ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

        สุวรรณจังโกฐสำริด         เลขทะเบียน         ๕๒๖ / ๒๕๑๖          แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓          วัสดุ (ชนิด)         สำริด         ขนาด         ฐานกว้าง ๓๗.๑ เซนติเมตร สูง ๕๗.๕ เซนติเมตร          ประวัติความเป็นมา พุทธสถานจังหวัดเชียงใหม่ มอบให้จัดแสดง          ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ          สุวรรณจังโกศ สำหรับประดิษฐานพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุ  ทำเป็นทรงแปดเหลี่ยม ประกอบด้วยฐานและส่วนฝา ส่วนฐานมีหน้ากระดานท้องไม้ขนาดใหญ่ ตกแต่งลายกรอบช่องกระจก เหนือท้องไม้ขึ้นไปตรงมุมประดับด้วยลายดอกประจำยาม ส่วนฝามีการตกแต่งส่วนมุมด้วยลายกนก ส่วนยอดบนสุดทำเป็นชั้นฐานปัทม์รองรับรูปแปดเหลี่ยมส่วนปลายยอดแหลม  


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ยลโฉมทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ คายท่อนพวงมาลัย ศิลปะโบราณอายุพันปี” วิทยากร นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา, นายธันยธรณ์ วรรณโพธิ์พร นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ผู้ดำเนินรายการ  นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร



(๕ พฤศจิกายน) เป็นวันคล้ายวันพิราลัยในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (พระนามเดิม เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน) เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ทางเพจเราจึงขอหยิบยกเกร็ดประวัติเจ้านายท่านนี้มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งว่ากันตามการรับรู้ถึงพระประวัติของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ นอกจากจะสืบวงศ์มาแต่เชื้อเจ้าเจ็ดตนในราชวงศ์ทิพย์จักรแล้ว ท่านยังสืบพงศาวลีได้ถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีเชื้อสายในราชวงศ์จักรี คือเป็นหลานตาทวดของเจ้านายสายสกุลอิศรเสนา ณ อยุธยา อีกด้วย สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าจักรคำขจรศักดิ์กับราชสำนักสยาม อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีความผูกพันทางสายเลือดกับราชวงศ์จักรี คือมีมารดาเป็นหม่อมราชวงศ์ในสายวังหน้า (แม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้วราชเทวี) ผู้สืบเชื้อสายจาก “พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงษ์อิศเรศร์ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช” พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ทั้งนี้ เสด็จในกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ยังถือเป็นเจ้านายวังหน้าพระองค์สำคัญ ถึงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า “ควรตำแหน่งเจ้าฟ้าในพระบวรราชวัง” (ราชสกุลวงศ์ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, หน้า ๑๑๗) อนึ่ง เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ ๑๐ ยังถือเป็นเจ้าหัวเมืองประเทศราชที่ดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้าย (พิราลัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖) ภายหลังการยกเลิกตำแหน่งเจ้าหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ท้ายที่สุดแอดมินขอปิดท้ายด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะหริภุญชัย เพียงหนึ่งเดียวในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่มีลักษณะเด่น คือ มีเม็ดพระศกแหลม พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระขนงยาวจรดกันเป็นรูปปีกกา ชายสังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี ฐานด้านหน้ามีจารึกเป็นอักษรมอญโบราณ โดยสมุดทะเบียนระบุอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ภาพที่ ๑ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ภาพที่ ๒ พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หน้า) ภาพที่ ๓ พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลัง) ภาพที่ ๔ จารึกอักษรมอญ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ Post by Admin Sarun / Photo by Nai9Kob


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    58 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร                            ขอมฉบับ                              ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    58 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร                            ขอมฉบับ                              ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.73 กาพย์คำสอนพระไตรลักษณ์ พระปรมัตถ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ธรรมคดีลักษณะวัสดุ              116; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ธรรมคดี                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม  อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ 



ชื่อเรื่อง                     คำนมัสการคุณานุคุณผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.303 ม113คสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งนครปีที่พิมพ์                    2503ลักษณะวัสดุ               36 หน้า หัวเรื่อง                     พระพุทธศาสนา – บทสวดภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมบทสวดและบทร้องต่างๆ บทร้องสำหรับกรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ บทร้องสำหรับกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ บทร้องสำหรับนักเรียนราชวิทยาลัย และบทสรรเสริญพระบารมี


         ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องศยามกะชาดก (สุวรรณสาม)          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔)          - ปูนปั้น          - เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑          ภาพศยามกะชาดก (สุวรรณสาม) เป็นแผ่นปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประดับด้วยภาพบุคคล ด้านหลังติดกับแผงฉาบปูน ภาพเล่าเรื่องบุคคล ๒ คน กำลังโศกเศร้าเหนือร่างของอีกบุคคลผู้หนึ่ง ตีความได้ว่าคือเรื่องราวในศยามกะชาดก ตอนที่บิดาของศยามกะกำลังโศกเศร้าอยู่เหนือร่างของศยามกะ ที่สิ้นชีพด้วยธนูอาบยาพิษในขณะที่พระราชากบิลยักขราชผู้กระทำการสังหารกำลังทรงพยายามที่จะดึงเอาลูกธนูออกมาจากร่างของศยามก   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40133   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 (ช่วงเช้า)คณะนักเรียนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา4 (วัดลาวทอง), ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านดอนโพ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลห้วยวังทอง (ช่วงบ่าย) คณะนักเรียนโรงเรียนวัดวรจันทร์ จำนวนทั้งสิ้น 99 คน ครู 13 คน นักเรียน 86 คน เข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการนิทานสร้างงานศิลป์ ตอน ขนมปังนอกกล่อง โดยหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ TK Park อุทยานการเรียนรู้ มีครูเจ นางสาวอุษา ศรีนวล นักจัดการความรู้อาวุโส สถาบันอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) เป็นวิทยากร


            กรมศิลปากรขยายเวลาจัดแสดงนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ไปถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ได้มีเวลาในการเข้าชมมากขึ้น              นิทรรศการนี้จะบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตแบบดั้งเดิม สู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมา โดยจัดแสดงเอกสารต้นฉบับ ๔๑ ชุด กว่า ๒๐๐ รายการ ที่ล้วนเป็นเอกสารทรงคุณค่าสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวข้อ ได้แก่              ๑. “จารจารึก บันทึกสยาม” เป็นชุดเอกสารโบราณที่บันทึกอยู่ในรูปของศิลาจารึก หนังสือสมุดไทย และเอกสารใบลาน ได้แก่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง คัมภีร์อัลกุรอาน ไตรภูมิฉบับพระมหาช่วยจารที่วัดปากน้ำ จินดามณี จุลศักราช ๑๑๔๔ รามเกียรติ์ บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ หนังสือสมุดไทย เรื่อง สามก๊ก มหาชาติคำหลวง และอุรังคธาตุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพเค้าโครงทางประวัติศาสตร์ช่วงสมัยสุโขทัยจนถึงก่อนการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว               ๒. “แผนภูมิของแผ่นดิน” จัดแสดงแผนที่โบราณของประเทศไทย และตราประจำจังหวัด              ๓. “นิติสารเมื่อเพรงกาล เล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” นำเสนอเอกสารด้านกฎหมายและความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาทิ กฎหมายตราสามดวง สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เอกสารเกี่ยวกับการเลิกทาส              ๔. “เมื่อแรกมีการพิมพ์” จัดแสดงชุดเอกสารกลุ่มแรก ๆ ในสังคมไทยที่เปลี่ยนจากการจดจารด้วยวัสดุและเทคนิคแบบโบราณ มาเป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก เช่น หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ คัมภีร์ครรภ์ทรักษา ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๔               ๕. “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” จัดแสดงเอกสารการออกแบบก่อสร้างอาคาร สถานที่สำคัญต่าง ๆ ตามรูปแบบตะวันตก เช่น แบบแปลนวังพญาไท แบบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ             ๖. “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมใน ความทรงจำ ที่สะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมตะวันตกได้มีอิทธิพลมาสู่วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย เช่น การเขียนจดหมาย การส่งไปรษณียบัตร                ผู้สนใจสามารถไปชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ได้จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จลง ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันราชาภิเษกสมรสรหัสเอกสาร ภ หจภ ศธ ๑.๑/๔๔



ชื่อเรื่อง                     ปรียทรรศิกาผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีภาษาอื่นๆ เลขหมู่                      891.22 ห917ปสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภา ปีที่พิมพ์                    2505ลักษณะวัสดุ               224 หน้า หัวเรื่อง                     บทละครสันสกฤตภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกปริยทรรศิกา เป็นวรรณคดีสันสกฤต แต่งโดยพระเจ้าศรีหรรษวรรธนะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย มีทั้งหมด 7 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ว่าด้วยประวัติและรัชชสมัยของพระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ ตอนที่ 2 ว่าด้วยพระเจ้าศรีหรรษเทพทรงเปนกวีและบำรุงกวี ตอนที่ 3 ว่าด้วยเรื่องกาละเวลาในเรื่องปริยทรรศิกา ตอนที่ 4 ว่าด้วยท้าวอุทัยน์วัตสราช ตอนที่ 5 ว่าด้วยภาษาที่ใช้ในเรื่องปริยทรรศิกา ตอนที่ 6 ว่าด้วยบุษปชาติและพฤกษชาติที่ออกนามในเรื่องปริยทรรศิกา และตอนที่ 7 ว่าด้วยละคอนภายในเรื่องละคอน


Messenger