เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เสี่ยหนา เครื่องใช้ที่สำคัญของชาวจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต
“เสี่ยหนา” เสี่ยหนา คือ ปิ่นโตหรือตะกร้าซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวจีน คำว่า “เสี่ยหนา” เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า “มงคล” เสี่ยหนาจึงเป็นของใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ อาทิ งานแต่งงาน เสี่ยหนาของชาวจีนฮกเกี้ยนมีเอกลักษณ์ คือ ทำจากไม้ไผ่สานลงรักสีดำ แดง และปิดทอง รูปทรงของเสี่ยหนามี ๒ รูปทรง คือ ทรงกระบอกส่วนฐานและฝาแบนเรียบ และทรงรีส่วนฐานและฝาโค้ง บนตัวของเสี่ยหนาจะมีการตกแต่งด้วยลวดลายต่างๆ อาทิ เทพจีน สัตว์ ดอกไม้ และต้นไม้ เป็นต้น ขนาดของเสี่ยหนามีหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนชั้นพบมี ๑ ชั้น ๓ ชั้น และ ๗ ชั้น สำหรับเสี่ยหนาซึ่งเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นปิ่นโต ๓ ชั้น พร้อมฝาสานด้วยไม้ไผ่ ชั้นบนสุดเป็นลายโปร่งมีลายสีทองรูปดอกไม้และนก ที่ด้ามจับมีห่วงโลหะไว้สำหรับใส่คาน
“เสี่ยหนา” เป็นของใช้ที่สำคัญในพิธีแต่งงานของชาวจีนฮกเกี้ยน โดยถูกใช้ในขั้นตอนการหมั้นซึ่งญาติฝ่ายเจ้าบ่าวจะนำของหมั้น อาทิ แหวน และขนมมงคลต่างๆ ใส่ลงในเสี่ยหนาและมอบให้ญาติฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งในจังหวัดภูเก็ตนั้นมีชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ชาวจีนเหล่านี้ได้เข้ามาแต่งงานกับคนพื้นเมืองและได้นำ “เสี่ยหนา” เข้ามาใช้ในพิธีหมั้นด้วย ในปัจจุบันชาวภูเก็ตได้ประยุกต์การงานเสี่ยหนา โดยนำเสี่ยหนาที่มีขนาดเล็กมาใช้แทนกระเป๋าถือเมื่อสวมใส่ชุดพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า “ชุดยาย๋า” “เสี่ยหนา” ถือเป็นเครื่องใช้ที่สำคัญของชาวจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต จึงถือเป็นศิลปวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีของชาวจีนในภูเก็ตได้เป็นอย่างดี
----------------------------------------------------
จัดทำข้อมูลโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
- ฤดี ภูมิภูถาวร. วิวาห์บาบ๋า. ภูเก็ต : บริษัท เวิลด์ออฟเซ็ทพริ้นติ้ง จำกัด, ๒๕๕๓.
(จำนวนผู้เข้าชม 855 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน