ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ


ชื่อเรื่อง                           เจตนาเภทา (พระเจตตนาเภทาอฏฐกถาฎ๊กา)สพ.บ.                                  172/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           58 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 57.3 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี  


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทสนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ.                                  125/7กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระอภิธรรม  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม  เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข  ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


     แผ่นดินเผารูปนรสิงห์      พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี      แผ่นดินเผาทรงสี่เหลี่ยม มีเสาทรงกลมเป็นกรอบทั้งสองข้าง ตรงกลางมีรูปบุคคลมีศีรษะเป็นสิงห์ หรือ รูปนรสิงห์ มีแผงคอ ตาโปน จมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟัน ส่วนลำตัวเป็นรูปบุคคลอยู่ในท่านั่งชันเข่าบนฐานสี่เหลี่ยม แยกขา มือทั้งสองข้างยกขึ้นระดับศีรษะในลักษณะแบก ไหล่กว้าง เอวคอดเล็ก มีกล้ามเนื้อ ด้านหลังแผ่นดินเผาแบนเรียบ เนื้อดินมีรอยแกลบข้าว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐในวัฒนธรรมทวารวดี จากรูปแบบศิลปกรรมที่มีลักษณะแบบท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งคลี่คลายจากรูปแบบที่พบในศิลปะอินเดีย จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)       ประติมากรรมรูปนรสิงห์นี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเนื่องในคติเรื่องผู้พิทักษ์และผู้ค้ำจุนศาสนา  เช่นเดียวกับประติมากรรมคนแคระแบก ซึ่งพบทั่วไปในเมืองโบราณภายใต้วัฒนธรรมทวารวดี ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียเช่นเดียวกัน มักทำเป็นรูปบุคคลนั่งชันเข่า แยกขา แสดงท่าแบกโดยมีทั้งแบบที่ยกมือทั้งสองข้างขึ้นแบก และวางมือบนเข่าและใช้ไหล่แบกรับน้ำหนัก ส่วนมากมีศีรษะเป็นคน โดยพบที่มีศีรษะเป็นสัตว์ เช่น สิงห์ ลิง โค ไม่มากนัก นอกจากประติมากรรมลักษณะนี้จะใช้ประดับส่วนฐานของศาสนสถานแล้ว ยังพบว่าช่างทวารวดีใช้ประดับส่วนฐานของธรรมจักร อีกด้วย ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ สร้างขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ขึ้นรูปแล้วนำไปเผา เนื่องจากสามารถผลิตประติมากรรมรูปแบบเดียวกันได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เพื่อใช้ประดับโดยรอบฐานของศาสนสถาน      นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทองแล้ว ยังพบประติมากรรมนรสิงห์ในท่าแบกที่เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีแห่งอื่น เช่น ปูนปั้นรูปนรสิงห์จากเจดีย์จุลประโทน และรูปนรสิงห์ประดับฐานธรรมจักร พบที่เมืองนครปฐมโบราณ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์  ทั้งนี้รูปนรสิงห์ซึ่งพบที่เมืองนครปฐมโบราณ มีความแตกต่างจากรูปนรสิงห์ซึ่งพบที่เมืองโบราณอู่ทอง เนื่องจากรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียเริ่มคลี่คลาย และช่างทวารวดีแต่ละกลุ่ม ได้สร้างประติมากรรมจากความคิดสร้างสรรค์ จนมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน   เอกสารอ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. วรพงศ์  อภินันทเวช. “ประติมากรรมคนแคระในวัฒนธรรมทวารวดี: รูปแบบและความหมาย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕.


เลขทะเบียน : นพ.บ.74/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  62 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : จตุปาริสุทธิสีลกถา (พระจตุปาริสุทธิศีล) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.135/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  34 หน้า ; 4.2 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 81 (322-325) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : บาลีการก (ศัพท์การก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ชื่อเรื่อง               บทละครเรื่องพระลอ ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์         กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์           บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด ปีที่พิมพ์                2517 จำนวนหน้า           97 หน้า หมายเหตุ                พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงประพันธ์เป็นบทละคร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรมพระนราธิประพันธ์พงศ์ ซึ่งขณะนั้นทรงจัดตั้งคณะละครชื่อคณะละครนฤมิตรและทรงให้หม่อมหลวงตวนศรี วรวรรณ ภรรยาทรงแต่งทำนองเพลง




    ชามฝาลายน้ำทองเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร      บนฝามีตัวหนังสือเขียนว่า “พระอไภย ” และที่ก้นชามมีตัวหนังสือเขียนว่า “อยางจินพุก” ชามฝาชุดนี้นำเข้าโดยพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก โชติกะพุกกณะ) ราวปลายรัชกาลที่ 4       อยางจินพุก เป็นชื่อทางการของห้าง Jin Tang Fu Ji หรือ กิม ตึ๋ง ฮก กี่ ของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) ผู้สั่งเครื่องถ้วยชุดพิเศษนี้เข้ามาในสยาม อันแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงให้พ่อค้าชาวจีนสามารถเป็นตัวแทนนำเข้าและจำหน่ายเครื่องถ้วยตามห้างต่างๆ ในกรุงเทพฯ     ชามฝานี้เดิมเป็นสมบัติของพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบูรฉัตร หม่อมงามจิตต์ บูรฉัตร มอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2527 ปัจจุบันจัดแสดงใน ห้องเครื่องถ้วยในราชสำนัก พระที่นั่งวสันตพิมาน (ล่าง) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


          ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ประทับและตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยสาเหตุนี้ต้นโพธิ์จึงเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล           ในทางพุทธศาสนา คำว่า “ต้นโพธิ์” มิได้หมายถึงชื่อพันธุ์ไม้ทั่วไป แต่เป็นชื่อเรียกเฉพาะต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มเงาขณะตรัสรู้ คำว่า “โพธิ” หมายถึงการตรัสรู้ ดังนั้น พระอดีตพุทธเจ้า พระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) และพระอนาคตพุทธเจ้า ต่างทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ทั้งสิ้น แต่เป็นต้นโพธิ์ที่ต่างสายพันธุ์กันออกไป เช่น พระศรีอาริยเมตไตรย พระอนาคตพุทธเจ้า จะตรัสรู้ใต้ต้นกากะทิง พระสมณโคดมหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ หรือโพใบ ซึ่งเป็นไม้ในสกุล Ficus religiosa L. วงศ์ MORACEAE มีใบคล้ายรูปหัวใจ ดังนั้นพันธุ์ไม้ชนิดนี้ปัจจุบันจึงนิยมเรียกกันว่า “ต้นโพธิ์”          ทั้งนี้ความเชื่อเรื่องการบูชาต้นโพธิ์ในประเทศไทย น่าจะเข้ามาพร้อมกับการนับถือพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่าในสมัยทวารวดีคงมีการนับถือ และเคารพบูชาต้นโพธิ์ด้วยเช่นกัน โดยปรากฏหลักฐาน ได้แก่ ชิ้นส่วนประติมากรรมดินเผารูปต้นโพธิ์ ตั้งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย พบจากเมืองโบราณอู่ทอง และชิ้นส่วนประติมากรรมรูปต้นโพธิ์ดินเผา พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่น่าเสียดายที่ไม่พบหลักฐานว่าประติมากรรมรูปต้นโพธิ์ที่พบจากเมืองโบราณอู่ทองนั้น เคยประกอบร่วมกับชุดสิ่งสักการบูชาอื่นหรือไม่ ทั้งนี้ต้นโพธิ์ดินเผานี้อาจสร้างขึ้นเพื่อประกอบรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูป หรือภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ก็เป็นได้ อนึ่งการทำต้นโพธิ์เป็นรูปเคารพ มีมาแล้วตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ก่อนการทำพระพุทธรูป โดยสัญลักษณ์รูปต้นโพธิ์หมายถึงการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. การนับถือบูชาต้นไม้ใหญ่และต้นโพธิ์ในสมัยทวารวดี, ดำรงวิชาการ : รวมบทความทางวิชาการคณะโบราณคดีปี ๒๕๔๗. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗. สมบัติ พลายน้อย. พฤกษนิยาย. พระนคร : แพร่พิทยา, ๒๕๑๒. https://plantgeneticssite.wordpress.com/2017/11/19/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-ficus-religiosa-l/




          แผ่นดินเผาประติมากรรมนูนต่ำ ทำเป็นรูปบุคคล (บุรุษ) ยืนเอียงสะโพก ขาซ้ายเหยียดตรง ขาขวางอ ปลายเท้าแยกออกทางด้านข้าง แขนขวายกงอขึ้นจีบเป็นวงชิดใบหู และแขนซ้ายเหยียดโค้งพาดกลางลำตัวมือจีบเป็นวงชี้ลงเบื้องล่าง ซึ่งท่าทางดังกล่าวคล้ายกับท่ารำ ที่เรียกว่า “กริหัสตะกะ” (ท่างวงช้าง) หรือ “ลลิตะ” (ท่าเยื้องกราย)           ภาพบุคคลดินเผาชิ้นนี้ ประดับตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับหลายชิ้น ศีรษะสวมศิราภรณ์ (เครื่องประดับศีรษะ) เป็นกระบังหน้าที่ประกอบด้วยตาบสามเหลี่ยมคล้ายใบไม้ ๓ ตาบ มีร่องรอยตาบสามเหลี่ยมซ้อนอยู่อีกหนึ่งชั้นด้านหลัง บริเวณต้นแขนทั้งสองข้างสวมพาหุรัดรูปตาบสามเหลี่ยมคล้ายกับที่ศิราภรณ์ นอกจากนี้ยังสวมตุ้มหูและสร้อยคอ ที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องประดับที่พบได้ทั่วไปในประติมากรรมที่พบจากเมืองโบราณสมัยทวารดี นุ่งผ้าโจงกระเบนสั้นเหนือเข่า ที่ด้านหน้ามีชายผ้ารูปหางปลา ๒ ชั้น           การประดับตาบสามเหลี่ยมเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะปาละของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) และส่งอิทธิพลให้กับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ร่วมสมัยกันอย่างกว้างขวาง เช่น พุกาม ชวา และจาม เป็นต้น ภาพบุคคลฟ้อนรำชิ้นนี้ จึงอาจจะได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรม มาจากศิลปะปาละโดยตรง หรืออาจรับผ่านดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะปาละอีกทอดหนึ่ง ก็เป็นได้           อย่างไรก็ตามภาพบุคคลฟ้อนรำชิ้นนี้มีการลดทอนรายละเอียดของตาบรูปสามเหลี่ยมตามแบบศิลปะปาละลงอย่างมาก จนเหลือเพียงลักษณะของการใช้เครื่องมือปลายแหลมกรีดให้เป็นเครื่องประดับรูปสามเหลี่ยมเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าคงสร้างด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เมื่อพิจารณารูปแบบศิราภรณ์รูปตาบสามเหลี่ยมแล้ว ภาพบุคคลชิ้นนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา           การแสดงออกถึงฝีมือช่างท้องถิ่นทวารวดีในภาพบุคคลชิ้นนี้ ยังปรากฏบนลักษณะใบหน้าที่มีคิ้วต่อเป็นปีกกา ริมฝีปากหนาแบะ ตาโปน และจมูกใหญ่ ยังแสดงให้ถึงรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดีอย่างแท้จริงเช่นกัน นอกจากนี้ชายผ้านุ่งที่เป็นรูปหางปลา ๒ ชายซ้อนกันยังชวนให้นึกถึงศิลปะเขมร ซึ่งร่วมสมัยกับทวารวดีตอนปลาย โดยเริ่มเข้ามาบทบาทในศิลปะทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ การกำหนดอายุจากชายผ้านุ่งจึงสอดคล้องกับการกำหนดอายุจากเครื่องประดับศิราภรณ์ข้างต้น ดังนั้นภาพบุคคลชิ้นนี้จึงควรสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕. เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.



ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔  สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี กรมศิลปากร ได้ดำเนินโครงการบูรณะศาลาการเปรียญวัดบ้านไร่ ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี สืบเนื่องจากการตรวจสอบโบราณสถานของเจ้าหน้าที่พบว่าศาลาการเปรียญ (หลังเก่า) ของวัดบ้านไร่ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก ประกอบกับพื้นที่รอบเป็นลานจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งเชื่อมโยงโบราณสถาน กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนชาวลาวเวียง เพื่อให้โบราณสถานอันทรงคุณค่าของท้องถิ่นแห่งนี้กลับมามีประโยชน์ใช้สอย เป็นจุดศูนย์รวมของชาวบ้านในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือการดำเนินกิจกรรมทางสังคมเหมือนดังเช่นในอดีต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเสริมความมั่นคง บูรณะซ่อมแซม และอนุรักษ์รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของศาลาการเปรียญ (หลังเก่า) วัดบ้านไร่ โดยใช้เทคนิควิธีการก่อสร้างตามหลักฐานดั้งเดิมที่ปรากฎอยู่                     ศาลาการเปรียญ (หลังเก่า) หรือ “ศาลา ๑๐๐ ปี” ของวัดบ้านไร่ ตามประวัติจากคำบอกเล่า กล่าวว่า พระครูอุเทศธรรมนิวิฐ (ขุน จนฺโท) อดีตท่านเจ้าอาวาส (พ.ศ.๒๔๗๐-๒๕๐๗) ร่วมกับพระสงฆ์ และชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาทำการก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๗๕ ลักษณะเป็นอาคารโถงโครงสร้างไม้ ยกพื้น     ใต้ถุนสูง  ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ขนาดความกว้าง ๑๒.๔๐ เมตร ความยาว ๒๖.๕๐ เมตร ด้านหน้าตั้งอยู่ทางทิศใต้ มีชานพักและบันไดตรงกึ่งกลาง  เสาศาลาเป็นเสาไม้ขนาดเส้น      ผ่านศูนย์กลาง ๓๒ - ๕๒ เซนติเมตร จำนวน ๓๔ ต้น หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่วมีพาไลโดยรอบ มุงกระเบื้องซีเมนต์แบบหางแหลมไม่เคลือบ หน้าจั่วเป็นแผงไม้กระดานตีบังใบแนวตั้งไม่มีลวดลาย เครื่องลำยอง ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์คอนกรีตหล่อพิมพ์ ช่อฟ้าทำเป็นรูปคล้ายแว่นแก้วหรือแว่นเทียน ใบระกา และหางหงส์ตกแต่งเป็นลายกนกและลายกระจังแบบพื้นถิ่น ส่วนโถงประธานของศาลาการเปรียญปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ด้านทิศเหนือตลอดแนวเสาพาไลยกระดับพื้นขึ้นเป็นอาสน์สงฆ์ ศาลาการเปรียญ (หลังเก่า) วัดบ้านไร่ นอกจากใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาในวันธรรมสวนะหรือวาระพิเศษทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ บุญเดือนสี่ หรือกิจกรรมสำคัญต่างๆ แล้ว ยังเคยถูกใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านไร่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ป.เตรียม ไปจนถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๗  ซึ่งห้องเรียนในแต่ละระดับชั้นจะแบ่งกันด้วยช่วงเสาของศาลา ก่อนที่จะมีการย้ายโรงเรียนออกไปตั้งยังสถานที่แห่งใหม่ ดังนั้นจึงเป็นสถานศึกษาในวัยเยาว์ของผู้อาวุโสชาวบ้านไร่หลายๆ ท่าน                    ภายหลังจากการบูรณะโบราณสถานแล้วเสร็จ “ศาลา ๑๐๐ ปี” ของวัดบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ได้กลับมามีสภาพมั่นคงแข็งแรง งดงาม และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความทรงจำในวิถีชีวิตวันวานของชาวบ้านไร่  ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และโบราณสถานแห่งนี้จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นศูนย์กลางในการสืบทอดภูมิปัญหา และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชนสืบต่อไปอีกยาวนาน   นายเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ / เรียบเรียง นายพรชัย นาคทอง นายช่างโยธาปฏิบัติงาน และบริษัท ชาญรุ่งโรจน์ จำกัด /ถ่ายภาพ        


Messenger