ หลังจากที่เปลื้องออกจากพระลองแล้ว และสำหรับเก็บเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดในช่วงการพระราชทานเพลิงพระศพ พระที่นั่งทรงธรรม           พระที่นั่งทรงธรรม ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระเมรุ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับขณะบำเพ็ญพระราชกุศล มีบริเวณสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ทูตานุทูต นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เฝ้าฯ รับเสด็จ    พระที่นั่งองค์นี้มีลักษณะเป็นอาคารโถง หลังคาจัตุรมุข ยกพื้นสูง หลังคาจั่วมีกันสาดปีกนก ด้านหน้าและด้านข้างต่อเป็นหลังคาปะรำ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการใช้สอย มุขด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกหรือมุขหน้าและหลัง เป็นมุขประเจิด           การที่สถาปนิกออกแบบให้พระนั่งทรงธรรมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่พระเมรุ เนื่องจากพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพจะเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายไปจนถึงค่ำ ร่มเงาของพระที่นั่งทรงธรรม จะทอดสู่ลานและบันไดทางเสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระเมรุ อีกทั้งผู้ที่อยู่บนพระที่นั่งทรงธรรม จะแลเห็น   แสงเงาและสีสันอันงดงามของพระเมรุที่สะท้อนแสงอาทิตย์ในช่วงบ่ายถึงเย็น  พลับพลายกสนามหลวง           พลับพลายกสนามหลวง ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าปริมณฑลท้องสนามหลวงเป็นอาคารโถง สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ประทับขณะประกอบพิธีอัญเชิญพระโกศจากพระเวชยันตราชรถเข้าสู่มณฑลพิธี ผังอาคารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นที่ส่วนกลางยกฐานสูง หลังคาจั่วตรีมุข มีมุขลดชั้น มุงด้วยเหล็กรีดลอน ปีกซ้ายขวาเป็นหลังคาเต็นท์ผ้าใบกันน้ำสำเร็จรูปทรงจั่ว  แบบเดียวกับทิมและทับเกษตร ศาลาลูกขุน          ศาลาลูกขุนหรือศาลาข้าราชการ ใช้เป็นที่สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าฯรับเสด็จและร่วมพิธี เป็นอาคารโล่งชั้นเดียว ในครั้งนี้มีการปรับประยุกต์ใช้เต็นท์สำเร็จรูปเป็นโครงอาคาร และได้ออกแบบองค์ประกอบและลวดลายทางสถาปัตยกรรมไทย ตกแต่งให้เข้ากับหลังคาเต็นท์โค้ง ทับเกษตร           ทับเกษตรหรือคด หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงขอบเขตมณฑลพิธี มักสร้างเป็นระเบียงล้อมรอบพระเมรุ ใช้เป็นที่นั่งของเจ้าหน้าที่ผู้มาร่วมงาน ส่วนกลางทับเกษตรเป็นอาคารยอดมณฑป ชั้นเชิงกลอนประดับด้วยซุ้มบันแถลงและนาคปักที่มุมทั้งสี่ บนหลังคาอาคารส่วนที่เป็นปีกทั้งสองด้านประดับฉัตรผ้าทองแผ่ลวด ทิม           ทิม คือที่พักของพระสงฆ์ แพทย์หลวง และเจ้าพนักงาน และเป็นที่ประโคมปี่พาทย์ประกอบพิธีสร้างติดแนวรั้วราชวัติ มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาใช้เต็นท์ผ้าใบกันน้ำทรงจั่ว ตกแต่งปลายจั่วเป็นหน้าเหรา ยอดเป็นหน้ากาล ซึ่งเป็นแบบลายมาตรฐานในอาคารประกอบพระเมรุ คือพลับพลายกท้องสนามหลวง พลับพลายกหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และทับเกษตร อีกด้วย  รั้วราชวัติและเสาโคม รั้วราชวัติเป็นแนวกำหนดขอบเขตปริมณฑลพระเมรุ  สร้างต่อเนื่องไปกับทิมและทับเกษตร รั้วเป็นเหล็กโปร่ง สูง ๙๐ เซนติเมตร ประดับดอกประจำยามหล่อด้วยไฟเบอร์กลาส ตกแต่งเสารั้วด้วยโคมไฟแก้วใสขนาดเล็ก เสาโคมส่องสว่าง ตั้งอยู่ที่ทางเข้าทั้งสี่ด้าน และเรียงรายอยู่ใน เขตมณฑลพิธี ยอดเสาเป็นโคมแก้วใสลักษณะเดียวกับที่รั้วราชวัติ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ยอดโคมเป็นยอดมงกุฎสีทอง เพื่อแทนความหมายของการเป็นดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พลับพลายก หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม             พลับพลายก หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตั้งอยู่มุมกำแพงวัด เยื้องกรมการรักษาดินแดน เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ขณะเชิญพระโกศจากพระยานมาศขึ้นสู่ราชรถ เป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นที่ส่วนกลางยกฐานสูง หลังคาจัตุรมุข มีมุขลดชั้น มุงด้วยเหล็กรีดลอน ปีกซ้ายขวาเป็นหลังคาเต็นท์ผ้าใบกันน้ำสำเร็จรูปทรงจั่ว พลับพลายกหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท           พลับพลายกหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ขณะทอดพระเนตรกระบวนแห่พระโกศ มีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาทรงปะรำ (หลังคาเรียบ) ประดับตกแต่งด้วยกระจังลายดอกไม้ประดิษฐ์ ลูกฟักผนังอาคารเป็นลายโค้ง มีความนุ่มนวลเหมาะกับการเป็นอาคารที่ประทับของเจ้านายผู้หญิง เกยลา           เกยลา ตั้งอยู่ด้านนอกประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง มีลักษณะเป็นแท่นฐานยกพื้นสี่เหลี่ยมย่อมุม มีรางเลื่อนสำหรับเชิญพระโกศขึ้นประดิษฐานบนพระยานมาศ



ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากร ชื่อเรื่อง เล่มที่ ตอนที่ หน้า วันที่ประกาศ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 107 ๑๖ ง 789 ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 107 ๑๖ ง 790 ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร] 107 ๑๖ ง 791 ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานวัดกันมาตุยาราม] 107 ๑๖ ง 792 ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โบราณสถานศาลากลางและศาลจังหวัดสิงห์บุรี] 107 ๑๖ ง 793 ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 107 ๒๗ ง ฉบับพิเศษ 41 ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 107 ๔๒ ง 2139 ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 107 ๔๙ ง 2363 ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน [โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร] 107 ๗๐ ง 3285 ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 107 ๑๑๓ ง 5064 ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 107 ๑๑๓ ง 5065 ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 107 ๑๑๓ ง 5066 ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 107 ๑๑๓ ง 5067 ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 107 ๑๒๗ ง 5834 ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 107 ๑๒๗ ง 5835 ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนทะเบียนโบราณสถาน 107 ๑๗๖ ง 7635 ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 107 ๑๙๒ ง ฉบับพิเศษ 1 ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกระทำการแทน 107 ๒๓๙ ง ฉบับพิเศษ 22 ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ (รวม ๔๓๘ รายการ) 108 ๗๐ ง ฉบับพิเศษ 1 ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (วัดบ้านตาทอง (ร้าง) ตำบลบางคลาน อำเภอ โพทะเล, วัดโคกโบสถ์ตาลอย (ร้าง ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล, วัดโคกมะเดื่อ (ร้าง) ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล เขตท้องที่จังหวัดพิจิตร) 108 ๙๖ ง 5096 ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมความในประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 108 ๑๑๓ ง 6079 ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ [รวม ๑๘๔ รายการ] 108 ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ 1 ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ (พระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่อง) 108 ๒๓๕ ง ฉบับพิเศษ 1 ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ (เทวรูป ชนิดหิน ศิลปะแบบเขมร (นครวัดตอนปลาย)) 108 ๒๓๕ ง ฉบับพิเศษ 2 ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน [๑ โบราณสถานวัดท่าแค ๒ โบราณสถานบริเวณที่ดินวังเจ้าเมืองเก่าวังใหม่ ๓ โบราณสถานที่ฝังศพวิลันดา (ฮอลันดา)] 109 ๙๐ ง 7812 ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน [โบราณสถานหมายเลข ๐๐๗, ๐๒๔ หมายเลข ๒๓ (๑๓๑) หมายเลข ๑๐๙ บ้านโคกวัด หมายเลข ๐๔๕ บ้านสระมะเขือ จังหวัดปราจีนบุรี ] 109 ๙๓ ง 8056 ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดขอบเขตโบราณสถาน [พระนครคีรี] 109 ๙๔ ง 8160 ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน [วัดโคกโบสถ์หลวงพ่อโต วัดท่าทังทวย] 109 ๙๘ ง 8376 ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน 109 ๑๐๙ ง 9452 ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้เข้าชมโบราณสถานที่มีเจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเรียกเก็บค่าเข้าชมหรือค่าบริการอื่น 109 ๑๑๙ ง 10182 ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแสดงโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ โดยเรียกเก็บค่าเข้าชมหรือค่าบริการอื่น 109 ๑๑๙ ง 10184 ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งปริมาณ รูปพรรณ และสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป 109 ๑๑๙ ง 10187 ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน 109 ๑๑๙ ง 10190 ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 109 ๑๔๗ ง ฉบับพิเศษ 1 ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนและแก้ไขขอบเขตโบราณสถาน 110 ๑๔ ง 24 ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 110 ๑๗๔ ง 26 ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมและวิธีการยื่นคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในเขตโบราณสถาน 110 ๑๘๓ ง 5 ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 110 ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ 10 ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขขอบเขตที่ดินโบราณสถาน 110 ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ 11 ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 110 ๑๙๔ ง ฉบับพิเศษ 1 ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 110 ๒๑๗ ง ฉบับพิเศษ 67 ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 110 ๒๒๐ ง ฉบับพิเศษ 15 ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 110 ๒๒๐ ง ฉบับพิเศษ 18 ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 110 ๒๒๐ ง ฉบับพิเศษ 19 ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (๑. โบราณสถานเขาภูปลาร้า (เขาปลาร้า) ๒. โบราณสถานวัดเขาหน่อ ๓. โบราณสถานพระตำหนักเขาน้อย ๔. โบราณสถานคูและกำแพงเมืองร้อยเอ็ด) 111 ๒๐ ง 21 ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 111 ๕๒ ง 48 ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๗ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [ปราสาทบ้านหลุ่งตะเคียน จังหวัดนครราชสีมา] 111 พิเศษ ๕๖ ง 23 ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ [โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ที่มิได้อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร จำนวน ๒๘๒ รายการ] 111 ๖๓ ง 1 ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 111 ๗๑ ง 15 ๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [พระตำหนักเจ้าปลูก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา] 111 ๘๑ ง 11 ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา] 111 ๘๕ ง 52 ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดอุบลราชธานี] 111 ๘๕ ง 53 ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗


นอกจากที่เที่ยวดังๆ ของเมืองกาญจน์อย่าง สะพานข้ามแม่น้ำแคว กาญจนบุรี อนุสรณ์สงครามมหาเอเชียบูรพา หรือ น้ำตกเอราวัณ แล้ว ที่กาญจนบุรียังมีศิลปะยุคโบราณอย่างปราสาทหินอีกด้วยค่ะ ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่าจะมีที่นี่ โดยปกติแล้ว เรามักเห็นศิลปะ หรือ สถาปัตยกรรมแบบขอมในแถบจังหวัดทางภาคอีสานของบ้านเราเป็นส่วนใหญ่ แต่น้อยนักที่จะเห็นสถาปัตยกรรมขอมในแถบทางภาคตะวันตก ซึ่ง อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ หรือ ปราสาทเมืองสิงห์ แห่งนี้ก็เป็นโบราณสถานเพียงแห่งเดียวที่เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบขอม ที่ตั้งอยู่ในเมืองกาญจนบุรี ค่ะ รู้จักปราสาทเมืองสิงห์ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ นี้ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยใน ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ค่ะ ปราสาทเมืองสิงห์ นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน ซึ่งมีสถาปัตยกรรม และปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือ พระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชาอีกด้วย จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จารึกชื่อเมือง 23 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง นอกจากนี้ยังมีอีกแนวความคิดเกี่ยวกับที่มาของปราสาทเมืองสิงห์ที่เชื่อว่า น่าจะเป็นการก่อสร้างเลียนแบบปราสาทขอม สมัยหลังรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และไม่น่าจะเกี่ยวข้องอันใดกับชื่อเมืองศรีชัยสิงห์บุรี หรือศรีชัยสิงห์บุรี ในจารึก เนื่องจากเห็นว่า ลักษณะทางสถาปัตยกรรมขาดความสมดุล และความลงตัว อีกทั้งเกิดความคลาดเคลื่อนในการวางตำแหน่งอาคาร ตลอดจนจารึกที่ฐานหินทรายรองรับประติมากรรมเป็นตัวอักษรและภาษาขอมสมัยหลังเมืองพระนคร หรือหลังจากรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ค่ะ เดินชิลล์เที่ยวชมสถาปัตยกรรม เมื่อเราเข้ามาภายในบริเวณปราสาทเมืองสิงห์จะมีป้าย QR Code หลากหลายภาษาทั้ง ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน อำนวยความสะดวก แนะนำประวัติศาสตร์ และสถานที่สำคัญต่างๆ ของปราสาทเมืองสิงห์ให้กับนักท่องเที่ยวค่ะ โบราณสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์นั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็น โบราณสถานหมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถานค่ะ และประกอบด้วยสิงห์สำคัญคือ ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลา และกำแพงแก้ว โบราณสถานหมายเลข 2 ลักษณะคล้ายคลึงกันกับโบราณสถานหมายเลข 1 ค่ะ มีปรางค์ประธาน โคปุระ 4 ด้าน แต่พังลงมามากบูรณะได้น้อย และเป็นสถานที่ขุดพบเทวรูป โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและเป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญนั่นเอง โบราณสถานหมายเลข 3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้ว มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ซึ่งกรมศิลปากรสันนิษฐานว่า เป็นเจดี 2 องค์ โบราณสถานหมายเลข 4 ตั้งอยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ หลุมขุดค้นทางโบราณคดี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งขุดค้นพบทั้งโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ ภาชนะสำริด ดินเผา เครื่องมือเหล็ก สร้อยคอทำด้วยลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ซึ่งชี้ชัดว่าชุมชนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะสร้างเมืองสิงห์ เพราะเป็นศพของคนที่ตายมา 2,000 ปีแล้ว สันนิษฐานว่าคงจะยุคเดียวกับคนในชุมชนบ้านเก่าค่ะ นอกจากนี้ภายในอาคารจัดแสดงวัตถุ ได้มีการจัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ขุดค้นพบในบริเวณปราสาทเมืองสิงห์อีกมากมายค่ะ ทั้งศีรษะพระศิวะ แม่พิมพ์พระพุทธรูป ภาชนะดินเผา และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งเป็นรูปจำลอง เพราะกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครค่ะ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ตั้งอยู่ที่ ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 เส้นทางสายกาญจนบุรี – ไทรโยค จนถึงกิโลเมตรที่ 15 จะมีทางแยกซ้ายไปปราสาทเมืองสิงห์อีก 7 กิโลเมตร


วันศุกร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๒เวลา ๐๙.๓๐ น.คณะครูและนักเรียนโรงเรียนพัฒนาเด็กอ.เมือง จ.ขอนแก่นจำนวน ๓๕ คนเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นโดยมีนางแพรว ธนภัทรพรชัย และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ๓ คน คือ นางสาวรมินทร์กร พูนนาม นายสัมฤทธิ์ ภูดวง และนายวัชรวิทย์ ปัญญะพงษ์ เป็นวิทยากรนำชม


วันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๕๘ สำนักช่างสิบหมู่ได้มีโอกาสบันทึกเทปโทรทัศน์ในรายการ "Natcha The Explorer" พร้อมทำภารกิจกับน้องณัชชา โดยมีนายช่างของเรา เป็นผู้ให้คำแนะนำ ภารกิจในครั้งนี้คืออะไร? และน้องณัชชาจะผ่านไปได้หรือไม่ รอติดตามชมได้ในรายการ "Natcha The Explorer"


วันที่ ๑-๓ เมษายน ๒๕๖๒ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ร่วมจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย ณ ลานอนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารี






หนังสือ เรื่องราวของคณะสังฆราชฝรั่งเศสในราชอาณาจักรสยามผู้ประพันธ์ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ภาค1. ภาคจากเรื่องราวราชอาณาจักรสยาม2. จากอาณาจักรโคจิจีน3. จากอาณาจักรเขมร4. จากอาณาจักรตังเกี๋ย


Messenger